หน่วยสมรรถนะ
จัดระดับคุณภาพความสะอาดเพชร
สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | GEM-EAIP-057B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | จัดระดับคุณภาพความสะอาดเพชร |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
1. อาชีพนักวิเคราะห์เพชร 1 7313 ช่างทำเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และโลหะมีค่า |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบเพชรหรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดระดับคุณภาพเพชรในอุตสาหกรรมเพชรและเครื่องประดับ ซึ่งเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพความสะอาดเพชร ซึ่งยังไม่เข้าตัวเรือนเครื่องประดับ เป็นการพิจารณาชนิด จำนวน ขนาด ตำแหน่ง และความชัดเจนของมลทินภายใน (Inclusions หรือ Internal characteristics) และตำหนิภายนอก (Blemishes หรือ External characteristics) โดยใช้ตาเปล่าและกำลังขยาย ซึ่งกำลังขยายที่ใช้ในการประเมินความสะอาด ได้แก่ แว่นขยาย 10 เท่า (10x lens หรือ Loupe) และกล้องจุลทรรศน์อัญมณี (Gem stereo-microscope) |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
50010301 ตรวจสอบมลทินและตำหนิ |
1. ทำความสะอาดตัวอย่าง |
50010301.01 | 171491 |
50010301 ตรวจสอบมลทินและตำหนิ |
2. ตรวจสอบมลทินและตำหนิด้วยกล้องจุลทรรศน์อัญมณี |
50010301.02 | 171492 |
50010301 ตรวจสอบมลทินและตำหนิ |
3. วาดภาพโครงร่างตัวอย่างที่ต้องการทดสอบ แสดงมลทินและตำหนิในใบงาน (worksheet) |
50010301.03 | 171493 |
50010301 ตรวจสอบมลทินและตำหนิ |
4. บันทึกผลการตรวจสอบ |
50010301.04 | 171494 |
50010302 จัดระดับความสะอาดเพชร |
1. จัดระดับความสะอาดของตัวอย่างด้วยตาเปล่า |
50010302.01 | 171495 |
50010302 จัดระดับความสะอาดเพชร |
2. จัดระดับความสะอาดของตัวอย่างด้วยแว่นขยาย |
50010302.02 | 171496 |
50010302 จัดระดับความสะอาดเพชร |
3. สรุปและบันทึกผลการจัดระดับคุณภาพความสะอาดเพชร |
50010302.03 | 171497 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. สามารถใช้กำลังขยายพิจารณาชนิด จำนวน ขนาด ตำแหน่ง และความชัดเจนของมลทินภายในเพชร 2. สามารถใช้กำลังขยายพิจารณาชนิด จำนวน ขนาด ตำแหน่ง และความชัดเจนของตำหนิภายนอกเพชร 3. สามารถใช้ตาเปล่าและกำลังขยายจัดระดับคุณภาพความสะอาดของเพชร (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับชนิด จำนวน ขนาด ตำแหน่ง และความชัดเจนของมลทินภายในและตำหนิภายนอกของเพชร 2. ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของมลทินภายในและตำหนิภายนอกที่มีต่อคุณภาพและราคาเพชร 3. ความรู้เกี่ยวกับการใช้กำลังขยายจัดระดับคุณภาพความสะอาดเพชร 4. ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดหรือข้อควรระวังในการจัดระดับความสะอาดเพชร |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. แสดงวิธีการประเมินมลทินภายในของเพชร 2. แสดงวิธีการประเมินตำหนิภายนอกของเพชร 3. แสดงวิธีการจัดระดับคุณภาพความสะอาดเพชร 4. ใบบันทึกผลการสาธิตการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. อธิบายเกี่ยวกับวิธีการประเมินมลทินภายในของเพชร 2. อธิบายเกี่ยวกับวิธีการประเมินตำหนิภายนอกของเพชร 3. อธิบายเกี่ยวกับวิธีการจัดระดับคุณภาพความสะอาดเพชร 4. อธิบายเกี่ยวกับข้อจำกัดและข้อควรระวังในการจัดระดับความสะอาดเพชร 5. ใบบันทึกผลการทดสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการจัดระดับคุณภาพความสะอาดของเพชร โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. การสาธิตการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | ||||||||||||||||||||||||
(ก) คำแนะนำ ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ในเรื่องของการประเมินคุณภาพความสะอาดเพชร ชนิดของมลทินภายในและตำหนิภายนอก อุปกรณ์สำหรับการประเมินความสะอาด วิธีการประเมินความสะอาด การระบุระดับความสะอาด และข้อจำกัดหรือข้อระวังในการจัดระดับคุณภาพความสะอาดเพชร สมรรถนะนี้จะครอบคลุมถึงเพชรธรรมชาติ ซึ่งเจียระไนแล้ว แต่ไม่ฝังอยู่ในตัวเรือน สมรรถนะนี้ มีรายละเอียด ขั้นตอน วิธีการจัดระดับคุณภาพความสะอาดเพชร โดยใช้ข้อมูลและมาตรฐาน ISO 24016 Grading polished diamonds เป็นแนวทางในการกำหนดสมรรถนะนี้ (ข) คำอธิบายรายละเอียด ความสะอาด (Clarity) หมายถึง ลักษณะของเพชรที่มีผลจากมลทินภายในหรือตำหนิภายนอก โดยที่มลทินภายใน (Inclusions หรือ Internal characteristics) หมายถึง ลักษณะที่ปรากฏภายในตัวอย่างเพชร และตำหนิภายนอก (Blemishes หรือ External characteristics) หมายถึง ลักษณะที่ปรากฏบนผิวของตัวอย่างเพชร การประเมินคุณภาพความสะอาด เป็นการพิจารณามลทินภายในและตำหนิภายนอกภายใต้แว่นกำลังขยาย 10 เท่า (10x lens หรือ Loupe) หรือกล้องจุลทรรศน์อัญมณี และตาเปล่า จากนั้นจึงระบุระดับความสะอาดของเพชร ดังนี้
ระดับความสะอาดของเพชรมีมาตรฐานต่างๆ ทั้งนี้สามารถเปรียบเทียบระดับความสะอาดของเพชรตามมาตรฐานต่างๆ (ISO 24016) ในเชิงเปรียบเทียบ ได้ดังตาราง
หมายเหตุ:
|
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือการประเมิน 1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. การสาธิตการปฏิบัติงาน ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน |