หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารความเสี่ยง

สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GEM-VSQK-080B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารความเสี่ยง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1. อาชีพนักบริหารจัดการร้านทอง


1 5223 พนักงานช่วยขายในร้านค้า

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในร้านค้าทองรูปพรรณ หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายทองรูปพรรณหรือทองคำแท่งในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ในสภาพแวดล้อมในรูปแบบของการทำงานแบบประจำ ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของการแสดงความรู้ในการบริหารความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอก ซึ่งมีผลต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น การทุจริต การโจรกรรม เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
60040101

กำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงภายใน

1. กำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน

60040101.01 159848
60040101

กำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงภายใน

2. กำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากการทุจริต

60040101.02 159849
60040102

กำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงภายนอก

1. กำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากการโจรกรรม และมิจฉาชีพ

60040102.01 159850
60040102

กำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงภายนอก

2. กำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากราคาทองคำโลก

60040102.02 159851

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน



2. สามารถกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากการทุจริต



3. สามารถกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากการโจรกรรม และมิจฉาชีพ



4. สามารถกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากราคาทองคำโลก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน



2. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากการทุจริต



3. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากการโจรกรรม และมิจฉาชีพ



4. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากราคาทองคำโลก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. แสดงการกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน



2. แสดงการกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากการทุจริต



3. แสดงการกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากการโจรกรรม และมิจฉาชีพ



4. แสดงการกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากราคาทองคำโลก



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. อธิบายเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน



2. อธิบายเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากการทุจริต



3. อธิบายเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากการโจรกรรม และมิจฉาชีพ



4. อธิบายเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยงจากราคาทองคำโลก



5. ใบบันทึกผลการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



 (ง) วิธีการประเมิน



1. การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งมีผลต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น การทุจริต การโจรกรรม เป็นต้น กรณีของผู้ปฏิบัติงานในร้านทองในสมรรถนะนี้ จำเป็นต้องเข้าใจความเสี่ยงที่สำคัญ จำนวน 4 ลักษณะ ดังนี้



1) ความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติงาน หมายถึง ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการขาดการกํากับดูแลกิจการที่ดี หรือขาดธรรมาภิบาลในองค์กร และการขาดการควบคุมที่ดี โดยอาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการปฏิบัติงานภายใน คน ระบบงาน และส่งผลกระทบต่อรายได้ของร้านค้า



2) ความเสี่ยงทางด้านการทุจริต



3) ความเสี่ยงทางด้านการโจรกรรม และมิจฉาชีพ



4) ความเสี่ยงทางด้านราคาทองคำโลก



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



ความเสี่ยง คือ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือการกระทำใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคตและมีผลกระทบหรือทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร



การบริหารความเสี่ยง คือ กระบวนการดำเนินงานขององค์กรที่เป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้องค์กรลดมูลเหตุของแต่ละโอกาสที่จะเกิดความเสียหายทั้งจากการกำหนดนโยบาย การปฏิบัติงานและการทุจริต ให้ระดับของความเสียหายและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในระดับที่องค์กร ประเมินได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายและภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นสำคัญ



การจัดการความเสี่ยง มีขั้นตอนดังนี้




  • การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objectives Establishment)

  • การระบุความเสี่ยง (Risk Identification)

  • การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)

  • การสร้างแผนจัดการ (Risk Management Planning)




  • การติดตามสอบทาน/สื่อสาร (Monitoring & Review) / Communication


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน



1. การสัมภาษณ์



ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ