หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบทองคำรูปพรรณและทองคำแท่งด้วยวิธีพื้นฐาน

สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GEM-FDII-072B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบทองคำรูปพรรณและทองคำแท่งด้วยวิธีพื้นฐาน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1. อาชีพนักบริหารจัดการร้านทอง


1 5223 พนักงานช่วยขายในร้านค้า

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในร้านค้าทองรูปพรรณ หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายทองรูปพรรณหรือทองคำแท่งในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยมีการตรวสอบด้วยการสังเกตและใช้เครื่องมือในการตรวจสอบทองรูปพรรณหรือทองคำแท่งด้วยวิธีพื้นฐาน ซึ่งอาจจะทำให้ตัวอย่างที่ต้องการทดสอบเสียหายหรือมีแนวโน้มจะเสียหาย หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ในสภาพแวดล้อมในรูปแบบของการทำงานแบบประจำ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบทองรูปพรรณหรือทองคำแท่ง โดยเฉพาะในการรับซื้อทองเก่า หรือมีการนำทองเก่ามาเปลี่ยนทองใหม่ ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องลักษณะทองรูปพรรณและทองคำแท่ง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
60000201

ตรวจสอบด้วยแรงกดและตะไบ

1. จิกตัวอย่างทองด้วยแรงกด เพื่อตรวจสอบความแข็ง

60000201.01 159787
60000201

ตรวจสอบด้วยแรงกดและตะไบ

2. ใช้ตะไบฝนตัวอย่างทอง

60000201.02 159788
60000202

ตรวจสอบด้วยการใช้สารเคมีและความร้อน

1. ใช้น้ำกรด เพื่อประมาณเปอร์เซนต์ทอง

60000202.01 159789
60000202

ตรวจสอบด้วยการใช้สารเคมีและความร้อน

2. ใช้เครื่องเป่าไฟ เพื่อตรวจสอบส่วนประกอบ

60000202.02 159790

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถจิกตัวอย่างทองด้วยเล็บนิ้วมือหรือใช้ฟันกัด



2. สามารถใช้ตะไบฝนตัวอย่างทอง



3. สามารถหยดกรดบนตัวอย่างทองด้วยน้ำกรดไนตริก



4. สามารถเป่าไฟตัวอย่างทองที่ทดสอบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของทองคำ ได้แก่ สี ค่าความบริสุทธิ์ ความถ่วงจำเพาะหรือความหนาแน่น และหน่วยน้ำหนัก



2. ความรู้เกี่ยวกับชนิดของทองปลอมรูปแบบต่างๆ เช่น ทองชุบ ทองเปอร์เซนต์ต่ำ หรือทองยัดไส้ เป็นต้น



3. ความรู้และความเข้าใจ และวิธีการใช้งาน เกี่ยวกับ วัสดุ สารละลาย และเครื่องมือ เพื่อใช้ตรวจสอบทองคำแบบทำลายตัวอย่าง เช่น หินฝนทอง กรดไนตริก ขาต๊ะ และไฟแก๊ซ เป็นต้น



4. การความรู้ในการจำแนกทองคำออกจากทองปลอม ด้วยการด้วยแรงกด ตะไบ สารเคมี และความร้อน ซึ่งอาจทำให้ชิ้นงานเสียหาย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. แสดงการจิกตัวอย่างทองด้วยเล็บนิ้วมือหรือใช้ฟันกัด



2. แสดงการใช้ตะไบฝนตัวอย่างทอง



3. แสดงการใช้หยดกรดบนตัวอย่างทองด้วยน้ำกรดไนตริก



4. แสดงการเป่าไฟตัวอย่างทองที่ทดสอบ



5. ใบบันทึกผลการทดสอบการสัมภาษณ์



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. อธิบายเกี่ยวกับคุณสมบัติของทองคำ ได้แก่ สี ค่าความบริสุทธิ์ ความถ่วงจำเพาะหรือความหนาแน่น และหน่วยน้ำหนัก



2. อธิบายเกี่ยวกับชนิดของทองปลอมรูปแบบต่างๆ เช่น ทองชุบ ทองเปอร์เซนต์ต่ำ หรือทองยัดไส้ เป็นต้น



3. อธิบายเกี่ยวกับวัสดุ สารละลาย และเครื่องมือ เพื่อใช้ตรวจสอบทองคำแบบทำลายตัวอย่าง เช่น หินฝนทอง กรดไนตริก ขาต๊ะ และไฟแก๊ซ เป็นต้น



4. อธิบายเกี่ยวกับการจำแนกทองคำออกจากทองปลอม ด้วยการด้วยแรงกด ตะไบ สารเคมี และความร้อน ซึ่งอาจทำให้ชิ้นงานเสียหาย



5. ใบบันทึกผลการทดสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการทดสอบทองคำรูปพรรณและทองคำแท่งด้วยวิธีพื้นฐาน ซึ่งเป็นวิธีตรวจสอบแบบทำลายตัวอย่าง โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



 (ง) วิธีการประเมิน



1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



2. การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของทองคำ การตรวจสอบจำแนกทองแท้และทองปลอมด้วยวิธีพื้นฐานแบบทำลายตัวอย่าง ทั้งการตรวจสอบทองรูปพรรณและทองคำแท่ง  ซึ่งเน้นถึงการปฏิบัติในร้านค้าทองรูปพรรณ ผู้เข้าประเมินควรมีความรู้และทักษะที่สำคัญในการสังเกตและใช้เครื่องมือตรวจสอบเบื้องต้น



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด



ทองคำ (Gold) นิยมเรียกโดยย่อว่า “ทอง” คือ โลหะมีค่าชนิดหนึ่ง มีสัญลักษณ์ธาตุ Au ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วยหน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา 24 กะรัต (Karat; K) เป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด เนื่องจากทองคำบริสุทธิ์ 99.99 เปอร์เซ็นต์     มีความอ่อนตัวมาก   จึงไม่สามารถนำมาใช้งานได้         จำเป็นต้องผสมโลหะอื่น ๆ   ลงไปเพื่อปรับคุณสมบัติทางกายภาพของทองคำให้แข็งขึ้น คงทนต่อการสึกหรอ ดังนั้น  สำหรับประเทศไทยนั้นใช้มาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองคำที่ 96.5 เปอร์เซ็นต์ หากจะเทียบเป็นกะรัตแล้ว จะได้ประมาณ 23.16 K ซึ่งจะได้สีทองที่เหลืองเข้ม   และมีความแข็งของเนื้อทองพอเหมาะสำหรับการนำมาทำเครื่องประดับ โดยโลหะที่นิยมนำมาผสมกับทองคำได้แก่ เงิน ทองแดง นิกเกล และสังกะสี   ซึ่งอัตราส่วนจะสัมพันธ์ตามความต้องการของผู้ใช้งาน ทองคำที่จำหน่ายในร้านทองรูปพรรณสามารถแบ่ง 2 กลุ่ม คือ ทองรูปพรรณ และทองคำแท่ง



ทองรูปพรรณ คือ ทองคำที่ถูกนำมาขึ้นรูปเป็นลักษณะต่างๆ หรือเป็นเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยข้อมือ สร้อยคอ กำไล ฯลฯ โดยทองรูปพรรณ 1 บาท มีน้ำหนักเท่ากับ 15.16 กรัม



ลักษณะของทองรูปพรรณที่กิจการร้านทองมีไว้เพื่อการขาย แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ




  • ทองรูปพรรณใหม่ เป็นทองรูปพรรณที่ผลิตขึ้นใหม่โดยกลุ่มผู้ค้าส่งทอง ผู้ค้าปลีกทองจะซื้อได้จากร้านทองค้าส่ง หรือร้านทองค้าปลีกรายใหญ่

  • ทองรูปพรรณเก่า เป็นทองรูปพรรณที่ซื้อจากผู้ขายที่มาติดต่อหน้าร้าน ได้แก่ ร้านทองค้าปลีก หรือบุคคลทั่วไป ซึ่งกิจการร้านทอง (ผู้ซื้อ) ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพโดยอาศัยประสบการณ์



ทองคำแท่ง คือ ทองคำที่หลอมเป็นแท่งขนาดต่างๆ มีตั้งแต่น้ำหนักน้อยๆ ตั้งแต่ไม่ถึง 1 บาท ไปถึงน้ำหนักหลายสิบบาท โดยทองคำแท่ง 1 บาท มีน้ำหนักเท่ากับ 15.244 กรัม



การตรวจสอบทองรูปพรรณและทองคำแท่งด้วยวิธีพื้นฐาน ซึ่งอาจจะทำให้ตัวอย่างที่ต้องการทดสอบเสียหายหรือมีแนวโน้มจะเสียหาย เป็นวิธีการตรวจสอบกรณีที่มีการรับซื้อทองเก่าจากลูกค้า หรือมีการนำทองเก่ามาแลกเปลี่ยนทองใหม่ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบให้มั่นใจว่าทองนั้น เป็นทองจริงหรือปลอม หรือมีค่าความบริสุทธิ์เท่าไหร่ ทั้งนี้ก็เพื่อที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถประเมินราคาตัวอย่างทองนั้นได้ การตรวจสอบทองรูปพรรณและทองคำแท่งด้วยวิธีพื้นฐาน ซึ่งอาจจะทำให้ตัวอย่างที่ต้องการทดสอบเสียหายหรือมีแนวโน้มจะเสียหาย ที่ร้านค้าทองคำนิยมใช้มีดังนี้




  • จิกตัวอย่างทองด้วยเล็บนิ้วมือหรือใช้ฟันกัด ทองคำนั้นมีคุณสมบัติความอ่อนตัว ทำให้สามารถเกิดรอยบุบได้ค่อนข้างง่าย เพียงแค่ใช้เล็บจิกหรือใช้ฟันกัดเบาๆ ที่เนื้อทอง แต่ถ้าเป็นทองปลอม ซึ่งเป็นโลหะทองผสมเหล็ก หรือทองแดง หรือทองชุบ จะแข็ง เมื่อจิกด้วยเล็บหรือกัดแล้วจะไม่เกิดรอยบุบ วิธีตรวจสอบแบบนี้อาจทำให้ทองคำเสียรูปบ้าง

  • การใช้ตะไบฝนตัวอย่างทอง เพื่อตรวจสอบเนื้อทองว่าเป็นทองคำแท้ ทองชุบ หรือทองหุ้ม

  • หยดกรดบนตัวอย่างทองด้วยน้ำกรดไนตริก (หรือกรดดินประสิว) คือ การนำทองที่ต้องการเช็คมาฝนกับหินฝนทองที่เตรียมไว้ เมื่อเห็นสีของเนื้อทองออกมาแล้ว หยดกรดไนตริกบนเนื้อทองนั้น ถ้าเป็นทองคำแท้ ทองคำจะไม่เกิดปฏิกิริยา ไม่เปลี่ยนสี หรือหลอมละลาย แต่ถ้าทองคำนั้นมีโลหะอื่นผสม เช่น ทองแดง เป็นต้น เนื้อทองก็จะละลายหายไปหรือเปลี่ยนสี

  • เป่าไฟตัวอย่างทองที่ทดสอบ คือ การใช้ไฟเผากับตัวอย่างทองที่ต้องการทดสอบ จนกระทั่งเนื้อทองมีสีแดง จากนั้นจึงปล่อยให้เย็นตัว ถ้าเป็นทองคำจริง สีของเนื้อทองจะกลับสู่สภาพสีทองเหมือนเดิม จะไม่เป็นสีดำ หรืออาจซีดลงเล็กน้อย หากเป็นทองปลอม สีของทองปลอมหรือทองเปอร์เซนต์ต่ำภายหลังเป่าไฟจะมีสีดำหรือสีเขียว หรือกรณีของทองยัดไส้ หลังการเป่าไฟอาจเห็นพื้นผิวมีรอยนูนของฟองอากาศบนพื้นผิว


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน



1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



2. การสัมภาษณ์



ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ