หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ขับเคลื่อนขบวนรถไฟตามข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-ETGD-197B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ขับเคลื่อนขบวนรถไฟตามข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO-08       8311   พนักงาน/คนขับเคลื่อนหัวรถจักร    



                 8311   ผู้ขับหัวรถจักร



                 8311   พนักงาน/คนขับรถไฟ     


1 8311 ผู้ขับหัวรถจักร

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะเฉพาะทางในการขับเคลื่อนขบวนรถไฟในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไป การใช้เทคนิคในการจัดการ/ควบคุมขบวนรถไฟ ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานขององค์กร ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ และหลักความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงาน รวมถึงการตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกและสถานการณ์ไม่ปกติหรือเหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการส่งมอบหัวรถจักรหลังสิ้นสุดการทำขบวน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพระบบขนส่งทางราง (Rail Sector)ISCO-08 หมวดใหญ่ 8 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ (หน้าที่ขับเคลื่อนรถไฟและยานพาหนะ)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
การรถไฟแห่งประเทศไทย ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ พ.ศ.2549 (ขดร.2549)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10509.1

ทำขบวนออกจากสถานี และควบคุมขบวนรถให้วิ่งเข้าสู่สถานี/ผ่านสถานี

1.1 กำหนดเวลาของขบวนรถโดยเทียบกับสถานีต้นทาง ตามข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ และขั้นตอนขององค์กร  

10509.1.01 163625
10509.1

ทำขบวนออกจากสถานี และควบคุมขบวนรถให้วิ่งเข้าสู่สถานี/ผ่านสถานี

1.2 รับอนุญาตจากผู้เกี่ยวข้องให้เคลื่อนขบวนรถตามข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ และขั้นตอนขององค์กร  

10509.1.02 163626
10509.1

ทำขบวนออกจากสถานี และควบคุมขบวนรถให้วิ่งเข้าสู่สถานี/ผ่านสถานี

1.3 ควบคุมการปิด-เปิดประตูขึ้นลงผู้โดยสารในกรณีของรถดีเซลรางให้เป็นไปด้วยความปลอดภัย

10509.1.03 163627
10509.1

ทำขบวนออกจากสถานี และควบคุมขบวนรถให้วิ่งเข้าสู่สถานี/ผ่านสถานี

1.4 ถ่ายทอดสัญญาณและหลักฐาน เช่น หวีด สัญญาณไฟ สัญญาณมือ ได้อย่างถูกต้องตามข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ 

10509.1.04 163628
10509.1

ทำขบวนออกจากสถานี และควบคุมขบวนรถให้วิ่งเข้าสู่สถานี/ผ่านสถานี

1.5 ระบุสภาพแวดล้อมที่อาจทำให้เกิดเหตุอันตรายของสถานีที่กำลังจะเข้าสู่/ผ่านสถานี และวิธีการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน

10509.1.05 163629
10509.1

ทำขบวนออกจากสถานี และควบคุมขบวนรถให้วิ่งเข้าสู่สถานี/ผ่านสถานี

1.6 ควบคุมขบวนรถไฟให้ผ่านสถานีได้อย่างปลอดภัย

10509.1.06 163630
10509.2

ขับเคลื่อนขบวนรถในเส้นทางหลักอย่างมีประสิทธิภาพ

2.1 สังเกตทาง ระวังสิ่งกีดขวางในขณะขับเคลื่อนขบวนรถ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ตามหลักปฎิบัติ และข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ  

10509.2.01 163631
10509.2

ขับเคลื่อนขบวนรถในเส้นทางหลักอย่างมีประสิทธิภาพ

2.2 ตรวจสอบประสิทธิภาพระบบห้ามล้อ ระหว่างขับเคลื่อนขบวนรถ เพื่อรักษาสภาพการทำงานให้เหมาะสมตามข้อกำหนด/มาตรฐานขององค์กร และคู่มือประจำรถ 

10509.2.02 163632
10509.2

ขับเคลื่อนขบวนรถในเส้นทางหลักอย่างมีประสิทธิภาพ

2.3 ปฏิบัติการเดินขบวนรถตามคำสั่ง และข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

10509.2.03 163633
10509.2

ขับเคลื่อนขบวนรถในเส้นทางหลักอย่างมีประสิทธิภาพ

2.4 ขับเคลื่อนขบวนรถด้วยความระมัดระวังเพื่อความสะดวกสบายของผู้โดยสาร และ/หรือสภาพของการขนส่งสินค้า

10509.2.04 163634
10509.2

ขับเคลื่อนขบวนรถในเส้นทางหลักอย่างมีประสิทธิภาพ

2.5 ระบุสภาพแวดล้อมบริเวณเส้นทางหลักที่อาจ ทำให้เกิดเหตุอันตรายและวิธีการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน

10509.2.05 163635
10509.3

ขับเคลื่อนขบวนรถในเส้นทางตอนภูเขา

3.1 ตรวจสอบและคำนวณน้ำหนักลากจูง ความยาวขบวนรถ และประสิทธิภาพแรงห้ามล้อ ตามข้อกำหนด/มาตรฐานขององค์กร และคู่มือประจำรถ 

10509.3.01 163636
10509.3

ขับเคลื่อนขบวนรถในเส้นทางตอนภูเขา

3.2 ทดลองระบบลมอัด-ลมดูด ของระบบห้ามล้อ ตามข้อกำหนดเชิงเทคนิคของขบวนรถได้อย่างถูกต้อง

10509.3.02 163637
10509.3

ขับเคลื่อนขบวนรถในเส้นทางตอนภูเขา

3.3 ตรวจความพร้อมระบบลมอัด-ลมดูด ของระบบห้ามล้อ ตามข้อกำหนดเชิงเทคนิคของขบวนรถได้อย่างถูกต้อง

10509.3.03 163638
10509.3

ขับเคลื่อนขบวนรถในเส้นทางตอนภูเขา

3.4 ปรับแต่งเครื่องห้ามล้อให้มีประสิทธิภาพที่ดี ตามข้อกำหนดเชิงเทคนิคของขบวนรถได้อย่างถูกต้อง

10509.3.04 163639
10509.4

ตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกหรือสถานการณ์ที่ไม่ปกติระหว่างทำขบวน

4.1 ติดต่อประสานผู้เกี่ยวข้อง ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่ปกติ ตามข้อกำหนด/ข้อบังคับ และมาตรฐานความปลอดภัยขององค์กร  

10509.4.01 163640
10509.4

ตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกหรือสถานการณ์ที่ไม่ปกติระหว่างทำขบวน

4.2 ตรวจสอบสัญญาณ อุปกรณ์ และอุปกรณ์ความปลอดภัยประจำ และปฏิบัติตามนโยบาย/ขั้นตอนขององค์กร และหลักความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างเหมาะสม

10509.4.02 163641
10509.4

ตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกหรือสถานการณ์ที่ไม่ปกติระหว่างทำขบวน

4.3 ปฏิบัติการเดินรถภายใต้สถานการณ์ที่ไม่ปกติ ตามข้อกำหนดขององค์กร ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ และมาตรฐานความปลอดภัยขององค์กร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

10509.4.03 163642
10509.4

ตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกหรือสถานการณ์ที่ไม่ปกติระหว่างทำขบวน

4.4 ดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ที่ไม่ปกติหรือเป็นอันตรายอย่างเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อผู้โดยสาร/สินค้าและขบวนรถ

10509.4.04 163643
10509.5

การปฎิบัติเมื่อขบวนรถถึงจุดเปลี่ยนเวรหรือสถานีปลายทาง

5.1 บอกวิธีปฏิบัติเมื่อถึงจุดเปลี่ยนเวรทำการตามหลักปฎิบัติ และข้อกำหนดและระเบียบการเดินรถ ได้อย่างถูกต้อง

10509.5.01 163644
10509.5

การปฎิบัติเมื่อขบวนรถถึงจุดเปลี่ยนเวรหรือสถานีปลายทาง

5.2 ขับเคลื่อนรถจักรเข้าสู่พื้นที่เก็บเมื่อถึงสถานีปลายทางหรือสถานีที่มีการเปลี่ยนรถจักรตามหลักปฎิบัติ และข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ 

10509.5.02 163645
10509.5

การปฎิบัติเมื่อขบวนรถถึงจุดเปลี่ยนเวรหรือสถานีปลายทาง

5.3 ดำเนินการป้องกันการเลื่อนไหลของรถจักร ตามหลักปฎิบัติ และข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ 

10509.5.03 163646
10509.5

การปฎิบัติเมื่อขบวนรถถึงจุดเปลี่ยนเวรหรือสถานีปลายทาง

5.4 ส่งมอบรถจักรได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน/นโยบายขององค์กร และข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ 

10509.5.04 163647
10509.5

การปฎิบัติเมื่อขบวนรถถึงจุดเปลี่ยนเวรหรือสถานีปลายทาง

5.5 บันทึกและรายงานเหตุการณ์ประจำวันและเหตุการณ์ผิดปกติ/อันตรายต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง  ตามขั้นตอน/นโยบายขององค์กร

10509.5.05 163648

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับรถจักรและรถพ่วง

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถดีเซลราง

  • ความรู้พื้นฐานด้านงานช่าง/วิศวกรรม

  • การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ช่างพื้นฐาน

  • ขั้นตอนการสื่อสารและระเบียบปฏิบัติในการปฏิบัติการเดินขบวนรถไฟ       



                            


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ (Skill Requirement)



      (ก1) ทักษะทางเทคนิค (Technical Skills)




  • ทักษะการขับเคลื่อนขบวนรถไฟในเส้นทางหลักอย่างมีประสิทธิภาพ

  • ทักษะการขับเคลื่อนขบวนรถไฟในเส้นทางตอนภูเขา

  • ทักษะการปฏิบัติการเดินรถไฟภายใต้สถานการณ์ที่ไม่ปกติ

  • ทักษะการปฏิบัติงานท่ามกลางสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยง

  • ทักษะการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบปฏิบัติที่กำหนด

  • ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

  • ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติงานทักษะการใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือช่าง และอุปกรณ์อ่านค่าแสดงผลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน

  • ทักษะการอ่านคู่มือการใช้งาน และตีความคำแนะนำ ขั้นตอน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเดินรถหรือการทำขบวน

  • ทักษะการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเดินรถ



(ก2) ทักษะทางสังคมและการทำงาน (Soft Skills)




  • ทักษะการวางแผนงาน/โครงการ

  • ทักษะการแก้ไขปัญหา/เหตุการณ์เฉพาะหน้า

  • ทักษะการควบคุมงานและสอนงาน                  

  • ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างการปฏิบัติงาน

  • ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม                    

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) รถไฟและการขับเคลื่อน



(ข2) การปฏิบัติการเดินรถไฟในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ



(ข3) การตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกหรือสถานการณ์ที่ไม่ปกติที่เกิดขึ้นในการขับเคลื่อนขบวนรถไฟ



(ข4)  การบำรุงรักษารถจักรและรถพ่วง



(ข5) กฏความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้อง (OH&S)



                    (ข6)  แบบฟอร์ม/เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการก่อนปฏิบัติการเดินรถหรือการทำขบวน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องศึกษาคำแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน ควบคู่ไปกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการ ขอบเขต และแนวทางการประเมินสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้                     



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการทำงานจากองค์กร/สถานประกอบการ หรือ                         



(ก2) ใบกำหนดหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ                    



(ก3) วิดีโอการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ                              



(ก4) ภาพถ่ายผลงานหรือชิ้นงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้



(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา หรือ                                                              



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร/ใบรับรองผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรด้านปฏิบัติการรถจักร และ/หรือหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



(ค1)  ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการประเมิน และหลักฐานที่จำเป็น                 



       ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานที่จำเป็นที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงาน อาทิ:                                                                 




  • หลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้                                         

  • ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถไฟ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการปฏิบัติงาน

  • อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับขอบเขต          



(ค2)  บริบทและทรัพยากรเฉพาะสำหรับการประเมิน                                        




  • ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงให้เห็นถึงทักษะความสามารถที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ภายในช่วงระยะเวลาและบริบทที่เหมาะสม                    

  • ทรัพยากรสำหรับการประเมิน อาทิ แบบฝึกหัดที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษา การสาธิตการปฏิบัติงาน การประเมินความรู้ การประเมินการปฏิบัติงานในสถานที่จริง       

  • ในบางกรณีอาจจะต้องประเมินในสถานที่ปฏิบัติงานจริง และ/หรือในสถานการณ์จำลอง เนื่องมาจาก:                                                                     




  • เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน                          

  • เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน อาทิ ข้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติ คู่มือการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน      



(ค3)  วิธีการประเมิน                                                                           




  • การประเมินความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น   

  • การประเมินความรู้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกเป็นอย่างน้อย และ/หรือการสอบสัมภาษณ์ หรือพิจารณาจากหลักฐานความรู้ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบรับรองผ่านการอบรม ประกาศนียบัตรผ่านการอบรม เป็นต้น

  • การประเมินการปฏิบัติงาน โดยการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค และ/หรือ การจำลองสถานการณ์ (Train Driving Simulator) หรืออาจจะพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หนังสือรับรองการทำงานจากองค์กร/สถานประกอบการ ใบกำหนดหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ วิดีโอการปฏิบัติงาน ภาพถ่ายผลงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



 (ก1)  สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนนี้ ต้องสามารถขับเคลื่อนขบวนรถไฟในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ใช้เทคนิคในการจัดการ/ควบคุมขบวนรถไฟ ได้อย่างถูกต้องตามข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ และหลักความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงาน รวมถึงสามารถตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกและสถานการณ์ไม่ปกติหรือเหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี และทำการส่งมอบหัวรถจักรหลังสิ้นสุดการทำขบวนได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานขององค์กร



        นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย                             



            (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานที่จำเป็น ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้             



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

























































(ข1)



อาณัติสัญญาณ สัญญาณ และป้ายสัญญาณ อาทิ:




  • ประแจและโคมประแจ

  • เครื่องตกรางและโคมเครื่องตกราง

  • เครื่องทางสะดวก

  • เครื่องตราทางสะดวก

  • เครื่องโทรศัพท์ขอและให้ทางสะดวก

  • สัญญาณมือ

  • สัญญาณประจำที่

  • สัญญาณหวีดรถจักร

  • ป้ายสัญญาณ

  • เครื่องหมายประจำขบวนรถ

  • เครื่องหมายเตือนให้สังเกตสัญญาณ

  • เครื่องหมายเตือนก่อนถึงประแจ (พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา)



(ข2)



หลักปฏิบัติในการขับเคลื่อนขบวนรถในเส้นทางหลัก:




  • ตรวจตั้งนาฬิกาของตนให้ตรงกับสถานีต้นทาง

  • รับแจ้งพิกัดขบวนรถและตรวจสอบความถูกต้อง

  • ควบคุมการปิด-เปิดประตูขึ้นลงผู้โดยสาร ในกรณีของรถดีเซลราง

  • ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหรือหลักฐานประกอบการเดินรถ และบอกตอบรับกันระหว่าง



ผู้ขับรถหลักและผู้ช่วยผู้ขับรถ




  • รับอนุญาตจากผู้เกี่ยวข้อง เช่น นายสถานี พนักงานรักษารถ

  • ก่อนที่จะเคลื่อนขบวนรถต้องได้รับสัญญาณถูกต้องตามข้อกำหนดขององค์กร และต้องสังเกตุดูทางข้างหน้าว่าเรียบร้อยและไม่มีสิ่งกีดขวาง

  • ก่อนที่จะเคลื่อนรถจักรต้องเปิดหวีดสัญญาณเตือนทั่วไปก่อนทุกครั้ง

  • ทดสอบประสิทธิภาพของระบบห้ามล้อ ตามข้อกำหนด/มาตรฐานความปลอดภัยขององค์กร

  • ควบคุมความเร็วของขบวนรถให้อยู่ในพิกัด

  • ระมัดระวังการหลีกขบวนรถ ตรวจสอบเอกสารการเปลี่ยนหลีก และบอกตอบรับกันระหว่างผู้ขับรถหลักและผู้ช่วย

  • เมื่อขบวนรถเดินใกล้เข้าสู่เขตสถานี ต้องระมัดระวังอย่างเคร่งครัด ช่วยกันสังเกตุสัญญาณประจำที่และสัญญาณมือที่แสดง และให้เตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาณนั้นๆ

  • ผู้ขับรถหลักจะต้องตอบรับทันที เมื่อได้รับแจ้งจากผู้ช่วยว่า สัญญาณนั้นๆ แสดงอยู่ในลักษณะอย่างใด ขณะที่ขบวนรถกำลังเดินอยู่

  • ปฏิบัติการเดินรถตามหลักปฏิบัติในเส้นทางหลัก ตามคำสั่ง และข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ อย่างเคร่งครัด



(ข3)



หลักปฏิบัติในการขับเคลื่อนขบวนรถในเส้นทางตอนภูเขา:




  • ตรวจสอบน้ำหนักลากจูง และความยาวขบวนรถไม่ให้เกินข้อกำหนดขององค์กร

  • ตรวจสอบจำนวนเครื่องห้ามล้อในขบวนรถให้มีประสิทธิภาพ

  • ตรวจสอบการทำงานของระบบห้ามล้อร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง ให้สมบูรณ์เพียงพอต่อความปลอดภัย

  • ควบคุมความเร็วของขบวนรถให้อยู่ในพิกัด

  • ควบคุมการใช้รอบเครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับภาระการลากจูง (Load)

  • หยุดเพื่อทดสอบประสิทธิภาพเครื่องห้ามล้อขบวนรถระหว่างทาง

  • ปฏิบัติการเดินรถตามหลักปฏิบัติในเส้นทางหลัก ตามคำสั่ง และข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ อย่างเคร่งครัด



(ข4)



ปัจจัยภายนอกหรือสถานการณ์



ที่ไม่ปกติที่เกิดขึ้นระหว่างการ



ทำขบวน อาทิเช่น:




  • กรณีขบวนรถติดทางลาดชัน 

  • กรณีขบวนรถพบสิ่งกีดขวางไม่สามารถเดินขบวนรถต่อไปได้

  • กรณีนำรถจักรไปช่วยลากจูงรถชำรุดในตอน

  • กรณีขบวนรถเฉี่ยวชนสิ่งกีดขวางบนทาง

  • กรณีรถพ่วงหลุดออกจากขบวน

  • กรณีขบวนรถพบกันในทางเดียวกัน

  • กรณีไฟไหม้รถจักรหรือขบวนรถ



(ข5)



วิธีการตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกหรือสถานการณ์ที่ไม่ปกติที่เกิดขึ้นระหว่างการทำขบวน อาทิเช่น:




  • “ลดความเร็ว” ของขบวนรถลง หรือจัดการ“หยุด” ขบวนรถทันที ตามความเหมาะสมของแต่ละสถานการณ์ที่ไม่ปกติที่เกิดขึ้นระหว่างการทำขบวน

  • เมื่อขบวนรถหยุดแล้ว จัดการป้องกันการเลื่อนไหลของขบวนรถ

  • ตรวจสอบสถานการณ์ไม่ปกติที่เกิดขึ้น

  • ติดต่อประสานผู้เกี่ยวข้องถึงสถานการณ์ไม่ปกติที่เกิดขึ้น

  • ดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ที่ไม่ปกติหรือเป็นอันตรายอย่างเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อผู้โดยสาร/สินค้าและขบวนรถ

  • จัดการช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถ เมื่อเกิดสถานการณ์ที่ไม่ปกติขึ้น ตามหลักความปลอดภัย

  • รายงานเหตุการณ์ต่อผู้บังคับบัญชาตามข้อกำหนดขององค์กร



(ข6)



เครื่องมือ อุปกรณ์ และเอกสาร



ที่ควรจะต้องมีในการปฏิบัติงาน:




  • นาฬิกา

  • วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • คำสั่งประกาศเดินรถพิเศษที่เกี่ยวข้อง

  • โคมสัญญาณ และ/หรือ ธง (เขียว-แดง) ตามความจำเป็น

  • เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์บางอย่างประจำรถจักรตามที่กำหนด



(ข7)



เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ต้องใช้



ระหว่างการปฏิบัติงาน:




  • ถุงมือหนัง/ถุงมือถัก/ถุงมือกันลื่น

  • แว่นตากันแดด/แว่นตานิรภัย

  • อุปกรณ์ป้องกันหู

  • รองเท้านิรภัย

  • ไฟฉาย

  • อุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ ที่จำเป็น



(ข8)



วิธีการสื่อสาร อาจรวมถึง:




  • การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • การให้สัญญาณมือ



(ข9)



การแจ้งข้อมูล:




  • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face

  • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

  • ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์



(ข10)



ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:




  • ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2549 (ขดร.2549)

  • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการรถจักรขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คู่มือการใช้งานรถจักร รถพ่วงขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คู่มือคำแนะนำการใช้งาน/คู่มือการใช้รถ/คู่มือประจำรถจักรชนิดต่างๆ

  • คู่มือความปลอดภัยในการทำงานขององค์กร/สถานประกอบการ



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือประเมินการทำขบวนออกจากสถานี และควบคุมขบวนรถให้วิ่งเข้าสู่สถานี/ผ่านสถานี



             1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                       



              2) การสัมภาษณ์ หรือ



             3) สถานการณ์จำลอง (Train Driving Simulator) หรือ



              4) การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)                                              



18.2 เครื่องมือประเมินการขับเคลื่อนขบวนรถในเส้นทางหลักอย่างมีประสิทธิภาพ



             1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                       



             2) การสัมภาษณ์ หรือ



             3) สถานการณ์จำลอง (Train Driving Simulator) หรือ



             4) การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)                                              



18.3 เครื่องมือประเมินการขับเคลื่อนขบวนรถในเส้นทางตอนภูเขา



             1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                       



             2) การสัมภาษณ์ หรือ



             3) สถานการณ์จำลอง (Train Driving Simulator) หรือ



             4) การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)



18.4 เครื่องมือประเมินการตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกหรือสถานการณ์ที่ไม่ปกติระหว่างทำขบวน



        1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                       



             2) การสัมภาษณ์ หรือ



             3) สถานการณ์จำลอง (Train Driving Simulator) หรือ



             4) การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)                                     



18.5 เครื่องมือประเมินการปฎิบัติเมื่อขบวนรถถึงจุดเปลี่ยนเวรหรือสถานีปลายทาง



        1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                       



             2) การสัมภาษณ์ หรือ



             3) สถานการณ์จำลอง (Train Driving Simulator) หรือ



          4) การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ