หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการระบบการตรวจวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า

สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GEM-EVMI-051B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการระบบการตรวจวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1. อาชีพนักวิเคราะห์พลอยสี


1 3111 ช่างเทคนิคด้านเคมีและวิทยาศาสตร์กายภาพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบโลหะมีค่าในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ในหน่วยสมรรถนะนี้จะมุ่งเน้นด้านการจัดการระบบการตรวจวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า ผู้ปฏิบัติงานต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบโลหะมีค่า และต้องมีความรู้และทักษะในการบริหารจัดการระบบการตรวจวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50110101

วางแผนระบบห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า

1. วางแผนระยะเวลาการรับงานและส่งมอบงาน

50110101.01 169985
50110101

วางแผนระบบห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า

2. วางแผนการตรวจวิเคราะห์โลหะมีค่าตามความต้องการของผู้ใช้บริการ


50110101.02 169986
50110102

ปฏิบัติงานงานตามแผนที่วางไว้ของห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า

1. ควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน



50110102.01 169987
50110102

ปฏิบัติงานงานตามแผนที่วางไว้ของห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า

2. บริหารงบประมาณ ตามที่ได้รับมอบหมาย

50110102.02 169988
50110102

ปฏิบัติงานงานตามแผนที่วางไว้ของห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า

3. จัดให้มีระบบความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในห้องปฏิบัติการ ตามข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการและสอดคล้องกับกฏหมายที่เกี่ยวข้อง

50110102.03 169989
50110102

ปฏิบัติงานงานตามแผนที่วางไว้ของห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า

4. รับข้อร้องเรียนหรือรับข้อเสนอแนะจากผู้ใช้บริการ

50110102.04 169990
50110103

ประเมินระบบห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า

1. ประเมินประสิทธิภาพและปรับปรุงแก้ไขเครื่องมือหรือเทคนิคการตรวจสอบ



50110103.01 169991
50110103

ประเมินระบบห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า

2. ประเมินประสิทธิภาพและปรับปรุงแก้ไขระบบตรวจวิเคราะห์

50110103.02 169992

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถวางแผนระบบรับเข้าและส่งออกตัวอย่าง



2. สามารถวางแผนการตรวจวิเคราะห์โลหะตามความต้องการของผู้ใช้บริการ



3. สามารถปฏิบัติงานและควบคุมงานตามแผนที่วางไว้



4. สามารถประเมินประสิทธิภาพและปรับปรุงแก้ไข เครื่องมือ หรือเทคนิคการตรวจสอบ หรือระบบตรวจวิเคราะห์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนระบบรับเข้าและส่งออกตัวอย่าง



2. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการตรวจวิเคราะห์โลหะตามความต้องการของผู้ใช้บริการ



3. ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานและควบคุมงานตามแผนที่วางไว้



4. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพและปรับปรุงแก้ไข เครื่องมือ หรือเทคนิคการตรวจสอบ หรือระบบตรวจวิเคราะห์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. แสดงวางแผนระบบรับเข้าและส่งออกตัวอย่าง



2. แสดงการวางแผนการตรวจวิเคราะห์โลหะมีค่าตามความต้องการของผู้ใช้บริการ



3. แสดงการปฏิบัติงานและควบคุมงานตามแผนที่วางไว้



4. แสดงการประเมินประสิทธิภาพและปรับปรุงแก้ไข เครื่องมือ หรือเทคนิคการตรวจสอบ หรือระบบตรวจวิเคราะห์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. อธิบายเกี่ยวกับการวางแผนระบบรับเข้าและส่งออกตัวอย่าง



2. อธิบายเกี่ยวกับการวางแผนการตรวจวิเคราะห์โลหะมีค่าตามความต้องการของผู้ใช้บริการ



3. อธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและควบคุมงานตามแผนที่วางไว้



4. อธิบายเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพและปรับปรุงแก้ไข เครื่องมือ หรือเทคนิคการตรวจสอบ หรือระบบตรวจวิเคราะห์



5. ใบบันทึกผลการสัมภาษณ์



 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการจัดการระบบการตรวจวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



 (ง) วิธีการประเมิน



1. การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของการจัดการระบบการตรวจวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า ซึ่งเริ่มจากการนำตัวอย่างเข้ามาในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า ทำการตรวจวิเคราะห์ และออกใบรายงานผลการตรวจสอบโลหะมีค่า โดยผู้เข้ารับการประเมินจะต้องมีการวางแผน ทั้งระยะเวลารับส่งมอบตัวอย่างโลหะมีค่า วางแผนการตรวจวิเคราะห์ ควบคุมการดำเนินการ บริหารงบประมาณ และประเมินประสิทธิภาพของระบบตรวจวิเคราะห์ เครื่องมือ และเทคนิคการตรวจสอบ รวมถึงระบบความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในห้องปฏิบัติการ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



การจัดการระบบการตรวจวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า คือ กระบวนการที่ทำให้งานต่างๆ  ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนได้ประสานเป็นอันหนึ่งเดียวกัน ให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วยบุคลากรและทรัพยากรของห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า การจัดการระบบการตรวจวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า จึงเป็นกระบวนการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบวิเคราะห์โลหะมีค่าให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความถูกต้อง รวดเร็ว และประหยัด ห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่าที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องมีการทำงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งระบบนี้จะประกอบไปด้วย ตัวป้อน (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output) ที่สัมพันธ์กัน โดยปัจจัยสำคัญของการบริหารนั้นประกอบไปด้วยสิ่งสำคัญ 4 ประการ นั่นก็คือ มนุษย์ เงินทุน วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการ ทั้งนี้ระบบการตรวจวิเคราะห์อาจมีข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อควบคุมการทำงานของห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่าให้ได้ตามวัตถุประสงค์



นอกจากนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในห้องปฏิบัติการ โดยต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ สารเคมี สัญลักษณ์ และป้ายเตือนความปลอดภัย การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS) อันตรายจากสารเคมี และวิธีการกำจัดของเสีย การปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน การวิเคราะห์ความเสี่ยง ระบบมาตรฐานด้านความปลอดภัย และการอนุรักษ์พลังงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน



1. การสัมภาษณ์



ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ