หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับปรุงคุณภาพเส้นด้าย

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-GKUX-210A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับปรุงคุณภาพเส้นด้าย

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 1223 หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องสามารถวิเคราะห์ข้อบกพร่องของเส้นด้าย เลือกเส้นด้ายตามแนวทางที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของเส้นด้าย และทดสอบเส้นด้ายตามข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบของสถานประกอบการได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพัฒนาวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1030201 วิเคราะห์ข้อบกพร่องของเส้นด้าย 1. ระบุปัญหาของเส้นด้ายจากข้อมูลที่รับ 160868
1030201 วิเคราะห์ข้อบกพร่องของเส้นด้าย 2. ระบุแนวทางการแก้ปัญหาการปรับปรุงเส้นด้าย 160869
1030201 วิเคราะห์ข้อบกพร่องของเส้นด้าย 3. รายงานผลแนวทางในการปรับปรุงเส้นด้ายแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 160870
1030202 ตรวจสอบคุณภาพของเส้นด้ายต้นแบบ 1. เตรียมวัตถุดิบให้สอดคล้องกับแนวทางการปรับปรุงการผลิตเส้นด้าย 160871
1030202 ตรวจสอบคุณภาพของเส้นด้ายต้นแบบ 2. เตรียมอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับแนวทางการปรับปรุงการผลิตเส้นด้าย 160872
1030202 ตรวจสอบคุณภาพของเส้นด้ายต้นแบบ 3. ใช้เทคนิคให้สอดคล้องกับแนวทางการปรับปรุงการผลิตเส้นด้าย 160873
1030203 ทดสอบเส้นด้ายตามข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบของสถานประกอบการ 1 ระบุตัวอย่างทดสอบของเส้นด้ายตามขั้นตอนในการทดสอบ 160874
1030203 ทดสอบเส้นด้ายตามข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบของสถานประกอบการ 2 ประเมินคุณภาพของเส้นด้ายตัวอย่างที่ทดสอบโดยเทียบกับผลการปรับปรุง 160875
1030203 ทดสอบเส้นด้ายตามข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบของสถานประกอบการ 3 รายงานผลการทดสอบการปรับปรุงเส้นด้ายเพื่อส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 160876

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของวัสดุสิ่งทอ

2. ทักษะการจัดทำข้อมูลเพื่อบันทึกข้อบกพร่องของวัสดุสิ่งทอ

3. ทักษะการประเมินแนวทางการแก้ปัญหา

4. ปฏิบัติการทดสอบตัวอย่างวัสดุสิ่งทอตามขั้นตอนในการทดสอบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. รู้ข้อกำหนดมาตรฐานของวัสดุสิ่งทอ

2. รู้กระบวนการทดสอบเบื้องต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

          2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

          2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของเส้นด้าย รวมถึงการเลือกเส้นด้ายตามแนวทางที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของเส้นด้าย และการทดสอบเส้นด้ายตามข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบของสถานประกอบการ

(ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของเส้นด้าย รวมถึงการเลือกเส้นด้ายตามแนวทางที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของเส้นด้าย และการทดสอบเส้นด้ายตามข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบของสถานประกอบการ

          (ก) คำแนะนำ

                    1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถวิเคราะห์ข้อบกพร่องของเส้นด้ายได้

                    2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถเลือกเส้นด้ายตามแนวทางที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของเส้นด้ายได้

                    3. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถทดสอบเส้นด้ายตามข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบของสถานประกอบการได้

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด

                    1. ข้อบกพร่องของเส้นด้าย อาทิเช่น

                               1.1 Count Variation หมายถึง การเปลี่ยนแปลงเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นด้ายไปตามความยาวของเส้นด้ายเกินช่วงที่ยอมรับได้

                               1.2 Unevenness or Irregularity หมายถึง จำนวนความไม่สม่ำเสมอหรือความผิดปกติของเส้นด้ายต่อหน่วยความยาว โดยแสดงเป็น ค่า U% หรือ CV% (หมายเหตุ ลักษณะของความผิดปกติของเส้นด้าย ดังแสดงตามรูป)





                               1.3 Frequently Occurring Faults หมายถึง ความบกพร่องที่เกิดขึ้นในช่วงของ 10-5000 ครั้งต่อความยาว 1000 เมตร ของเส้นด้าย ประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ Thin, Thick และ Neps

                                      Thin หมายถึง จุดบางที่เกิดขึ้นบนเส้นสไลเวอร์หรือเส้นด้าย

                                      Thick หมายถึง จุดหนาที่เกิดขึ้นบนเส้นสไลเวอร์หรือเส้นด้าย

Neps หมายถึง ปุ่มปมที่มีขนาดโตกว่าเส้นสไลเวอร์หรือเส้นด้ายปกติ

                               1.4 Seldom Occurring Faults หมายถึง ข้อบกพร่องของเส้นด้ายที่เกิดขึ้นน้อย หมายถึง จุดหนาหรือบางที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักบนเส้นด้าย ซึ่งจะต้องมีการทดสอบทุกๆ ระยะความยาวเส้นด้าย 100,000 เมตร ประกอบด้วย

                                      A. Short thick places: หมายถึงลักษณะ ความบกพร่องของเส้นด้ายที่สั้น / หนาขนาด 1 to 8 cm คิดเป็น +100%

                                      B. Long thick places: หมายถึงลักษณะ ความบกพร่องของเส้นด้ายที่ยาว / หนาขนาดมากกว่า 8 cm คิดเป็น +45%

                                      C. Long thin places: หมายถึงลักษณะ ความบกพร่องของเส้นด้ายที่ยาว / บางขนาดมากกว่า 8 cm คิดเป็น -30%

                               1.5 Periodic Faults หมายถึงข้อบกพร่องของเส้นด้ายที่เกิดขึ้นเป็นระยะ

                               1.6 Hairiness หมายถึง เส้นที่ยื่นออกมาจากเส้นด้าย

                               1.7 Lot Mixing หมายถึง การมีเส้นด้ายต่างชนิดผสมปนเปกันจากขั้นตอนของการเตรียมเส้นด้ายก่อนการผลิตเป็นผ้าผืน

                    2. การทดสอบสิ่งทอ หมายถึง การตรวจสอบคุณภาพของเส้นด้ายตามมาตรฐานการทดสอบสากล อาทิเช่น ISO ASTM USTER ที่สอดคล้องกับคุณภาพของเส้นด้ายที่ต้องการของแต่ละสถานประกอบการ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ