หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมการสำหรับการปฏิบัติการเดินรถ

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-PRXO-196B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมการสำหรับการปฏิบัติการเดินรถ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ขับรถจักร (Locomotive Driver)



ISCO-08       8311   พนักงาน/คนขับเคลื่อนหัวรถจักร    



                 8311   ผู้ขับหัวรถจักร



                 8311   พนักงาน/คนขับรถไฟ     


1 8311 ผู้ขับหัวรถจักร

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติการเดินรถหรือทำขบวน ทั้งในด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจก่อนปฏิบัติงาน ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานขององค์กร ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถไฟ และหลักปฏิบัติ/มาตรฐานด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการจัดเตรียมขบวนรถ  และตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องก่อนยืนยันการออกเดินทาง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพระบบขนส่งทางราง (Rail Sector)ISCO-08 หมวดใหญ่ 8 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ (หน้าที่ขับเคลื่อนรถไฟและยานพาหนะ)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
การรถไฟแห่งประเทศไทย ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ พ.ศ.2549 (ขดร.2549)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10508.1

เตรียมความพร้อมด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจก่อนปฏิบัติงาน

1.1 ระบุวิธีการเตรียมพร้อมด้านสุขภาพร่างกาย และจิตใจ ก่อนและหลังการปฏิบัติหน้าที่ ตามข้อกำหนดขององค์กร และหลักความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานได้อย่างถูกต้อง 

10508.1.01 163614
10508.1

เตรียมความพร้อมด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจก่อนปฏิบัติงาน

1.2 บอกวิธีบริหารจัดการความเครียดในขณะปฏิบัติหน้าที่ได้

10508.1.02 163615
10508.1

เตรียมความพร้อมด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจก่อนปฏิบัติงาน

1.3 ประเมินศักยภาพของตนเองที่เสื่อมลงเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพร่างกายและสภาพจิตใจ

10508.1.03 163616
10508.1

เตรียมความพร้อมด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจก่อนปฏิบัติงาน

1.4 เลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในขณะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม

10508.1.04 163617
10508.2

เตรียมการนำรถดีเซลรางเทียบขบวน

2.1 ระบุและตรวจสอบตำแหน่งการใช้งานของอุปกรณ์ควบคุมการขับเคลื่อนภายในห้องขับ ตามคู่มือการใช้รถและมาตรฐานการบำรุงรักษา

10508.2.01 163618
10508.2

เตรียมการนำรถดีเซลรางเทียบขบวน

2.2 ระบุและตรวจสอบตำแหน่งการใช้งานของอุปกรณ์ควบคุมระบบไฟฟ้าขบวนรถตามคู่มือการใช้รถและมาตรฐานการบำรุงรักษา

10508.2.02 163619
10508.2

เตรียมการนำรถดีเซลรางเทียบขบวน

2.3 ตรวจสอบการทำงานของระบบประตูขึ้นลงผู้โดยสาร ตามข้อกำหนด และมาตรฐานความปลอดภัยขององค์กร

10508.2.03 163620
10508.2

เตรียมการนำรถดีเซลรางเทียบขบวน

2.4 ประสานผู้เกี่ยวข้องเพื่อทำการปรับแต่งแก้ไขอุปกรณ์ต่างๆ ของรถ ตามข้อกำหนดและมาตรฐานความปลอดภัยขององค์กร เพื่อให้สามารถใช้งานได้เป็นปกติ

10508.2.04 163621
10508.3

เตรียมการก่อนออกเดินทาง

3.1 ระบุรายการตรวจสอบ เอกสาร และ/หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องก่อนยืนยันการออกเดินทาง ตามขั้นตอนและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเดินรถได้อย่างถูกต้อง

10508.3.01 163622
10508.3

เตรียมการก่อนออกเดินทาง

3.2 ระบุอันตราย และประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการเดินทางได้อย่างถูกต้อง

10508.3.02 163623
10508.3

เตรียมการก่อนออกเดินทาง

3.3 ระบุข้อจำกัดและคำแนะนำพิเศษที่อาจจำเป็นต้องใช้สำหรับการเดินทางได้

10508.3.03 163624

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับรถจักรและรถพ่วง

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถดีเซลราง

  • ความรู้พื้นฐานด้านงานช่าง/วิศวกรรม

  • การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ช่างพื้นฐาน



ขั้นตอนการสื่อสารและระเบียบปฏิบัติในการปฏิบัติการเดินขบวนรถไฟ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ (Skill Requirement)



      (ก1) ทักษะทางเทคนิค (Technical Skills)




  • ทักษะการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำขบวนหรือปฏิบัติการเดินรถ

  • ทักษะการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบปฏิบัติที่กำหนด

  • ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

  • ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติงานทักษะการใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือช่าง และอุปกรณ์อ่านค่าแสดงผลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน

  • ทักษะการอ่านคู่มือการใช้งาน และตีความคำแนะนำ ขั้นตอน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเดินรถหรือการทำขบวน

  • ทักษะการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเดินรถ



(ก2) ทักษะทางสังคมและการทำงาน (Soft Skills)




  • ทักษะการวางแผนงาน/โครงการ

  • ทักษะการแก้ไขปัญหา/เหตุการณ์เฉพาะหน้า

  • ทักษะการควบคุมงานและสอนงาน                  

  • ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างการปฏิบัติงาน



ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม                     

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้ประจำหน้าที่ขับเคลื่อน/ควบคุมยานพาหนะสาธารณะ



(ข2) หลักปฏิบัติในการควบคุมเหตุอันตราย สถานการณ์ฉุกเฉิน และสถานการณ์/สภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยง



(ข3) กฏความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้อง (OH&S)



(ข4)  แบบฟอร์ม/เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการก่อนปฏิบัติการเดินรถหรือการทำขบวน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องศึกษาคำแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน ควบคู่ไปกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการ ขอบเขต และแนวทางการประเมินสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้                     



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการทำงานจากองค์กร/สถานประกอบการ หรือ                         



(ก2) ใบกำหนดหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ                    



(ก3) วิดีโอการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ                              



(ก4) ภาพถ่ายผลงานหรือชิ้นงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้



(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา หรือ                                                              



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร/ใบรับรองผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรด้านปฏิบัติการรถจักร และ/หรือหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



(ค1)  ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการประเมิน และหลักฐานที่จำเป็น                 



       ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานที่จำเป็นที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงาน อาทิ:                                                                 




  • หลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้                                         

  • ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถไฟ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการปฏิบัติงาน

  • อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับขอบเขต          



 



(ค2)  บริบทและทรัพยากรเฉพาะสำหรับการประเมิน                                        




  • ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงให้เห็นถึงทักษะความสามารถที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ภายในช่วงระยะเวลาและบริบทที่เหมาะสม                    

  • ทรัพยากรสำหรับการประเมิน อาทิ แบบฝึกหัดที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษา การสาธิตการปฏิบัติงาน การประเมินความรู้ การประเมินการปฏิบัติงานในสถานที่จริง                



(ค3)  วิธีการประเมิน                                                                           




  • การประเมินความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น   

  • การประเมินความรู้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกเป็นอย่างน้อย และ/หรือการสอบสัมภาษณ์ หรือพิจารณาจากหลักฐานความรู้ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบรับรองผ่านการอบรม ประกาศนียบัตรผ่านการอบรม เป็นต้น

  • การประเมินการปฏิบัติงาน โดยการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรืออาจจะพิจารณาจากหลักฐานการปฏิบัติงานที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หนังสือรับรองการทำงานจากองค์กร/สถานประกอบการ ใบกำหนดหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ วิดีโอการปฏิบัติงาน ภาพถ่ายผลงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



 (ก1)  สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถเตรียมการสำหรับปฏิบัติการเดินรถหรือทำขบวน ได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานขององค์กร ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถไฟ และหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจก่อนปฏิบัติงาน จัดเตรียมและตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องก่อนยืนยันการออกเดินทาง



        นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย                             



            (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานที่จำเป็น ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้             



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




















































(ข1)



ปัญหาด้านสุขภาพร่างกายที่ส่งผลต่อการทำขบวนหรือปฏิบัติการเดินรถ อาทิเช่น:




  • โรคประจำตัว

  • เสพสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  • เสพยาเสพติด

  • ตกอยู่ภายใต้ฤทธิ์ยา

  • พักผ่อนไม่เพียงพอ

  • ตรากตรำทำงานอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน

  • เกิดอุบัติเหตุกับสภาพร่างกายและยังไม่หายเป็นปกติ



(ข2)



ปัญหาด้านสภาพจิตใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการเดินรถหรือทำขบวน อาทิ:




  • การเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรัง/โรคประจำตัว

  • ความเครียดจากปัญหาส่วนตัว หรือครอบครัว

  • ความเครียดสะสมจากการปฎิบัติงาน

  • ติดการพนัน

  • ติดยาเสพติดหรือสารเสพติด

  • เกิดคดีความจากการปฏิบัติงาน หรือส่วนตัว

  • ประสบอุบัติเหตุ/เหตุอันตรายร้ายแรงจากการทำงาน



(ข3)



ขั้นตอนการเตรียมการนำรถดีเซลรางเทียบขบวน:




  • ตรวจสอบการทำงานของระบบประตูขึ้น-ลงผู้โดยสาร

  • ตรวจสอบตำแหน่งการใช้งานของอุปกรณ์ควบคุมการขับเคลื่อน ภายในห้องขับให้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง

  • ตรวจสอบตำแหน่งการใช้งานของอุปกรณ์ควบคุมระบบไฟฟ้าขบวนรถให้ใช้การได้ดี

  • ทดสอบและลงตรวจสอบระบบห้ามล้อก่อนเคลื่อนขบวนรถ

  • ทดสอบระบบห้ามล้อบริเวณปลายชานสถานีและก่อนถึงจุดจอดตามข้อกำหนดเพื่อความปลอดภัย



(ข4)



อันตรายหรือความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง อาทิเช่น:




  • ชนสิ่งกีดขวางบนทาง เช่น คน สัตว์ รถยนต์ ต้นไม้ ก้อนหิน ฯลฯ

  • เครื่องกั้นถนนผ่านเสมอระดับทางชำรุด ไม่ทำงาน

  • ภัยธรรมชาติ เช่น ฝนตก น้ำท่วม ทางขาด ดินสไลด์

  • ไฟไหม้บริเวณใกล้เคียงหรือใกล้ทางรถไฟ หรือต้นไม้บริเวณข้างทาง

  • ความเสี่ยงจากบุคคลภายนอกที่สัญจรผ่านไปมาทางถนน ในการข้ามทางผ่านถนนเสมอระดับทาง

  • การไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร

  • การก่อวินาศกรรม

  • การปฏิบัติงานที่ผิดพลาดของผู้เกี่ยวข้อง

  • การก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากบุคคลที่ 3 เช่น ขว้างปาขบวนรถ



(ข5)



เครื่องมือ อุปกรณ์ และเอกสาร



ที่ควรจะต้องมีในการปฏิบัติงาน:




  • นาฬิกา

  • วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • คำสั่งประกาศเดินรถพิเศษที่เกี่ยวข้อง

  • โคมสัญญาณ และ/หรือ ธง (เขียว-แดง) ตามความจำเป็น

  • เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์บางอย่างประจำรถจักรตามที่กำหนด



(ข6)



เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ต้องใช้



ระหว่างการปฏิบัติงาน:




  • ถุงมือหนัง/ถุงมือถัก/ถุงมือกันลื่น

  • แว่นตากันแดด/แว่นตานิรภัย

  • อุปกรณ์ป้องกันหู

  • รองเท้านิรภัย

  • ไฟฉาย

  • อุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ ที่จำเป็น



(ข7)



วิธีการสื่อสาร อาจรวมถึง:




  • การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • การให้สัญญาณมือ



(ข8)



การแจ้งข้อมูล:




  • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face

  • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

  • ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์



(ข9)



ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:




  • ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2549 (ขดร.2549)

  • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการรถจักรขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คู่มือการใช้งานรถจักร รถพ่วงขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คู่มือคำแนะนำการใช้งาน/คู่มือการใช้รถ/คู่มือประจำรถจักรชนิดต่างๆ

  • คู่มือความปลอดภัยในการทำงานขององค์กร/สถานประกอบการ



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือประเมินการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ



             1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                       



              2) การสัมภาษณ์     



18.2 เครื่องมือประเมินการเตรียมการนำรถดีเซลรางเทียบขบวน



             1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                       



             2) การสัมภาษณ์ หรือ



             3) การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)                           



      18.3 เครื่องมือประเมินการเตรียมการก่อนออกเดินทาง



             1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                       



             2) การสัมภาษณ์



             3) การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ