หน่วยสมรรถนะ
ปรับปรุงคุณภาพของงานวิเคราะห์
สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | GEM-TMZG-064B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปรับปรุงคุณภาพของงานวิเคราะห์ |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
1. อาชีพนักวิเคราะห์โลหะมีค่า 1 3111 ช่างเทคนิคด้านเคมีและวิทยาศาสตร์กายภาพ 1 7313 ช่างทำเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และโลหะมีค่า |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบโลหะมีค่าในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยมีการใช้เครื่องมือในการตรวจสอบโลหะมีค่า ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของการปรับปรุงคุณภาพของงานวิเคราะห์โลหะมีค่า ให้ผลการวิเคราะห์ที่ได้มีความถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
50020301 เทียบประสิทธิภาพของงาน |
1. สามารถสอบเทียบ (Calibrate) เครื่องมือจากตัวอย่างมาตรฐานอ้างอิงได้ |
50020301.01 | 159620 |
50020301 เทียบประสิทธิภาพของงาน |
2. เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ระหว่างบุคลากรภายในห้องปฏิบัติการ หรือเปรียบเทียบผลระหว่างห้องปฏิบัติการ |
50020301.02 | 159621 |
50020302 ปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน (Work
instruction; WI) |
1. ปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานตามปัญหาที่พบ |
50020302.01 | 159622 |
50020302 ปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน (Work
instruction; WI) |
2. ปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่เปลี่ยน |
50020302.02 | 159623 |
50020302 ปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน (Work
instruction; WI) |
3. ปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น |
50020302.03 | 171518 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. สามารถสอบเทียบ (Calibrate) เครื่องมือจากตัวอย่างมาตรฐานอ้างอิง 2. สามารถเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ระหว่างบุคลากรภายในห้องปฏิบัติการ (Intra laboratory comparison) หรือเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ระหว่างห้องปฏิบัติการ (ILC-Inter laboratory comparison) 3. สามารถจัดทำและปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน (Work instruction; WI) (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับการสอบเทียบ (Calibrate) เครื่องมือจากตัวอย่างมาตรฐานอ้างอิง 2. ความรู้เกี่ยวกับการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ระหว่างบุคลากรภายในห้องปฏิบัติการ (Intra laboratory comparison) หรือเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ระหว่างห้องปฏิบัติการ (ILC-Inter laboratory comparison) 3. ความรู้ในการจัดทำและปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน (Work instruction; WI) |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. แสดงการสอบเทียบ (Calibrate) เครื่องมือจากตัวอย่างมาตรฐานอ้างอิง 2. แสดงการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ระหว่างบุคลากรภายในห้องปฏิบัติการ (Intra laboratory comparison) หรือเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ระหว่างห้องปฏิบัติการ (ILC-Inter laboratory comparison) 3. แสดงการจัดทำและปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน (Work instruction; WI) 4. ใบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ความรู้เกี่ยวกับการสอบเทียบ (Calibrate) เครื่องมือจากตัวอย่างมาตรฐานอ้างอิง 2. ความรู้เกี่ยวกับการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ระหว่างบุคลากรภายในห้องปฏิบัติการ (Intra laboratory comparison) หรือเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ระหว่างห้องปฏิบัติการ (ILC-Inter laboratory comparison) 3. ความรู้ในการจัดทำและปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน (Work instruction; WI) 4. ใบบันทึกผลการทดสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพของงานวิเคราะห์โลหะมีค่า โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. การสัมภาษณ์ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ การปรับปรุงคุณภาพของงานวิเคราะห์โลหะมีค่า เป็นการทบทวนเนื้องาน กระบวนการทำงาน และผลการปฏิบัติงาน แล้วนำมาแก้ปัญหาและปรับปรุงการดำเนินงานวิเคราะห์ เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และยกระดับมาตรฐานการวิเคราะห์ให้สูงขึ้น ในสมรรถนะนี้การปรับปรุงคุณภาพของงานวิเคราะห์โลหะมีค่า จะเน้นการปรับปรุงเพื่อให้ผลการวิเคราะห์มีความถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น ด้วยการใช้เทคนิค 2 ประการ คือ การเทียบประสิทธิภาพของงานวิเคราะห์ และการปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน (Work instruction; WI) สมรรถนะนี้ มีการใช้ข้อมูลเป็นแนวทางในการกำหนดสมรรถนะ คือ มาตรฐาน ISO 17025 General requirements for the competence of testing and calibration laboratories หรือ มอก. 17025-2561 ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (ข) คำอธิบายรายละเอียด การเทียบประสิทธิภาพของงานวิเคราะห์ เป็นการใช้วิธีการสอบเทียบ (Calibrate) ค่าของอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ให้ได้ค่ามาตรฐาน ด้วยการเทียบค่าจากตัวอย่างมาตรฐานอ้างอิง แล้วจึงดำเนินการปรับเครื่องมือให้ตรงกับค่าอ้างอิง ทำให้ได้ค่าที่ถูกต้อง นอกจากนี้จะใช้วิธีการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ระหว่างบุคลากรภายในห้องปฏิบัติการ (Intra laboratory comparison) หรือเปรียบเทียบผลระหว่างห้องปฏิบัติการ (ILC-Inter laboratory comparison) เพื่อประโยชน์ในการวัดค่าให้ได้มาตรฐาน การปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน (Work instruction; WI) คู่มือการปฏิบัติงานเป็นการนำระบบขั้นตอนการทำงานมาจัดทำเป็นเอกสาร เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการทำงาน การปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน จึงเป็นการปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานตามปัญหาที่พบ ขั้นตอนการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่เปลี่ยน และขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือการประเมิน 1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. การสัมภาษณ์ ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน |