หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดแนวทางป้องกันปัญหาในกระบวนการผลิตผ้าถัก

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-PVNQ-204A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดแนวทางป้องกันปัญหาในกระบวนการผลิตผ้าถัก

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 2141 วิศวกรฝ่ายผลิตผ้าถัก



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถ วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่เกิดขึ้นขณะทำการผลิตผ้าถัก และวางแผนป้องกันปัญหาในการปฏิบัติงานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพผลิตวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1022701 วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่เกิดขณะทำงาน 1. ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิตผ้าถัก 160819
1022701 วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่เกิดขณะทำงาน 2. วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตผ้าถัก 160820
1022701 วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่เกิดขณะทำงาน 3. บันทึกข้อมูลสถิติสาเหตุที่เกิดปัญหาของการผลิตผ้าถัก 160821
1022701 วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่เกิดขณะทำงาน 4. ประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตผ้าถัก 160822
1022702 วางแผนป้องกันในการปฏิบัติงาน 1. กำหนดแนวทางการป้องกันปัญหาในการปฏิบัติงาน 160823
1022702 วางแผนป้องกันในการปฏิบัติงาน 2. ถ่ายทอดแนวทางการป้องกันปัญหาในการปฏิบัติงาน 160824

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการประเมินสถานการณ์การเกิดปัญหา

2. สามารถอธิบาย และให้ข้อมูลด้านความปลอดภัยในการทำงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

รู้ขั้นตอนการผลิตผ้าถัก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

                    1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

                    2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

                    1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

                    2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

                    ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่เกิดขณะทำงาน และ การวางแผนป้องกันในการปฏิบัติงาน

(ง) วิธีการประเมิน

                    พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่เกิดขณะทำงาน และ การวางแผนป้องกันปัญหาในการปฏิบัติงาน

          (ก) คำแนะนำ

                    1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่เกิดขณะทำงานได้

                    2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถวางแผนป้องกันในการปฏิบัติงานได้

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด

                    ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตผ้าถัก อาทิเช่น ปัญหาเส้นด้าย  ปัญหาการปรับเครื่องถัก  ปัญหาการตรวจสอบและบำรุงรักษา เป็นต้น

- ปัญหาเส้นด้าย คุณภาพเส้นด้ายต่ำกว่ามาตรฐาน Uster, ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในระหว่างการกรอด้าย

- ปัญหาการปรับเครื่องถัก การปรับเครื่องถักไม่ถูกต้องตามคู่มือการใช้งานเครื่องจักร

- ปัญหาการตรวจสอบและบำรุงรักษา ปฏิบัติตามตารางการบำรุงรักษาที่กำหนด อาทิเช่น การทำความสะอาดฝุ่นละออง เศษเส้นใย  น้ำมันและสนิมที่ติดอยู่ตามชิ้นส่วนและอุปกรณ์ของเครื่องถัก  การหล่อลื่นด้วยสารหล่อลื่นตามที่คู่มือการใช้งานเครื่อง เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มประเมินผลจากการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ