หน่วยสมรรถนะ
พัฒนาความสามารถบุคลากรในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า
สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | GEM-CUHS-049B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | พัฒนาความสามารถบุคลากรในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
1. นักวิเคราะห์โลหะมีค่า 1 3111 ช่างเทคนิคด้านเคมีและวิทยาศาสตร์กายภาพ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบโลหะมีค่าในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในการตรวจสอบโลหะมีค่า และมีหน้าที่พัฒนาความสามารถบุคลากรในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ในสภาพแวดล้อมในรูปแบบของการทำงานแบบประจำที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบโลหะมีค่า ผู้ปฏิบัติงานต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับโลหะมีค่า และต้องมีความรู้และทักษะในการพัฒนาความสามารถของบุคลากร |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
50090401 วางแผนและพัฒนาบุคคลากรห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า |
1. หาความจำเป็นในการพัฒนาบุคคลากร |
50090401.01 | 171583 |
50090401 วางแผนและพัฒนาบุคคลากรห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า |
2. วางแผนการจัดฝึกอบรมบุคคลากรด้านเทคนิค |
50090401.02 | 171584 |
50090401 วางแผนและพัฒนาบุคคลากรห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า |
3. วางแผนการพัฒนาของบุคคลากรด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ (KM) |
50090401.03 | 171585 |
50090401 วางแผนและพัฒนาบุคคลากรห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า |
4. มอบหมายบุคลากรให้ทำงานนอกเหนือจากงานประจำ เพื่อการพัฒนา |
50090401.04 | 171586 |
50090401 วางแผนและพัฒนาบุคคลากรห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า |
5. จัดให้มีการหมุนเวียนเปลี่ยนงาน (Job Rotation) |
50090401.05 | 171587 |
50090402 ประเมินและให้คำแนะนำรายงานการตรวจสอบขั้นสุดท้ายแก่บุคลากรของห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า |
1. สามารถประเมินประสิทธิภาพหลังการพัฒนาบุคลากรในห้องปฏิบัติการ |
50090402.01 | 171588 |
50090402 ประเมินและให้คำแนะนำรายงานการตรวจสอบขั้นสุดท้ายแก่บุคลากรของห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า |
2. แนะนำให้คำปรึกษาการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน |
50090402.02 | 171589 |
50090402 ประเมินและให้คำแนะนำรายงานการตรวจสอบขั้นสุดท้ายแก่บุคลากรของห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า |
3. ให้คำแนะนำรายงานการตรวจสอบขั้นสุดท้าย |
50090402.03 | 171590 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. สามารถหาความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากร และวางแผนการพัฒนาบุคลากร 2. สามารถพัฒนาบุคลากรด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ ฝึกอบรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ (KM) ให้ทำงานนอกเหนือจากงานประจำ และการหมุนเวียนเปลี่ยนงาน 3. สามารถประเมินประสิทธิภาพหลังการพัฒนาบุคลากร 4. สามารถปรับปรุงแก้ไขทักษะหรือกระบวนการหลังการพัฒนาบุคลากร 5. สามารถแนะนำให้คำปรึกษาการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนแก่บุคลากร 6. สามารถให้คำแนะนำรายงานการตรวจสอบโลหะมีค่าขั้นสุดท้าย (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับการหาความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากร และวางแผนการพัฒนาบุคลากร 2. ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ ฝึกอบรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ (KM) ให้ทำงานนอกเหนือจากงานประจำ และการหมุนเวียนเปลี่ยนงาน 3. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพหลังการพัฒนาบุคลากร 4. ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขทักษะหรือกระบวนการหลังการพัฒนาบุคลากร 5. ความรู้เกี่ยวกับการแนะนำให้คำปรึกษาการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนแก่บุคลากร 6. ความรู้เกี่ยวกับการให้คำแนะนำรายงานการตรวจสอบโลหะมีค่าขั้นสุดท้าย |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับการหาความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากร และวางแผนการพัฒนาบุคลากร 2. แสดงความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ ฝึกอบรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ (KM) ให้ทำงานนอกเหนือจากงานประจำ และการหมุนเวียนเปลี่ยนงาน 3. แสดงความรู้เกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพหลังการพัฒนาบุคลากร 4. แสดงความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขทักษะหรือกระบวนการหลังการพัฒนาบุคลากร 5. แสดงความรู้เกี่ยวกับการแนะนำให้คำปรึกษาการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนแก่บุคลากร 6. แสดงความรู้เกี่ยวกับการให้คำแนะนำรายงานการตรวจสอบโลหะมีค่าขั้นสุดท้าย (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. อธิบายเกี่ยวกับการหาความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากร และวางแผนการพัฒนาบุคลากร 2. อธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ ฝึกอบรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ (KM) ให้ทำงานนอกเหนือจากงานประจำ และการหมุนเวียนเปลี่ยนงาน 3. อธิบายเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพหลังการพัฒนาบุคลากร 4. อธิบายเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขทักษะหรือกระบวนการหลังการพัฒนาบุคลากร 5. อธิบายเกี่ยวกับการแนะนำให้คำปรึกษาการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนแก่บุคลากร 6. อธิบายเกี่ยวกับการให้คำแนะนำรายงานการตรวจสอบโลหะมีค่าขั้นสุดท้าย 7. ใบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถบุคลากรในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. การสัมภาษณ์ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ ผู้เข้ารับการประเมิน ต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของการพัฒนาบุคลากรในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า โดยคำว่า การพัฒนาบุคลากร คือ กรอบและกระบวนการในการพัฒนาตลอดจนส่งเสริมให้บุคลากรในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า มีความรู้ความสามารถไปจนถึงมีทักษะในการปฎิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งบุคลากรยังเกิดการพัฒนาศักยภาพด้วย โดยการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรนั้น อาจทำได้หลายวิธีหรือหลายกระบวนการ เช่น การฝึกอบรม การจัดการความรู้ (KM) การศึกษาผ่านการเรียนการสอน การออกไปดูงานนอกองค์กร และการถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างกัน เป็นต้น ซึ่งเมื่อบุคลากรได้รับการพัฒนาแล้วก็สามารถเป็นประโยชน์ต่อห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า (ข) คำอธิบายรายละเอียด กระบวนการพัฒนาบุคลากรในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า อาจมีขั้นตอนในทางปฏิบัติ ดังนี้ 1. การหาความจำเป็นของการพัฒนาบุคลากร (Personnel Development Needs) เป็นการหา ข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาของห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า เพื่อหาทางแก้ไขด้วยการพัฒนาบุคลากรในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า 2. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objectives) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ว่าจะพัฒนาบุคลากรเพื่อแก้ไขปัญหา หรือเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไรในการปฏิบัติงานของบุคลากร 3. เลือกวิธีการ (Method) ที่เหมาะสมว่าควรจะดำเนินการพัฒนาบุคลากรด้วยวิธีใด โดยพิจารณา ว่าวิธีใดจะได้ผลรวดเร็ว และคุ้มค่าที่สุด ซึ่งจะต้องคำนึงถึงลักษณะของปัญหาและวิธีการแก้ไข จำานวนบุคลากร ที่จะต้องพัฒนา ระยะเวลา และงบประมาณ วิธีการพัฒนาบุคลากรมีหลายวิธี เช่น ฝึกอบรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ (KM) ให้ทำงานนอกเหนือจากงานประจำ และการหมุนเวียนเปลี่ยนงาน 4. การกำหนดโครงการ เป็นการจัดทำรายละเอียดของการพัฒนาบุคลากรในแต่ละเรื่องว่าจะดำเนินการอย่างไร 5. ดำเนินการพัฒนาบุคลากรตามโครงการที่กำหนดหรือจัดทำขึ้น 6. การประเมินผลและติดตามผล เป็นการพิจารณาว่า การพัฒนาบุคลากรที่ได้ดำเนินการไปแล้วนั้น ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด มีปัญหา อุปสรรค หรือข้อขัดข้อง ประการใด รวมทั้งการ ติดตามดูว่าหน่วยงานและบุคลากรนั้นได้รับประโยชน์จากโครงการที่ดำเนินการไปแล้ว เพียงใด คุ้มค่าหรือไม่ นอกจากกระบวนการพัฒนาบุคลากรในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า ด้วยความที่ความรู้ด้านโลหะมีค่า เป็นความรู้เฉพาะทางสูง ผู้ปฏิบัติงานในสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษา ด้วยการประเมินและให้คำแนะนำรายงานการตรวจสอบโลหะมีค่าขั้นสุดท้ายแก่บุคลากรที่มีประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญน้อยกว่า |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือการประเมิน 1. การสอบสัมภาษณ์ ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน |