หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมคุณภาพการผลิตผ้าทอ

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-GDDT-197A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมคุณภาพการผลิตผ้าทอ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 1321 ผู้จัดการด้านการผลิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะอธิบายทักษะและความรู้ในการวางแผนควบคุมคุณภาพผ้าทอ รวมถึงการควบคุมคุณภาพผ้าทอและปรับปรุงคุณภาพผ้าทอ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพผลิตวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1022001 วางแผนการควบคุมคุณภาพผ้าทอ 1. ระบุข้อมูลคุณภาพของผ้าทอได้ถูกต้องตามความต้องการขององค์กร 160759
1022001 วางแผนการควบคุมคุณภาพผ้าทอ 2. ระบุข้อมูลสมบัติของผ้าทอได้ถูกต้องตามคุณภาพของผ้าทอที่ต้องการขององค์กร 160760
1022001 วางแผนการควบคุมคุณภาพผ้าทอ 3. วิเคราะห์ปัจจัยในการควบคุมคุณภาพผ้าทอได้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อมูลคุณภาพของผ้าทอที่ต้องการขององค์กรและเป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ของการผลิตผ้าทอ 160761
1022001 วางแผนการควบคุมคุณภาพผ้าทอ 4. กำหนดแผนการควบคุมคุณภาพผ้าทอได้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อมูลคุณภาพของผ้าทอที่ต้องการขององค์กร 160762
1022002 ควบคุมคุณภาพของผ้าทอ 1. ระบุขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพผ้าทอได้ถูกต้องครบถ้วนตามคุณภาพของผ้าทอที่ต้องการและสอดคล้องตามแผนการควบคุมคุณภาพผ้าทอขององค์กร 160763
1022002 ควบคุมคุณภาพของผ้าทอ 2. ตรวจสอบคุณภาพผ้าทอได้ถูกต้องครบถ้วนตามคุณภาพของผ้าทอที่ต้องการ 160764
1022002 ควบคุมคุณภาพของผ้าทอ 3. ตรวจสอบคุณภาพผ้าทอได้ถูกต้องตามแผนการควบคุมคุณภาพผ้าทอขององค์กร 160765
1022002 ควบคุมคุณภาพของผ้าทอ 4. สรุปผลการตรวจสอบคุณภาพผ้าทอได้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดคุณภาพของผ้าทอที่ตรวจสอบ 160766
1022003 ปรับปรุงคุณภาพของผ้าทอ 1. วิเคราะห์ผลคุณภาพของผ้าทอได้ถูกต้องหลักการทางวิทยาศาสตร์ของการผลิตผ้าทอ 160767
1022003 ปรับปรุงคุณภาพของผ้าทอ 2. กำหนดขั้นตอนการผลิตผ้าทอเพื่อปรับปรุงคุณภาพของผ้าทอได้ถูกต้องตามคุณภาพของผ้าทอที่ต้องการ 160768
1022003 ปรับปรุงคุณภาพของผ้าทอ 3. ปรับปรุงการผลิตผ้าทอเพื่อให้ได้คุณภาพของผ้าทอตามที่ต้องการได้ถูกต้องครบถ้วนตามขั้นตอนที่กำหนด 160769

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การควบคุมคุณภาพผ้าทอ

2. การตรวจสอบคุณภาพผ้าทอ

3. การวิเคราะห์ผลการตรวจสอบคุณภาพผ้าทอ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ข้อกำหนดการออกแบบผ้าทอ

2. มาตรฐานการทดสอบผ้าทอ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

          2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

          2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการวางแผนการควบคุมคุณภาพผ้าทอ รวมถึงการควบคุมคุณภาพของผ้าทอ และ การปรับปรุงคุณภาพของผ้าทอ

(ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของกำหนดแผนการควบคุมคุณภาพผ้าทอและควบคุมคุณภาพผ้าทอ รวมถึงปรับปรุงคุณภาพผ้าทอ

          (ก) คำแนะนำ

                    1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถวางแผนการควบคุมคุณภาพผ้าทอได้

                    2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถควบคุมคุณภาพผ้าทอได้

                    3. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถปรับปรุงคุณภาพผ้าทอได้

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด

                    1. คุณภาพของผ้าทอ ขึ้นอยู่กับ อาทิเช่น คุณภาพของเส้นด้าย  โครงสร้างผ้าทอ  ความหนาของผ้า

                    2. คุณภาพของเส้นด้าย ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ อาทิเช่น ขนาดของเส้นด้าย จำนวนเกลียวของเส้นด้าย ทิศทางการเข้าเกลียวของเส้นด้าย จำนวนเส้นควบ ส่วนผสมเส้นใย

                    3. โครงสร้างผ้าทอ คือรายละเอียดที่สำคัญๆ ของผ้าทอ ประกอบด้วย ลายทอ  รายละเอียดต่างๆ ของเส้นด้ายยืนและเส้นด้ายพุ่ง  ความถี่ของเส้นยืนและเส้นพุ่ง/นิ้วหรือเซนติเมตร และ ความกว้างหน้าผ้า

                    4. ความหนาของผ้า ประกอบด้วย Thin, Medium, Thick

                             4.1 Thin ความหนา < 0.20 m.m.

                             4.2 Medium ความหนา 0.23 – 0.46 m.m.

                             4.3 Thick ความหนา > 0.47 m.m.

                    5. การตรวจสอบคุณภาพของผ้าทอ หมายถึง การตรวจสอบคุณภาพของเส้นด้ายตามมาตรฐานการทดสอบสากล อาทิเช่น ISO ASTM USTER ที่สอดคล้องกับคุณภาพของเส้นด้ายที่ต้องการของแต่ละองค์กร


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มประเมินผลจากการสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ