หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานตามกฏและข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติการเดินรถไฟ

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-KSKK-188B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานตามกฏและข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติการเดินรถไฟ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    ทุกอาชีพในกลุ่มงานขับเคลื่อนหรือควบคุมยานพาหนะในระบบขนส่งทางราง (Train/Rail Operation)

ISCO-08    8311     พนักงาน/คนขับเคลื่อนหัวรถจักร    

    8311    ผู้ขับหัวรถจักร

    8311    พนักงาน/คนขับรถไฟ      

 


1 8311 ผู้ขับหัวรถจักร

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการนำกฏและข้อบังคับด้านความปลอดภัยมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานในระบบขนส่งทางราง รวมถึงการตีความและการตอบสนองต่อสัญญาณ ป้ายสัญญาณ และอุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ ที่จำเป็น ตามกฎระเบียบหรือวิธีปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการอย่างเหมาะสมในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยหรือเหตุฉุกเฉิน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพระบบขนส่งทางราง (Rail Sector)ISCO-08     หมวดใหญ่ 8     ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ (หน้าที่ขับเคลื่อนรถไฟและยานพาหนะ)  

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    การรถไฟแห่งประเทศไทย ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ พ.ศ.2549 (ขดร. 2549)-    พระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ....-    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
00004.1

ปฏิบัติงานภายใต้กฏและข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในระบบขนส่งทางราง

1.1 บอกปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอนามัย และสภาพจิตใจ ซึ่งอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานลดลง และเกิดความไม่ปลอดภัยต่อบุคคล ทรัพย์สิน และอื่นๆ


00004.1.01 163190
00004.1

ปฏิบัติงานภายใต้กฏและข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในระบบขนส่งทางราง

1.2 ระบุชื่อ/รายการอุปกรณ์หรือระบบความปลอดภัย (Safety System) ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานในระบบขนส่งทางรางได้


00004.1.02 163191
00004.1

ปฏิบัติงานภายใต้กฏและข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในระบบขนส่งทางราง

1.3 ปฏิบัติงานภายใต้กฎข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยขององค์กรอย่างเคร่งครัด


00004.1.03 163192
00004.2

ตอบสนองต่อสัญญาณ ป้ายสัญญาณ และอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นในการปฏิบัติการเดินรถ

00004.3

ดำเนินการในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เหตุอันตราย หรือเหตุฉุกเฉิน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบขนส่งทางราง

-    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสัญญาณ ป้ายสัญญาณในการปฏิบัติการเดินรถไฟ 

-    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน 

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก)     ความต้องการด้านทักษะ (Skill Requirement)

    (ก1) ทักษะทางเทคนิค (Technical Skills)

-    ทักษะการประยุกต์ใช้กฎ ข้อกำหนด และหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยกับการปฏิบัติงานในระบบขนส่งทางราง

-    ทักษะการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยหรือฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงาน

-    ทักษะการอ่านและตีความกฎ ระเบียบ และคำแนะนำเกี่ยวกับงานด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง

-    ทักษะการใช้และตอบสนองต่อสัญญาณ ป้ายสัญญาณ และอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นในการปฏิบัติการเดินรถ

-    ทักษะการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบปฏิบัติที่กำหนด

-    ทักษะการกรอกข้อมูล/จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงาน

-    ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

-    ทักษะการใช้อุปกรณ์/ระบบความปลอดภัย (Safety System) 

(ก2) ทักษะทางสังคมและการทำงาน (Soft Skills)

-    ทักษะการประสานงาน

-    ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างการปฏิบัติงาน

-    ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1)     ข้อกำหนดและข้อจำกัดของระบบความปลอดภัยที่ใช้ในระบบขนส่งทางราง

(ข2)    สัญญาณ ป้ายสัญญาณ เครื่องหมายประจำขบวนรถ    

(ข3)     การระบุเหตุอันตรายจากงานและการดำเนินการที่จำเป็นเพื่อลด ควบคุม หรือกำจัดเหตุอันตราย

(ข4)    การแจ้งเหตุการณ์/สถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เหตุอันตราย หรือเหตุฉุกเฉิน

(ข4)     ขั้นตอนการสื่อสารและระเบียบปฏิบัติขององค์กร

(ข5)    กฏความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้อง (OH&S)    

(ข6)     แบบฟอร์ม/เอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบความปลอดภัยขององค์กร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

ผู้ที่เข้ารับการประเมิน จะต้องศึกษาคำแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน ควบคู่ไปกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการ ขอบเขต และแนวทางการประเมินของหน่วยสมรรถนะนี้

(ก)     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

(ก1)     หนังสือรับรองการทำงานจากองค์กร/สถานประกอบการ หรือ            

(ก2)     ใบกำหนดหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ            

(ก3)     วิดีโอการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ                

(ก4)     ภาพถ่ายผลงานหรือชิ้นงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ 

(ก5)    ผลงานจากการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

(ข1)     ใบรับรองผลการศึกษา หรือ                             

(ข2)     ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร/ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้





(ค)     คำแนะนำในการประเมิน

(ค1)    ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการประเมิน และหลักฐานที่จำเป็น        

    ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานที่จำเป็นที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงาน อาทิ:                                

-    หลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้                    

-    ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถไฟ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการปฏิบัติงาน

-    อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับขอบเขต                            

(ค2)    วิธีการประเมิน                                

•    การประเมินความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น     

•    การประเมินความรู้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกเป็นอย่างน้อย และ/หรือการสอบสัมภาษณ์ หรือพิจารณาจากหลักฐานความรู้ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบรับรองผ่านการอบรม ประกาศนียบัตรผ่านการอบรม เป็นต้น

•    การประเมินการปฏิบัติงาน พิจารณาจากหลักฐานการปฏิบัติงานที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หนังสือรับรองการทำงานจากองค์กร/สถานประกอบการ ใบกำหนดหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ วิดีโอการปฏิบัติงาน ภาพถ่ายผลงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ

 (ก1)    ผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องสามารถนำกฏและข้อบังคับด้านความปลอดภัยมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานในระบบขนส่งทางราง ตามขั้นตอน ข้อกำหนด หรือมาตรฐานขององค์กร/สถานประกอบการ รวมถึงสามารถตีความและตอบสนองต่อสัญญาณ ป้ายสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถไฟ และอุปกรณ์สื่อสารได้อย่างถูกต้อง ตามกฎระเบียบหรือวิธีปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการอย่างเหมาะสมในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยหรือเหตุฉุกเฉิน 

    นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย             

(ก2)     สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานที่จำเป็น ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้     

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

(ข1)    ขอบเขตของงาน:    -    ประเมินศักยภาพด้านสุขภาพร่างกาย และสภาพจิตใจของตนเองก่อนการปฏิบัติงาน

-    ปฏิบัติงานในหน้าที่ภายใต้กฎข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยขององค์กรอย่างเคร่งครัด

-    ตอบสนองต่อสัญญาณ ป้ายสัญญาณ และอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็น ตามข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อความปลอดภัยของบุคคล อุปกรณ์ และอื่นๆ

-    ระบุและตอบสนองต่อเหตุการณ์/สถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เหตุอันตราย หรือเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม

(ข2)    สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอนามัย และสภาพจิตใจ ซึ่งอาจ

ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงาน

ลดลง อาทิเช่น:    -    นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

-    ภาวะความเครียดเนื่องจากปัญหาส่วนตัว 

-    โรคประจำตัวเรื้อรัง

-    สุรา ยาเสพติต หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

-    ขาดการออกกำลังกาย

-    รับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

(ข3)    สัญญาณ ป้ายสัญญาณ และอุปกรณ์สื่อสารที่อาจต้องใช้ในการปฏิบัติงาน:    -    สัญญาณมือ

-    สัญญาณประจำที่

-    สัญญาณหวีดรถจักร

-    ป้ายสัญญาณ

-    เครื่องหมายประจำขบวนรถ

-    วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

(ข4)    เหตุการณ์/สถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เหตุอันตราย หรือเหตุฉุกเฉิน:    -    สัญญาณประจำที่ใดๆ ชำรุด ใช้การไม่ได้

-    ทางชำรุด

-    มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดบกพร่องในขบวนรถ

-    มีเหตุการณ์ผิดปกติที่อาจจะไม่ปลอดภัยต่อขบวนรถหรือบุคคล/ประชาชน

(ข5)    การตอบสนองต่อเหตุการณ์/สถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย 

เหตุอันตราย หรือเหตุฉุกเฉิน:    -    ป้องกันทันที เพื่อมิให้เกิดเหตุอันตรายเท่าที่สามารถจะทำได้

-    แจ้งเหตุให้นายสถานีทางสะดวกทราบโดยเร็วที่สุด

-    รายงานเหตุการณ์ที่อาจจะเป็นอันตรายแก้การเดินรถให้ผู้บังคับบัญชาทราบทันที

-    ช่วยเหลือเมื่อจำเป็นอย่างเต็มความสามารถ

(ข6)    อุปกรณ์หรือระบบความปลอดภัย (Safety System) อาทิเช่น:    -    ป้ายเตือน

-    แผงกั้น/เครื่องกั้น

-    ไฟสัญญาน

-    ธง (แดง-เขียว)

-    เทปสีแดง

(ข7)    เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ต้องใช้ระหว่างการปฏิบัติงาน: 

    -    เสื้อกั๊กสะท้อนแสง

-    ถุงมือหนัง/ถุงมือไหมพรม/ถุงมือกันลื่น

-    แว่นตากันแดด/แว่นตานิรภัย

-    อุปกรณ์ป้องกันหู

-    หมวกนิรภัย

-    รองเท้านิรภัย

-    วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

-    ไฟฉาย

-    ธงสัญญาณ (เขียว/แดง)

-    อุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ ที่จำเป็น

(ข8)    วิธีการสื่อสาร อาจรวมถึง:    -    การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

-    การให้สัญญานต่างๆ

(ข9)    การแจ้งข้อมูล:    -    สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face 

-    เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

-    ผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์

(ข10)    ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:    -    คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และขั้นตอนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

-    กฎระเบียบด้านความปลอดภัยขององค์กร/สถานประกอบการ 

-    สมุดบันทึก/แบบฟอร์มบันทึกเก็บข้อมูล

-    คำแนะนำด้านเทคนิคต่างๆ

-    เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A                

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้

    18.1     ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                        

    18.2     การพิจารณาจากหลักฐานที่นำมาแสดง เช่น ประกาศนียบัตรผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน แฟ้มสะสมผลงาน เป็นต้น    

 



ยินดีต้อนรับ