หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาความสามารถบุคลากรในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี

สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GEM-CUHS-049B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาความสามารถบุคลากรในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1. อาชีพนักวิเคราะห์พลอยสี



2. อาชีพนักวิเคราะห์เพชร


1 7313 ช่างทำเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และโลหะมีค่า

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบอัญมณีในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในการตรวจสอบอัญมณี และมีหน้าที่พัฒนาความสามารถบุคลากรในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ในสภาพแวดล้อมในรูปแบบของการทำงานแบบประจำที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบอัญมณี ผู้ปฏิบัติงานต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับอัญมณี และต้องมีความรู้และทักษะในการพัฒนาความสามารถของบุคลากร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50080601

วางแผนและพัฒนาบุคคลากร

1. หาความจำเป็นในการพัฒนาบุคคลากร

50080601.01 171575
50080601

วางแผนและพัฒนาบุคคลากร

2. วางแผนการจัดฝึกอบรมบุคคลากรด้านเทคนิค

50080601.02 171576
50080601

วางแผนและพัฒนาบุคคลากร

3. วางแผนการพัฒนาของบุคคลากรด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ (KM)

50080601.03 171577
50080601

วางแผนและพัฒนาบุคคลากร

4. มอบหมายบุคลากรให้ทำงานนอกเหนือจากงานประจำ เพื่อการพัฒนา

50080601.04 171578
50080602

ประเมินและให้คำแนะนำรายงานการตรวจสอบขั้นสุดท้าย

1. สามารถประเมินประสิทธิภาพหลังการพัฒนาบุคลากรในห้องปฏิบัติการ

50080602.01 171580
50080602

ประเมินและให้คำแนะนำรายงานการตรวจสอบขั้นสุดท้าย

2. แนะนำให้คำปรึกษาการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน

50080602.02 171581
50080602

ประเมินและให้คำแนะนำรายงานการตรวจสอบขั้นสุดท้าย

3. ให้คำแนะนำรายงานการตรวจสอบขั้นสุดท้าย

50080602.03 171582

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถหาความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากร และวางแผนการพัฒนาบุคลากร



2. สามารถพัฒนาบุคลากรด้วยวิธีต่างๆ



3. สามารถประเมินประสิทธิภาพหลังการพัฒนาบุคลากร



4. สามารถปรับปรุงแก้ไขทักษะหรือกระบวนการหลังการพัฒนาบุคลากร



5. สามารถแนะนำให้คำปรึกษาการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนแก่บุคลากร



6. สามารถให้คำแนะนำรายงานการตรวจสอบอัญมณีขั้นสุดท้าย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการหาความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากร และวางแผนการพัฒนาบุคลากร



2. ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรด้วยวิธีต่างๆ



3. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพหลังการพัฒนาบุคลากร



4. ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขทักษะหรือกระบวนการหลังการพัฒนาบุคลากร



5. ความรู้เกี่ยวกับการแนะนำให้คำปรึกษาการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนแก่บุคลากร



6. ความรู้เกี่ยวกับการให้คำแนะนำรายงานการตรวจสอบอัญมณีขั้นสุดท้าย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. แสดงความรู้เกี่ยวกับการหาความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากร และวางแผนการพัฒนาบุคลากร



2. แสดงความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรด้วยวิธีต่างๆ



3. แสดงความรู้เกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพหลังการพัฒนาบุคลากร



4. แสดงความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขทักษะหรือกระบวนการหลังการพัฒนาบุคลากร



5. แสดงความรู้เกี่ยวกับการแนะนำให้คำปรึกษาการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนแก่บุคลากร



6. แสดงความรู้เกี่ยวกับการให้คำแนะนำรายงานการตรวจสอบอัญมณีขั้นสุดท้าย



7. ใบบันทึกผลการสัมภาษณ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. อธิบายเกี่ยวกับการหาความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากร และวางแผนการพัฒนาบุคลากร



2. อธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรด้วยวิธีต่างๆ



3. อธิบายเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพหลังการพัฒนาบุคลากร



4. อธิบายเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขทักษะหรือกระบวนการหลังการพัฒนาบุคลากร



5. อธิบายเกี่ยวกับการแนะนำให้คำปรึกษาการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนแก่บุคลากร



6. อธิบายเกี่ยวกับการให้คำแนะนำรายงานการตรวจสอบอัญมณีขั้นสุดท้าย



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี โดยเฉพาะทางด้านการตรวจสอบอัญมณี โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



 (ง) วิธีการประเมิน



1. การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของการพัฒนาบุคลากรในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี โดยคำว่า การพัฒนาบุคลากร คือ กรอบและกระบวนการในการพัฒนาตลอดจนส่งเสริมให้บุคลากรในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี มีความรู้ความสามารถไปจนถึงมีทักษะในการปฎิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งบุคลากรยังเกิดการพัฒนาศักยภาพด้วย โดยการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรนั้น อาจทำได้หลายวิธีหรือหลายกระบวนการ เช่น การฝึกอบรม การจัดการความรู้ (KM) การศึกษาผ่านการเรียนการสอน การออกไปดูงานนอกองค์กร และการถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างกัน เป็นต้น ซึ่งเมื่อบุคลากรได้รับการพัฒนาแล้วก็สามารถเป็นประโยชน์ต่อห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



กระบวนการพัฒนาบุคลากรในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี อาจมีขั้นตอนในทางปฏิบัติ ดังนี้



1. การหาความจำเป็นของการพัฒนาบุคลากร (Personnel Development Needs) เป็นการหา ข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาของห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี เพื่อหาทางแก้ไขด้วยการพัฒนาบุคลากรในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี



2. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objectives) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ว่าจะพัฒนาบุคลากรเพื่อแก้ไขปัญหา  หรือเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไรในการปฏิบัติงานของบุคลากร



3. เลือกวิธีการ (Method) ที่เหมาะสมว่าควรจะดำเนินการพัฒนาบุคลากรด้วยวิธีใด โดยพิจารณา ว่าวิธีใดจะได้ผลรวดเร็ว และคุ้มค่าที่สุด ซึ่งจะต้องคำนึงถึงลักษณะของปัญหาและวิธีการแก้ไข จำานวนบุคลากร ที่จะต้องพัฒนา ระยะเวลา และงบประมาณ



4. การกำหนดโครงการ เป็นการจัดทำรายละเอียดของการพัฒนาบุคลากรในแต่ละเรื่องว่าจะดำเนินการอย่างไร



5. ดำเนินการพัฒนาบุคลากรตามโครงการที่กำหนดหรือจัดทำขึ้น



6. การประเมินผลและติดตามผล เป็นการพิจารณาว่า การพัฒนาบุคลากรที่ได้ดำเนินการไปแล้วนั้น ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด มีปัญหา อุปสรรค หรือข้อขัดข้อง ประการใด รวมทั้งการ ติดตามดูว่าหน่วยงานและบุคลากรนั้นได้รับประโยชน์จากโครงการที่ดำเนินการไปแล้ว เพียงใด คุ้มค่าหรือไม่



นอกจากกระบวนการพัฒนาบุคลากรในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี ด้วยความที่ความรู้ด้านอัญมณี เป็นความรู้เฉพาะทางสูง ผู้ปฏิบัติงานในสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษา ด้วยการประเมินและให้คำแนะนำรายงานการตรวจสอบอัญมณีขั้นสุดท้ายแก่บุคลากรที่มีประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญน้อยกว่า


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน



1. การสัมภาษณ์



ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ