หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบโครงสร้างผ้าถัก

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-UXXA-173A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบโครงสร้างผ้าถัก

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 2163 นักออกแบบสิ่งทอ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะครอบคลุมทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการออกแบบลายผ้าถัก โดยการเตรียมความพร้อมในการออกแบบลายผ้าถักและผลิตผ้าถัก และการออกแบบโครงสร้างลายผ้าถัก

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพออกแบบวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1011901 เตรียมความพร้อมในการออกแบบลายผ้าถักและผลิตผ้าถัก 1 ตรวจสอบข้อกำหนดของการออกแบบลายผ้าถักจากสรุปแนวคิดการออกแบบ 160570
1011901 เตรียมความพร้อมในการออกแบบลายผ้าถักและผลิตผ้าถัก 2 พัฒนาการออกแบบผ้าถักเพื่อให้เป็นไปตามสรุปแนวคิดการออกแบบ 160571
1011901 เตรียมความพร้อมในการออกแบบลายผ้าถักและผลิตผ้าถัก 3 สรุปงานออกแบบสำหรับการผลิต 160572
1011902 ออกแบบโครงสร้างลายผ้าถัก 1 เลือกโครงสร้างการถักผ้าเพื่อผลิตผ้าถักตามข้อมูลจำเพาะของการออกแบบ 160573
1011902 ออกแบบโครงสร้างลายผ้าถัก 2 ระบุโครงสร้างผ้าถักด้วยสัญลักษณ์ที่ใช้ในการถักผ้า 160574
1011902 ออกแบบโครงสร้างลายผ้าถัก 3 กำหนดสีของลายถัก ตามแนวคิดการออกแบบ 160575

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. จัดทำวงล้อสี

2. จัดทำ Mood Board

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. รู้ชนิดของเส้นใย เส้นด้าย และผ้า

2. รู้กระบวนการปั่นด้าย

3. รู้แนวโน้มวัตถุดิบสีแฟชั่น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

          2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

          2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการออกแบบลายผ้าถักและผลิตผ้าถัก และการออกแบบโครงสร้างลายผ้าถัก

(ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การเตรียมความพร้อมในการออกแบบลายผ้าถักและผลิตผ้าถัก และ การออกแบบโครงสร้างลายผ้าถัก

(ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะและความรู้เกี่ยวกับการจัดทำภาพร่างตามข้อมูลความต้องการของลูกค้า ข้อมูลแนวโน้มสี แนวโน้มวัตถุดิบผ้าถัก และสัญลักษณ์ในการถักผ้า

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ข้อกำหนดของการออกแบบลายผ้าถัก อาทิเช่น วัตถุดิบเส้นด้าย แนวโน้มแฟชั่น เครื่องจักร ข้อมูลความต้องการของลูกค้า

2. แนวคิดการออกแบบ คือ ส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดแนวคิดในการออกแบบ อาทิเช่น ธรรมชาติ  ประสบการณ์  ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ข้อมูลความต้องการของลูกค้า

3. โครงสร้างการถักผ้า คือ การเกิดลวดลายต่างๆ ด้วยห่วงนิต ห่วงทัก และห่วงข้าม

4. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการถักผ้า คือเครื่องหมายแทนห่วง (Stitch Notation) มี 4 แบบ คือ

4.1 Verbal Notation เป็นการใช้ชื่อโครงสร้างโดยไม่ต้องเขียนโครงสร้างหรือการออกแบบอื่นๆ เช่น 1 × 1 Rib, Interlock ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ไม่สลับซับซ้อน



4.2 Graphic Notation เป็นการร่างขึ้นมาก่อนในรูปแบบที่กำหนดอย่างง่าย

4.3 Symbolic Notation เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะของห่วง นิยมใช้ในโครงสร้าง Single Knit ที่เป็นโครงสร้างสลับซับซ้อน แต่ไม่นิยมใช้ในโครงสร้าง Double Knit เพราะมีความยุ่งยากกว่า Symboloic Notation มีสัญลักษณ์แทนห่วงแบบต่างๆ ดังนี้





 



4.4 Diagrammatic Notation เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะของห่วงถัก ใช้ได้ทั้งโครงสร้าง Single Knit และ Double Knit มีสัญลักษณ์แทนห่วงแบบต่างๆ ดังนี้



 




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มการประเมินผลจากแฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ