หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์และแก้ไขข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-FSUO-205B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์และแก้ไขข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ขับเคลื่อนรถบำรุงทางขนาดหนัก (Track Maintenance Vehicle Operator and Driver)



ISCO-08       8311   พนักงาน/คนขับเคลื่อนหัวรถจักร    



                 8311   ผู้ขับหัวรถจักร



                 8311   พนักงาน/คนขับรถไฟ     


1 8311 ผู้ขับหัวรถจักร

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการวิเคราะห์และแก้ไขข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก ตามเงื่อนไข ข้อกำหนด และขั้นตอนหรือมาตรฐานขององค์กร รวมถึงการจัดทำรายงานการแก้ไขข้อขัดข้องของรถตามแบบฟอร์มที่กำหนดขององค์กร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพระบบขนส่งทางราง (Rail Sector)ISCO-08 หมวดใหญ่ 8 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ (หน้าที่ขับเคลื่อนรถไฟและยานพาหนะ)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
การรถไฟแห่งประเทศไทย ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ พ.ศ.2549 (ขดร.2549)           คู่มือบำรุงทาง พ.ศ.2559 ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย คู่มือการใช้รถบำรุงทางหนักว่าด้วยการปฏิบัติงานและความปลอดภัย พ.ศ.2527 ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10606.1

ตรวจสอบและวินิจฉัยความผิดปกติ/ข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก

1.1 อธิบายวิธีการตรวจสอบความผิดปกติ/ข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนักได้

10606.1.01 163717
10606.1

ตรวจสอบและวินิจฉัยความผิดปกติ/ข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก

1.2 ตรวจหาความผิดปกติ/ข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนักโดยใช้เครื่องมือ

10606.1.02 163718
10606.1

ตรวจสอบและวินิจฉัยความผิดปกติ/ข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก

1.3 บ่งชี้ความผิดปกติ/ข้อขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นกับรถบำรุงทางขนาดหนักได้อย่างถูกต้อง

10606.1.03 163719
10606.1

ตรวจสอบและวินิจฉัยความผิดปกติ/ข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก

1.4 วิเคราะห์หาสาเหตุของความผิดปกติ/ข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนักได้อย่างถูกต้อง

10606.1.04 163720
10606.1

ตรวจสอบและวินิจฉัยความผิดปกติ/ข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก

1.5 เสนอแนะวิธีการซ่อมหรือแก้ไขข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนักได้เหมาะสมกับลักษณะความผิดปกติ

10606.1.05 163721
10606.1

ตรวจสอบและวินิจฉัยความผิดปกติ/ข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก

1.6 อธิบายลำดับวิธีขั้นตอนการแก้ไขข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนักได้

10606.1.06 163722
10606.2

ดำเนินการแก้ไขความผิดปกติ/ข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก

2.1 ระบุชื่อ ชนิด รายการ และรหัสอะไหล่ที่ชำรุด ได้อย่างถูกต้อง

10606.2.01 163723
10606.2

ดำเนินการแก้ไขความผิดปกติ/ข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก

2.2 ซ่อม/เปลี่ยนอุปกรณ์ ชิ้นส่วน หรืออะไหล่ที่ชำรุด/เสียหายได้อย่างถูกต้องตามคู่มือผู้ผลิต/คู่มือประจำรถ

10606.2.02 163724
10606.2

ดำเนินการแก้ไขความผิดปกติ/ข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก

2.3 ปรับตั้งอุปกรณ์/อะไหล่/ชิ้นส่วนเพื่อให้การทำงานของรถเป็นปกติ

10606.2.03 163725
10606.3

จัดทำรายงานผลการแก้ไขข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก

3.1 ทดสอบการทำงานของรถให้เป็นปกติโดยการทดลองวิ่ง (Run test)

10606.3.01 163726
10606.3

จัดทำรายงานผลการแก้ไขข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก

3.2 ตรวจสอบความเรียบร้อยและสมบูรณ์ของรถก่อนอนุญาตให้นำไปใช้งาน

10606.3.02 163727
10606.3

จัดทำรายงานผลการแก้ไขข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก

3.3 จัดทำรายงานผลการแก้ไขข้อขัดข้องของรถ ตามแบบฟอร์มที่กำหนดขององค์กร

10606.3.03 163728

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ (Skill Requirement)



      (ก1) ทักษะทางเทคนิค (Technical Skills)




  • ทักษะการแก้ไขความผิดปกติ/ข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนักแต่ละชนิด

  • ทักษะการใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือช่าง และอุปกรณ์อ่านค่าแสดงผลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน

  • ทักษะการอ่านคู่มือการใช้งาน และตีความคำแนะนำ ขั้นตอน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษารถบำรุงทางขนาดหนักแต่ละชนิด

  • ทักษะการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษารถบำรุงทางขนาดหนัก

  • ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

  • ทักษะการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบปฏิบัติที่กำหนด

  • ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



(ก2) ทักษะทางสังคมและการทำงาน (Soft Skills)




  • ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

  • ทักษะการแก้ไขปัญหา/เหตุการณ์เฉพาะหน้า

  • ทักษะการควบคุมงานและสอนงาน

  • ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างการปฏิบัติงาน



ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม                     

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ประเภท ชนิด และลักษณะการใช้งานรถบำรุงทางขนาดหนักแต่ละชนิด          



(ข2) การบำรุงรักษารถบำรุงทางขนาดหนัก                 



(ข3)  ขั้นตอนการสื่อสารและระเบียบปฏิบัติ                          



(ข4)  ขั้นตอนการปฏิบัติในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน                                                   



(ข5) กฏความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้อง (OH&S)



(ข6)              แบบฟอร์ม/เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษารถบำรุงทางขนาดหนัก        


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องศึกษาคำแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน ควบคู่ไปกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน ความรู้และทักษะที่ต้องการ ขอบเขต และแนวทางการประเมินสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้                     



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการทำงานจากองค์กร/สถานประกอบการ หรือ                         



(ก2) ใบกำหนดหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ                    



(ก3) วิดีโอการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ                              



(ก4) ภาพถ่ายผลงานหรือชิ้นงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ



(ก5)  ผลงานจากการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา หรือ                                                              



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร/ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานและขับเคลื่อนรถบำรุงทางขนาดหนัก หรือหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



(ค1)  ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการประเมิน และหลักฐานที่จำเป็น                 



       ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานที่จำเป็นที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงาน อาทิ:                                                                 



-   หลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้                                         



-   ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถไฟ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการปฏิบัติงาน



-   อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับขอบเขต          



(ค2)  บริบทและทรัพยากรเฉพาะสำหรับการประเมิน                                        




  • ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงให้เห็นถึงทักษะความสามารถที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ภายในช่วงระยะเวลาและบริบทที่เหมาะสม                    

  • ทรัพยากรสำหรับการประเมิน อาทิ แบบฝึกหัดที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษา การสาธิตการปฏิบัติงาน การสอบประเมินความรู้ การประเมินการปฏิบัติงานในสถานที่จริง       



 



(ค3)  วิธีการประเมิน                                                                           




  • การประเมินความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น   

  • การประเมินความรู้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกเป็นอย่างน้อย และ/หรือการสอบสัมภาษณ์ หรือพิจารณาจากหลักฐานความรู้ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบรับรองผ่านการอบรม ประกาศนียบัตรผ่านการอบรม เป็นต้น

  • การประเมินการปฏิบัติงาน โดยการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรืออาจจะพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หนังสือรับรองการทำงานจากองค์กร/สถานประกอบการ ใบกำหนดหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ วิดีโอการปฏิบัติงาน ภาพถ่ายผลงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



 (ก1)  สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถทำการวิเคราะห์และแก้ไขข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก ได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนขององค์กร มาตรฐานการบำรุงรักษา และข้อกำหนดความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงาน รวมทั้งสามารถเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานได้อย่างเหมาะสม



        นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย                             



(ก2)   สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานที่จำเป็น ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้                                          



(ข) คำอธิบายรายละเอียด
































(ข1)



สาเหตุความผิดปกติ/ข้อขัดข้องของ



รถบำรุงทางขนาดหนักที่อาจเกิดขึ้น



อาทิ:




  • กระบอกลมหรือกระบอกไฮดรอลิคไม่ทำงาน

  • กรองน้ำมันเชื้อเพลิงตัน

  • รอบทำงานของเครื่องยนต์ต่ำ

  • สายไฮดรอลิกแตก

  • แรงดันไฮดรอลิกต่ำ

  • แรงดันลมต่ำ

  • ระบบไฟชำรุด



(ข2)



เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกัน



อันตรายส่วนบุคคลที่ต้องใช้



ระหว่างการปฏิบัติงาน:



 




  • เสื้อกั๊กสะท้อนแสง

  • ถุงมือหนัง/ถุงมือไหมพรม/ถุงมือกันลื่น

  • แว่นตากันแดด/แว่นตานิรภัย

  • อุปกรณ์ป้องกันหู

  • หมวกนิรภัย

  • รองเท้านิรภัย

  • ไฟฉาย

  • ธงสัญญาณ (เขียว/แดง)

  • อุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ ที่จำเป็น



(ข3)



วิธีการสื่อสาร อาจรวมถึง:




  • การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • การให้สัญญานมือ



(ข4)



การแจ้งข้อมูล:




  • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face

  • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

  • ผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์



(ข5)



ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:




  • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คู่มือประจำรถ หรือคู่มือการใช้งานรถบำรุงทางขนาดหนัก

  • สมุดบันทึก/เก็บข้อมูล

  • คำแนะนำด้านเทคนิค

  • คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน

  • แผน QA /การควบคุมข้อมูลและเอกสาร

  • เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการตรวจสอบและวิเคราะห์ความผิดปกติ/ข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก




  1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  2. การสัมภาษณ์ หรือ

  3. การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)                                              



      18.2 เครื่องมือประเมินการดำเนินการแก้ไขความผิดปกติ/ข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก      




  1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  2. การสัมภาษณ์ หรือ

  3. การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)                                              



      18.3 เครื่องมือประเมินการจัดทำรายงานผลการแก้ไขข้อขัดข้องของรถบำรุงทางขนาดหนัก           




  1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  2. การสัมภาษณ์ หรือ



การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)               



ยินดีต้อนรับ