หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ผลิตผ้าถัก

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-BFGQ-200A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ผลิตผ้าถัก

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 8152 ผู้ควบคุมเครื่องจักรทอผ้าและเครื่องจักรนิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะอธิบายทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการผลิตผ้าถัก เริ่มตั้งแต่การลำดับแผนงานการผลิตผ้าถักและการผลิตผ้าถัก

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพผลิตวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1022301 ลำดับแผนงานการผลิตผ้าถัก 2.ระบุวัตถุดิบเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ต้องใช้สำหรับการผลิตผ้าถัก 160788
1022301 ลำดับแผนงานการผลิตผ้าถัก 3.ระบุเครื่องจักรในการผลิตผ้าถัก ได้สอดคล้องกับข้อมูลจำเพาะของงานผลิตผ้าถัก 160789
1022301 ลำดับแผนงานการผลิตผ้าถัก 1.ระบุขั้นตอนการผลิตผ้าถักตามใบสั่งผลิต 160790
1022302 ดำเนินการผลิตผ้าถัก 1.เลือกเครื่องจักรในการผลิตผ้าถักเพื่อสะดวกในการใช้งาน 160791
1022302 ดำเนินการผลิตผ้าถัก 2. ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องจักรก่อนการใช้งาน 160792
1022302 ดำเนินการผลิตผ้าถัก 3 ตั้งค่าเครื่องจักรผลิตผ้าถักได้สอดคล้องกับข้อมูลจำเพาะของงาน 160793
1022302 ดำเนินการผลิตผ้าถัก 4. ใช้อุปกรณ์เสริมตามใบสั่งผลิตผ้าถัก 160794

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าถัก

2. ปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าถัก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. เส้นใย เส้นด้าย ผ้า

2. อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการจัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าถัก

3. การดูแลรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการจัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าถัก

4. รู้สัญลักษณ์การแยกประเภทของวัตถุดิบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

                    1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

                    2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

                    1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

                    2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

                    ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการลำดับแผนงานการผลิตผ้าถัก และ การดำเนินการผลิตผ้าถัก

(ง) วิธีการประเมิน

                    พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการลำดับแผนงานเพื่อการผลิตผ้าถัก และดำเนินการผลิตผ้าถัก

(ก) คำแนะนำ

            1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถลำดับแผนงานการผลิตผ้าถักได้

            2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถดำเนินการผลิตผ้าถักได้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

            1. ประเภทของผ้าถัก  โครงสร้างผ้าถัก  ข้อกำหนดของผ้าถัก  ประเภทเส้นด้าย  ขนาดเส้นด้าย เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตผ้าถัก

                      - โครงสร้างผ้าถัก อาทิเช่น  ผ้าถักแนวนอน (Weft Knitted Fabric)  ผ้าถักแนวดิ่ง (Warp knitted Fabric)

                      - ข้อกำหนดของผ้าถัก อาทิเช่น  หน้ากว้างของผ้า  น้ำหนักผ้า จำนวนเข็ม/นิ้ว  ความยาวห่วง เป็นต้น

                      - ประเภทของเส้นด้าย อาทิเช่น ด้ายจากเส้นใยสั้น (spun yarn)  ด้ายจากเส้นใยยาว (filament yarn)  ด้ายชนิดพิเศษ (special yarn)

                      - ขนาดของเส้นด้าย อาทิเช่น ขนาดเส้นด้ายตามระบบตรง (Direct system) ขนาดเส้นด้ายตามระบบกลับ (Indirect system)

                      - เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตผ้าถัก อาทิเช่น เครื่องถักผ้าวงกลม  เครื่องถักผ้าแบบแนวนอน

            2. การตรวจสอบความพร้อมของเครื่องจักรก่อนการใช้งาน ประกอบด้วย

                      - การตั้งค่าเครื่องจักร อาทิเช่น อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเข็มถัก  อุปกรณ์เลือกเข็มถักผ้า  อุปกรณ์ป้อนเส้นด้ายและความตึงเส้นด้าย อุปกรณ์ส่วนถักผ้า  ระบบขับเคลื่อน ระบบม้วนผ้า เป็นต้น

            3. อุปกรณ์เสริมในการผลิตผ้าถัก หมายถึง อุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นมาแล้วทำให้ได้ผลผลิตหลากหลายขึ้น อาทิเช่น ชุด CAM ของโครงสร้างผ้า 3 มิติ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ