หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาเส้นด้ายตามข้อมูลการออกแบบ

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-DXLU-186A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาเส้นด้ายตามข้อมูลการออกแบบ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 1321 ผู้จัดการด้านการผลิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะอธิบายทักษะความสามารถและความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาเส้นด้ายตามข้อมูลการออกแบบ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลการออกแบบเส้นด้าย รวมถึงการกำหนดขั้นตอนการผลิต เส้นด้ายต้นแบบ ตามข้อมูลการออกแบบ และการทดสอบ เส้นด้ายต้นแบบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพผลิตวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1020901 วิเคราะห์ข้อมูลการออกแบบเส้นด้าย 1. ระบุวัตถุประสงค์ของการออกแบบเส้นด้ายได้ถูกต้องตามข้อมูลของเส้นด้ายที่ต้องการออกแบบ 160665
1020901 วิเคราะห์ข้อมูลการออกแบบเส้นด้าย 2. วิเคราะห์ขั้นตอนการผลิตเส้นด้ายได้ถูกต้องตามข้อมูลการออกแบบเส้นด้าย 160666
1020901 วิเคราะห์ข้อมูลการออกแบบเส้นด้าย 3. วิเคราะห์สมบัติของเส้นด้ายที่ออกแบบได้ถูกต้องตามหลักการทางวิทยาศาสตร์สิ่งทอ 160667
1020902 กำหนดขั้นตอนการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ ตามข้อมูลการออกแบบ 1. เลือกเส้นใยได้ถูกต้องตามรูปแบบของเส้นด้ายที่ออกแบบ 160668
1020902 กำหนดขั้นตอนการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ ตามข้อมูลการออกแบบ 2. เลือกเครื่องจักรได้ถูกต้องตามรูปแบบของเส้นด้ายที่ออกแบบ 160669
1020902 กำหนดขั้นตอนการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ ตามข้อมูลการออกแบบ 3. ระบุสภาวะในการผลิตเส้นด้ายต้นแบบได้ถูกต้องตามรูปแบบของเส้นด้ายที่ออกแบบ 160670
1020903 ทดสอบเส้นด้ายต้นแบบ 1. ระบุหัวข้อทดสอบได้ถูกต้องตามข้อมูลคุณสมบัติของเส้นด้ายที่ต้องการ 160671
1020903 ทดสอบเส้นด้ายต้นแบบ 2. เลือกมาตรฐานการทดสอบเส้นด้ายได้ถูกต้องตามข้อมูลของเส้นด้ายที่ต้องการ 160672
1020903 ทดสอบเส้นด้ายต้นแบบ 3. ดำเนินการทดสอบเส้นด้ายได้ถูกต้องครบถ้วนตามหัวข้อและมาตรฐานการทดสอบเส้นด้ายที่กำหนด 160673
1020903 ทดสอบเส้นด้ายต้นแบบ 4. รายงานผลการทดสอบเส้นด้ายได้ถูกต้องครบถ้วนตามหัวข้อและมาตรฐานการทดสอบเส้นด้ายที่กำหนด 160674

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. วิเคราะห์ตัวอย่างเส้นด้าย

2. วิเคราะห์พารามิเตอร์ของเส้นด้าย

3. ทักษะการทดสอบเส้นด้าย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. รู้เทคนิคการผลิตเส้นด้าย

2. รู้วิทยาศาสตร์สิ่งทอ

3. กำหนดการผลิตเส้นด้าย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

                    1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

                    2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

                    1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

                    2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

                    ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลการออกแบบเส้นด้าย รวมถึงการกำหนดขั้นตอนการผลิต เส้นด้ายต้นแบบ ตามข้อมูลการออกแบบ และ การทดสอบ เส้นด้ายต้นแบบ

(ง) วิธีการประเมิน

                    พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของวิเคราะห์ข้อมูลการออกแบบเส้นด้าย  กำหนดขั้นตอนการผลิต เส้นด้ายต้นแบบ และ การทดสอบ เส้นด้ายต้นแบบ

     (ก) คำแนะนำ

           1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถวิเคราะห์ข้อมูลการออกแบบเส้นด้ายได้

           2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถกำหนดขั้นตอนการผลิตได้

           3. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถทดสอบ เส้นด้ายต้นแบบได้

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

           1. รูปแบบของเส้นด้ายที่ออกแบบ หมายถึง ชนิดและประเภทของเส้นด้าย อาทิเช่น Spun Yarn, Filament yarn เป็นต้น

               1.1 Spun Yarn คือ เส้นด้ายที่ผลิตด้วยการนำเส้นใยมาปั่นเป็นเส้นด้าย อาทิเช่น เส้นด้ายสาง  เส้นด้ายหวี  เส้นด้ายผสม  เส้นด้าย O.E  เส้นด้ายที่ผลิตจากการปั่นด้ายแบบใช้ลม  และเส้นด้าย Worsted Spinning เป็นต้น

               1.2 Filament yarn คือ เส้นด้ายที่ผลิตออกมาเป็นเส้นยาวต่อเนื่อง อาทิเช่น เส้นด้าย

                   Mono-Filament เส้นด้าย Multi-Filament เป็นต้น

           2. สภาวะในการผลิตเส้นด้ายต้นแบบ หมายถึง ข้อกำหนดที่ใช้ในการผลิตเส้นด้ายเพื่อให้ได้ผลผลิตของ

เส้นด้ายตรงกับความต้องการ ประกอบด้วย ทิศทางเกลียว  จำนวนเกลียวต่อนิ้วหรือเมตร  ขนาดเบอร์ด้าย  ส่วนผสมของเส้นใย ด้ายเดี่ยว ด้ายควบ

               2.1 ทิศทางเกลียว คือการเข้าเกลียวของเส้นด้ายเพื่อให้เส้นใยยึดติดกันเป็นเส้น ประกอบด้วยเส้นด้ายเกลียว S และ เส้นด้ายเกลียว Z

               2.2 จำนวนเกลียวต่อนิ้วหรือเมตร คือการเข้าเกลียวของเส้นด้าย ประกอบด้วย TPI = Turnsper inch (จำนวนเกลียวต่อนิ้ว) และ TPM = Turns per meter (จำนวนเกลียวต่อเมตร)

               2.3 ขนาดเบอร์ด้าย เป็นสิ่งที่บ่งบอกขนาดความเล็กใหญ่ของเส้นด้าย ที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดย ระบบเบอร์เส้นด้ายในปัจจุบันที่มีใช้กันอยู่ มี 2 ระบบ คือ ระบบตรง (Direct system) และระบบกลับ (Indirect System)

               2.4 ส่วนผสมของเส้นใย คือจำนวนของชนิดเส้นใยที่ใช้ในการผลิดเส้นด้าย โดยจะบอกเป็นจำนวนเปอร์เซนต์ที่ใช้

               2.5 ด้ายเดี่ยว เป็นเส้นด้ายเส้นเดียวยาวต่อเนื่อง เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า เส้นด้าย Mono-Filament



               2.6 ด้ายควบ เป็นเส้นด้ายเส้นเล็กๆ หลายๆ เส้นรวมกันเป็นเส้นด้าย เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า  เส้นด้าย Multi-Filament อาทิเช่น  Textures Yarn (เส้นด้ายมีลักษณะฟูหงิกงอ),Micro Filament (เป็นเส้นด้ายที่เส้นใยขนาดเล็กมาก หลายๆ เส้นรวมเป็นเส้นเดียว เป็นต้น

           3. การทดสอบเส้นด้ายต้นแบบตามหัวข้อและมาตรฐานการทดสอบเส้นด้ายที่กำหนด หมายถึง การทดสอบเส้นด้ายต้นแบบตามหัวข้อและมาตรฐานการทดสอบสากล อาทิเช่น ISO, ASTM, USTER   ที่สอดคล้องกับคุณสมบัติของเส้นด้ายที่ต้องการในการออกแบบ

           4. พารามิเตอร์ของเส้นด้าย หมายถึง ข้อมูลจำเพาะของเส้นด้าย อาทิเช่น เบอร์ด้าย, TPI, comb or  card, TM, รวมทั้ง คุณภาพ เช่น U%, H, IPI, str. เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ