หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนยุทธศาสตร์การออกแบบผ้าถักเพื่อเพิ่มมูลค่า

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-FSSR-222A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนยุทธศาสตร์การออกแบบผ้าถักเพื่อเพิ่มมูลค่า

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 1223 ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องสามารถวางแผนยุทธศาสตร์การออกแบบผ้าถักเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินกระแสความนิยมเพื่อสร้างแนวคิดการออกแบบผ้าถัก และการวางแผนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าถัก

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพัฒนาวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1031401 ประเมินกระแสความนิยมเพื่อสร้างแนวคิดการออกแบบผ้าถัก 1. สำรวจแนวโน้มกระแสความนิยม 160959
1031401 ประเมินกระแสความนิยมเพื่อสร้างแนวคิดการออกแบบผ้าถัก 2. กำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับกระแสความนิยม 160960
1031401 ประเมินกระแสความนิยมเพื่อสร้างแนวคิดการออกแบบผ้าถัก 3. ร่างโครงการการออกแบบผ้าถักเพื่อการเพิ่มมูลค่า 160961
1031402 วางแผนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าถัก 1. ประเมินมูลค่าผ้าถักต้นแบบ 160962
1031402 วางแผนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าถัก 2. ระบุวิธีการเพิ่มมูลค่าผ้าถักต้นแบบ 160963
1031402 วางแผนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าถัก 3. กำหนดมูลค่าผ้าถักต้นแบบ 160964

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. เลือกใช้ ข้อมูลจากแนวโน้มต่างๆ อาทิเช่น วัตถุดิบ สี ฯลฯ ได้

2. ค้นคว้าหาข้อมูล โดยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า หรือทำ ค้นคว้าหาข้อมูล เพื่อให้ได้ผ้าถักใหม่ๆ

3. วิเคราะห์รายละเอียดและข้อกำหนดของผ้าถักได้

4. เขียนโครงการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. รู้วิทยาศาสตร์สิ่งทอ

2. เข้าใจแนวคิดการสร้างมูลค่าเพิ่ม

3. รู้หลักการตลาด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

                   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

                   2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

                   1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

                   2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

                   ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการประเมินกระแสความนิยมเพื่อสร้างแนวคิดการออกแบบผ้าถัก และการวางแผนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าถัก   

(ง) วิธีการประเมิน

                   พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการประเมินกระแสความนิยมเพื่อสร้างแนวคิดการออกแบบผ้าถัก และการวางแผนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าถัก

          (ก) คำแนะนำ

                   1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถประเมินกระแสความนิยมเพื่อสร้างแนวคิดการออกแบบผ้าถักได้

                   2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถวางแผนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าถักได้

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด

                   1. แนวโน้มกระแสความนิยม หรือ เทรนด์ (Trends) หมายถึง การที่สังคมยอมรับ (Adoption) การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม เทคโนโลยีหรือความคิดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

                   2. มูลค่าเพิ่ม (Value Added) หมายถึง งานที่มีมูลค่าเพิ่มในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการผลิต หรือการออกแบบ โดยหลักการของมูลค่าเพิ่มคือ การเน้นถึงการสร้างความมั่งคั่งและการแบ่งปันผลประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ