หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบโลหะมีค่าด้วยเครื่องมือต่างๆ

สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GEM-SWAN-062B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบโลหะมีค่าด้วยเครื่องมือต่างๆ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1. อาชีพนักวิเคราะห์โลหะมีค่า


1 3111 ช่างเทคนิคด้านเคมีและวิทยาศาสตร์กายภาพ
1 7313 ช่างทำเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และโลหะมีค่า

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบโลหะมีค่าในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยมีการใช้เครื่องมือในการตรวจสอบโลหะมีค่า ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของเครื่องมือตรวจสอบโลหะมีค่า เพื่อที่จะให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบโลหะมีค่า และสามารถทำงานตามข้อกำหนดของหน่วยงานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50020101

ตรวจสอบโลหะมีค่าด้วยเครื่องมือตรวจสอบ

1. ตรวจสอบโลหะมีค่าตามหลักการของเครื่องมือ

50020101.01 159601
50020101

ตรวจสอบโลหะมีค่าด้วยเครื่องมือตรวจสอบ

2. ปฏิบัติการตามระบบความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการ

50020101.02 159602
50020101

ตรวจสอบโลหะมีค่าด้วยเครื่องมือตรวจสอบ

3. อ่านค่าจากเครื่องมือตรวจสอบโลหะมีค่า

50020101.03 159603
50020102

สรุปผลและบันทึกผลการตรวจสอบ

1. สรุปผลตามแบบ

50020102.01 159605
50020102

สรุปผลและบันทึกผลการตรวจสอบ

2. บันทึกผลการตรวจสอบ

50020102.02 159606

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถเลือกใช้เครื่องมือตรวจสอบโลหะมีค่าเหมาะสมกับลักษณะของโลหะมีค่าที่ทำการทดสอบ



2. สามารถเตรียมเครื่องมือหรืออุปกรณ์ก่อนการตรวจสอบ



3. สามารถจัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ภายหลังการตรวจสอบ



4. สามารถใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจสอบโลหะมีค่าตามหลักการของเครื่องมือ



5. สามารถอ่านค่าจากเครื่องมือตรวจสอบโลหะมีค่า



6. สามารถสรุปและบันทึกผลการตรวจสอบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้เครื่องมือตรวจสอบโลหะมีค่าเหมาะสมกับลักษณะของโลหะมีค่าที่ทำการทดสอบ



2. ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมเครื่องมือหรืออุปกรณ์ก่อนการตรวจสอบ



3. ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ภายหลังการตรวจสอบ



4. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจสอบโลหะมีค่าตามหลักการของเครื่องมือ



5. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านค่าจากเครื่องมือตรวจสอบโลหะมีค่า



6. ความรู้เกี่ยวกับการสรุปและบันทึกผลการตรวจสอบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. แสดงการเลือกใช้เครื่องมือตรวจสอบโลหะมีค่าเหมาะสมกับลักษณะของโลหะมีค่าที่ทำการทดสอบ



2. แสดงการเตรียมเครื่องมือหรืออุปกรณ์ก่อนการตรวจสอบ



3. แสดงการจัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ภายหลังการตรวจสอบ



4. แสดงการใช้เครื่องมือตรวจสอบโลหะมีค่าอย่างปลอดภัย



5. แสดงการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจสอบโลหะมีค่าตามหลักการของเครื่องมือ



6. แสดงการอ่านค่าจากเครื่องมือตรวจสอบโลหะมีค่า



7. แสดงการสรุปและบันทึกผลการตรวจสอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. อธิบายเกี่ยวกับการเลือกใช้เครื่องมือตรวจสอบโลหะมีค่าเหมาะสมกับลักษณะของโลหะมีค่าที่ทำการทดสอบ



2. อธิบายเกี่ยวกับการเตรียมเครื่องมือหรืออุปกรณ์ก่อนการตรวจสอบ



3. อธิบายเกี่ยวกับการจัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ภายหลังการตรวจสอบ



4. อธิบายเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือตรวจสอบโลหะมีค่าอย่างปลอดภัย



5. อธิบายเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจสอบโลหะมีค่าตามหลักการของเครื่องมือ



6. อธิบายเกี่ยวกับการอ่านค่าจากเครื่องมือตรวจสอบโลหะมีค่า



7. อธิบายเกี่ยวกับการสรุปและบันทึกผลการตรวจสอบ



8. ใบบันทึกผลการทดสอบข้อเขียน



9. ใบบันทึกผลการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจสอบโลหะมีค่า โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



2. การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



โลหะมีค่า หมายถึง โลหะมีตระกูล (Noble metals) เป็นกลุ่มโลหะที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่าโลหะทั่วไป มีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อนและการทำปฏิกริยาออกซิเดชันกับอากาศและน้ำได้ดี ไม่ซีดหรือหมอง โลหะมีค่าที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ มีดังนี้ ทองคำ (Au) เงิน (Ag) แพลทินัม (Pt) แพลเลดียม (Pd) และโรเดียม (Rh) โลหะมีค่าในหน่วยสมรรถนะนี้ อาจอยู่ในรูปของชิ้นโลหะหรือตัวเรือนเครื่องประดับ โดยเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือโลหะผสม



ผู้เข้ารับการประเมิน ต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจสอบโลหะมีค่า ซึ่งเน้นถึงการปฏิบัติในห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า ผู้เข้าประเมินต้องมีความรู้และทักษะที่สำคัญในการใช้เครื่องมือตรวจสอบโลหะมีค่า ได้แก่ หลักการทำงานของเครื่องมือ ข้อจำกัด วิธีการใช้งาน การจัดเก็บ และการดูแลรักษา ในหน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมเครื่องมือและเทคนิคการตรวจสอบโลหะมีค่า จำนวน 4 เทคนิค ได้แก่




  • เทคนิค Potentiometric titration ด้วยเครื่องไทเทรตอัตโนมัติ

  • เทคนิค X-ray Fluorescence Spectroscopy (XRF)

  • เทคนิค Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometry (ICP-MS)

  • วิธี Cupellation method หรือ Fire asssay



สมรรถนะนี้ มีรายละเอียด ขั้นตอน วิธีการตรวจสอบโลหะมีค่า โดยใช้ข้อมูลเป็นแนวทางในการกำหนดสมรรถนะ ดังนี้




  • มาตรฐาน ISO 11426 Determination of gold in gold jewellery alloys – Cupelllation method (Fire assay)

  • มาตรฐาน ISO 23345 Non destructive precious metal fineness confirmation by ED-XRF

  • มาตรฐาน ISO 11427 Determination of silver in silver jewellery alloys – Volumetric (potentiometric) method using potassium bromide

  • มาตรฐาน สวอ 2001 การวิเคราะห์หาปริมาณทองคำ (Au) ในเครื่องประดับทองคำด้วยวิธีคิวเพลเลชัน

  • มาตรฐาน สวอ 2002.1 การวิเคราะห์หาปริมาณทองคำ (Au) ในเครื่องประดับทองคำ โดยใช้เทคนิคเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์ (XRF)

  • มาตรฐาน สวอ 2003 การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะเงินในเครื่องประดับเงิน โดยเทคนิคโพเท็นชิโอเมตริกไทเทรชัน ด้วยเครื่องไทเทรตอัตโนมัติ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



สมรรถนะนี้ ครอบคลุมเครื่องมือและเทคนิคการตรวจสอบโลหะมีค่า ดังนี้



เทคนิค Potentiometric titration ด้วยเครื่องไทเทรตอัตโนมัติ เป็นการวิเคราะห์ปริมาณเงิน (Ag) ในเครื่องประดับโลหะเงินผสม (Silver jewellery alloys) โดยใช้วิธีการละลายตัวอย่างของเครื่องประดับในสารละลายกรดไนตริก (Dilute nitric acid) เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณโลหะเงิน โดยการใช้วิธีการไทเทรตสารละลายตัวอย่างกับสารละลายโพแทสเซียมโบรไมด์มาตรฐาน (Standard potassium bromide solution) แบบวัดค่าการเปลี่ยนแปลงของแรงเคลื่อนประจุไฟฟ้า (Potentiometric indication)



เทคนิค X-ray Fluorescence Spectroscopy (XRF) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ชนิดของธาตุและปริมาณธาตุในตัวอย่าง การวิเคราะห์ด้วยเทคนิค XRF จะทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอม โดยใช้รังสีเอกซ์พลังงานสูงจากหลอดรังสีเอกซ์ (X-ray tube) หรือไอโซโทปรังสี (Radioisotpe) ที่ให้รังสีเอกซ์ รังสีเอกซ์พลังงานสูงจากต้นกำเนิดรังสีเอกซ์แบบไอโซโทปหรือหลอดรังสีเอกซ์ จะตกกระทบตัวอย่าง จะทำให้ธาตุที่อยู่ภายในตัวอย่างปลดปล่อยรังสีเอกซ์จำเพาะของแต่ละธาตุออกมา ซึ่งแสดงผลการวัดเป็นแถบพลังงาน หรือสเปกตรัมของรังสีเอกซ์



เทคนิค Inductively coupled plasma-mass spectrometry (ICP-MS) เป็นวิธีวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณธาตุในสารตัวอย่าง โดยมุ่งเน้นสำหรับธาตุที่มีปริมาณน้อยๆ ในระดับส่วนในพันล้านส่วน (ppb) การวิเคราะห์อาศัยหลักการโดยใช้พลังงานจากพลาสมาของแก็ซอาร์กอน เพื่อทำให้ธาตุต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของตัวอย่างเกิดเป็นอะตอม และเกิดการแตกตัวเป็นไอออนอิสระในสภาวะที่เป็นแก็ซ ไอออนต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกส่งเข้าสู่ระบบแยกมวล เพื่อแยกค่ามวลต่อประจุของไอออน พร้อมทั้งตรวจวัดค่าสัญญาณของจำนวนไอออนของธาตุต่างๆ ซึ่งค่าความเข้มสัญญาณของจำนวนไอออนที่ตรวจวัดได้จะแปรผันตามปริมาณของธาตุในตัวอย่าง



วิธี Cupellation method หรือ Fire asssay เป็นวิธีมาตรฐานวิธีหนึ่งที่ใช้หาปริมาณทองคำได้อย่างแม่นยำ เป็นเทคนิคที่นำตัวอย่างทองคำมาผสม และหลอมรวมกับตะกั่วและเงิน เพื่อสกัดเอาโลหะเจือปนอื่นๆ เข้าไปในเบ้าหลอม จากนั้นทำการละลายเอาเงินออกด้วยกรด เพื่อให้เหลือเป็นทองคำบริสุทธิ์ ซึ่งจะนำมาชั่งน้ำหนัก แล้วคำนวณเป็นความบริสุทธิ์ของทองคำในชิ้นงานนั้นๆ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน



1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



2. การสอบสัมภาษณ์



ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ