หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมความพร้อมก่อนการผลิตผ้าทอ

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-FEXB-189A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมความพร้อมก่อนการผลิตผ้าทอ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 8152 ผู้ควบคุมเครื่องจักรทอผ้าและเครื่องจักรนิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะอธิบายทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการเตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าทอ รวมถึงการตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าทอ และ การจัดทำข้อมูลการผลิตผ้าทอ เพื่อจัดทำข้อมูลการผลิตผ้าทอได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพผลิตวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1021201 เตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าทอ 1 เลือกชนิดวัตถุดิบได้ตรงตามใบสั่งผลิต 160693
1021201 เตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าทอ 2 จัดทำใบเบิกวัตถุดิบได้ตรงตามใบสั่งผลิต 160694
1021201 เตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าทอ 3 จัดทำรายงานการเตรียมวัตถุดิบได้ครบถ้วนตามใบสั่งผลิต 160695
1021202 ตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าทอ 1.ระบุวัตถุดิบได้ตรงกับชนิดของผ้าทอที่ต้องการผลิต 160696
1021202 ตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าทอ 2.ระบุจำนวนวัตถุดิบได้ตรงตามใบสั่งผลิต 160697
1021202 ตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าทอ 3. คัดแยกวัตถุดิบบกพร่องออกจากกระบวนการผลิต 160698
1021203 จัดทำข้อมูลการผลิตผ้าทอ 1 ระบุข้อมูลที่จำเป็นในการผลิตผ้าทอได้ถูกต้องตามใบสั่งผลิต 160699
1021203 จัดทำข้อมูลการผลิตผ้าทอ 2 ระบุเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ที่ใช้ในการผลิตผ้าทอ 160700
1021203 จัดทำข้อมูลการผลิตผ้าทอ 3 บันทึกข้อมูลเพื่อจัดทำประวัติการผลิตผ้าทอ 160701
1021203 จัดทำข้อมูลการผลิตผ้าทอ 4 นำเสนอข้อมูลในการปฏิบัติงานด้านการผลิตผ้าทอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนดของสถานประกอบการ 160702

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าทอ

2. ปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าทอ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. เส้นใย เส้นด้าย ผ้า

2. อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการจัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าทอ

3. การดูแลรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการจัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าทอ

4.รู้สัญลักษณ์การแยกประเภทของวัตถุดิบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

          2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

          2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการเตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าทอ รวมถึงการตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าทอ และ การจัดทำข้อมูลการผลิตผ้าทอ

(ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการเตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าทอ การตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าทอและจัดทำข้อมูลการผลิตผ้าทอ

          (ก) คำแนะนำ

                    1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถเตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าทอได้

                    2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุดิบเพื่อการผลิตผ้าทอได้

                    3. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถจัดทำข้อมูลการผลิตผ้าทอได้

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด

                    1. ข้อมูลที่จำเป็นในการผลิตผ้าทอ ประกอบด้วย

                    โครงสร้างผ้าทอ (Construction)

                              ลักษณะการขัดสานกันของเส้นด้ายยืนและเส้นด้ายพุ่ง ซึ่งเป็นตัวกำหนดขั้นพื้นฐานในการทอ เมื่อกล่าวถึงโครงสร้างผ้าจึงเป็นการกล่าวถึงรายละเอียดและองค์ประกอบที่สำคัญๆ ของผ้าทอ ดังนี้

                   - ลายทอ

                              รายละเอียดต่างๆ ของเส้นด้ายยืนและด้ายพุ่ง อาทิเช่น ชนิดเส้นด้าย เบอร์ด้าย จำนวนเกลียว/นิ้วหรือ เมตร ทิศทางเกลียว จำนวนเส้นควบ ส่วนผสมเส้นใย

                              ความถี่ของเส้นยืนและเส้นพุ่ง/นิ้วหรือเซนติเมตร

                              ความกว้างหน้าผ้า

                              โครงสร้างลายผ้าทอพื้นฐาน ประกอบด้วย โครงสร้างผ้าทอลายขัด  โครงสร้างผ้าทอลายทแยง  และโครงสร้างผ้าทอลายต่วน

                              โครงสร้างที่ใช้ในอุตสาหกรรมเขียนได้หลายวิธี อาทิเช่น

โครงสร้างลายผ้าขัด       plain 1/1  T/C 45 × C32 60”                         

                                                    66 × 52

          ความหมาย       plain 1/1 = ลายขัด แบบ 1/1

          ตัวเลขด้านบนของเส้น

                   T/C 45 = ชนิดเส้นยืนเป็นเส้นด้ายใยผสม Tetoron (Polyester)/ฝ้าย (cotton) เบอร์ 45

                   C = ชนิดเส้นพุ่งเป็นเส้นด้ายฝ้าย 100% เบอร์ 32

          ตัวเลขด้านล่างของเส้น

                   66  = ความถี่เส้นด้ายยืน 66 เส้น/นิ้ว

                   52  = ความถี่เส้นด้ายพุ่ง 52 เส้น/นิ้ว

                   60” = ความกว้างหน้าผ้า 60 นิ้ว

                    2. เครื่องหมายสัญลักษณ์ที่ใช้ในการผลิตผ้าทอ อาทิเช่น

                   plain 1/1 หมายถึง ลายขัด แบบ 1/1

                   T/C หมายถึง เส้นด้ายใยผสม Tetoron (Polyester)/ฝ้าย (cotton)

                   T/C 45 หมายถึง เส้นด้ายใยผสม Tetoron (Polyester)/ฝ้าย (cotton) เบอร์ 45

                    3. การบันทึกข้อมูลหมายถึงเพื่อจัดทำประวัติการผลิตผ้าทอ ประกอบด้วย ข้อมูลด้านวัตถุดิบ  ข้อมูลของเส้นด้าย  โครงสร้างลายผ้าทอ ข้อมูลความต้องการของลูกค้า


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ