หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจเตรียมความพร้อมของรถจักรและรถพ่วง

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-QLSH-189B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจเตรียมความพร้อมของรถจักรและรถพ่วง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

กลุ่มอาชีพระบบขนส่งทางราง (Rail Sector)



ISCO-08 หมวดใหญ่ 8 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ (หน้าที่ขับเคลื่อนรถไฟและยานพาหนะ)


1 8311 ผู้ขับหัวรถจักร

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในตรวจเตรียมความพร้อมของรถจักรและรถพ่วงก่อนทำขบวนตามขั้นตอนขององค์กร ข้อกำหนด/กฎปฏิบัติ และหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบเครื่องยนต์และระบบถ่ายทอดกำลัง ระบบไฟฟ้า ระบบลม ระบบห้ามล้อ ระบบส่วนล่างตามคู่มือประจำรถและมาตรฐานการบำรุงรักษา รวมถึงการบันทึกงาน/กรอกเอกสารที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพระบบขนส่งทางราง (Rail Sector)ISCO-08 หมวดใหญ่ 8 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ (หน้าที่ขับเคลื่อนรถไฟและยานพาหนะ)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2549 (ขดร.2549)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10501.1
ระบุรายการตรวจเตรียม
รถจักรและรถพ่วงก่อนทำขบวน

1.1 ระบุรายการตรวจสอบรถจักรตามคู่มือประจำรถและมาตรฐานการบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 



10501.1.01 163086
10501.1
ระบุรายการตรวจเตรียม
รถจักรและรถพ่วงก่อนทำขบวน

1.2 ระบุรายการตรวจสอบรถพ่วงตามคู่มือประจำรถและมาตรฐานการบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องครบถ้วน


10501.1.02 163087
10501.1
ระบุรายการตรวจเตรียม
รถจักรและรถพ่วงก่อนทำขบวน

1.3 อธิบายขั้นตอนการตรวจเตรียมรถจักรและรถพ่วงได้อย่างถูกต้องตามคู่มือประจำรถและมาตรฐานการบำรุงรักษา


10501.1.03 163088
10501.1
ระบุรายการตรวจเตรียม
รถจักรและรถพ่วงก่อนทำขบวน

1.4 ระบุข้อจำกัดและคำแนะนำพิเศษในการตรวจเตรียมรถจักรและรถพ่วงได้

10501.1.04 163089
10501.2

ตรวจเตรียมเครื่องยนต์และระบบถ่ายทอดกำลัง

2.1 อธิบายวิธีการตรวจสอบเครื่องยนต์และระบบถ่ายทอดกำลังของรถจักรได้อย่างถูกต้อง


10501.2.01 163090
10501.2

ตรวจเตรียมเครื่องยนต์และระบบถ่ายทอดกำลัง

2.2 ตรวจสอบเครื่องยนต์และระบบถ่ายทอดกำลังด้วยสายตา (Visual Inspection) ตามคู่มือประจำรถและมาตรฐานการบำรุงรักษา


10501.2.02 163091
10501.2

ตรวจเตรียมเครื่องยนต์และระบบถ่ายทอดกำลัง

2.3 ตรวจสอบความพร่องของวัสดุสิ้นเปลือง อาทิ น้ำมันหล่อลื่น น้ำระบายความร้อน น้ำมันเชื้อเพลิง และเติมให้อยู่ในระดับตามที่ระบุไว้ในคู่มือประจำรถและมาตรฐานการบำรุงรักษา



10501.2.03 163092
10501.2

ตรวจเตรียมเครื่องยนต์และระบบถ่ายทอดกำลัง

2.4 แก้ไขข้อบกพร่องเล็กน้อยของเครื่องยนต์และระบบถ่ายทอดกำลังของรถจักร ตามคู่มือประจำรถและมาตรฐานการบำรุงรักษา

10501.2.04 163093
10501.3

ตรวจเตรียมระบบไฟฟ้า

3.1 อธิบายวิธีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าของรถจักรและรถพ่วงได้อย่างถูกต้อง


10501.3.01 163094
10501.3

ตรวจเตรียมระบบไฟฟ้า

3.2 ระบุเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบระบบไฟฟ้าของรถจักรและรถพ่วงได้อย่างถูกต้อง



10501.3.02 163095
10501.3

ตรวจเตรียมระบบไฟฟ้า

3.3 ตรวจสอบระบบไฟฟ้าตามคู่มือประจำรถและมาตรฐานการบำรุงรักษา

10501.3.03 163096
10501.3

ตรวจเตรียมระบบไฟฟ้า

3.4 แก้ไขข้อบกพร่องของระบบไฟฟ้าตามคู่มือประจำรถและมาตรฐานการบำรุงรักษา

10501.3.04 163097
10501.4

ตรวจเตรียมระบบลม และระบบห้ามล้อ

4.1 อธิบายวิธีการตรวจสอบระบบลม และระบบห้ามล้อของรถจักรได้อย่างถูกต้อง



10501.4.01 163098
10501.4

ตรวจเตรียมระบบลม และระบบห้ามล้อ

4.2 ระบุเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบระบบลม และระบบห้ามล้อได้อย่างถูกต้อง


10501.4.02 163099
10501.4

ตรวจเตรียมระบบลม และระบบห้ามล้อ

4.3 ตรวจสอบระบบลม และระบบห้ามล้อด้วยสายตา และฟังเสียงเพื่อระบุข้อบกพร่อง/ข้อขัดข้อง


10501.4.03 163100
10501.4

ตรวจเตรียมระบบลม และระบบห้ามล้อ

4.4 ทดสอบระบบห้ามล้อ (กด-ปล่อย) เพื่อให้แน่ใจว่าระบบเบรกของรถเป็นไปตามข้อกำหนดเฉพาะด้านการใช้งาน


10501.4.04 163101
10501.4

ตรวจเตรียมระบบลม และระบบห้ามล้อ

4.5 แก้ไขข้อบกพร่อง/ข้อขัดข้องของระบบลมและระบบห้ามล้อตามคู่มือประจำรถและมาตรฐานการบำรุงรักษา

10501.4.05 163102
10501.5

ตรวจเตรียมระบบส่วนล่าง

5.1 อธิบายวิธีการตรวจสอบระบบส่วนล่างของรถจักรและรถพ่วงได้อย่างถูกต้อง 10501.5.01 162746
10501.5

ตรวจเตรียมระบบส่วนล่าง

5.2 ระบุเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบระบบส่วนล่างของรถจักรและรถพ่วงได้อย่างถูกต้อง



10501.5.02 163083
10501.5

ตรวจเตรียมระบบส่วนล่าง

5.3 ตรวจสอบระบบส่วนล่างตามคู่มือประจำรถและมาตรฐานการบำรุงรักษา


10501.5.03 163084
10501.5

ตรวจเตรียมระบบส่วนล่าง

5.4 แก้ไขข้อบกพร่องของระบบส่วนล่างตามคู่มือประจำรถและมาตรฐานการบำรุงรักษา

10501.5.04 163085
10501.6

ยืนยันความพร้อมของรถจักรก่อนออกทำขบวน

6.1 บันทึกข้อมูลการตรวจเตรียมรถลงในแบบฟอร์มที่กำหนดขององค์กรได้อย่างถูกต้อง

10501.6.01 163208
10501.6

ยืนยันความพร้อมของรถจักรก่อนออกทำขบวน

6.2 รายงานผลการตรวจเตรียมรถที่เสร็จสมบูรณ์ต่อผู้บังคับบัญชาตามข้อกำหนด/ข้อบังคับขององค์กร 

10501.6.02 163209
10501.6

ยืนยันความพร้อมของรถจักรก่อนออกทำขบวน

6.3 รับมอบอำนาจจากผู้บังคับบัญชาในการนำรถออกปฏิบัติงานตามข้อกำหนด/ข้อบังคับขององค์กร 

10501.6.03 163210

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถจักรและรถพ่วง

  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบห้ามล้อรถจักร

  • ความรู้พื้นฐานด้านงานช่าง/วิศวกรรม

  • การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ช่างพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ก)   ความต้องการด้านทักษะ (Skill Requirement)



      (ก1) ทักษะทางเทคนิค (Technical Skills)




  • ทักษะการตรวจและเตรียมความพร้อมรถจักรและรถพ่วงก่อนทำขบวน

  • ทักษะการใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือช่าง และอุปกรณ์อ่านค่าแสดงผลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน

  • ทักษะการอ่านคู่มือการใช้งาน และตีความคำแนะนำ ขั้นตอน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตรวจเตรียมรถจักรและรถพ่วง

  • ทักษะการปฏิบัติงานท่ามกลางสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยง

  • ทักษะการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบปฏิบัติที่กำหนด             

  • ทักษะการกรอก/จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจเตรียมรถจักรและรถพ่วง        

  • ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน    



(ก2) ทักษะทางสังคมและการทำงาน (Soft Skills)




  • ทักษะการประสานงาน

  • ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างการปฏิบัติงาน

  • ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ             



ทักษะการทำงานอย่างเป็นระบบ                               

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) เครื่องยนต์และระบบถ่ายทอดกำลัง และระบบไฟฟ้าของรถจักรแต่ละชนิด                



(ข2) ระบบลม และระบบห้ามล้อของรถจักรและรถพ่วง



(ข3)  ระบบส่วนล่างของรถจักรและรถพ่วง



(ข4)  การบำรุงรักษารถจักรและรถพ่วง   



(ข5)  ขั้นตอนการสื่อสารและระเบียบปฏิบัติ                                                        



(ข6)  กฏความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้อง (OH&S)                                    



(ข7)     แบบฟอร์ม/เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจเตรียมรถจักร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องศึกษาคำแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน ควบคู่ไปกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการ ขอบเขต และแนวทางการประเมินสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้                     



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการทำงานจากองค์กร/สถานประกอบการ หรือ                         



(ก2) ใบกำหนดหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ                    



(ก3) วิดีโอการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ                              



(ก4) ภาพถ่ายผลงานหรือชิ้นงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ



(ก5)  ผลงานจากการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา หรือ                                                              



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร/ใบรับรองผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรด้านปฏิบัติการรถจักร หรือหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



(ค1)  ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการประเมิน และหลักฐานที่จำเป็น                 



       ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานที่จำเป็นที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในสมรรถนะย่อย และเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน อาทิ:                                                                        



-   หลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้                                        



-   ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถไฟ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการปฏิบัติงาน



-   อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับขอบเขต



(ค2)  บริบทและทรัพยากรเฉพาะสำหรับการประเมิน                                        




  • ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงให้เห็นถึงทักษะความสามารถที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ภายในช่วงระยะเวลาและบริบทที่เหมาะสม                    

  • ทรัพยากรสำหรับการประเมิน อาทิ แบบฝึกหัดที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษา การสาธิตการปฏิบัติงาน การประเมินความรู้ การประเมินทักษะการปฏิบัติงานในสถานที่จริง




  • ในบางกรณีอาจจะต้องประเมินในสถานที่ปฏิบัติงานจริง หรือในสถานการณ์จำลอง เนื่องมาจาก:




  • เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน                           




  • เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน อาทิ ข้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติ คู่มือการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน                                             



(ค3)  วิธีการประเมิน                                                                           




  • การประเมินความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น   

  • การประเมินความรู้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกเป็นอย่างน้อย และ/หรือการสอบสัมภาษณ์ หรือพิจารณาจากหลักฐานความรู้ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบรับรองผ่านการอบรม ประกาศนียบัตรผ่านการอบรม เป็นต้น

  • การประเมินการปฏิบัติงาน โดยการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรือการสาธิตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลองหรือภายใต้สถานการณ์จริงที่เหมาะสมกับการประเมิน หรืออาจจะพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หนังสือรับรองการทำงานจากองค์กร/สถานประกอบการ ใบกำหนดหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ วิดีโอการปฏิบัติงาน ภาพถ่ายผลงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น  


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



(ก1)   สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถตรวจสภาพและเตรียมความพร้อม รถจักรและรถพ่วง อาทิ เครื่องยนต์และระบบถ่ายทอดกำลัง ระบบไฟฟ้า ระบบลม ระบบห้ามล้อ และระบบส่วนล่าง ก่อนทำขบวนได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนขององค์กร คู่มือประจำรถ และมาตรฐานการบำรุงรักษา รวมถึงสามารถเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานได้อย่างเหมาะสม และกรอกเอกสารที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับงานได้อย่างถูกต้อง



        นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย                             



(ก2)   สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานที่จำเป็น ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้             



 



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



































































(ข1)



รถจักร หมายถึง



รถซึ่งมีกำลังแรงให้เคลื่อนที่ไปได้ตามราง และจะยกออกจากทางทันทีไม่ได้ เช่น รถจักรดีเซล รถจักรดีเซลไฟฟ้า รถดีเซลราง รถจักรไฟฟ้า เป็นต้น



(ข2)



รถพ่วง หมายถึง



รถสำหรับใช้ในการบรรทุกสินค้าสัมภาระ รับส่งผู้โดยสาร และรถอื่นซึ่งใช้พ่วงเข้ากับขบวนรถได้



(ข3)



ขอบเขตของงานตรวจเตรียมรถจักรและรถพ่วง:




  • ตรวจสอบเครื่องยนต์และระบบถ่ายทอดกำลังของรถจักรด้วยสายตา (Visual Inspection)

  • ตรวจสอบและเติมน้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเชื้อเพลิง หรือวัสดุสิ้นเปลืองอื่นๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

  • ตรวจสอบระบบไฟฟ้าของรถจักร

  • ตรวจสอบระบบลม และระบบห้ามล้อของรถจักรด้วยสายตาและฟังเสียง

  • ตรวจสอบระบบส่วนล่างของรถจักรและรถพ่วง

  • บันทึกข้อมูลการตรวจเตรียมรถลงในแบบฟอร์มที่กำหนด



(ข4)



ระบบเครื่องยนต์และถ่ายทอดกำลังของรถจักร ประกอบด้วย:




  • ระบบน้ำมันหล่อลื่น

  • ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง

  • ระบบน้ำระบายความร้อน

  • ระบบไอดี - ไอเสีย

  • ระบบถ่ายทอดกำลัง



(ข5)



ระบบไฟฟ้าของรถจักร ประกอบด้วย:




  • ระบบ Safety Device

  • ระบบไฟฟ้ากำลัง (กระแสไฟฟ้าขับมอเตอร์ลากจูง)

  • ระบบไฟฟ้าควบคุม



(ข6)



ระบบลมของรถจักร ประกอบด้วย:




  • ระบบการทำงานของลมควบคุมการห้ามล้อ

  • ระบบการทำงานของลมควบคุมต่างๆ (ลม Control)



(ข7)



ระบบส่วนล่างของรถจักรและรถพ่วง ประกอบด้วย:




  • ระบบรองรับและถ่ายทอดน้ำหนักรถ

  • ระบบอุปกรณ์เครื่องห้ามล้อ

  • ล้อพร้อมเพลา



(ข8)



เครื่องมือ อุปกรณ์ และเอกสาร



ที่ควรจะต้องมีในการปฏิบัติงาน:




  • นาฬิกา

  • วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • คำสั่งประกาศเดินรถพิเศษที่เกี่ยวข้อง

  • โคมสัญญาณ และ/หรือ ธง (เขียว-แดง) ตามความจำเป็น

  • เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์บางอย่างประจำรถจักรตามที่กำหนด



(ข9)



เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ต้องใช้



ระหว่างการปฏิบัติงาน:




  • ถุงมือหนัง/ถุงมือถัก/ถุงมือกันลื่น

  • แว่นตากันแดด/แว่นตานิรภัย

  • อุปกรณ์ป้องกันหู

  • รองเท้านิรภัย

  • ไฟฉาย

  • อุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ ที่จำเป็น



(ข10)



วิธีการสื่อสาร อาจรวมถึง:




  • การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • การให้สัญญาณมือ



(ข11)



การแจ้งข้อมูล:




  • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face

  • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

  • ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์



(ข12)



ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:




  • ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2549 (ขดร.2549)

  • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการรถจักรขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คู่มือการใช้งานรถจักร รถพ่วงขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คู่มือคำแนะนำการใช้งาน/คู่มือการใช้รถ/คู่มือประจำรถจักรชนิดต่างๆ

  • คู่มือความปลอดภัยในการทำงานขององค์กร/สถานประกอบการ



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการระบุรายการตรวจเตรียมรถจักรรถจักรและรถพ่วงก่อนทำขบวน




  1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                       

  2. การสัมภาษณ์                                                                                  



      18.2 เครื่องมือประเมินการดำเนินการตรวจเตรียมเครื่องยนต์และระบบถ่ายทอดกำลัง      




  1. การสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                      

  2. การสัมภาษณ์ หรือ

  3. การสาธิตการปฏิบัติงาน หรือ        

  4. การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)        



      18.3 เครื่องมือประเมินการดำเนินการตรวจเตรียมระบบไฟฟ้า   




  1. การสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก               

  2. การสัมภาษณ์ หรือ         

  3. การสาธิตการปฏิบัติงาน หรือ

  4. การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)        



      18.4 เครื่องมือประเมินการดำเนินการตรวจเตรียมระบบลมและระบบห้ามล้อ      




  1. การสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                      

  2. การสัมภาษณ์ หรือ                                                                   

  3. การสาธิตการปฏิบัติงาน หรือ

  4. การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)                                               



      18.5 เครื่องมือประเมินการดำเนินการตรวจเตรียมระบบช่วงล่าง 




  1. การสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                      

  2. การสัมภาษณ์ หรือ                   

  3. การสาธิตการปฏิบัติงาน หรือ

  4. การพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)        



      18.6 เครื่องมือประเมินการยืนยันความพร้อมของรถจักรและรถพ่วงก่อนออกทำขบวน      




  1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



      2..การสัมภาษณ์   



ยินดีต้อนรับ