หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า

สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GEM-TRJO-048B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1. นักวิเคราะห์โลหะมีค่า


1 3111 ช่างเทคนิคด้านเคมีและวิทยาศาสตร์กายภาพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบโลหะมีค่าในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ในสภาพแวดล้อมในรูปแบบของการทำงานแบบประจำที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบโลหะมีค่า ผู้ปฏิบัติงานต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบโลหะมีค่า รวมถึงต้องมีความรู้และทักษะในการจัดการและพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50090301

วางแผนและจัดการงานตามระบบห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า

1. กำหนดเป้าหมายการปรับปรุงและจัดทำแผนงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน

50090301.01 171569
50090301

วางแผนและจัดการงานตามระบบห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า

2. วางแผนขั้นตอนการฏิบัติงาน ตั้งแต่การรับตัวอย่างจนถึงเสร็จสิ้นกระบวนการ

50090301.02 171570
50090302

ควบคุมระบบห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่าให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

1. ดูแลการปฏิบัติงานประจำวันในห้องปฏิบัติการตามข้อกำหนดหน้าที่งานของหน่วยงาน

50090302.01 171571
50090302

ควบคุมระบบห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่าให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

2. ตัดสินใจแก้ไขปัญาที่เกิดขึ้นในระบบ

50090302.02 171572
50090303

ประเมินระบบห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า

1. ประเมินเครื่องมือหรือเทคนิคการตรวจสอบโลหะมีค่า

50090303.01 171573
50090303

ประเมินระบบห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า

2. ประเมินประสิทธิภาพของระบบการตรวจวิเคราะห์โลหะมีค่า

50090303.02 171574

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถกำหนดเป้าหมายและวางแผนการปรับปรุงระบบ



2. สามารถดูแลการปฏิบัติงานประจำวันในห้องปฏิบัติการตามข้อกำหนดหน้าที่งานของหน่วยงาน



3. สามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ



4. สามารถประเมินเครื่องมือหรือเทคนิคการตรวจสอบ



5. สามารถประเมินประสิทธิภาพระบบตรวจวิเคราะห์โลหะมีค่า

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายและวางแผนการปรับปรุงระบบ



2. ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานประจำวันในห้องปฏิบัติการตามข้อกำหนดหน้าที่งานของหน่วยงาน



3. ความรู้เกี่ยวกับการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ



4. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินเครื่องมือหรือเทคนิคการตรวจสอบ



5. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพระบบตรวจวิเคราะห์โลหะมีค่า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. แสดงการกำหนดเป้าหมายและวางแผนการปรับปรุงระบบ



2. แสดงการดูแลการปฏิบัติงานประจำวันในห้องปฏิบัติการตามข้อกำหนดหน้าที่งานของหน่วยงาน



3. แสดงการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ



4. แสดงการประเมินเครื่องมือหรือเทคนิคการตรวจสอบ



5. แสดงการประเมินประสิทธิภาพระบบตรวจวิเคราะห์โลหะมีค่า



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. อธิบายเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายและวางแผนการปรับปรุงระบบ



2. อธิบายเกี่ยวกับการดูแลการปฏิบัติงานประจำวันในห้องปฏิบัติการตามข้อกำหนดหน้าที่งานของหน่วยงาน



3. อธิบายเกี่ยวกับการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ



4. อธิบายเกี่ยวกับการประเมินเครื่องมือหรือเทคนิคการตรวจสอบ



5. อธิบายเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพระบบตรวจวิเคราะห์โลหะมีค่า



6. ใบบันทึกผลการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



 (ง) วิธีการประเมิน



1. การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของการพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า อาจเป็นการพัฒนาเครื่องมือหรือเทคนิคการตรวจสอบ เพื่อให้ได้ผลการตรวจสอบโลหะมีค่านั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยต้องมีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายการปรับปรุงหรือพัฒนา แล้วจึงดำเนินการตามแผนงาน จากนั้นจึงประเมินผลลัพธ์ที่ได้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



ระบบ (System) คือ ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานเป็นอันเดียวกันตามหลักเหตุผลทางวิชาการ ระบบการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า จึงเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในกระบวนการแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบโลหะมีค่าให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความถูกต้อง รวดเร็ว และประหยัด ห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่าที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องมีการทำงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งระบบนี้จะประกอบไปด้วย ตัวป้อน (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output) ที่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ระบบการตรวจวิเคราะห์อาจมีข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อควบคุมผลการตรวจวิเคราะห์โลหะมีค่าให้มีความถูกต้องแม่นยำไม่ผิดพลาด



พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของ “พัฒนา” ว่าคือ “ทำให้เจริญ” ดังนั้นการพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า จึงเป็นการการสร้างระบบงานใหม่หรือปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมที่มีอยู่แล้วให้สามารถทำงาน เพื่อแก้ปัญหาการดำเนินงานตรวจวิเคราะห์โลหะมีค่าได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน รวมถึงทำให้ระบบการทำงานมีประสิทธิภาพหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เช่น เพิ่มความถูกต้องของผลการตรวจวิเคราะห์ เพิ่มความเร็วในการตรวจวิเคราะห์ และลดต้นทุนในการตรวจวิเคราะห์ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน



1. การสัมภาษณ์



ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ