หน่วยสมรรถนะ
วิเคราะห์ความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้นของรถจักรและรถพ่วง
สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | RAI-MBDB-193B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | วิเคราะห์ความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้นของรถจักรและรถพ่วง |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพผู้ขับรถจักร (Locomotive Driver) ISCO-08 8311 พนักงาน/คนขับเคลื่อนหัวรถจักร 8311 ผู้ขับหัวรถจักร 8311 พนักงาน/คนขับรถไฟ 1 8311 ผู้ขับหัวรถจักร |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการวิเคราะห์/วินิจฉัยความผิดปกติและข้อขัดข้องเบื้องต้นของรถจักรและรถพ่วง รวมถึงการระบุวิธีการบำรุงรักษาและ/หรือการซ่อมแซม การดำเนินการบำรุงรักษาเบื้องต้นและการซ่อมแซมตามปกติ การตรวจสอบและรายงานการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซม เบื้องต้นตามข้อกำหนด/นโยบายและขั้นตอนขององค์กร |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
กลุ่มอาชีพระบบขนส่งทางราง (Rail Sector)ISCO-08 หมวดใหญ่ 8 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ (หน้าที่ขับเคลื่อนรถไฟและยานพาหนะ) |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2549 (ขดร.2549) |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
10505.1 วินิจฉัยความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้นของ รถจักรและรถพ่วง |
1.1 ระบุรายการตรวจสอบรถจักรตามคู่มือประจำรถและมาตรฐานการบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องครบถ้วน |
10505.1.01 | 163204 |
10505.1 วินิจฉัยความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้นของ รถจักรและรถพ่วง |
1.2 ระบุรายการตรวจสอบรถพ่วงตามคู่มือประจำรถและมาตรฐานการบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องครบถ้วน |
10505.1.02 | 163205 |
10505.1 วินิจฉัยความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้นของ รถจักรและรถพ่วง |
1.3 อธิบายขั้นตอนการตรวจเตรียมรถจักรและรถพ่วงได้อย่างถูกต้องตามคู่มือประจำรถและมาตรฐานการบำรุงรักษา |
10505.1.03 | 163206 |
10505.1 วินิจฉัยความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้นของ รถจักรและรถพ่วง |
1.4 ระบุข้อจำกัดและคำแนะนำพิเศษในการตรวจเตรียมรถจักรและรถพ่วงได้ |
10505.1.04 | 163207 |
10505.2 แนะนำและช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้น |
2.1 เสนอแนะวิธีการแก้ไขความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้นของรถจักรและรถพ่วงตามคู่มือการใช้รถและมาตรฐานการซ่อมบำรุง |
10505.2.01 | 163584 |
10505.2 แนะนำและช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้น |
2.2 แนะนำ/อบรม และควบคุมผู้ช่วยคนขับ/ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถแก้ไขความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้นของรถจักรและรถพ่วงได้ตามคู่มือการใช้รถและมาตรฐานการซ่อมบำรุง |
10505.2.02 | 163585 |
10505.2 แนะนำและช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้น |
2.3 ช่วยเหลือผู้ช่วยคนขับ/ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถแก้ไขความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้นของรถจักรและรถพ่วง ในกรณี/เหตุจำเป็นได้ตามข้อกำหนดและขั้นตอนขององค์กร |
10505.2.03 | 163586 |
10505.3 รายงานความผิดปกติและข้อขัดข้องต่อผู้บังคับบัญชา |
3.1 ประสานงานกับผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำขบวนรถ เกี่ยวกับความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้นตามข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ |
10505.3.01 | 163587 |
10505.3 รายงานความผิดปกติและข้อขัดข้องต่อผู้บังคับบัญชา |
3.2 รายงานเหตุการณ์และวิธีแก้ไขความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้นต่อผู้บังคับบัญชาตามข้อกำหนดและขั้นตอนขององค์กร |
10505.3.02 | 163588 |
10505.3 รายงานความผิดปกติและข้อขัดข้องต่อผู้บังคับบัญชา |
3.3 รายงานความเสียหายหลัก (Major damage) ของรถจักรและรถพ่วงที่ตรวจพบนอกเหนือจากความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้น ที่จะต้องทำการซ่อมใหญ่ หรือ Overhaul ต่อผู้บังคับบัญชา ตามข้อกำหนดและขั้นตอนขององค์กร |
10505.3.03 | 163589 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ขั้นตอนการสื่อสารและระเบียบปฏิบัติในการปฏิบัติการเดินขบวนรถไฟ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ (ก) ความต้องการด้านทักษะ (Skill Requirement) (ก1) ทักษะทางเทคนิค (Technical Skills)
(ก2) ทักษะทางสังคมและการทำงาน (Soft Skills)
ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม (ข) ความต้องการด้านความรู้ (ข1) ลักษณะความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้นของรถจักรและรถพ่วง (ข2) เครื่องยนต์และระบบถ่ายทอดกำลัง และระบบไฟฟ้าของรถจักรแต่ละชนิด (ข3) ระบบลม และระบบห้ามล้อของรถจักรและรถพ่วง (ข4) ระบบส่วนล่างของรถจักรและรถพ่วง (ข5) การบำรุงรักษารถจักรและรถพ่วง (ข6) กฏความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้อง (OH&S) (ข7) แบบฟอร์ม เอกสาร หรือรายงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการรถจักร |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องศึกษาคำแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน ควบคู่ไปกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการ ขอบเขต และแนวทางการประเมินสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้ (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) (ก1) หนังสือรับรองการทำงานจากองค์กร/สถานประกอบการ หรือ (ก2) ใบกำหนดหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ (ก3) วิดีโอการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ (ก4) ภาพถ่ายผลงานหรือชิ้นงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ (ก5) ผลงานจากการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) (ข1) ใบรับรองผลการศึกษา หรือ (ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร/ใบรับรองผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรด้านปฏิบัติการรถจักร และ/หรือหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ (ค) คำแนะนำในการประเมิน (ค1) ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการประเมิน และหลักฐานที่จำเป็น ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานที่จำเป็นที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงาน อาทิ: - หลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ - ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถไฟ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการปฏิบัติงาน - อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับขอบเขต (ค2) บริบทและทรัพยากรเฉพาะสำหรับการประเมิน
(ค3) วิธีการประเมิน
|
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
N/A |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
(ก) คำแนะนำ (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถวิเคราะห์/วินิจฉัยความผิดปกติและข้อขัดข้องเบื้องต้นของหัวรถจักรและรถพ่วง ได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนดและขั้นตอนขององค์กร มาตรฐานการบำรุงรักษา และหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสามารถเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานได้อย่างเหมาะสม และกรอกเอกสารที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับงานได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานที่จำเป็น ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้ (ข) คำอธิบายรายละเอียด (ข1) สาเหตุความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้นของรถจักรและรถพ่วง อาทิเช่น: อุณหภูมิน้ำระบายความร้อนเครื่องยนต์รถจักร ALSTHOM สูงเกินพิกัด กรณีขอพ่วงหลุดจากกันระหว่างทำขบวน (ข2) สาเหตุความผิดปกติเนื่องจากอุณหภูมิน้ำระบายความร้อนเครื่องยนต์รถจักร ALSTHOM สูงเกินพิกัด: น้ำระบายความร้อนน้อยเกินไป ไม่พอหมุนเวียน มีแก๊สแทรกในระบบ ขบวนรถมีน้ำหนักมาก ขึ้นทางลาดชัน เป็นระยะยาว เครื่องห้ามล้อรถพ่วงในขบวนจับกรอกับพื้นล้อ หรือ ห้ามล้อคลายไม่หมด Water pump ชำรุด รังผึ้งสกปรกอุดตัน Thermostat ไม่เปิดน้ำเข้ารังผึ้ง พัดลมระบายความร้อนของน้ำไม่เปลี่ยนรอบหรือหมุนรอบไม่เต็มที่ (ข3) สาเหตุความผิดปกติที่เกิดขึ้นในกรณีขอพ่วงหลุดจากกันระหว่างการทำขบวน: เกิดจากความบกพร่องของผู้ปฏิบัติงานในการประกอบและติดตั้ง เกิดจากความบกพร่องของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้งาน เช่น การทำสับเปลี่ยนรุนแรงเป็นเหตุให้ปากขอพ่วงอ้าตัวออกเกินพิกัด เมื่อรถวิ่งผ่านทางโค้ง ทำให้ขอพ่วงหลุดออกจากกัน หรือต่อขอพ่วงแล้ว ไม่ตรวจสอบว่าดานขัดลงสนิทหรือไม่ เกิดจากการกระทำของบุคคลภายนอกหรือสิ่งของข้างทาง เกิดจากความบกพร่องของอุปกรณ์และการออกแบบ (ข4) วิธีการแก้ไขความผิดปกติที่มีสาเหตุจากอุณหภูมิน้ำระบายความร้อนเครื่องยนต์รถจักร ALSTHOM สูงเกินพิกัด: ตรวจเติมน้ำระบายความร้อนให้ได้ระดับ ระบายแก๊สในระบบ ลดกำลังขับ (Control) และสังเกตอุณหภูมิที่จอแสดงผลในห้องขับประกอบ ตรวจสอบเครื่องห้ามล้อรถพ่วง ก่อนออกขบวนรถให้ เรียบร้อย ตรวจเปรียบเทียบอุณหภูมิระหว่างห้องเครื่องกับห้องพัดลม และฟังเสียง Water pump ว่ามีเสียงดังผิดปกติหรือไม่ แจ้งหน่วยซ่อมเพื่อแก้ไข แจ้งหน่วยซ่อมเพื่อแก้ไข ตรวจดูน้ำมันพัดลมและเติมให้ได้พิกัด/เปิด 3 Way cock ไปยังท่า Emergency (ข5) วิธีการแก้ไขความผิดปกติที่เกิดขึ้น ในกรณีขอพ่วงหลุดจากกันระหว่าง ทำขบวน: จัดทำหนังสือคู่มือแนะนำการใช้และการซ่อมเครื่องพ่วงแต่ละชนิด และจัดอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อย่าทำสับเปลี่ยนรุนแรง/เมื่อต่อขบวนแล้วต้องตรวจดูขอพ่วงและตรวจสอบว่าดานขัดลงสนิทหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุสุดวิสัยซึ่งผู้ขับรถหลักไม่สามารถป้องกันได้ ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อดำเนินการแก้ไข (ข6) เครื่องมือ อุปกรณ์ และเอกสาร ที่ควรจะต้องมีในการปฏิบัติงาน: นาฬิกา วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ คำสั่งประกาศเดินรถพิเศษที่เกี่ยวข้อง โคมสัญญาณ และ/หรือ ธง (เขียว-แดง) ตามความจำเป็น เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์บางอย่างประจำรถจักรตามที่กำหนด (ข7) เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ต้องใช้ ระหว่างการปฏิบัติงาน: เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ถุงมือหนัง/ถุงมือถัก/ถุงมือกันลื่น แว่นตากันแดด/แว่นตานิรภัย อุปกรณ์ป้องกันหู รองเท้านิรภัย ไฟฉาย อุปกรณ์ป้องกันอันตรายอื่นๆ ที่จำเป็น (ข8) วิธีการสื่อสาร อาจรวมถึง: การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ การให้สัญญานมือ (ข9) การแจ้งข้อมูล: สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ข10) ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง: ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2549 (ขดร.2549) คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการรถจักรขององค์กร/สถานประกอบการ คู่มือการใช้งานรถจักร รถพ่วง ขององค์กร/สถานประกอบการ คู่มือคำแนะนำการใช้งาน/คู่มือการใช้รถ/คู่มือประจำรถจักรชนิดต่างๆ คู่มือความปลอดภัยในการทำงานขององค์กร/สถานประกอบการ |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมินการวินิจฉัยความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้นของหัวรถจักรและรถพ่วง 1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก 2) การสัมภาษณ์ หรือ 3) การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) 18.2 เครื่องมือประเมินการแนะนำและช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขความผิดปกติหรือข้อขัดข้องเบื้องต้น 1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก 2) การสัมภาษณ์ หรือ 3) การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) 18.3 เครื่องมือประเมินการรายงานความผิดปกติและข้อขัดข้องต่อผู้บังคับบัญชา 1) ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก 2) การสัมภาษณ์ หรือ 3) การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) |