หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างผ้าถักชนิดใหม่

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-NAJD-224A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างผ้าถักชนิดใหม่

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 1223 ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องสามารถสร้างผ้าถักชนิดใหม่ โดยการวิจัยเพื่อหาแนวทางการสร้างผ้าถักชนิดใหม่ รวมถึงการทดลองผลิตผ้าถักชนิดใหม่ตามแนวทางที่ได้จากการวิจัย และการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพัฒนาวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1031601 วิจัยเพื่อหาแนวทางการสร้างผ้าถักชนิดใหม่ 1. วิเคราะห์แนวโน้มการใช้ผ้าถักจากแหล่งต่างๆเพื่อสร้างสรรค์ผ้าถักชนิดใหม่ 160971
1031601 วิจัยเพื่อหาแนวทางการสร้างผ้าถักชนิดใหม่ 2. กำหนดองค์ความรู้เชิงเทคนิคสิ่งทอเพื่อสร้างสรรค์ผ้าถักชนิดใหม่ 160972
1031601 วิจัยเพื่อหาแนวทางการสร้างผ้าถักชนิดใหม่ 3. สรุปแนวความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผ้าถักชนิดใหม่ 160973
1031601 วิจัยเพื่อหาแนวทางการสร้างผ้าถักชนิดใหม่ 4. นำเสนอแนวทางการสร้างผ้าถักชนิดใหม่ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 160974
1031602 ทดลองผลิตผ้าถักชนิดใหม่ตามแนวทางที่ได้จากการวิจัย 1. เตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าถักชนิดใหม่ให้ตรงตามแนวทางที่ได้จากการวิจัย 160975
1031602 ทดลองผลิตผ้าถักชนิดใหม่ตามแนวทางที่ได้จากการวิจัย 2. ผลิตผ้าถักชนิดใหม่โดยใช้เทคนิคและวัตถุดิบที่เลือกจากการวิจัยและทดลอง 160976
1031602 ทดลองผลิตผ้าถักชนิดใหม่ตามแนวทางที่ได้จากการวิจัย 3. ปรับแต่งวิธีการผลิตผ้าถักชนิดใหม่ให้สอดคล้องกับกระบวนการผลิต 160977
1031602 ทดลองผลิตผ้าถักชนิดใหม่ตามแนวทางที่ได้จากการวิจัย 4. บันทึกการพัฒนาของงานวิจัยการผลิตผ้าถักชนิดใหม่ 160978
1031603 ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 1. สื่อสารข้อมูลการออกแบบให้กับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 160979
1031603 ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. สื่อสารข้อมูลการสร้างต้นแบบกับฝ่ายวางแผน 160980
1031603 ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. บันทึกการพัฒนางานวิจัยการผลิตผ้าถักชนิดใหม่ 160981

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. วิเคราะห์รายละเอียดและข้อกำหนดของผ้าถักได้

2. ทักษะการนำเสนองาน

3. สามารถเลือกใช้ ข้อมูลจากแนวโน้ม ได้อย่างถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. รู้วิทยาศาสตร์สิ่งทอ

2. ข้อกำหนดมาตรฐานของผ้าถัก

3. รู้เทคนิคการผลิตผ้าถักที่เหมาะกับประเภทของผ้าถัก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

                   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

                   2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

                   1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

                   2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

                   ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการวิจัยเพื่อหาแนวทางการสร้างผ้าถักชนิดใหม่ รวมถึงทดลองผลิตผ้าถักชนิดใหม่ตามแนวทางที่ได้จากการวิจัย และ การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

                   พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการวิจัยเพื่อหาแนวทางการสร้างผ้าถักชนิดใหม่ รวมถึงทดลองผลิตผ้าถักชนิดใหม่ตามแนวทางที่ได้จากการวิจัย และ การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

          (ก) คำแนะนำ

                    1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถสร้างผ้าถักชนิดใหม่ได้

                    2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถทดลองผลิตผ้าถักชนิดใหม่ตามแนวทางที่ได้จากการวิจัยได้

                    3. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด

                    1. โครงการ หมายถึง เอกสารแสดงการวางแผนการทำงาน การศึกษา การริเริ่มการปฏิบัติงานใหม่ และเป็นโครงการที่มีลักษณะของการมีระบบ มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เป็นการดำเนินงานในอนาคต เป็นการทำงานชั่วคราว มีกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่แน่นอน เป็นงานใหม่ มีต้นทุนการผลิตต่ำ และเป็นการริเริ่มการพัฒนางาน

                    2. การวิจัย คือ กระบวนการคิด แล้วทำอย่างเป็นระบบ เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่ หรือพิสูจน์ความรู้เดิม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มการประเมินผลจากแฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ