หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจเก็บรถจักรหลังทำขบวน

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-RBGT-192B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจเก็บรถจักรหลังทำขบวน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ขับรถจักร (Locomotive Driver)



ISCO-08       8311   พนักงาน/คนขับเคลื่อนหัวรถจักร    



                 8311   ผู้ขับหัวรถจักร



                 8311   พนักงาน/คนขับรถไฟ     



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการช่วยเหลือผู้ขับรถจักรหลักในการดำเนินการปลดรถจักรออกจากขบวน การตรวจสอบรถจักรหลังทำขบวน และการส่งมอบรถจักรให้แก่หน่วยซ่อมบำรุงหรือสถานที่เก็บ ตามข้อบังคับและระเบียบการเดินรถขององค์กร รวมถึงการบันทึกข้อมูลประจำรถจักรและรายงานผลการปฏิบัติงานหลังสิ้นสุดการทำขบวน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพระบบขนส่งทางราง (Rail Sector)ISCO-08         หมวดใหญ่ 8     ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ (หน้าที่ขับเคลื่อนรถไฟและยานพาหนะ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2549 (ขดร.2549)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10504.1

ช่วยผู้ขับรถจักรหลักปลด รถจักรออกจากขบวน

1.1 อธิบายขั้นตอนการปลดรถจักรออกจากขบวนตามข้อกำหนดขององค์กรได้อย่างถูกต้อง

10504.1.01 163222
10504.1

ช่วยผู้ขับรถจักรหลักปลด รถจักรออกจากขบวน

1.2 ตรวจสอบเอกสารคำสั่งและแจ้งผู้ขับรถจักรหลัก เพื่อดำเนินการปลดรถจักรออกจากขบวนตามข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ

10504.1.02 163223
10504.1

ช่วยผู้ขับรถจักรหลักปลด รถจักรออกจากขบวน

1.3 ปลดรถจักรตามแนวทางการปฎิบัติ ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ และขั้นตอนด้านความปลอดภัยที่กำหนดไว้ขององค์กร

10504.1.03 163224
10504.2

ตรวจสอบและส่งมอบรถจักรให้แก่หน่วยซ่อมบำรุง หรือสถานที่เก็บ

2.1 อธิบายขั้นตอนการส่งมอบรถจักรให้แก่หน่วยซ่อมบำรุง หรือสถานที่เก็บได้อย่างถูกต้อง

10504.2.01 163225
10504.2

ตรวจสอบและส่งมอบรถจักรให้แก่หน่วยซ่อมบำรุง หรือสถานที่เก็บ

2.2 ตรวจสอบทุกระบบของรถจักรให้ครบถ้วนตามข้อกำหนดและขั้นตอนขององค์กร

10504.2.02 163226
10504.2

ตรวจสอบและส่งมอบรถจักรให้แก่หน่วยซ่อมบำรุง หรือสถานที่เก็บ

2.3 ดับเครื่องยนต์ตามข้อกำหนดและขั้นตอนขององค์กร

10504.2.03 163227
10504.2

ตรวจสอบและส่งมอบรถจักรให้แก่หน่วยซ่อมบำรุง หรือสถานที่เก็บ

2.4 จัดการป้องกันการเลื่อนไหลของรถจักรตามข้อกำหนดและขั้นตอนขององค์กร

10504.2.04 163228
10504.3

รายงานผลการปฎิบัติงานหลังสิ้นสุดการทำขบวน

3.1 บันทึกข้อมูลประจำรถจักรหลังสิ้นสุดการปฏิบัติงาน ลงในเอกสาร/แบบฟอร์มที่กำหนดขององค์กรได้อย่างถูกต้อง

10504.3.01 163582
10504.3

รายงานผลการปฎิบัติงานหลังสิ้นสุดการทำขบวน

3.2 ส่งมอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทั้งหมดไปยังบุคลากรที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนดและขั้นตอนขององค์กร

10504.3.02 163583

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถจักรและรถพ่วง

  • ความรู้พื้นฐานด้านงานช่าง/วิศวกรรม

  • การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ช่างพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ (Skill Requirement)



      (ก1) ทักษะทางเทคนิค (Technical Skills)




  • ทักษะการปลดรถจักรออกจากขบวน

  • ทักษะการใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือช่าง และอุปกรณ์อ่านค่าแสดงผลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน

  • ทักษะการอ่านคู่มือการใช้งาน และตีความคำแนะนำ ขั้นตอน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตรวจเก็บหัวรถจักรหลังทำขบวน

  • ทักษะการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบปฏิบัติที่กำหนด

  • ทักษะการกรอกแบบฟอร์ม/จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจเก็บหัวรถจักรหลังทำขบวน

  • ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน   



(ก2) ทักษะทางสังคมและการทำงาน (Soft Skills)




  • ทักษะการประสานงาน

  • ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างการปฏิบัติงาน

  • ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ              

  • ทักษะการทำงานอย่างเป็นระบบ                              

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) การพ่วงและปลดขอพ่วง



(ข2) วิธีการและขั้นตอนการตรวจเก็บหัวรถจักรหลังทำขบวน                  



(ข3) การบำรุงรักษารถจักรและรถพ่วง



(ข4)  ขั้นตอนการสื่อสารและระเบียบปฏิบัติ



(ข5)  กฏความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้อง (OH&S)                 



(ข6)               แบบฟอร์ม/เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและส่งมอบรถจักร    


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องศึกษาคำแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน ควบคู่ไปกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการ ขอบเขต และแนวทางการประเมินสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้                     



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการทำงานจากองค์กร/สถานประกอบการ หรือ                         



(ก2) ใบกำหนดหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ                    



(ก3) วิดีโอการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ                              



(ก4) ภาพถ่ายผลงานหรือชิ้นงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา หรือ                                                              



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร/ใบรับรองผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรด้านปฏิบัติการรถจักร หรือหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้   



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



(ค1)  ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการประเมิน และหลักฐานที่จำเป็น                 



       ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานที่จำเป็นที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในสมรรถนะย่อย และเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน อาทิ:                                                                        



-   หลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้                                        



-   ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถไฟ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการปฏิบัติงาน



-   อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับขอบเขต          



(ค2)  บริบทและทรัพยากรเฉพาะสำหรับการประเมิน                                        




  • ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงให้เห็นถึงทักษะความสามารถที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ภายในช่วงระยะเวลาและบริบทที่เหมาะสม                    

  • ทรัพยากรสำหรับการประเมิน อาทิ แบบฝึกหัดที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษา การสาธิตการปฏิบัติงาน การประเมินความรู้ การประเมินการปฏิบัติงานในสถานที่จริง                



(ค3)  วิธีการประเมิน                                                                           




  • การประเมินความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น   

  • การประเมินความรู้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกเป็นอย่างน้อย และ/หรือการสอบสัมภาษณ์ หรือพิจารณาจากหลักฐานความรู้ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบรับรองผ่านการอบรม ประกาศนียบัตรผ่านการอบรม เป็นต้น

  • การประเมินการปฏิบัติงาน โดยการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรือพิจารณาจากหลักฐานการปฏิบัติงานที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หนังสือรับรองการทำงานจากองค์กร/สถานประกอบการ ใบกำหนดหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ วิดีโอการปฏิบัติงาน ภาพถ่ายผลงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 



 


15. ขอบเขต (Range Statement)
N/A

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
   15. ขอบเขต (Range Statement)(ก) คำแนะนำ(ก1)   สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถช่วยเหลือผู้ขับรถจักรหลักในการดำเนินการปลดรถจักรออกจากขบวน ตรวจสอบหัวรถจักรหลังทำขบวน และส่งมอบรถจักรให้แก่หน่วยซ่อมบำรุงหรือสถานที่เก็บ ได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนดและขั้นตอนขององค์กร มาตรฐานการบำรุงรักษา และหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสามารถเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานได้อย่างเหมาะสม และกรอกเอกสารที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับงานได้อย่างถูกต้อง        นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย                              (ก2)   สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานที่จำเป็น ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้              (ข) คำอธิบายรายละเอียด (ข1) ขั้นตอนการปลดรถจักรออกจากขบวน ประกอบด้วย: รับอนุญาตจากนายสถานีทางสะดวก (แบบใบอนุญาตปลดรถจักรหรือใบสับเปลี่ยนรถ) รับผิดชอบร่วมกับผู้ขับรถหลักในการปลดรถจักรออกจากขบวน ปิดทวารลมท่อห้ามล้อด้านรถจักรก่อน รอให้ลมระบายออกทั้งหมด จึงปิดทวารลมท่อห้ามล้อด้านรถพ่วง ปลดท่อลมบังคับการระบบห้ามล้อขบวนรถ ถอดสลักห่วงปราศภัยออกจากชุดอุปกรณ์เครื่องพ่วง ทำการปลดขอพ่วงโดยยกคันปลดขอพ่วง เคลื่อนรถโดยปฏิบัติตามสัญญาณมือของนายสถานีหรือพนักงานหอสัญญาณหรือพนักงานผู้ทำการสับเปลี่ยน (ข2) ขั้นตอนการส่งมอบรถจักรให้แก่หน่วยซ่อมบำรุง หรือสถานที่เก็บประกอบด้วย: นำรถจักรรับน้ำมันเชื้อเพลิงให้เพียงพอ (ถ้ามี) นำรถจักรเข้าบริเวณที่เก็บรถจักรตามที่กำหนด ตรวจสอบทุกระบบของรถจักรให้ครบถ้วน เช่น ระบบน้ำระบายความร้อน/น้ำมันหล่อลื่น/น้ำมันเครื่องถ่ายทอดกำลัง น้ำมันเครื่องทำลมบังคับการ เป็นต้น ทำการดับเครื่องยนต์ และนำ Main Switch ไว้ในท่า  “ไม่ใช้การ” จัดการลงห้ามล้อมือที่รถจักรป้องกันการเลื่อนไหล ส่งมอบเครื่องมือประจำรถจักร ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ (ข3) รายการตรวจสอบรถจักรหลังสิ้นสุดการทำขบวน อาทิเช่น: ตรวจสอบและบันทึกชั่วโมงทำการของเครื่องยนต์ ลงในสมุดบันทึกประจำรถจักร หรือแบบฟอร์มที่กำหนด ตรวจสอบและบันทึกกิโลเมตรทำการของรถจักร ลงในสมุดบันทึกประจำรถจักร หรือแบบฟอร์มที่กำหนด บันทึกรายการความชำรุดหรือความผิดปกติของรถจักร พร้อมทั้งบันทึกการแก้ไขข้อขัดข้องเบื้องต้น ลงในสมุดบันทึกประจำรถจักร (ถ้ามี) ส่งรายงานการปฏิบัติงานประจำวันไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้เกี่ยวข้อง ตามข้อกำหนดขององค์กร (ข4) เครื่องมือ อุปกรณ์ และเอกสาร ที่ควรจะต้องมีในการปฏิบัติงาน: นาฬิกา วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ คำสั่งประกาศเดินรถพิเศษที่เกี่ยวข้อง โคมสัญญาณ และ/หรือ ธง (เขียว-แดง) ตามความจำเป็น เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์บางอย่างประจำรถจักรตามที่กำหนด (ข5) เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ต้องใช้ ระหว่างการปฏิบัติงาน: เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ถุงมือหนัง/ถุงมือถัก/ถุงมือกันลื่น แว่นตากันแดด/แว่นตานิรภัย อุปกรณ์ป้องกันหู รองเท้านิรภัย ไฟฉาย อุปกรณ์ป้องกันอันตรายอื่นๆ ที่จำเป็น (ข6) วิธีการสื่อสาร อาจรวมถึง การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ การให้สัญญาณมือ (ข7) การแจ้งข้อมูล สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ข8) ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง: ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2549 (ขดร.2549) คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ คำสั่ง ทีเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการรถจักรขององค์กร/สถานประกอบการ คู่มือการใช้งานรถจักร รถพ่วงขององค์กร/สถานประกอบการ คู่มือคำแนะนำการใช้งาน/คู่มือการใช้รถ/คู่มือประจำรถจักรชนิดต่างๆ คู่มือความปลอดภัยในการทำงานขององค์กร/สถานประกอบการ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการดำเนินการช่วยผู้ขับรถจักรหลักปลดรถจักรออกจากขบวน




  1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                       

  2. การสัมภาษณ์ หรือ

  3. การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)



      18.2 เครื่องมือประเมินการตรวจสอบและส่งมอบรถจักรให้แก่หน่วยซ่อมบำรุงหรือสถานที่เก็บ




  1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                       

  2. การสัมภาษณ์ หรือ

  3. การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)                                              

    1. เครื่องมือประเมินการรายงานผลการปฎิบัติงานหลังสิ้นสุดการทำขบวน






  1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                       

  2. การสัมภาษณ์ หรือ

  3. การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ