หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการผลิตเส้นด้ายให้ตรงตามแผนการผลิต

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-TTUN-183A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการผลิตเส้นด้ายให้ตรงตามแผนการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 8151 ผู้ควบคุมเครื่องจักร จัดเตรียมเส้นใย ปั่น และกรอเส้นใย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะอธิบายทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการควบคุมการผลิตในกระบวนการผลิตเส้นด้ายให้ตรงตามแผนการผลิต ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมวัตถุดิบในการผลิตเส้นด้าย รวมถึงการควบคุมบุคลากรในการผลิตเส้นด้าย และการควบคุมระยะเวลาในการผลิตเส้นด้าย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพผลิตวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1020601 ควบคุมวัตถุดิบในการผลิตเส้นด้าย 1. จัดเตรียมวัตถุดิบในการผลิตได้ถูกต้องตามชนิด ประเภทของเส้นด้าย 160643
1020601 ควบคุมวัตถุดิบในการผลิตเส้นด้าย 2. จัดเตรียมวัตถุดิบได้เพียงพอต่อแผนการผลิตเส้นด้าย 160644
1020602 ควบคุมบุคลากรในการผลิตเส้นด้าย 1. วางแผนกำลังคนในสายการผลิตได้ถูกต้องกับแผนการผลิตรวม 160645
1020602 ควบคุมบุคลากรในการผลิตเส้นด้าย 2. จัดเตรียมบุคลากรในสายการผลิตได้เพียงพอต่อการดำเนินงานตามแผนการผลิตรวม 160646
1020602 ควบคุมบุคลากรในการผลิตเส้นด้าย 3. สรุปผลกระบวนการผลิตเส้นด้าย 160647
1020603 ควบคุมระยะเวลาในการผลิตเส้นด้าย 1. วางแผนตารางการผลิตได้ตรงตามแผนการผลิต 160648
1020603 ควบคุมระยะเวลาในการผลิตเส้นด้าย 2. ควบคุมตารางการผลิตหลักให้เป็นไปตามระยะเวลาของแผนการผลิตรวม 160649

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.ปฏิบัติการตรวจสอบแผนการผลิตเส้นด้าย

2.รายงานผลการผลิตเส้นด้าย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

N/A

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

                    1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

                    2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

                    1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

                    2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการควบคุมวัตถุดิบในการผลิตเส้นด้าย รวมถึงการควบคุมบุคลากรในการผลิตเส้นด้าย และ การควบคุมระยะเวลาในการผลิตเส้นด้าย

 (ง) วิธีการประเมิน

พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการควบคุมวัตถุดิบในการผลิตเส้นด้าย การควบคุมบุคลากรในการผลิตเส้นด้าย และการควบคุมระยะเวลาในการผลิตเส้นด้าย

          (ก) คำแนะนำ

                    1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถควบคุมวัตถุดิบในการผลิตเส้นด้ายได้

                    2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถควบคุมบุคลากรในการผลิตเส้นด้ายได้

                    3. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถควบคุมระยะเวลาในการผลิตเส้นด้ายได้

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด

                    1. ข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจ เกี่ยวกับการควบคุมวัตถุดิบในการผลิตเส้นด้าย อาทิเช่น

                    ตารางการผลิตหลัก (Master production schedule) เพื่อให้ทราบว่า ลูกค้าต้องการเส้นด้าย อะไรบ้าง เมื่อใด

                    ใบแสดงรายการวัสดุ หรือข้อกำหนดเฉพาะของเส้นด้าย (Bill of material or Yarn specifications) เพื่อให้ทราบว่าจะต้องใช้วัตถุดิบ อะไรบ้าง ปริมาณเท่าใด

ปริมาณวัตถุดิบคงคลัง (Inventory availability) เพื่อให้ทราบว่า มีวัตถุดิบปริมาณเท่าใดที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน และสามารถนำมาใช้ได้ทันที

                    ปริมาณวัตถุดิบที่อยู่ในระหว่างการสั่งซื้อ (Purchase orders outstanding) เพื่อให้ทราบว่ามีวัตถุดิบใดบ้างที่ได้สั่งซื้อไปแล้ว และอยู่ในขั้นตอนของการจัดส่ง แล้วจะมาส่งเมื่อใด

                    เวลานำ (Lead times) เพื่อให้ทราบ เวลาที่ใช้สำหรับการสั่งซื้อวัตถุดิบ

                    2. ตารางการผลิตหลัก คือตารางที่กำหนดปริมาณการผลิตเส้นด้ายแต่ละชนิด โดยจะให้ข้อมูลความต้องการของลูกค้าว่า ต้องการเส้นด้ายอะไรและปริมาณเท่าใด

                    3. ตารางการผลิตรวม จะระบุปริมาณที่ต้องผลิตในลักษณะหมวดหมู่ของเส้นด้าย เวลาทำงานมาตรฐาน และมูลค่าทางการเงิน ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการวางแผนการผลิตรวม อาทิเช่น แผนการเงิน  ความต้องการของลูกค้า  ข้อมูลเครื่องจักร  จำนวนพนักงานที่มีอยู่  นโยบายการจัดการวัตถุดิบคงคลัง  ประสิทธิภาพของผู้จัดหาวัตถุดิบ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

 18.2 แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ