หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดลองเทคนิคเพื่อสร้างงานผ้าถักต้นแบบ

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-BKLL-223A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดลองเทคนิคเพื่อสร้างงานผ้าถักต้นแบบ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 1223 ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ แสดงถึงความสามารถที่ครอบคลุมทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการทดลองเทคนิคเพื่อสร้างงานผ้าถักต้นแบบ โดยการแยกประเภทเทคนิคการจัดการสร้างงานผ้าถักต้นแบบ และการสร้างงานตามเทคนิคการจัดการเพื่อการทดลองผลิตงานผ้าถักต้นแบบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพัฒนาวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1031501 แยกประเภทเทคนิคการจัดการสร้างงานผ้าถักต้นแบบ 1. กำหนดประเภทของการจัดการสร้างงานตัวอย่างผ้าถักต้นแบบ 160965
1031501 แยกประเภทเทคนิคการจัดการสร้างงานผ้าถักต้นแบบ 2. เลือกเทคนิคกระบวนการดำเนินงานสร้างผ้าถักต้นแบบ 160966
1031501 แยกประเภทเทคนิคการจัดการสร้างงานผ้าถักต้นแบบ 3. จำแนกผลของการจัดการกระบวนการออกแบบผ้าถักต้นแบบ 160967
1031502 สร้างงานตามเทคนิคการจัดการเพื่อการทดลองผลิตงานผ้าถักต้นแบบ 1. ระบุกระบวนการในการประเมินผลการใช้เทคนิคในการทดลองผลิตงานผ้าถักต้นแบบ 160968
1031502 สร้างงานตามเทคนิคการจัดการเพื่อการทดลองผลิตงานผ้าถักต้นแบบ 2. ผลิตงานผ้าถักต้นแบบด้วยวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน 160969
1031502 สร้างงานตามเทคนิคการจัดการเพื่อการทดลองผลิตงานผ้าถักต้นแบบ 3. บันทึกเทคนิคการจัดการ ผลกระทบที่ใช้ 160970

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

วิเคราะห์รายละเอียดและข้อกำหนดของผ้าถักได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

รู้วิทยาศาสตร์สิ่งทอ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

                   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

                   2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

                   1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

                   2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

                   ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการแยกประเภทเทคนิคการจัดการสร้างงานผ้าถักต้นแบบ และ การสร้างงานตามเทคนิคการจัดการเพื่อการทดลองผลิตงานผ้าถักต้นแบบ

 (ง) วิธีการประเมิน

                   พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการแยกประเภทเทคนิคการจัดการสร้างงานผ้าถักต้นแบบ และ การสร้างงานตามเทคนิคการจัดการเพื่อการทดลองผลิตงานผ้าถักต้นแบบ

          (ก) คำแนะนำ

                    1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแยกประเภทเทคนิคการจัดการสร้างงานผ้าถักต้นแบบได้

                    2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถสร้างงานตามเทคนิคการจัดการเพื่อการทดลองผลิตงานผ้าถักต้นแบบได้

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด

                    เทคนิคของการจัดการ หมายถึง : การใช้เทคนิคการถักผ้าแบบต่างๆ อาทิเช่น เครื่องถักผ้าวงกลม และ เครื่องถักผ้าแบบแท่นเข็มตรง เป็นต้น

                    เครื่องถักผ้าวงกลม ประกอบด้วย

                    เครื่องถักผ้าแบบแท่นเข็มเดี่ยว (Single Circular knitting  machine) เป็นเครื่องถักที่มีเข็มชุดและแท่นบรรจุเข็มจำนวน  1 ชุด โดยแท่นเข็มมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ที่เรียกว่ากระบอกเข็มหรือไซลินเดอร์ (Cylinder) เครื่องถักแบบนี้ใช้สำหรับผลิตผ้าหน้าเดียวหรือผ้าซิงเกิลนิต (Single knit fabric)

                    เครื่องถักผ้าแบบแท่นเข็มคู่ (Double Circular knitting Machine) เป็นเครื่องถักผ้าที่มีชุดเข็มและแท่นบรรจุเข็มจำนวน 2 ชุด โดยแท่นเข็มมีลัษณะเป็นรูปทรงกระบอกและแผ่นกลมที่เรียกว่า กระบอกเข็มหรือไซลินเดอร์ (Cylinder) กับจานเข็มหรือไดอัล(Dial) ซึ่งชุดเข็มทั้งสองจะทำงานรวมกัน เครื่องถักแบบนี้ใช้สำหรับผลิตผ้าสองหน้าหรือผ้าดับเบิลนิต (Double knit fabric)

                    เครื่องถักผ้าแบบแท่นเข็มตรง โดยทั่วไป เครื่องถักผ้าแท่นเข็มตรงแบบอัตโนมัติ สามารถถักผ้าซึ่งมีลักษณะเป็นชิ้นให้มีขนาดต่างๆ ได้ตามต้องการ ขึ้นอยู่กับ เบอร์ด้าย โครงสร้างผ้าถัก เกจเครื่องถัก และชนิดของเครื่องถัก เป็นต้น ซึ่งเทคนิคการถักในแต่ละเครื่องอาจจะแตกต่างกันไปตามชนิดและกลไกควบคุมการทำงานของเครื่องถัก เช่น การใช้แผ่นการ์ด หมุดปัก โซ่และคอมพิวเตอร์ ฯลฯ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ