หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

คัดกรองทองคำรูปพรรณและทองคำแท่งเบื้องต้น

สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GEM-JSDZ-071B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ คัดกรองทองคำรูปพรรณและทองคำแท่งเบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1. อาชีพนักบริหารจัดการร้านทอง


1 5223 พนักงานช่วยขายในร้านค้า

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในร้านค้าทองรูปพรรณ หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายทองรูปพรรณหรือทองคำแท่งในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยมีการคัดกรองตรวจสอบด้วยการสังเกตและใช้เครื่องมือในการตรวจสอบทองรูปพรรณหรือทองคำแท่งด้วยวิธีพื้นฐาน โดยไม่ทำให้ตัวอย่างทองคำที่ต้องการตรวจสอบนั้น เกิดความเสียหายหรือมีแนวโน้มที่จะเสียหาย หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ในสภาพแวดล้อมในรูปแบบของการทำงานแบบประจำ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบทองรูปพรรณหรือทองคำแท่ง โดยเฉพาะกิจกรรมที่มีการซื้อขายฝากทอง ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบชิ้นงานของลูกค้าให้เกิดความเสียหายได้ ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องลักษณะทองรูปพรรณและทองคำแท่ง ลวดลายทองคำ เทคนิคการตรวจสอบด้วยการสังเกต และใช้เครื่องมือตรวจสอบด้วยวิธีพื้นฐาน แบบไม่ทำลายตัวอย่าง เพื่อที่จะให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตรวจสอบคัดกรองทองรูปพรรณและทองคำแท่งได้เบื้องต้น และสามารถทำงานตามข้อกำหนดของร้านค้าได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
60000101

คัดกรองด้วยการสังเกตและชั่งน้ำหนัก

1. กะประมาณความสัมพันธ์ระหว่างมวล น้ำหนักและขนาดของทองรูปพรรณ

60000101.01 159780
60000101

คัดกรองด้วยการสังเกตและชั่งน้ำหนัก

2. กะประมาณความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและขนาดของทองคำแท่ง

60000101.02 159781
60000101

คัดกรองด้วยการสังเกตและชั่งน้ำหนัก

3. ตรวจสอบด้วยการชั่งน้ำหนัก โดยเปรียบเทียบจากมาตรฐานน้ำหนัก

60000101.03 159782
60000102

ตรวจสอบด้วยการใช้แว่นกำลังขยาย 10 เท่า 

1. ดูตราประทับ

60000102.01 159783
60000102

ตรวจสอบด้วยการใช้แว่นกำลังขยาย 10 เท่า 

2. ดูลักษณะรอยต่อหรือรอยถลอกของชิ้นงาน

60000102.02 159784

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถกะประมาณความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและขนาดของทองรูปพรรณและทองคำแท่ง เช่น การสังเกตน้ำหนักกับขนาดของทองคำ และการเดาะสัมผัส เป็นต้น



2. สามารถใช้แว่นกำลังขยาย 10 เท่า ในการตรวจสอบดูลวดลายและตราประทับตรายี่ห้อของโรงงานผู้ผลิต ลักษณะรอยต่อ เช่น ความละเอียดของน้ำประสาน เป็นต้น และรอยถลอกของชิ้นงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของทองคำ ได้แก่ สี ค่าความบริสุทธิ์ ความถ่วงจำเพาะหรือความหนาแน่น และหน่วยน้ำหนัก



2. ความรู้เกี่ยวกับชนิดของทองปลอมรูปแบบต่างๆ เช่น ทองชุบ ทองเปอร์เซนต์ต่ำ หรือทองยัดไส้ เป็นต้น



3. ความรู้เกี่ยวกับชื่อผู้ผลิตทองรูปพรรณ โดยดูจากตราประทับยี่ห้อที่อยู่บนทองรูปพรรณ ซึ่งผู้ผลิตเหล่านี้ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค



4. ความรู้และความเข้าใจในการใช้เครื่องมือตรวจสอบทองคำ แบบไม่ทำลายตัวอย่าง ได้แก่ เครื่องชั่ง และแว่นกำลังขยาย 10 เท่า



5. ความรู้ในการจำแนกทองคำออกจากทองปลอม ด้วยการสังเกต ชั่งน้ำหนัก และใช้แว่นกำลังขยาย 10 เท่า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. แสดงการกะประมาณความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและขนาดของทองรูปพรรณ



2. แสดงการกะประมาณความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและขนาดของทองคำแท่ง



3. แสดงการดูตราประทับยี่ห้อ



4. แสดงการดูจากลักษณะรอยต่อ เช่น ความละเอียดของน้ำประสาน เป็นต้น หรือสังเกตจากรอยถลอกของชิ้นงาน



5. ใบบันทึกผลการทดสอบการสัมภาษณ์



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. อธิบายเกี่ยวกับคุณสมบัติของทองคำ ได้แก่ สี ค่าความบริสุทธิ์ ความถ่วงจำเพาะหรือความหนาแน่น และหน่วยน้ำหนัก



2. อธิบายเกี่ยวกับชนิดของทองปลอมรูปแบบต่างๆ เช่น ทองชุบ ทองเปอร์เซนต์ต่ำ หรือทองยัดไส้ เป็นต้น



3. อธิบายเกี่ยวกับลวดลายและชื่อผู้ผลิตทองรูปพรรณ และตราประทับยี่ห้อที่อยู่บนทองรูปพรรณ



4. อธิบายเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือตรวจสอบทองคำ แบบไม่ทำลายตัวอย่าง ได้แก่ เครื่องชั่ง และแว่นกำลังขยาย 10 เท่า



5. อธิบายเกี่ยวกับการจำแนกทองคำออกจากทองปลอม ด้วยการสังเกต ชั่งน้ำหนัก และใช้แว่นกำลังขยาย 10 เท่า



6. ใบบันทึกผลการทดสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการคัดกรองทองคำรูปพรรณและทองคำแท่งเบื้องต้น ซึ่งเป็นวิธีการตรวจสอบแบบไม่ทำลายตัวอย่าง โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



 (ง) วิธีการประเมิน



1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



2. การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของคุณสมบัติของทองคำ การตรวจสอบจำแนกทองแท้และทองปลอม ทั้งทองรูปพรรณและทองคำแท่ง โดยใช้วิธีการสังเกต ชั่งน้ำหนัก และใช้แว่นกำลังขยาย 10 เท่า ซึ่งเป็นวิธีพื้นฐานแบบไม่ทำลายตัวอย่าง ผู้เข้าประเมินควรมีความรู้และทักษะที่สำคัญในการสังเกตและใช้เครื่องมือตรวจสอบ ได้แก่ เครื่องชั่ง และแว่นกำลังขยาย 10 เท่า



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด



ทองคำ (Gold) นิยมเรียกโดยย่อว่า “ทอง” คือ โลหะมีค่าชนิดหนึ่ง มีสัญลักษณ์ธาตุ Au ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วยหน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา 24 กะรัต (Karat; K) เป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด เนื่องจากทองคำบริสุทธิ์ 99.99 เปอร์เซ็นต์     มีความอ่อนตัวมาก   จึงไม่สามารถนำมาใช้งานได้         จำเป็นต้องผสมโลหะอื่น ๆ   ลงไปเพื่อปรับคุณสมบัติทางกายภาพของทองคำให้แข็งขึ้น คงทนต่อการสึกหรอ ดังนั้น  สำหรับประเทศไทยนั้นใช้มาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองคำที่ 96.5 เปอร์เซ็นต์ หากจะเทียบเป็นกะรัตแล้ว จะได้ประมาณ 23.16 K ซึ่งจะได้สีทองที่เหลืองเข้ม   และมีความแข็งของเนื้อทองพอเหมาะสำหรับการนำมาทำเครื่องประดับ โดยโลหะที่นิยมนำมาผสมกับทองคำได้แก่ เงิน ทองแดง นิกเกล และสังกะสี   ซึ่งอัตราส่วนจะสัมพันธ์ตามความต้องการของผู้ใช้งาน ทองคำที่จำหน่ายในร้านทองรูปพรรณสามารถแบ่ง 2 กลุ่ม คือ ทองรูปพรรณ และทองคำแท่ง



ทองรูปพรรณ คือ ทองคำที่ถูกนำมาขึ้นรูปเป็นลักษณะต่างๆ หรือเป็นเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยข้อมือ สร้อยคอ กำไล ฯลฯ โดยทองรูปพรรณ 1 บาท มีน้ำหนักเท่ากับ 15.16 กรัม



ทองคำแท่ง คือ ทองคำที่หลอมเป็นแท่งขนาดต่างๆ มีตั้งแต่น้ำหนักน้อยๆ ตั้งแต่ไม่ถึง 1 บาท ไปถึงน้ำหนักหลายสิบบาท โดยทองคำแท่ง 1 บาท มีน้ำหนักเท่ากับ 15.244 กรัม



การตรวจสอบทองรูปพรรณและทองคำแท่งด้วยวิธีพื้นฐาน โดยไม่ทำให้ตัวอย่างทองคำที่ต้องการตรวจสอบนั้น เกิดความเสียหายหรือมีแนวโน้มที่จะเสียหาย สามารถทำได้ดังนี้




  • กะประมาณความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและขนาดของทอง เป็นการสังเกตน้ำหนักของทองคำกับขนาดหรือลวดลายของทองคำ ว่าทองคำควรมีขนาดใด ซึ่งน้ำหนักกับขนาดของทองคำต้องมีความสอดคล้องกัน โดยน้ำหนักของทองรูปพรรณ 96.5% มีน้ำหนักประมาณ ดังนี้


    • ทอง 1 สลึง หนักประมาณ 3.79-3.81 กรัม

    • ทอง 2 สลึง หนักประมาณ 7.58-7.62 กรัม

    • ทอง 1 บาท หนักประมาณ 15.16-15.24 กรัม

    • ทอง 2 บาท หนักประมาณ 30.32-30.4 กรัม





กรณีไม่มีเครื่องชั่ง อาจใช้การเปรียบเทียบกับตัวอย่างทองคำที่มีลักษณะเหมือนกันและทราบน้ำหนักอยู่แล้ว หากเป็นทองปลอมนั้นน้ำหนักหรือขนาดจะไม่สอดคล้องกัน




  • ดูตราประทับ โดยทั่วไปจะมีการตีตราประทับของร้าน (ยี่ห้อหรือโลโก้ร้าน) ไว้อย่างชัดเจน โดยจะประทับตราไว้ตรงบริเวณต่าง ๆ เช่น บนผิวหน้าของทองแท่ง บริเวณห่วงใกล้ตะขอของสร้อย ด้านในแหวน หรือด้านหลังต่างหู เป็นต้น รวมไปถึงอาจมีการแจ้งตัวเลขบอกความบริสุทธิ์ของทองด้วย เช่น 14k 18k 22k 24k หรือแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น 70% 80% 90% กรณีที่ตราประทับนั้นไม่ชัดเจน หรือไม่มีตราประทับ หรือเป็นตราประทับที่ไม่ได้อยู่ในรายการที่รับรองโดยสมาคมค้าทองคำและสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ทองนั้นก็อาจเป็นทองปลอม

  • ดูจากรอยต่อหรือรอยถลอกของชิ้นงาน วิธีนี้สามารถใช้แว่นขยายดูตามรอยต่อ โดยสังเกตจากความละเอียดของน้ำประสานบริเวณข้อต่อ หรือสังเกตรอยถลอกของชิ้นงาน ถ้าเป็นทองคำจะไม่มีรอยถลอก ลอก หรือเปลี่ยนสี แต่ถ้าเป็นทองคำที่ผ่านการชุบหรือทองปลอม รอยต่อเหล่านี้จะเกิดการลอกหรือถลอกได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน



1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



2. การสัมภาษณ์



ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ