หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พิจารณาความเสี่ยงผู้ขอเอาประกันภัยกรณีมีข้อมูลสุขภาพ (medical risks)

สาขาวิชาชีพการเงินและประกันภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASR-AIHN-005B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พิจารณาความเสี่ยงผู้ขอเอาประกันภัยกรณีมีข้อมูลสุขภาพ (medical risks)

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    ISCO 3321    ผู้รับประกันภัย      

    ISIC J6601    องค์กรที่ทำการประเมินเบี้ยประกันชีวิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้อธิบายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้ทางการแพทย์ เพื่อประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพของผู้ขอเอาประกัน ให้สอดคล้องกับเกณฑ์การพิจารณารับประกันภัยได้อย่างเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้พิจารณารับประกันภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    1. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535    2. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการประกันภัย    3. ประกาศหรือคำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)    4. พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562    5. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542    6. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2559    7. เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิตมาตรฐาน

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10104.1 วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้ขอเอาประกันภัย 1.1 ระบุปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพจากผลการตรวจทางการแพทย์ 10104.1.01 163806
10104.1 วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้ขอเอาประกันภัย 1.2 เปรียบเทียบข้อมูลผู้ขอเอาประกันตามเกณฑ์การพิจารณารับประกันภัย 10104.1.02 163807
10104.1 วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้ขอเอาประกันภัย 1.3 ระบุข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติมด้านสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง 10104.1.03 163808
10104.2 สรุปผลการรับประกันภัยตามระดับความเสี่ยงด้านสุขภาพ 2.1 ประมวลผลข้อมูลในเอกสารทั้งหมดเพื่อประเมินความเสี่ยง 10104.2.01 163809
10104.2 สรุปผลการรับประกันภัยตามระดับความเสี่ยงด้านสุขภาพ 2.2 ระบุลำดับความเสี่ยง ของผู้ขอเอาประกันภัย 10104.2.02 163810
10104.2 สรุปผลการรับประกันภัยตามระดับความเสี่ยงด้านสุขภาพ 2.3 อนุมัติรับประกันภัยตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย 10104.2.03 163811
10104.2 สรุปผลการรับประกันภัยตามระดับความเสี่ยงด้านสุขภาพ 2.4 ทบทวนผลการพิจารณารับประกันภัย 10104.2.04 163812

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้เบื้องต้นการประกันชีวิต


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. มีทักษะการเรียนรู้เพื่อให้ทราบกฎ ระเบียบ และข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงไป

3. มีทักษะการคำนวณ

4. มีทักษะการใช้เทคโนโลยีและใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

5. มีทักษะการบันทึกและเข้าถึงระบบข้อมูล

6. มีทักษะด้านการวิเคราะห์และเรียบเรียงข้อมูล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้ทางด้านการแพทย์เบื้องต้น ได้แก่ คำศัพท์ทางการแพทย์ การวิเคราะห์ผลจาก ห้องปฏิบัติการ     

    2. ความรู้ในเงื่อนไขการรับประกันและเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย

    3. ความรู้ด้านภาษาอังกฤษเกี่ยวกับคำศัพท์ด้านการประกันชีวิตเบื้องต้น

    4. ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    5. ความรู้แนวปฏิบัติในการรับประกันชีวิต


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก)     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงานหรือการผ่านงาน หรือ

    2. เอกสารรับรองคุณวุฒิที่ยอมรับ 

    (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา 

    2. ผลการทดสอบความรู้ 

    3. หลักฐานการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณารับประกันภัย (ถ้ามี)

    4. หลักฐานความรู้ทางด้านการแพทย์ (ถ้ามี)

     (ค)     คำแนะนำในการประเมิน

        อ้างอิงตามคู่มือการประเมิน

    (ง)     วิธีการประเมิน

        อ้างอิงตามคู่มือการประเมิน


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก)    คำแนะนำ

        N/A

    (ข)    คำอธิบายรายละเอียด 

    1. ความรู้ทางด้านการแพทย์ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจในการอ่าน และวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารทางการแพทย์ และสามารถนำข้อมูลมาประเมินสุขภาพของผู้ขอเอาประกันภัยในขณะที่พิจารณา และแนวโน้มของสุขภาพในอนาคต

    2. เอกสารทางการแพทย์ หมายถึง เอกสารที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ขอเอาประกันชีวิต

    3. ลำดับความเสี่ยงด้าน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

        3.1 ภัยมาตรฐาน (standard risk) เป็นกลุ่มผู้ขอเอาประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยอยู่ในเกณฑ์ปกติทั้งทางด้านสุขภาพ อาชีพและอื่น ๆ ซึ่งสามารถรับประกันได้ในอัตราเบี้ยประกันภัยมาตรฐาน ตัวอย่างความเสี่ยงด้านสุขภาพที่จัดอยู่ในภัยมาตรฐาน เช่น มีน้ำหนักส่วนสูงสัมพันธ์กัน ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ไม่มีความพิการทางร่างกาย ตัวอย่างอาชีพที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ เช่น ค้าขายเสื้อผ้า/ของใช้ทั่วไป แพทย์ อาจารย์ หรือพนักงานประจำสำนักงาน 

        3.2 ภัยต่ำกว่ามาตรฐาน (substandard risk) เป็นกลุ่มผู้ขอเอาประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยสูงกว่าเกณฑ์ปกติอันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพ หรือประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง กลุ่มนี้สามารถรับประกันได้โดยมีเบี้ยประกันภัยเพิ่ม ซึ่งอัตราการเรียกเก็บเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ละบุคคล ตัวอย่างความเสี่ยงด้านสุขภาพที่จัดอยู่ในกลุ่มภัยต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น  มีน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน โรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน  ตัวอย่างอาชีพที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ เช่น ขับรถบรรทุกสิบล้อ ขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง ยามพกอาวุธ

        3.3 ภัยที่ไม่สามารถรับประกันได้ (uninsurable risk) เป็นกลุ่มผู้ขอเอาประกันภัยที่มีความเสี่ยงสูงมากจนไม่สามารถรับประกันได้อันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพ ประกอบอาชีพหรือมีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีความเสี่ยงสูง ตัวอย่างความเสี่ยงด้านสุขภาพที่ไม่สามารถรับประกันได้ เช่น  โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคเบาหวานร่วมกับหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคเอดส์หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ตัวอย่างอาชีพที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ เช่น นักบินลองเครื่อง ทหารหน่วยรบ ลาดตระเวน หรือประกอบอาชีพที่มีลักษณะผิดกฎหมาย เช่น บ่อนการพนัน

    4. วิธีการแจ้งผลการพิจารณารับประกันภัย หมายถึง การกำหนดแนวปฏิบัติติที่ต้องดำเนินการเกี่ยวกับการแจ้งผลการพิจารณารับประกันภัย ได้แก่

        4.1 การแจ้งขอเสนอใหม่ในการรับประกันภัย 

        4.2 การแจ้งผลไม่รับประกันภัย 

        4.3 การแจ้งรับประกันภัย 

    5. การกำหนดอัตรามรณะเพิ่มพิเศษ หมายถึง การประเมินจัดชั้นความเสี่ยงภัยที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ทำให้มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น จึงต้องกำหนดอัตรามรณะเพิ่มขึ้นจากปกติ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

อ้างอิงตามคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ