หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบความใช้ได้ของเครื่องมือ (Tool Validation)

สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GEM-DOUL-067B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบความใช้ได้ของเครื่องมือ (Tool Validation)

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1. อาชีพนักวิเคราะห์โลหะมีค่า


1 3111 ช่างเทคนิคด้านเคมีและวิทยาศาสตร์กายภาพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบโลหะมีค่าในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยมีการใช้เครื่องมือในการตรวจสอบโลหะมีค่า ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของการตรวจสอบความใช้ได้ของเครื่องมือ (Tool validation)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50060101

ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือ

1. บันทึกการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือประจำวันก่อนการใช้งาน

50060101.01 159734
50060101

ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือ

2. บันทึกสภาวะแวดล้อม ได้แก่  อุณหภูมิ ความชื้น 

50060101.02 159735
50060101

ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือ

3. เลือกและใช้สารอ้างอิงมาตรฐานตามข้อกำหนด

50060101.03 159736
50060101

ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือ

4. บันทึกการสอบเทียบตามกำหนดเวลา และการบำรุงรักษาเครื่องมือ

50060101.04 171522
50060102

ทดสอบเครื่องมือด้วยตัวอย่างมาตรฐานที่ทราบค่าแน่นอนก่อนการทดสอบ

1. ทดสอบตัวอย่างมาตรฐานอ้างอิงที่รู้ค่าที่แน่นอน

50060102.01 159737
50060102

ทดสอบเครื่องมือด้วยตัวอย่างมาตรฐานที่ทราบค่าแน่นอนก่อนการทดสอบ

2. ตรวจสอบค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบของตัวอย่างมาตรฐานอ้างอิงตามใบรับรอง

50060102.02 159738
50060102

ทดสอบเครื่องมือด้วยตัวอย่างมาตรฐานที่ทราบค่าแน่นอนก่อนการทดสอบ

3. สอบเทียบเครื่องมือให้ได้ค่าที่ถูกต้อง

50060102.03 171523

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถบันทึกการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือประจำวันก่อนการใช้งาน



2. สามารถบันทึกสภาวะแวดล้อม อุณหภูมิ ความชื้น



3. สามารถเลือกและใช้สารอ้างอิงมาตรฐานตามข้อกำหนด



4. สามารถบันทึกการสอบเทียบตามกำหนดเวลา และการบำรุงรักษาเครื่องมือ



5. สามารถทดสอบตัวอย่างมาตรฐานอ้างอิงที่รู้ค่าที่แน่นอน



6. สามารถตรวจสอบค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบของตัวอย่างมาตรฐานอ้างอิงตามใบรับรอง



7. สามารถสอบเทียบเครื่องมือให้ได้ค่าที่ถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือประจำวันก่อนการใช้งาน



2. ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกสภาวะแวดล้อม อุณหภูมิ ความชื้น



3. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกและใช้สารอ้างอิงมาตรฐานตามข้อกำหนด



4. ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกการสอบเทียบตามกำหนดเวลา และการบำรุงรักษาเครื่องมือ



5. ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบตัวอย่างมาตรฐานอ้างอิงที่รู้ค่าที่แน่นอน



6. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบของตัวอย่างมาตรฐานอ้างอิงตามใบรับรอง



7. ความรู้เกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือให้ได้ค่าที่ถูกต้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. แสดงการบันทึกการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือประจำวันก่อนการใช้งาน



2. แสดงการบันทึกสภาวะแวดล้อม อุณหภูมิ ความชื้น



3. แสดงการเลือกและใช้สารอ้างอิงมาตรฐานตามข้อกำหนด



4. แสดงการบันทึกการสอบเทียบตามกำหนดเวลา และการบำรุงรักษาเครื่องมือ



5. แสดงการทดสอบตัวอย่างมาตรฐานอ้างอิงที่รู้ค่าที่แน่นอน



6. แสดงการตรวจสอบค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบของตัวอย่างมาตรฐานอ้างอิงตามใบรับรอง



7. แสดงการสอบเทียบเครื่องมือให้ได้ค่าที่ถูกต้อง



8. ใบบันทึกผลการสัมภาษณ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. อธิบายเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือประจำวันก่อนการใช้งาน



2. อธิบายเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม อุณหภูมิ ความชื้น



3. อธิบายเกี่ยวกับการเลือกและใช้สารอ้างอิงมาตรฐานตามข้อกำหนด



4. อธิบายเกี่ยวกับการสอบเทียบตามกำหนดเวลา และการบำรุงรักษาเครื่องมือ



5. อธิบายเกี่ยวกับการทดสอบตัวอย่างมาตรฐานอ้างอิงที่รู้ค่าที่แน่นอน



6. อธิบายเกี่ยวกับการตรวจสอบค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบของตัวอย่างมาตรฐานอ้างอิงตามใบรับรอง



7. อธิบายเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือให้ได้ค่าที่ถูกต้อง



8. ใบบันทึกผลการทดสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการตรวจสอบความใช้ได้ของเครื่องมือ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



 (ง) วิธีการประเมิน



1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



2. การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจสอบโลหะมีค่า ซึ่งเน้นถึงการปฏิบัติในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า โลหะมีค่าในหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่ ทองคำ และเงิน ทั้งที่เป็นชิ้นงานโลหะและตัวเรือนเครื่องประดับ หรือในรูปของโลหะผสม ผู้เข้าประเมินควรมีความรู้และทักษะที่ในการตรวจสอบความใช้ได้ของเครื่องมือ (Tool validation)



ในหน่วยสมรรถนะนี้ ครอบคลุมเทคนิควิธีวิเคราะห์โลหะมีค่า ได้แก่




  • การวิเคราะห์หาปริมาณทองคำ (Au) ในเครื่องประดับทองคำ ด้วยวิธีคิวเพลเลชัน (Cupellation method)

  • การวิเคราะห์หาปริมาณทองคำ (Au) ในตัวอย่างโลหะมีค่าโดยใช้เทคนิคเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์ (XRF)

  • การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะเงินในเครื่องประดับเงิน โดยเทคนิคโพเท็นชิโอเมตริกไทเทรชั่น ด้วยเครื่องไทเทรตอัตโนมัติ

  • การวัดความหนาทองคำ (Au) ในเครื่องประดับชุบทองคำ โดยเทคนิคเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์ (XRF)



สมรรถนะนี้ มีการใช้ข้อมูลเป็นแนวทางในการกำหนดสมรรถนะ คือ มาตรฐาน ISO 17025 General requirements for the competence of testing and calibration laboratories หรือ มอก. 17025-2561 ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



ความจำเป็นในการตรวจสอบความใช้ได้ของเครื่องมือ (Tool validation หรือ Instrument validation) เป็นการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่หน่วยงานหรือองค์กรกำหนด มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบสมรรถนะการทำงานของเครื่องมือตามคุณลักษณะที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ในเอกสารคู่มือ ภายใต้สภาวะแวดล้อมในการใช้งาน เช่น อุณหภูมิ  ความชื้น  กระแสไฟฟ้า น้ำที่ใช้ รวมทั้งทักษะของผู้ใช้เครื่องมือ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่า หากมีความคลาดเคลื่อน (error) ของระบบ  จะไม่ส่งผลการะทบต่อค่าที่วัดได้และการแปรผลค่าการทดสอบ รวมถึงเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่า เมื่อมีการติดตั้งเครื่องมือใหม่ เมื่อเปลี่ยนวิธีใหม่ไปจากวิธีเดิมหรือสภาวะเดิม เมื่อส่วนประกอบหลักของเตรื่องมือมีการเปลี่ยนแปลง  เช่น เปลี่ยนตัวตรวจวัด เมื่อมีการเคลื่อนย้ายไปยังที่ใหม่ เมื่อมีการยืมใช้เครื่องมือ เมื่อครบตามช่วงระยะเวลาการบำรุงรักษาและการตรวจสอบ เหล่านี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมือ



ในการตรวจสอบความใช้ได้ของเครื่องมือ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ



1. Installation Qualification ติดตั้งเครื่องมือให้เป็นไปตามข้อกำหนดเครื่องมือ เช่น สภาวะแวดล้อม กระแสไฟที่ใช้ และซอฟแวร์ เป็นต้น



2. Operation Qualification ทดสอบการใช้งานเครื่องมือตามรายละเอียดการวัด การจัดการและใช้งานเครื่องมือ  โดยนักวิเคราะห์โลหะมีค่าของห้องปฏิบัติการ และทดสอบการใช้งานด้วยสารมาตรฐาน



3. Instrument Validation ทดสอบประสิทธิภาพตามวิธีมาตรฐาน



การหาค่าความถูกต้องของเครื่องมือในการวัดต่างๆ  ต้องทำการทดลองแล้วนำผลตัวเลข มาทดสอบค่าทางสถิติ โดยมีวิธีการหลายรูปแบบเพื่อการยืนยันความถูกต้องของเครื่องมือ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมินน



1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



2. การสอบสัมภาษณ์



ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ