หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดสอบระบบห้ามล้อ

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-SHNN-195B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดสอบระบบห้ามล้อ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ขับรถจักร (Locomotive Driver)



ISCO-08       8311   พนักงาน/คนขับเคลื่อนหัวรถจักร    



                 8311   ผู้ขับหัวรถจักร



                 8311   พนักงาน/คนขับรถไฟ     


1 8311 ผู้ขับหัวรถจักร

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเตรียมการ การทดสอบการทำงานของระบบห้ามล้อหรือเบรกรถไฟ การจัดการ/แก้ไขข้อผิดพลาดในระหว่างการทดสอบ ตามข้อกำหนดและขั้นตอนขององค์กร และหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการบันทึกผลการทดสอบระบบห้ามล้อหรือเบรกรถไฟตามข้อกำหนดขององค์กร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพระบบขนส่งทางราง (Rail Sector)ISCO-08 หมวดใหญ่ 8 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ (หน้าที่ขับเคลื่อนรถไฟและยานพาหนะ)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2549 (ขดร.2549)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10507.1

ทดลองและตรวจระบบห้ามล้อขณะขบวนรถไฟอยู่กับที่

1.1 ระบุวิธีการตรวจระบบห้ามล้อแบบลมอัด-ลมดูด ตามข้อกำหนดเชิงเทคนิคของขบวนรถได้อย่างถูกต้อง

10507.1.01 163607
10507.1

ทดลองและตรวจระบบห้ามล้อขณะขบวนรถไฟอยู่กับที่

1.2 ทดลองระบบห้ามล้อแบบลมอัด-ลมดูด ตามข้อกำหนดเชิงเทคนิคของขบวนรถได้

10507.1.02 163608
10507.1

ทดลองและตรวจระบบห้ามล้อขณะขบวนรถไฟอยู่กับที่

1.3 ตรวจความพร้อมของระบบห้ามล้อแบบลมอัด-ลมดูด ตามข้อกำหนดเชิงเทคนิคของขบวนรถ 

10507.1.03 163609
10507.1

ทดลองและตรวจระบบห้ามล้อขณะขบวนรถไฟอยู่กับที่

1.4 ปรับแต่งระบบห้ามล้อให้มีประสิทธิภาพที่ดีตามข้อกำหนดเชิงเทคนิคของขบวนรถ

10507.1.04 163610
10507.2

ทดสอบระบบห้ามล้อเมื่อนำรถดีเซลรางเทียบขบวน

2.1 ระบุวิธีทดสอบระบบห้ามล้อเมื่อนำรถดีเซลรางลงเทียบขบวน ได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนดและมาตรฐานความปลอดภัยขององค์กร

10507.2.01 163611
10507.2

ทดสอบระบบห้ามล้อเมื่อนำรถดีเซลรางเทียบขบวน

2.2 ระบุขั้นตอนการรับแจ้งจากผู้เกี่ยวข้องผ่านเอกสารประกอบการเดินรถตามข้อบังคับขององค์กรได้อย่างถูกต้อง 

10507.2.02 163612
10507.2

ทดสอบระบบห้ามล้อเมื่อนำรถดีเซลรางเทียบขบวน

2.3 ตรวจสอบความยาวขบวนรถ และประสิทธิภาพแรงห้ามล้อตามข้อกำหนด คู่มือการใช้รถ และมาตรฐานการบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้อง

10507.2.03 163613
10507.3

บันทึกและรายงานผลการทดสอบระบบห้ามล้อ

3.1 บันทึกผลการทดสอบระบบห้ามล้อหรือระบบเบรกรถไฟลงในแบบฟอร์มที่กำหนดขององค์กร


10507.3.01 162796
10507.3

บันทึกและรายงานผลการทดสอบระบบห้ามล้อ

3.2 ยืนยันความพร้อมของระบบห้ามล้อได้อย่างถูกต้องตามข้อบังคับและขั้นตอนขององค์กร  


10507.3.02 162797
10507.3

บันทึกและรายงานผลการทดสอบระบบห้ามล้อ

3.3 รายงานผลการทดสอบระบบห้ามล้อต่อผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องตามนโยบายและขั้นตอนขององค์กร

10507.3.03 162798

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถจักรและรถพ่วง

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถดีเซลราง

  • ความรู้พื้นฐานด้านงานช่าง/วิศวกรรม

  • การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ช่างพื้นฐาน



ขั้นตอนการสื่อสารและระเบียบปฏิบัติในการปฏิบัติการเดินขบวนรถไฟ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ (Skill Requirement)



      (ก1) ทักษะทางเทคนิค (Technical Skills)




  • ทักษะการทดลองและตรวจระบบห้ามล้อขณะขบวนรถไฟอยู่กับที่

  • ทักษะการทดสอบระบบห้ามล้อเมื่อนำรถดีเซลรางเทียบขบวน

  • ทักษะการใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือช่าง และอุปกรณ์อ่านค่าแสดงผลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน

  • ทักษะการอ่านคู่มือการใช้งาน และตีความคำแนะนำ ขั้นตอน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบระบบห้ามล้อรถไฟ

  • ทักษะการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบปฏิบัติที่กำหนด

  • ทักษะการกรอกแบบฟอร์ม/จัดทำเอกสารหรือรายงานที่เกี่ยวกับการทดสอบระบบห้ามล้อรถไฟ

  • ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน    



(ก2) ทักษะทางสังคมและการทำงาน (Soft Skills)




  • ทักษะการวางแผนงาน/โครงการ

  • ทักษะการแก้ไขปัญหา/เหตุการณ์เฉพาะหน้า

  • ทักษะการควบคุมงานและสอนงาน                  

  • ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างการปฏิบัติงาน

  • ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม                    

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ส่วนประกอบและการทำงานของระบบห้ามล้อ/เบรกรถไฟ



(ข2) ความผิดปกติหรือข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นกับระบบห้ามล้อ/เบรกรถไฟ



(ข3) เทคนิคการวินิจฉัยความผิดปกติของระบบห้ามล้อ/เบรกรถไฟ



(ข4)  การบำรุงรักษารถจักรและรถพ่วง



(ข5)  กฏความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้อง (OH&S)                                    



(ข6)     แบบฟอร์ม/เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบระบบห้ามล้อรถไฟ      


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องศึกษาคำแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน ควบคู่ไปกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการ ขอบเขต และแนวทางการประเมินสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้                     



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการทำงานจากองค์กร/สถานประกอบการ หรือ                         



(ก2) ใบกำหนดหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ                    



(ก3) วิดีโอการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ                              



(ก4) ภาพถ่ายผลงานหรือชิ้นงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้



(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา หรือ                                                              



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร/ใบรับรองผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรด้านปฏิบัติการรถจักร และ/หรือหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



(ค1)  ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการประเมิน และหลักฐานที่จำเป็น                 



       ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานที่จำเป็นที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงาน อาทิ:                                                                 




  • หลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้                                         

  • ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถไฟ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการปฏิบัติงาน

  • อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับขอบเขต          



(ค2)  บริบทและทรัพยากรเฉพาะสำหรับการประเมิน                                        




  • ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงให้เห็นถึงทักษะความสามารถที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ภายในช่วงระยะเวลาและบริบทที่เหมาะสม                    

  • ทรัพยากรสำหรับการประเมิน อาทิ แบบฝึกหัดที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษา การสาธิตการปฏิบัติงาน การประเมินความรู้ การประเมินการปฏิบัติงานในสถานที่จริง       

  • ในบางกรณีอาจจะต้องประเมินในสถานที่ปฏิบัติงานจริง และ/หรือในสถานการณ์จำลอง เนื่องมาจาก:                                                                     




  • เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน                           

  • เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน อาทิ ข้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติ คู่มือการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน                



(ค3)  วิธีการประเมิน                                                                           




  • การประเมินความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น   

  • การประเมินความรู้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกเป็นอย่างน้อย และ/หรือการสอบสัมภาษณ์ หรือพิจารณาจากหลักฐานความรู้ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบรับรองผ่านการอบรม ประกาศนียบัตรผ่านการอบรม เป็นต้น

  • การประเมินการปฏิบัติงาน สามารถทำได้ทั้งการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค และ/หรือ การจำลองสถานการณ์ (Train Driing Simulator) หรืออาจจะพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หนังสือรับรองการทำงานจากองค์กร/สถานประกอบการ ใบกำหนดหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ วิดีโอการปฏิบัติงาน ภาพถ่ายผลงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น      


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



 (ก1)  สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถเตรียมการ ทดสอบการทำงานของระบบห้ามล้อหรือเบรกรถไฟได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนดและขั้นตอนขององค์กร มาตรฐานการบำรุงรักษา และหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจัดการ/แก้ไขข้อผิดพลาด และบันทึกผลการทดสอบระบบห้ามล้อหรือเบรกรถไฟได้ตามข้อกำหนดขององค์กร



        นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย                             



            (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานที่จำเป็น ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้             



(ข) คำอธิบายรายละเอียด






























































(ข1)



ระบบห้ามล้อ/เบรกรถไฟ:




  • ระบบห้ามล้อชนิดต่างๆ ที่มีการใช้งานในกิจการรถไฟทั่วโลก

  • ระบบห้ามล้อที่มีใช้งานในการรถไฟแห่งประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ระบบใหญ่ คือ ระบบห้ามล้อสูญญากาศ (Vacuum Brake) และระบบห้ามล้อลมอัด (Air Brake)



(ข2)



ส่วนประกอบของระบบห้ามล้อ/เบรกรถไฟแบบสุญญากาศ (Vacuum Brake):




  • เครื่องสูญญากาศ 

  • ลิ้นควบคุมการทำงานของห้ามล้อ

  • หม้อสูบห้ามล้อ

  • รยางค์ห้ามล้อ และแท่งห้ามล้อ



(ข3)



ส่วนประกอบของระบบห้ามล้อ/เบรกรถไฟแบบลมอัด (Air Brake)




  • เครื่องทำลมอัด

  • ถังพักลมประธาน

  • เครื่องควบคุมแรงดันลมในถังพักลมประธาน

  • ลิ้นบังคับการห้ามล้อ

  • ลิ้นควบคุมการห้ามล้อ(Distributor Valve)

  • ถังพักลมสำหรับห้ามล้อ( Auxiliary Reservoir)

  • หม้อสูบห้ามล้อ

  • รยางค์ห้ามล้อ และแท่งห้ามล้อ



(ข4)



ส่วนประกอบและการทำงาน



ของระบบห้ามล้อ/ระบบเบรก



รถดีเซลราง:




  • เครื่องทำลมอัด

  • ถังพักลมประธาน

  • เครื่องควบคุมแรงดันลมในถังพักลมประธาน

  • ลิ้นลดแรงดันลม (Reducing Valve)

  • ลิ้นบังคับการห้ามล้อ (M 23 Brake Valve)

  • ลิ้นควบคุมการห้ามล้อ (A - Control Valve / E - Control Valve)

  • ถังพักลมสำหรับห้ามล้อ (Auxiliary Reservoir/ Suplementary Reservoir)

  • หม้อสูบห้ามล้อ

  • รยางค์ห้ามล้อ และแท่งห้ามล้อ



(ข5)



ความผิดปกติหรือข้อบกพร่อง



ที่อาจเกิดขึ้นกับระบบห้ามล้อ/



ระบบเบรกรถไฟ อาทิเช่น:




  • หม้อสูบห้ามล้อไม่ทำงานเมื่อสั่งการลงห้ามล้อ

  • ลูกสูบห้ามล้อไม่คลายเมื่อสั่งการคลายห้ามล้อหรือจับกรอกับพื้นล้อ ทำให้ล้อเกิดความร้อน

  • แท่งห้ามล้อจับกับพื้นล้อไม่แน่น หรือจิกพื้นล้อ

  • การรั่วไหลของลมที่บริเวณหม้อสูบห้ามล้อลมอัด

  • สลักต่างๆ ที่ยึดบังคับเชื่อมโยง ของเครื่องระยางห้ามล้อมีอยู่ไม่ครบถ้วนและไม่มั่นคง

  • แท่งห้ามล้อสึกหรอหรือบางเกินพิกัด



(ข6)



วิธีการแก้ไขความผิดปกติของ



ระบบห้ามล้อ/เบรกรถไฟ



อาทิเช่น:




  • ตรวจสอบให้ก๊อกควบคุมการใช้งานของลิ้นควบคุมการห้ามล้อ อยู่ในท่าใช้งานหรือท่าที่ถูกต้อง

  • ทำการคลายห้ามล้อด้วยมือที่ลิ้นควบคุมการห้ามล้อ หรือแก้ไขให้ลูกสูบห้ามล้อให้คลายตัวอย่างสมบูรณ์ด้วยวิธีอื่น

  • ใช้ฆ้อนตีเคาะที่แท่งห้ามล้อและให้ใช้วิธีฟังเสียง ถ้าเสียงดังทึบก็แสดงว่าแท่งห้ามล้อจับแน่น แต่ถ้าเสียงดังก้องกังวาน ก็แสดงว่าแท่งห้ามล้อจับไม่แน่นกับพื้นล้อ แล้วแจ้งผู้เกี่ยวข้องทำการแก้ไข

  • เปลี่ยนแท่งห้ามล้อที่สึกหรอหรือบางเกินพิกัด



(ข7)



เครื่องมือ อุปกรณ์ และเอกสาร



ที่ควรจะต้องมีในการปฏิบัติงาน:




  • นาฬิกา

  • วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • คำสั่งประกาศเดินรถพิเศษที่เกี่ยวข้อง

  • โคมสัญญาณ และ/หรือ ธง (เขียว-แดง) ตามความจำเป็น

  • เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์บางอย่างประจำรถจักรตามที่กำหนด



(ข8)



เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ต้องใช้



ระหว่างการปฏิบัติงาน:




  • ถุงมือหนัง/ถุงมือถัก/ถุงมือกันลื่น

  • แว่นตากันแดด/แว่นตานิรภัย

  • อุปกรณ์ป้องกันหู

  • รองเท้านิรภัย

  • ไฟฉาย

  • อุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ ที่จำเป็น



(ข9)



วิธีการสื่อสาร อาจรวมถึง:




  • การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • การให้สัญญาณมือ



(ข10)



การแจ้งข้อมูล:




  • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face

  • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

  • ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์



(ข11)



ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:




  • ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2549 (ขดร.2549)

  • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการรถจักรขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คู่มือการใช้งานรถจักร รถพ่วงขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คู่มือคำแนะนำการใช้งาน/คู่มือการใช้รถ/คู่มือประจำรถจักรชนิดต่างๆ

  • คู่มือความปลอดภัยในการทำงานขององค์กร/สถานประกอบการ



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการทดลองและตรวจระบบห้ามล้อขณะขบวนรถไฟอยู่กับที่




  1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                       

  2. การสัมภาษณ์ หรือ

  3. สถานการณ์จำลอง (Train Driving Simulator) หรือ

  4. การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)                                              



18.2 เครื่องมือประเมินการทดสอบระบบห้ามล้อเมื่อนำรถดีเซลรางเทียบขบวน




  1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                      

  2. การสัมภาษณ์ หรือ

  3. สถานการณ์จำลอง (Train Driving Simulator) หรือ

  4. การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)                                             



      18.3 เครื่องมือประเมินการบันทึกและรายงานผลการทดสอบระบบห้ามล้อ




  1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                      

  2. การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ