หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สุ่มตัวอย่างตามมาตรฐานหรือจำนวนของตัวอย่าง

สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GEM-FJZD-065B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สุ่มตัวอย่างตามมาตรฐานหรือจำนวนของตัวอย่าง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1. อาชีพนักวิเคราะห์โลหะมีค่า


1 7313 ช่างทำเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และโลหะมีค่า

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบโลหะมีค่าในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยมีการใช้เครื่องมือในการตรวจสอบโลหะมีค่า ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของการสุ่มตัวอย่างหรือการชักตัวอย่าง (Sampling) ตามมาตรฐานที่กำหนดหรือตามจำนวนของตัวอย่าง ทำการบันทึกข้อมูลการสุ่มตัวอย่าง แล้วจึงดำเนินการทดสอบตามเทคนิคการตรวจสอบที่ลูกค้าร้องขอ หรือทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานการส่งมอบสินค้าของลูกค้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50050101

เลือกวิธีการสุ่มตัวอย่าง

1. สุ่มตัวอย่างตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ

50050101.01 159724
50050101

เลือกวิธีการสุ่มตัวอย่าง

2. สุ่มตัวอย่างตามลักษณะของชิ้นงาน

50050101.02 159725
50050102

ทดสอบตัวอย่าง

1. ทดสอบตามเทคนิคการตรวจสอบที่ลูกค้าร้องขอ

50001003.01 159727
50050102

ทดสอบตัวอย่าง

2. ทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานการส่งมอบสินค้าของลูกค้า

50001003.02 159728

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถสุ่มตัวอย่างตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ



2. สามารถสุ่มตัวอย่างตามลักษณะของชิ้นงาน



3. สามารถทดสอบตามเทคนิคการตรวจสอบที่ลูกค้าร้องขอ



4. สามารถทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานการส่งมอบสินค้าของลูกค้า

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการสุ่มตัวอย่างตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ



2. ความรู้เกี่ยวกับการสุ่มตัวอย่างตามลักษณะของชิ้นงาน



3. ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบตามเทคนิคการตรวจสอบที่ลูกค้าร้องขอ



4. ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานการส่งมอบสินค้าของลูกค้า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. แสดงการสุ่มตัวอย่างตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ



2. แสดงการสุ่มตัวอย่างตามลักษณะของชิ้นงาน



3. แสดงการทดสอบตามเทคนิคการตรวจสอบที่ลูกค้าร้องขอ



4. แสดงการทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานการส่งมอบสินค้าของลูกค้า



5. ใบบันทึกผลการสัมภาษณ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ความรู้เกี่ยวกับการสุ่มตัวอย่างตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ



2. ความรู้เกี่ยวกับการสุ่มตัวอย่างตามลักษณะของชิ้นงาน



3. ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบตามเทคนิคการตรวจสอบที่ลูกค้าร้องขอ



4. ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานการส่งมอบสินค้าของลูกค้า



5. ใบบันทึกผลการทดสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการสุ่มตัวอย่างตามมาตรฐานหรือจำนวนของตัวอย่าง เพื่อนำไปตรวจสอบวิเคราะห์ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



 (ง) วิธีการประเมิน



1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



2. การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



โลหะมีค่าในหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่ ทองคำ และเงิน ทั้งที่เป็นโลหะบริสุทธิ์หรือโลหะผสม และมีลักษณะเป็นชิ้นงานโลหะหรือตัวเรือนเครื่องประดับ ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของการสุ่มตัวอย่างหรือการชักตัวอย่าง (Sampling) ตามมาตรฐานที่กำหนดหรือตามจำนวนของตัวอย่าง ทำการบันทึกข้อมูลการสุ่มตัวอย่าง แล้วจึงดำเนินการทดสอบตามเทคนิคการตรวจสอบที่ลูกค้าร้องขอ หรือทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานการส่งมอบสินค้าของลูกค้า



สมรรถนะนี้ มีการใช้ข้อมูลเป็นแนวทางในการกำหนดสมรรถนะ คือ มาตรฐาน ISO 17025 General requirements for the competence of testing and calibration laboratories หรือ มอก. 17025-2561 ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



การสุ่มตัวอย่าง หรือการชักตัวอย่าง (Sampling) เป็นกระบวนการในการเลือกตัวอย่างบางส่วนออกมาจากตัวอย่างทั้งหมด แล้วนำเอาตัวอย่างที่ได้สุ่มแล้วนั้น ไปดำเนินการทดสอบวิเคราะห์ตามมาตรฐานหรือตามที่ลูกค้าต้องการ เพื่อนำไปสู่การอ้างอิงถึงตัวอย่างทั้งหมดเป็นสิ่งสำคัญ โดยวิธีการชักตัวอย่างต้องระบุถึงปัจจัยต่างๆที่ต้องควบคุมเพื่อให้มั่นใจในความใช้ได้ของผลการทดสอบหรือสอบเทียบ แผนและวิธีการชักตัวอย่างต้องมีอยู่ ณ สถานที่ที่ทำการชักตัวอย่าง แผนการชักตัวอย่างต้องอยู่บนพื้นฐานวิธีการทางสถิติที่เหมาะสม วิธีการชักตัวอย่างต้องอธิบายถึง




  • การเลือกตัวอย่าง

  • แผนการชักตัวอย่าง

  • การเตรียมและการรักษาตัวอย่าง เพื่อให้ได้ตัวอย่างที่ต้องการ เพื่อนำไปทำการทดสอบหรือสอบเทียบ



ผู้ปฏิบัติงานต้องจัดเก็บข้อมูลการชักตัวอย่าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการทดสอบหรือสอบเทียบที่กระทำ บันทึกเหล่านี้ต้องรวมถึง (ถ้าเกี่ยวข้อง)




  • การอ้างถึงวิธีการชักตัวอย่างที่ใช้

  • วันและเวลาที่ชักตัวอย่าง

  • ข้อมูลเพื่อบ่งชี้และอธิบายเกี่ยวกับตัวอย่าง (เช่น จำนวน ปริมาณ ชื่อ)

  • การระบุบุคคลที่ทำการชักตัวอย่าง

  • การชี้บ่งเครื่องมือที่ใช้

  • สภาพแวดล้อมหรือภาวการณ์ขนย้าย

  • แผนผังหรือวิธีการที่เทียบเท่าอื่นๆ เพื่อระบุตำแหน่งการชักตัวอย่างตามความเหมาะสม

  • การเบี่ยงเบน การเพิ่มเติมหรือการยกเว้นจากวิธีการชักตัวอย่างและแผนการชักตัวอย่าง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมินน



1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



2. การสัมภาษณ์



ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ