หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พิจารณารับประกันภัยรถยนต์ลูกค้ารายใหม่รายกลุ่ม

สาขาวิชาชีพการเงินและประกันภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASR-ZXOD-018B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พิจารณารับประกันภัยรถยนต์ลูกค้ารายใหม่รายกลุ่ม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 3321    ผู้รับประกันภัย  

ISIC J6603      ประกันภัยรถยนต์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้อธิบายถึง ผู้ซึ่งสามารถคัดกรองและระบุประเภทของยานยนต์ ประเมินความเสี่ยง กำหนดวงเงินคุ้มครอง และใช้พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ได้อย่างถูกต้องสอดคล้องตามนโยบายการรับประกันภัยรถยนต์ลูกค้ารายใหม่ (รายกลุ่ม) ขององค์กรได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้พิจารณารับประกันภัยยานยนต์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    1. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535    2. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการประกันภัย    3. ประกาศหรือคำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)    4. พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562    5. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542    6. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2559    7. เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์    8. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20102.1 เข้าใจผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถยนต์รายใหม่ (รายกลุ่ม) 1.1 อธิบายเงื่อนไขการรับประกันตามข้อกำหนดและระดับความเสี่ยงของประกันภัยรายกลุ่ม 20102.1.01 163991
20102.1 เข้าใจผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถยนต์รายใหม่ (รายกลุ่ม) 1.2 เปรียบเทียบข้อคุ้มครองและข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัยรายกลุ่มแต่ละประเภทได้ 20102.1.02 163992
20102.1 เข้าใจผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถยนต์รายใหม่ (รายกลุ่ม) 1.3 อธิบายเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รายกลุ่มและสัญญาเพิ่มเติม 20102.1.03 163993
20102.1 เข้าใจผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถยนต์รายใหม่ (รายกลุ่ม) 1.4 ตอบข้อซักถามในเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยรายกลุ่มให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง 20102.1.04 163994
20102.2 ประเมินลักษณะความเสี่ยงภัยเฉพาะกลุ่ม 2.1 คัดแยกระดับความเสี่ยงภัยของกลุ่มยานยนต์แต่ละประเภทธุรกิจได้ 20102.2.01 163995
20102.2 ประเมินลักษณะความเสี่ยงภัยเฉพาะกลุ่ม 2.2 ใช้พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์รายกลุ่มได้อย่างเหมาะสมกับความเสี่ยงของประเภทธุรกิจ 20102.2.02 163996
20102.2 ประเมินลักษณะความเสี่ยงภัยเฉพาะกลุ่ม 2.3 สืบค้นข้อมูลสนับสนุนระดับความเสี่ยงภัยจากแหล่งข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมเพื่อกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยรายกลุ่มได้อย่างเหมาะสมถูกต้อง 20102.2.03 163997
20102.3 พิจารณาออกข้อเสนอตามนโยบายการรับประกันภัยรายกลุ่ม 3.1 กำหนดเงื่อนไขการรับประกันเฉพาะกลุ่มให้สอดคล้องกับความเสี่ยง 20102.3.01 163998
20102.3 พิจารณาออกข้อเสนอตามนโยบายการรับประกันภัยรายกลุ่ม 3.2 กำหนดวงเงินความคุ้มครองและอัตราเบี้ยประกันภัยรายกลุ่ม 20102.3.02 163999
20102.3 พิจารณาออกข้อเสนอตามนโยบายการรับประกันภัยรายกลุ่ม 3.3 ดำเนินการออกข้อเสนอประกันภัยรายกลุ่มตามแบบเงื่อนไขที่กำหนด 20102.3.03 164000
20102.4 นำเสนอและอธิบายข้อเสนอการประกันภัยรายกลุ่ม 4.1 อธิบายหลักเกณฑ์การพิจารณาความเสี่ยงการประกันภัยรายกลุ่มให้กับผู้เกี่ยวข้องได้ 20102.4.01 164001
20102.4 นำเสนอและอธิบายข้อเสนอการประกันภัยรายกลุ่ม 4.2 อธิบายเงื่อนไขความคุ้มครองการประกันภัยรายกลุ่มตามข้อเสนอ 20102.4.02 164002
20102.4 นำเสนอและอธิบายข้อเสนอการประกันภัยรายกลุ่ม 4.3 ระบุผลตอบแทนของข้อเสนอการประกันภัยรายกลุ่มให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง 20102.4.03 164003
20102.5 ทบทวนข้อเสนอการประกันภัยรถยนต์รายกลุ่มเมื่อมีการขอต่อรอง 5.1 ทบทวนข้อมูลความเสี่ยงการประกันภัยรายกลุ่มเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา 20102.5.01 164004
20102.5 ทบทวนข้อเสนอการประกันภัยรถยนต์รายกลุ่มเมื่อมีการขอต่อรอง 5.2 กำหนดเงื่อนไขประกันภัยรายกลุ่มและอัตราเบี้ยประกันภัยใหม่ที่เหมาะสม 20102.5.02 164005
20102.5 ทบทวนข้อเสนอการประกันภัยรถยนต์รายกลุ่มเมื่อมีการขอต่อรอง 5.3 รวมรวบข้อมูลสนับสนุนหรือสาเหตุของการขอต่อรองข้อเสนอประกันภัยรายกลุ่มเพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจลำดับถัดไปพิจารณา 20102.5.03 164006

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้เบื้องต้นการประกันวินาศภัยและการบริหารความเสี่ยง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ข้อมูล

2. มีทักษะด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

3. มีทักษะการเรียนรู้เพื่อให้ทราบกฎ ระเบียบ และข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงไป

4. มีทักษะการคำนวณและการใช้เทคโนโลยี

    4.1 ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้

    4.2 การบันทึกและเข้าถึงระบบข้อมูล

5. มีทักษะด้านการเขียนเพื่อเรียบเรียงเอกสาร

6. มีทักษะด้านการนำเสนอ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้ด้านหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์

    2. ความรู้ในพิกัดอัตราประกันภัยรถยนต์

    3. ความรู้ในนโยบายการรับประกันภัยรถยนต์

    4. ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับประเภทธุรกิจที่เชื่อมโยงกับความเสี่ยงของยานยนต์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก)     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    หลักฐานการผ่านงานด้านการรับประกันภัยรถยนต์     

     (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา 

    2. ผลการทดสอบความรู้ 

    3. หลักฐานการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณารับประกันภัย (ถ้ามี)

     (ค)     คำแนะนำในการประเมิน

        อ้างอิงตามคู่มือการประเมิน

     (ง)     วิธีการประเมิน

        อ้างอิงตามคู่มือการประเมิน


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก)        คำแนะนำ

        N/A

    (ข)        คำอธิบายรายละเอียด

1.    การพิจารณารับประกันภัย หมายถึง กระบวนการประเมิน วิเคราะห์ และจัดระดับความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัย

2.    ลูกค้ารายกลุ่ม หมายถึง ลูกค้าประกันภัยรถยนต์ที่ทำประกันภัยรถยนต์มากกว่า 1 คันขึ้นไป

3.    ความเสี่ยงภัยเฉพาะกลุ่ม หมายถึง ความเสี่ยงภัยของกลุ่มบุคคล กลุ่มธุรกิจ หรือกลุ่มของยานยนต์ที่ขอเอาประกันภัย เช่น กลุ่มยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ กลุ่มรถยนต์นั่งรับจ้างสาธารณะ เป็นต้น

4.    ผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถยนต์ ได้แก่ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ) ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 3 และประกันภัยรถยนต์แบบเฉพาะ ตามประกาศประเภทกรมธรรมประกันภัยของ คปภ.

5.    กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ หมายถึง สัญญาระบุเงื่อนไขและความคุ้มครองอุบัติเหตุหรือภัยที่เกิดกับยานยนต์ที่เอาประกันภัย 

6.    พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ หมายถึง การจำแนกประเภทรถยนต์ รหัสรถยนต์ ลักษณะการใช้รถยนต์ และขนาดรถยนต์ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย และวิธีการคำนวณ

7.    หลักเกณฑ์การพิจารณาความเสี่ยง หมายถึง วิธีการคำนวณและจัดระดับความเสี่ยงภัยของยานยนต์หรือตัวผู้เอาประกันภัย

8.    ประเภทของยานยนต์ ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสาร รถยนต์บรรทุก รถยนต์ลากจูง รถพ่วง รถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่งรับจ้างสาธารณะ รถยนต์เบ็ดเตล็ด

9.    ประกาศคำสั่ง “นายทะเบียน” หมายถึงประกาศที่ออกมาจาก คปภ.เพื่อให้มีผลบังคับตามรายละเอียดที่แจ้งในประกาศ หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจจะมีความผิดและถูกเรียกค่าปรับ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

อ้างอิงตามคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ