หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการผลิตผ้าทอ

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-HRYK-195A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการผลิตผ้าทอ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 2141 วิศวกรฝ่ายผลิตผ้าทอ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะอธิบายทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการจัดการรวบรวมการผลิตผ้าทอและการวิเคราะห์ในการผลิตผ้าทอ รวมถึงการจัดทำแผนการผลิตผ้าทอ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพผลิตวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1021801 รวบรวมข้อมูลการผลิตผ้าทอ 1. รวบรวมข้อมูลวัตถุดิบคงคลัง 160740
1021801 รวบรวมข้อมูลการผลิตผ้าทอ 2. รวบรวมข้อมูลเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตผ้าทอ 160741
1021801 รวบรวมข้อมูลการผลิตผ้าทอ 3 รวบรวมกำลังคนที่ใช้ในการผลิตเพื่อวางแผนการผลิตผ้าทอ 160742
1021802 วิเคราะห์ข้อมูลในการผลิต 1 วิเคราะห์ข้อมูลวัตถุดิบคงคลังเพื่อการผลิตผ้าทอ 160743
1021802 วิเคราะห์ข้อมูลในการผลิต 2 วิเคราะห์ข้อมูลเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตผ้าทอ 160744
1021802 วิเคราะห์ข้อมูลในการผลิต 3 วิเคราะห์ข้อมูลกำลังคนที่ใช้ในการผลิตผ้าทอ 160745
1021803 จัดทำแผนการผลิตผ้าทอ 1 กำหนดแผนการจัดเตรียมวัตถุดิบได้ตรงตามตารางการผลิตหลัก 160746
1021803 จัดทำแผนการผลิตผ้าทอ 2 กำหนดแผนการใช้งานเครื่องจักรได้ตรงตามตารางการผลิตหลัก 160747
1021803 จัดทำแผนการผลิตผ้าทอ 3 กำหนดแผนการผลิตผ้าทอให้สอดคล้องกับแผนการผลิตรวม 160748

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

มีทักษะในการคำนวณองค์ประกอบที่เกี่ยวกับการผลิตผ้าทอ เช่น เวลา จำนวนเครื่องจักร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้เทคนิคการผลิตผ้าทอ

2. มีความรู้เทคนิคการวิเคราะห์งาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

          2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

          2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลการผลิตผ้าทอ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลในการผลิต และ การจัดทำแผนการผลิตผ้าทอ

(ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานการรวบรวมข้อมูลเพื่อการผลิตผ้าทอ การวิเคราะห์ข้อมูลในการผลิตผ้าทอ และ การจัดทำแผนการผลิตผ้าทอ

(ก) คำแนะนำ

          1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถรวบรวมข้อมูลการผลิตผ้าทอได้

          2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในการผลิตได้

          3. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถจัดทำแผนการผลิตผ้าทอได้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. แผนการจัดเตรียมวัตถุดิบ อาทิเช่น รอบการสั่งซื้อ  ปริมาณ ชนิด ประเภทของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น

          2. ตารางการผลิตหลัก คือตารางที่กำหนดปริมาณการผลิตเส้นด้ายแต่ละชนิด โดยจะให้ข้อมูลความต้องการของลูกค้าว่า ต้องการเส้นด้ายอะไรและปริมาณเท่าใด

          3. ตารางการผลิตรวม จะระบุปริมาณที่ต้องผลิตในลักษณะหมวดหมู่ของเส้นด้าย เวลาทำงานมาตรฐาน และมูลค่าทางการเงิน ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการวางแผนการผลิตรวม อาทิเช่น แผนการเงิน  ความต้องการของลูกค้า  ข้อมูลเครื่องจักร  จำนวนพนักงานที่มีอยู่  นโยบายการจัดการวัตถุดิบคงคลัง  ประสิทธิภาพของผู้จัดหาวัตถุดิบ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ