หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบกระบวนการผลิตผ้าทอ

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-KXYA-191A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบกระบวนการผลิตผ้าทอ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 8152 ผู้ควบคุมเครื่องจักรทอผ้าและเครื่องจักรนิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะอธิบายทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการเตรียมความพร้อมในการตรวจสอบขั้นตอนการผลิตผ้าทอ รวมถึงการตรวจสอบขั้นตอนการผลิตผ้าทอ และ การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานการผลิตผ้าทอ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพผลิตวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1021401 เตรียมความพร้อมในการตรวจสอบขั้นตอนการผลิตผ้าทอ 1. ระบุข้อกำหนดของงานผลิตผ้าทอได้ตามใบสั่งผลิต 160710
1021401 เตรียมความพร้อมในการตรวจสอบขั้นตอนการผลิตผ้าทอ 2. ระบุขั้นตอนการผลิตผ้าทอ ได้ถูกต้องสอดคล้องตามใบสั่งผลิต 160711
1021401 เตรียมความพร้อมในการตรวจสอบขั้นตอนการผลิตผ้าทอ 3 จัดทำเอกสารรายการงานการตรวจสอบขั้นตอนการผลิตผ้าทอ 160712
1021402 ตรวจสอบขั้นตอนการผลิตผ้าทอ 1. ตรวจสอบการผลิตผ้าทอตามรายการการตรวจสอบที่กำหนด 160713
1021402 ตรวจสอบขั้นตอนการผลิตผ้าทอ 2. บันทึกผลการตรวจสอบได้ถูกต้องครบถ้วนตามรายการตรวจสอบที่กำหนด 160714
1021402 ตรวจสอบขั้นตอนการผลิตผ้าทอ 3. ประเมินผลการตรวจสอบขั้นตอนการผลิตได้ถูกต้องตามข้อกำหนดของการผลิตผ้าทอ 160715
1021403 วิเคราะห์ผลการดำเนินงานการผลิตผ้าทอ 1. ระบุสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตผ้าทอ 160716
1021403 วิเคราะห์ผลการดำเนินงานการผลิตผ้าทอ 2. เสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตผ้าทอต่อผู้บังคับบัญชา 160717
1021403 วิเคราะห์ผลการดำเนินงานการผลิตผ้าทอ 3. รายงานผลการปรับปรุงการตรวจสอบผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชา 160718

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการอ่านผลการตรวจสอบ

2. มีทักษะในการเปรียบเทียบผลการตรวจสอบกับข้อมูลจำเพาะของผ้าทอ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. รู้รายละเอียดเครื่องจักร

2. รู้ข้อมูลจำเพาะของผ้าทอ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

          2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

          2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการตรวจสอบขั้นตอนการผลิตผ้าทอ รวมถึงการตรวจสอบขั้นตอนการผลิตผ้าทอ และ การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานการผลิตผ้าทอ

(ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการเตรียมความพร้อมในการตรวจสอบขั้นตอนการผลิตผ้าทอ การตรวจสอบขั้นตอนการผลิตผ้าทอ และ การวิเคราะห์ผลการดำเนินการผลิตผ้าทอ

          (ก) คำแนะนำ

                    1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถเตรียมความพร้อมในการตรวจสอบขั้นตอนการผลิตผ้าทอได้

                    2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถตรวจสอบขั้นตอนการผลิตผ้าทอได้

                    3. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถวิเคราะห์ผลการดำเนินงานการผลิตผ้าทอได้

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด

                    1. ข้อกำหนดของงานการผลิตผ้าทอ ประกอบด้วย ข้อมูลด้านวัตถุดิบ  ข้อมูลของผ้าทอ  ข้อมูลการตั้งค่าเครื่องจักร  ข้อมูลความต้องการของลูกค้า

                    2. ขั้นตอนการตรวจสอบขั้นตอนการผลิต อาทิเช่น  แผนกเตรียมเส้นด้าย (ยืน/พุ่ง), แผนกลงแป้งด้ายยืน, แผนกร้อยตะกอ, แผนกทอ เป็นต้น

                    3. รายการตรวจสอบขั้นตอนการผลิตผ้าทอ อาทิเช่น

                    แผนกเตรียมเส้นด้าย

                             การเตรียมเส้นด้ายยืน

                             1. เส้นด้ายยืนขาดหรือไม่

                             2. เส้นด้ายยืนตรงเบอร์หรือไม่

                             3. ตั้งแถบเส้นยืนดีหรือไม่

                             4.เส้นยืนไม่สม่ำเสมอและมีส่วนบางหรือไม่

                             การเตรียมเส้นด้ายพุ่ง

                             1. เส้นด้ายพุ่งตรงเบอร์หรือไม่

                             2. เส้นด้ายพุ่งหยาบมีขนาดโตกว่าปกติหรือไม่

                             3. เส้นด้ายพุ่งตรงสีหรือไม่

                    แผนกลงแป้ง

                             1. อ่างย้อมแป้งสะอาดหรือไม่ มีพวกใยสั้นตกลงในอ่างแป้งหรือไม่

                             2. ส่วนผสมของแป้ง ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่

                             3. มีเส้นด้ายขาด จากการปรับ pressure roll ไว้ไม่เหมาะสม หรือไม่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มประเมินผลจากการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ