หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์โลหะมีค่า

สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GEM-UJYB-063B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์โลหะมีค่า

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1. อาชีพนักวิเคราะห์โลหะมีค่า


1 3111 ช่างเทคนิคด้านเคมีและวิทยาศาสตร์กายภาพ
1 7313 ช่างทำเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และโลหะมีค่า

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบโลหะมีค่าในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยมีการใช้เครื่องมือในการตรวจสอบโลหะมีค่า ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของเครื่องมือตรวจสอบโลหะมีค่า และมีความรู้และทักษะในการตรวจสอบจำแนกโลหะมีค่าออกจากโลหะอื่นๆ ที่ทำเลียนแบบโลหะมีค่า หรือโลหะผสม (Alloys) ที่นำมาปลอมแปลงค่าความบริสุทธิ์ของโลหะมีค่า มีความสามารถประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบ นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้การวัดความหนาทองคำ (Au) ในเครื่องประดับชุบทองคำ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50020201

วิเคราะห์หาปริมาณโลหะมีค่าในตัวอย่างที่ต้องการทดสอบ

1. วิเคราะห์หาปริมาณทองคำด้วยวิธี Cupellation method

50020201.01 159610
50020201

วิเคราะห์หาปริมาณโลหะมีค่าในตัวอย่างที่ต้องการทดสอบ

2. วิเคราะห์โลหะมีค่าด้วยเทคนิค X-ray Fluorescence Spectroscopy (XRF)

50020201.02 159611
50020201

วิเคราะห์หาปริมาณโลหะมีค่าในตัวอย่างที่ต้องการทดสอบ

3. วิเคราะห์หาปริมาณเงินด้วยเทคนิค Potentiometric titration ด้วยเครื่องไทเทรตอัตโนมัติ

50020201.03 159612
50020201

วิเคราะห์หาปริมาณโลหะมีค่าในตัวอย่างที่ต้องการทดสอบ

4. วิเคราะห์หาปริมาณทองคำด้วยเทคนิค Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometry (ICP-MS)

50020201.04 171515
50020201

วิเคราะห์หาปริมาณโลหะมีค่าในตัวอย่างที่ต้องการทดสอบ

5. สรุปและบันทึกผลการตรวจสอบ

50020201.05 171516
50020202

การวัดความหนาทองคำ (Au) ในเครื่องประดับชุบทองคำ

1. เตรียมตัวอย่างที่ต้องการทดสอบ

50020202.01 159613
50020202

การวัดความหนาทองคำ (Au) ในเครื่องประดับชุบทองคำ

2. ทวนสอบเครื่อง X-ray Fluorescence Spectrometer (XRF)

50020202.02 159614
50020202

การวัดความหนาทองคำ (Au) ในเครื่องประดับชุบทองคำ

3. ตรวจสอบความหนาทองคำ

50020202.03 159615
50020202

การวัดความหนาทองคำ (Au) ในเครื่องประดับชุบทองคำ

4. วิเคราะห์และสรุปผลการตรวจสอบ

50020202.04 171517

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถวิเคราะห์หาปริมาณทองคำด้วยวิธี Cupellation method



2. สามารถวิเคราะห์โลหะมีค่าด้วยเทคนิค X-ray Fluorescence Spectroscopy (XRF)



3. สามารถวิเคราะห์หาปริมาณเงินด้วยเทคนิค Potentiometric titration ด้วยเครื่องไทเทรตอัตโนมัติ



4. สามารถวิเคราะห์หาปริมาณทองคำด้วยเทคนิค Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometry (ICP-MS)



5. สามารถการวัดความหนาทองคำ (Au) ในเครื่องประดับชุบทองคำ ด้วยเครื่อง X-ray Fluorescence Spectrometer (XRF)



6. สามารถสรุปและบันทึกผลการตรวจสอบโลหะมีค่า



7. สามารถสรุปและบันทึกผลการตรวจสอบความหนาทองคำ (Au) ในเครื่องประดับชุบทองคำ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์หาปริมาณทองคำด้วยวิธี Cupellation method



2. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์โลหะมีค่าด้วยเทคนิค X-ray Fluorescence Spectroscopy (XRF)



3. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์หาปริมาณเงินด้วยเทคนิค Potentiometric titration ด้วยเครื่องไทเทรตอัตโนมัติ



4. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์หาปริมาณทองคำด้วยเทคนิค Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometry (ICP-MS)



5. ความรู้เกี่ยวกับการวัดความหนาทองคำ (Au) ในเครื่องประดับชุบทองคำ ด้วยเครื่อง X-ray Fluorescence Spectrometer (XRF)



6. ความรู้เกี่ยวกับการสรุปและบันทึกผลการตรวจสอบโลหะมีค่า



7. ความรู้เกี่ยวกับการสรุปและบันทึกผลการตรวจสอบความหนาทองคำ (Au) ในเครื่องประดับชุบทองคำ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. แสดงการวิเคราะห์หาปริมาณทองคำด้วยวิธี Cupellation method



2. แสดงการวิเคราะห์โลหะมีค่าด้วยเทคนิค X-ray Fluorescence Spectroscopy (XRF)



3. แสดงการวิเคราะห์หาปริมาณเงินด้วยเทคนิค Potentiometric titration ด้วยเครื่องไทเทรตอัตโนมัติ



4. แสดงการวิเคราะห์หาปริมาณทองคำด้วยเทคนิค Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometry (ICP-MS)



5. แสดงการวัดความหนาทองคำ (Au) ในเครื่องประดับชุบทองคำ ด้วยเครื่อง X-ray Fluorescence Spectrometer (XRF)



6. แสดงการสรุปและบันทึกผลการตรวจสอบโลหะมีค่า



7. แสดงการสรุปและบันทึกผลการตรวจสอบความหนาทองคำ (Au) ในเครื่องประดับชุบทองคำ



8. ใบบันทึกผลการสัมภาษณ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์หาปริมาณทองคำด้วยวิธี Cupellation method



2. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์โลหะมีค่าด้วยเทคนิค X-ray Fluorescence Spectroscopy (XRF)



3. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์หาปริมาณเงินด้วยเทคนิค Potentiometric titration ด้วยเครื่องไทเทรตอัตโนมัติ



4. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์หาปริมาณทองคำด้วยเทคนิค Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometry (ICP-MS)



5. ความรู้เกี่ยวกับการวัดความหนาทองคำ (Au) ในเครื่องประดับชุบทองคำ ด้วยเครื่อง X-ray Fluorescence Spectrometer (XRF)



6. ความรู้เกี่ยวกับการสรุปและบันทึกผลการตรวจสอบโลหะมีค่า



7. ความรู้เกี่ยวกับการสรุปและบันทึกผลการตรวจสอบความหนาทองคำ (Au) ในเครื่องประดับชุบทองคำ



8. ใบบันทึกผลการทดสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการวิเคราะห์โลหะมีค่า โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



 (ง) วิธีการประเมิน



1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



2. การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



โลหะมีค่า หมายถึง โลหะมีตระกูล (Noble metals) เป็นกลุ่มโลหะที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่าโลหะทั่วไป มีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อนและการทำปฏิกริยาออกซิเดชันกับอากาศและน้ำได้ดี ไม่ซีดหรือหมอง โลหะมีค่าที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ มีดังนี้ ทองคำ (Au) เงิน (Ag) แพลทินัม (Pt) แพลเลดียม (Pd) และโรเดียม (Rh) โลหะมีค่าในหน่วยสมรรถนะนี้ อาจอยู่ในรูปของชิ้นโลหะหรือตัวเรือนเครื่องประดับ โดยเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือโลหะผสม



โลหะมีค่าในหน่วยสมรรถนะนี้ อาจอยู่ในรูปของชิ้นโลหะหรือตัวเรือนเครื่องประดับ โดยเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือโลหะผสม ผู้เข้าประเมินควรมีความรู้และทักษะที่สำคัญในการใช้เครื่องมือ ได้แก่ หลักการทำงานของเครื่องมือ ข้อจำกัด วิธีการใช้งาน การวิเคราะห์ การจัดเก็บ และการดูแลรักษา โดยเฉพาะในส่วนของการวิเคราะห์ผลการตรวจสอบ



ในหน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมเครื่องมือและเทคนิคการตรวจสอบโลหะมีค่า จำนวน 4 เทคนิค ได้แก่




  • เทคนิค Potentiometric titration ด้วยเครื่องไทเทรตอัตโนมัติ

  • เทคนิค X-ray Fluorescence Spectroscopy (XRF)

  • เทคนิค Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometry (ICP-MS)

  • วิธี Cupellation method หรือ Fire asssay



สมรรถนะนี้ มีรายละเอียด ขั้นตอน วิธีการตรวจสอบโลหะมีค่า โดยใช้ข้อมูลเป็นแนวทางในการกำหนดสมรรถนะ ดังนี้




  • มาตรฐาน ISO 11426 Determination of gold in gold jewellery alloys – Cupelllation method (Fire assay)

  • มาตรฐาน ISO 3497 Metallic coatings — Measurement of coating thickness — X-ray spectrometric methods

  • มาตรฐาน ISO 23345 Non destructive precious metal fineness confirmation by ED-XRF

  • มาตรฐาน ASTM B568-98 Standard Test Method for Measurement of Coating Thickness by X-Ray Spectrometry

  • มาตรฐาน ISO11427 Determination of silver in silver jewellery alloys – Volumetric (potentiometric) method using potassium bromide

  • มาตรฐาน สวอ 2001 การวิเคราะห์หาปริมาณทองคำ (Au) ในเครื่องประดับทองคำด้วยวิธีคิวเพลเลชัน

  • มาตรฐาน สวอ 2002.1 การวิเคราะห์หาปริมาณทองคำ (Au) ในเครื่องประดับทองคำ โดยใช้เทคนิคเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์ (XRF)

  • มาตรฐาน สวอ 2002.2 การวัดความหนาทองคำ (Au) ในเครื่องประดับชุบทองคำ โดยเทคนิคเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์ (XRF)

  • มาตรฐาน สวอ 2003 การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะเงินในเครื่องประดับเงิน โดยเทคนิคโพเท็นชิโอเมตริกไทเทรชัน ด้วยเครื่องไทเทรตอัตโนมัติ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



สมรรถนะนี้ ครอบคลุมเครื่องมือและเทคนิคการตรวจสอบโลหะมีค่า ดังนี้



เทคนิค Potentiometric titration ด้วยเครื่องไทเทรตอัตโนมัติ เป็นการวิเคราะห์ปริมาณเงิน (Ag) ในเครื่องประดับโลหะเงินผสม (Silver jewellery alloys) โดยใช้วิธีการละลายตัวอย่างของเครื่องประดับในสารละลายกรดไนตริก (Dilute nitric acid) เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณโลหะเงิน โดยการใช้วิธีการไทเทรตสารละลายตัวอย่างกับสารละลายโพแทสเซียมโบรไมด์มาตรฐาน (Standard potassium bromide solution) แบบวัดค่าการเปลี่ยนแปลงของแรงเคลื่อนประจุไฟฟ้า (Potentiometric indication)



เทคนิค X-ray Fluorescence Spectroscopy (XRF) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ชนิดของธาตุและปริมาณธาตุในตัวอย่าง การวิเคราะห์ด้วยเทคนิค XRF จะทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอม โดยใช้รังสีเอกซ์พลังงานสูงจากหลอดรังสีเอกซ์ (X-ray tube) หรือไอโซโทปรังสี (Radioisotpe) ที่ให้รังสีเอกซ์ รังสีเอกซ์พลังงานสูงจากต้นกำเนิดรังสีเอกซ์แบบไอโซโทปหรือหลอดรังสีเอกซ์ จะตกกระทบตัวอย่าง จะทำให้ธาตุที่อยู่ภายในตัวอย่างปลดปล่อยรังสีเอกซ์จำเพาะของแต่ละธาตุออกมา ซึ่งแสดงผลการวัดเป็นแถบพลังงาน หรือสเปกตรัมของรังสีเอกซ์



เทคนิค Inductively coupled plasma-mass spectrometry (ICP-MS) เป็นวิธีวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณธาตุในสารตัวอย่าง โดยมุ่งเน้นสำหรับธาตุที่มีปริมาณน้อยๆ ในระดับส่วนในพันล้านส่วน (ppb) การวิเคราะห์อาศัยหลักการโดยใช้พลังงานจากพลาสมาของแก็ซอาร์กอน เพื่อทำให้ธาตุต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของตัวอย่างเกิดเป็นอะตอม และเกิดการแตกตัวเป็นไอออนอิสระในสภาวะที่เป็นแก็ซ ไอออนต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกส่งเข้าสู่ระบบแยกมวล เพื่อแยกค่ามวลต่อประจุของไอออน พร้อมทั้งตรวจวัดค่าสัญญาณของจำนวนไอออนของธาตุต่างๆ ซึ่งค่าความเข้มสัญญาณของจำนวนไอออนที่ตรวจวัดได้จะแปรผันตามปริมาณของธาตุในตัวอย่าง



วิธี Cupellation method หรือ Fire asssay เป็นวิธีมาตรฐานวิธีหนึ่งที่ใช้หาปริมาณทองคำได้อย่างแม่นยำ เป็นเทคนิคที่นำตัวอย่างทองคำมาผสม และหลอมรวมกับตะกั่วและเงิน เพื่อสกัดเอาโลหะเจือปนอื่นๆ เข้าไปในเบ้าหลอม จากนั้นทำการละลายเอาเงินออกด้วยกรด เพื่อให้เหลือเป็นทองคำบริสุทธิ์ ซึ่งจะนำมาชั่งน้ำหนัก แล้วคำนวณเป็นความบริสุทธิ์ของทองคำในชิ้นงานนั้นๆ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน



1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



2. การสัมภาษณ์



ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ