หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สับเปลี่ยนรถ ต่อพ่วงขบวน และปลดเครื่องพ่วง

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-BDHX-194B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สับเปลี่ยนรถ ต่อพ่วงขบวน และปลดเครื่องพ่วง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ขับรถจักร (Locomotive Driver)



ISCO-08       8311   พนักงาน/คนขับเคลื่อนหัวรถจักร    



                 8311   ผู้ขับหัวรถจักร



                 8311   พนักงาน/คนขับรถไฟ      


1 8311 ผู้ขับหัวรถจักร

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการวางแผน การเตรียมความพร้อม และการดำเนินการสับเปลี่ยนรถ ต่อพ่วงขบวน และปลดเครื่องพ่วงขบวน รวมทั้งวิธีการใช้งานเครื่องพ่วง/ขอพ่วง ตามข้อกำหนดและขั้นตอนขององค์กร และหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพระบบขนส่งทางราง (Rail Sector)ISCO-08 หมวดใหญ่ 8 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ (หน้าที่ขับเคลื่อนรถไฟและยานพาหนะ)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2549 (ขดร.2549)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10506.1

วางแผนและเตรียมความพร้อมสำหรับการสับเปลี่ยน

1.1 ระบุความหมายและวิธีการทำสับเปลี่ยนตามข้อกำหนดเชิงเทคนิคของขบวนรถได้อย่างถูกต้อ'

10506.1.01 163590
10506.1

วางแผนและเตรียมความพร้อมสำหรับการสับเปลี่ยน

1.2 ระบุสัญญาณและคำสั่งที่ใช้ควบคุมการเคลื่อนที่ของรถไฟในระหว่างการทำสับเปลี่ยนได้อย่างถูกต้อง

10506.1.02 163591
10506.1

วางแผนและเตรียมความพร้อมสำหรับการสับเปลี่ยน

1.3 ระบุข้อจำกัดและคำแนะนำพิเศษที่ใช้ในการสับเปลี่ยนรถตามข้อกำหนดและขั้นตอนขององค์กรได้อย่างถูกต้อง

10506.1.03 163592
10506.2

สับเปลี่ยนรถ

2.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยการทำสับเปลี่ยนในย่านสถานีได้อย่างถูกต้อง

10506.2.01 163593
10506.2

สับเปลี่ยนรถ

2.2 ตรวจสอบและคำนวณน้ำหนักลากจูง ความยาวขบวนรถ และประสิทธิภาพแรงห้ามล้อ ตามข้อกำหนด และมาตรฐานความปลอดภัยขององค์กรได้อย่างถูกต้อง

10506.2.02 163594
10506.2

สับเปลี่ยนรถ

2.3 ตัดสินใจและประสานงานด้านการลากจูงตามข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ

10506.2.03 163595
10506.3

ต่อพ่วงขบวน

3.1 ระบุชื่อและชนิดของเครื่องพ่วง/ขอพ่วงรถไฟได้อย่างถูกต้อง

10506.3.01 163596
10506.3

ต่อพ่วงขบวน

3.2 ระบุข้อจำกัดและคำแนะนำพิเศษที่อาจต้องใช้ในการต่อพ่วง ตามข้อกำหนดขององค์กรได้อย่างถูกต้อง

10506.3.02 163597
10506.3

ต่อพ่วงขบวน

3.3 ติดต่อประสานผู้เกี่ยวข้องในการต่อพ่วงขบวนตามข้อกำหนดและมาตรฐานความปลอดภัยขององค์กร

10506.3.03 163598
10506.3

ต่อพ่วงขบวน

3.4 ปฏิบัติตามขั้นตอนและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการเคลื่อนรถจักรในย่านสถานีได้อย่างถูกต้อง

10506.3.04 163599
10506.3

ต่อพ่วงขบวน

3.5 ต่อพ่วงขบวนรถไฟได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนและมาตรฐานความปลอดภัยขององค์กร

10506.3.05 163600
10506.3

ต่อพ่วงขบวน

3.6 ตรวจสภาพการต่อพ่วงขบวนร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง ตามคู่มือประจำรถและมาตรฐานการบำรุงรักษา

10506.3.06 163601
10506.3

ต่อพ่วงขบวน

3.7 ประสานงานผู้เกี่ยวข้องในการแก้ไขความชำรุดของขอพ่วงตามขั้นตอนและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยขององค์กร

10506.3.07 163602
10506.4

ปลดเครื่องพ่วง/ขอพ่วง

4.1 ตรวจสอบเครื่องพ่วง/ขอพ่วงก่อนทำการปลดออกจากขบวน ตามข้อกำหนดความปลอดภัยและขั้นตอนขององค์กร

10506.4.01 163603
10506.4

ปลดเครื่องพ่วง/ขอพ่วง

4.2 ปฏิบัติตามขั้นตอนและข้อกำหนดความปลอดภัยในการปลดเครื่องพ่วง/ขอพ่วงได้อย่างถูกต้อง

10506.4.02 163604
10506.4

ปลดเครื่องพ่วง/ขอพ่วง

4.3 ปลดเครื่องพ่วง/ขอพ่วงได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนและมาตรฐานความปลอดภัยขององค์กร

10506.4.03 163605
10506.4

ปลดเครื่องพ่วง/ขอพ่วง

4.4 ตรวจสอบหลังการปลดเครื่องพ่วง/ขอพ่วงตามขั้นตอนและข้อกำหนดขององค์กร 

10506.4.04 163606

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถจักรและรถพ่วง

  • ความรู้พื้นฐานด้านงานช่าง/วิศวกรรม

  • การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ช่างพื้นฐาน



ขั้นตอนการสื่อสารและระเบียบปฏิบัติในการปฏิบัติการเดินขบวนรถไฟ         


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ (Skill Requirement)



      (ก1) ทักษะทางเทคนิค (Technical Skills)




  • ทักษะการทำสับเปลี่ยนในย่านสถานี

  • ทักษะการต่อพ่วงขบวน และการปลดเครื่องพ่วง/ขอพ่วง

  • ทักษะการใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือช่าง และอุปกรณ์อ่านค่าแสดงผลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน

  • ทักษะการอ่านคู่มือการใช้งาน และตีความคำแนะนำ ขั้นตอน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสับเปลี่ยนรถ ต่อพ่วงขบวน และปลดเครื่องพ่วง

  • ทักษะการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบปฏิบัติที่กำหนด             

  • ทักษะการกรอกแบบฟอร์ม/จัดทำเอกสารหรือรายงานที่เกี่ยวกับการสับเปลี่ยนรถ และต่อพ่วงขบวน

  • ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน    



(ก2) ทักษะทางสังคมและการทำงาน (Soft Skills)




  • ทักษะการวางแผนงาน/โครงการ

  • ทักษะการแก้ไขปัญหา/เหตุการณ์เฉพาะหน้า

  • ทักษะการควบคุมงานและสอนงาน                  

  • ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างการปฏิบัติงาน

  • ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม                    

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความหมายและวิธีการทำสับเปลี่ยนตามข้อกำหนดเชิงเทคนิคของขบวนรถ



(ข2) สัญญาณและคำสั่งที่ใช้เพื่อช่วยควบคุมการเคลื่อนที่ของรถไฟในระหว่างการทำสับเปลี่ยน



(ข3) ชนิดของเครื่องพ่วง/ขอพ่วงรถไฟ



(ข4)  วิธีการต่อพ่วง และการปลดเครื่องพ่วง/ขอพ่วงขบวนรถไฟ



(ข5) ขั้นตอนและวิธีการบำรุงรักษารถจักรและรถพ่วง                                            



(ข6)  กฏความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้อง (OH&S)                                    



(ข7)     แบบฟอร์ม/เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษารถจักรและรถพ่วง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องศึกษาคำแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน ควบคู่ไปกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการ ขอบเขต และแนวทางการประเมินสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้                     



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการทำงานจากองค์กร/สถานประกอบการ หรือ                         



(ก2) ใบกำหนดหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ                    



(ก3) วิดีโอการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ                              



(ก4) ภาพถ่ายผลงานหรือชิ้นงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ



(ก5)  ผลงานจากการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา หรือ                                                              



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร/ใบรับรองผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรด้านปฏิบัติการรถจักร และ/หรือหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



(ค1)  ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการประเมิน และหลักฐานที่จำเป็น                 



       ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานที่จำเป็นที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในสมรรถนะย่อย และเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน อาทิ:                                                                        




  • หลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้                                         

  • ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถไฟ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการปฏิบัติงาน

  • อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับขอบเขต 



(ค2)  บริบทและทรัพยากรเฉพาะสำหรับการประเมิน                                        




  • ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงให้เห็นถึงทักษะความสามารถที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ภายในช่วงระยะเวลาและบริบทที่เหมาะสม                    

  • ทรัพยากรสำหรับการประเมิน อาทิ แบบฝึกหัดที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษา การสาธิตการปฏิบัติงาน การประเมินความรู้ การประเมินทักษะการปฏิบัติงานในสถานที่จริง




  • ในบางกรณีอาจจะต้องประเมินในสถานที่ปฏิบัติงานจริง หรือสถานการณ์จำลอง เนื่องมาจาก:




  • เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน                           

  • เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน อาทิ ข้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติ คู่มือการปฏิบัติงานขั้นตอนการปฏิบัติงาน                                                       



(ค3)  วิธีการประเมิน                                                                           




  • การประเมินความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น   

  • การประเมินความรู้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกเป็นอย่างน้อย และ/หรือการสอบสัมภาษณ์ หรือพิจารณาจากหลักฐานความรู้ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบรับรองผ่านการอบรม ประกาศนียบัตรผ่านการอบรม เป็นต้น

  • การประเมินการปฏิบัติงาน สามารถทำได้ทั้งการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรืออาจจะพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หนังสือรับรองการทำงานจากองค์กร/สถานประกอบการ ใบกำหนดหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ วิดีโอการปฏิบัติงาน ภาพถ่ายผลงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น  


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



 (ก1)  สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถวางแผน เตรียมความพร้อม และดำเนินการสับเปลี่ยนรถ ต่อพ่วงขบวน และปลดเครื่องพ่วงขบวนรถ รวมทั้งใช้งานเครื่องพ่วง/ขอพ่วง ได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนดและขั้นตอนขององค์กร มาตรฐานการบำรุงรักษา และหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกรอกเอกสารที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับงานได้อย่างถูกต้อง



        นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย                             



            (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานที่จำเป็น ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้    



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




















































(ข1)



ขั้นตอนการทำสับเปลี่ยนในย่านสถานี ประกอบด้วย:




  • รับทราบแผนการทำสับเปลี่ยนจากนายสถานี โดยมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร

  • การทำสับเปลี่ยนต้องมีพนักงานครบ ได้แก่ ผู้ขับรถหลัก ผู้ช่วยผู้ขับรถหลัก และผู้ทำการสับเปลี่ยน

  • ปฏิบัติตามสัญญาณทางสับเปลี่ยนชนิดไฟสี

  • ปฏิบัติตามสัญญาณมือที่ใช้ในการทำสับเปลี่ยน

  • ผู้ทำการสับเปลี่ยนต้องพยายามควบคุมการสับเปลี่ยนรถและอยู่ใกล้รถซึ่งกำลังเคลื่อนที่

  • จัดการสับเปลี่ยนรถให้กระทำสำเร็จไปภายในเวลาอันสมควรด้วยความปลอดภัย



(ข2)



สัญญาณและคำสั่งที่ใช้เพื่อช่วยควบคุมการเคลื่อนที่ของรถไฟในระหว่างการทำสับเปลี่ยน อาทิเช่น:




  • สัญญาณทางสับเปลี่ยนชนิดไฟสี

  • สัญญาณมือที่ใช้ในการทำสับเปลี่ยน

  • ความเร็วของรถจักรขณะทำการสับเปลี่ยนเข้าต่อกระทบกัน

  • ความเร็วของรถเมื่อเดินในทางซึ่งมิใช่ทางประธาน

  • ความเร็วของรถเมื่อเดินผ่านประแจ

  • การหยุดรถจักร รถพ่วง ห่างจากจุดกระทบไม่เกินกว่า 10 เมตร

  • การต่อท่อลมควบคุมระบบห้ามล้อในการทำสับเปลี่ยน

  • ข้อห้าม/ข้อจำกัดต่างๆ ในการทำสับเปลี่ยนรถ



(ข3)



ขั้นตอนและวิธีการต่อพ่วงขบวน ประกอบด้วย:




  • ได้รับอนุญาตจากผู้เกี่ยวข้องให้นำรถเข้าต่อพ่วงขบวน

  • หยุดรถจักร ห่างจากจุดกระทบไม่เกินกว่า 10 เมตร

  • ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องพ่วงทั้งรถจักรและรถพ่วงให้เรียบร้อยทั้งสองด้าน

  • จัดการให้เครื่องพ่วงอยู่ในลักษณะตำแหน่งที่ตรงกันและเปิดให้ปากขอพ่วง อยู่ในท่า “เปิด”ทั้งสองด้าน

  • นำรถจักร รถพ่วง เข้าต่อกระทบ โดยใช้ความเร็วไม่เกิน 5 กิโลเมตร/ชั่วโมง

  • ทดสอบและตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องพ่วง/ของพ่วงว่า อุปกรณ์ที่ควบคุมความปลอดภัยอยู่ในท่าใช้งานได้เรียบร้อยและปลอดภัย เช่น ดานขัดขอพ่วง ลงสุดแล้ว

  • นำสลักห่วงปราศภัยมาใส่ที่ชุดอุปกรณ์เครื่องพ่วง

  • ต่อท่อลมบังคับการระบบห้ามล้อขบวนรถ

  • ข้อห้าม/ข้อจำกัดต่างๆ ในการ



(ข4)



ขั้นตอนและวิธีการปลดเครื่องพ่วง/ขอพ่วง ประกอบด้วย:




  • ปิดทวารลมท่อห้ามล้อด้านรถจักรก่อน รอให้ลมระบายออกทั้งหมด จึงปิดทวารลมท่อห้ามล้อด้านรถพ่วง

  • ปลดท่อลมบังคับการระบบห้ามล้อขบวนรถ

  • ถอดสลักห่วงปราศภัยออกจากชุดอุปกรณ์เครื่องพ่วง

  • ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องพ่วงทั้งรถจักรและรถพ่วงให้เรียบร้อยทั้งสองด้าน

  • ปลดขอพ่วง โดยยกคันปลดขอพ่วงเพื่อแยกรถออกจากกัน



(ข5)



เครื่องมือ อุปกรณ์ และเอกสาร



ที่ควรจะต้องมีในการปฏิบัติงาน:




  • นาฬิกา

  • วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ




  • คำสั่งประกาศเดินรถพิเศษที่เกี่ยวข้อง

  • โคมสัญญาณ และ/หรือ ธง (เขียว-แดง) ตามความจำเป็น

  • เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์บางอย่างประจำรถจักรตามที่กำหนด



(ข6)



เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกัน



อันตรายส่วนบุคคลที่ต้องใช้



ระหว่างการปฏิบัติงาน:




  • ถุงมือหนัง/ถุงมือถัก/ถุงมือกันลื่น

  • แว่นตากันแดด/แว่นตานิรภัย

  • อุปกรณ์ป้องกันหู

  • รองเท้านิรภัย

  • ไฟฉาย

  • อุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ ที่จำเป็น



(ข7)



วิธีการสื่อสาร อาจรวมถึง:




  • การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • การให้สัญญาณมือ



(ข8)



การแจ้งข้อมูล:




  • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face

  • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

  • ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์



(ข9)



ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:




  • ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2549 (ขดร.2549)

  • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการรถจักรขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คู่มือการใช้งานรถจักร รถพ่วงขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คู่มือคำแนะนำการใช้งาน/คู่มือการใช้รถ/คู่มือประจำรถจักรชนิดต่างๆ

  • คำแนะนำการเติมน้ำระบายความร้อนเครื่องยนต์ของรถจักร GEA.

  • คู่มือความปลอดภัยในการทำงานขององค์กร/สถานประกอบการ



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการวางแผนและเตรียมความพร้อมสำหรับการสับเปลี่ยน




  1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                       

  2. การสัมภาษณ์ หรือ

  3. การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)                                              



      18.2 เครื่องมือประเมินการดำเนินการสับเปลี่ยนรถ




  1. การสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                      

  2. การสัมภาษณ์ หรือ                                                                             

  3. สถานการณ์จำลอง (Train Simutator) หรือ

  4. การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)                                               



      18.3 เครื่องมือประเมินการดำเนินการต่อพ่วงขบวน     




  1. การสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                      

  2. การสัมภาษณ์ หรือ

  3. สถานการณ์จำลอง (Train Simutator) หรือ                                                 

  4. การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)



      18.4 เครื่องมือประเมินการดำเนินการถอดเครื่องพ่วง/ขอพ่วง




  1. การสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                      

  2. การสัมภาษณ์ หรือ

  3. สถานการณ์จำลอง (Train Simutator) หรือ                                                 

  4. การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ