หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการเรื่องการเอาประกันภัยต่อแบบเฉพาะราย

สาขาวิชาชีพการเงินและประกันภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASR-LTKT-029B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการเรื่องการเอาประกันภัยต่อแบบเฉพาะราย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 3321    ผู้รับประกันภัย  

ISIC J6603      ประกันภัยรถยนต์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้อธิบายถึง ผู้ซึ่งสามารถกำหนดเงื่อนไข กำหนดทุนประกัน และอัตราเบี้ยประกันภัย     ออกเอกสารสำหรับการประกันภัยต่อ รวมถึงสรุปและบันทึกผลการประกันภัยต่อได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้พิจารณารับประกันภัยยานยนต์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    1. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535    2. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการประกันภัย    3. ประกาศหรือคำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)    4. พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562    5. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542    6. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2559    7. เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์    8. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20113.1

เข้าใจนโยบายการเอาประกันภัยต่อ

1.1 กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยที่บริษัทรับความเสี่ยงภัยไว้เองได้สูงสุด

20113.1.01 164369
20113.1

เข้าใจนโยบายการเอาประกันภัยต่อ

1.2 กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ต้องพิจารณาการรับประกันภัยร่วมกับบริษัทรับประกันภัยต่อ

20113.1.02 164370
20113.1

เข้าใจนโยบายการเอาประกันภัยต่อ

1.3 กำหนดเงื่อนไขการเอาประกันภัยต่อ 

20113.1.03 164371
20113.2

จัดทำเอกสารสำหรับการทำประกันภัยต่อ

2.1 รวบรวมเอกสารประกันภัยต่อในระบบ ได้ถูกต้องตามสัญญา

20113.2.01 164372
20113.2

จัดทำเอกสารสำหรับการทำประกันภัยต่อ

2.2 คำนวณสัดส่วนการเอาประกันภัยต่อ และเบี้ยประกันภัยต่อ

20113.2.02 164373
20113.2

จัดทำเอกสารสำหรับการทำประกันภัยต่อ

2.3 จัดทำและตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารประกันภัยต่อ 

20113.2.03 164374

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้เบื้องต้นการประกันวินาศภัยและการบริหารความเสี่ยง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ข้อมูล

2. มีทักษะด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

3. มีทักษะการเรียนรู้เพื่อให้ทราบกฎ ระเบียบ และข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงไป

4. มีทักษะการคำนวณและการใช้เทคโนโลยี

    4.1 ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้

    4.2 การบันทึกและเข้าถึงระบบข้อมูล

5. มีทักษะด้านการเขียนเพื่อเรียบเรียงเอกสาร

6. มีทักษะด้านการนำเสนอ

7. มีทักษะด้านการเจรจาต่อรอง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้ด้านหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์

    2. ความรู้ในพิกัดอัตราประกันภัยรถยนต์

    3. ความรู้ในนโยบายการรับประกันภัยรถยนต์

    4. ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับประเภทธุรกิจที่เชื่อมโยงกับความเสี่ยงของยานยนต์

    5. ความรู้เรื่องประเภทและลักษณะของกรมธรรม์ประกันภัยต่อ คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยต่อ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก)     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        หลักฐานการผ่านงานด้านการรับประกันภัยรถยนต์ 

    (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา 

    2. ผลการทดสอบความรู้ 

    3. หลักฐานการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณารับประกันภัย (ถ้ามี)

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        อ้างอิงตามคู่มือการประเมิน

    (ง) วิธีการประเมิน

        อ้างอิงตามคู่มือการประเมิน


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก)        คำแนะนำ

            N/A

    (ข)        คำอธิบายรายละเอียด

    1. การประกันภัยต่อ หมายถึง การที่ผู้รับประกันภัยโอนความเสี่ยงภัยทั้งหมดหรือบางส่วนของความรับผิดตามสัญญาประกันภัยที่ตนรับไว้ ไปเอาประกันภัยต่อกับผู้รับประกันภัยอีกรายหนึ่งหรือหลายราย ซึ่งเรียกว่าผู้รับประกันภัยต่อ

    2. การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยสูงสุด หมายถึง การกำหนดระดับจำนวนเงินเอาประกันภัยที่รับได้สูงสุดตามมูลค่าความคุ้มครอง

    3. เอกสารประกอบการประกันภัยต่อ เช่น กรมธรรม์ประกันภัยต่อ ใบคำขอเอาประกันภัยต่อ 

    4. สัดส่วนการเอาประกันภัยต่อ หมายถึง สัดส่วนของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่บริษัทรับประกันภัยตกลงเอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

อ้างอิงตามคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ