หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดระดับคุณภาพสีเพชร

สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GEM-ULOO-056B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดระดับคุณภาพสีเพชร

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1. อาชีพนักวิเคราะห์เพชร


1 7313 ช่างทำเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และโลหะมีค่า

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบเพชรหรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดระดับคุณภาพเพชรในอุตสาหกรรมเพชรและเครื่องประดับ โดยเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพสีเพชร ในสมรรถนะนี้การจัดระดับคุณภาพสีเพชร จะครอบคลุมถึงเพชรสีขาวใสไม่มีสี (Colorless diamond) และการจัดระดับการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์ (Fluorescence)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50010201

จัดเตรียมเพชรและชุดอัญมณีต้นแบบเพื่อเทียบระดับสี 

1. ตรวจสอบน้ำหนักของเพชร เพื่อเลือกใช้ชุดอัญมณีต้นแบบตามช่วงน้ำหนักเพชร

50010201.01 159595
50010201

จัดเตรียมเพชรและชุดอัญมณีต้นแบบเพื่อเทียบระดับสี 

2. ทำความสะอาดเพชรและชุดอัญมณีต้นแบบ

50010201.02 159596
50010201

จัดเตรียมเพชรและชุดอัญมณีต้นแบบเพื่อเทียบระดับสี 

3. ตรวจสอบการเรียงลำดับสีของชุดอัญมณีต้นแบบ

50010201.03 159597
50010202

เปรียบเทียบสีเพชรกับชุดอัญมณีต้นแบบ

1. กำหนดทิศทางหรือมุมมองในการดูสีของเพชร

50010202.01 159599
50010202

เปรียบเทียบสีเพชรกับชุดอัญมณีต้นแบบ

2. ประเมินสีเพชรกับชุดอัญมณีต้นแบบ ตามเกณฑ์ที่กำหนด

50010202.02 159600
50010202

เปรียบเทียบสีเพชรกับชุดอัญมณีต้นแบบ

3.ระบุระดับคุณภาพสีเพชรจากการประเมิน

50010202.03 171482
50010202

เปรียบเทียบสีเพชรกับชุดอัญมณีต้นแบบ

4. สรุปและบันทึกผลการจัดระดับคุณภาพสีเพชร

50010202.04 171483
50010203

จัดเตรียมเพชรและชุดอัญมณีต้นแบบเพื่อเทียบระดับการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์

1. จัดเตรียมแหล่งแสงอัลตราไวโอเลต และพื้นฉากหลังตามเกณฑ์ที่กำหนด 

50010203.01 171484
50010203

จัดเตรียมเพชรและชุดอัญมณีต้นแบบเพื่อเทียบระดับการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์

2. ทำความสะอาดเพชรและชุดอัญมณีต้นแบบสำหรับเทียบการเรืองแสง

50010203.02 171485
50010203

จัดเตรียมเพชรและชุดอัญมณีต้นแบบเพื่อเทียบระดับการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์

3. ตรวจสอบการเรียงระดับความชัดเจนของการเรืองแสงของชุดอัญมณีต้นแบบ

50010203.03 171486
50010204

เปรียบเทียบระดับการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์เพชรกับชุดอัญมณีต้นแบบ

1. กำหนดทิศทางหรือมุมมองในการดูการเรืองแสงของเพชร

50010204.01 171487
50010204

เปรียบเทียบระดับการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์เพชรกับชุดอัญมณีต้นแบบ

2. ประเมินระดับการเรืองแสงเพชรกับชุดอัญมณีต้นแบบ ตามเกณฑ์ที่กำหนด

50010204.02 171488
50010204

เปรียบเทียบระดับการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์เพชรกับชุดอัญมณีต้นแบบ

3. ระบุระดับการเรืองแสงเพชรจากการประเมิน

50010204.03 171489
50010204

เปรียบเทียบระดับการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์เพชรกับชุดอัญมณีต้นแบบ

4. สรุปและบันทึกผลการจัดระดับการเรืองแสงของเพชร

50010204.04 171490

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ผู้ประเมินสามารถจัดเตรียมชุดอัญมณีต้นแบบ สำหรับใช้ในการจัดระดับคุณภาพสีและการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์ของเพชร โดยผู้ประเมินสามารถเปรียบเทียบเพชรกับชุดอัญมณีต้นแบบ จากนั้นจึงระบุระดับคุณภาพสี และระดับการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดและถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ผู้ประเมินมีความรู้เกี่ยวกับระดับสีเพชร ระดับการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์ การเตรียมชุดอัญมณีต้นแบบสำหรับใช้เทียบสีและการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์ กระบวนการเปรียบเทียบตัวอย่างเพชรกับชุดอัญมณีต้นแบบ การระบุระดับคุณภาพสีและฟลูออเรสเซนซ์ และข้อจำกัดหรือข้อควรระวังในการจัดระดับสีและฟลูออเรสเซนซ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. แสดงการเปรียบเทียบสีเพชรกับชุดอัญมณีต้นแบบ



2. แสดงการเปรียบเทียบการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์ของเพชรกับชุดอัญมณีต้นแบบ



3. ใบบันทึกผลการสาธิตการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. อธิบายเกี่ยวกับระดับสี และระดับการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์ของเพชร



2. อธิบายเกี่ยวกับชุดอัญมณีต้นแบบสำหรับจัดระดับคุณภาพสีและการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์



3. อธิบายเกี่ยวกับวิธีเปรียบเทียบสีเพชรกับชุดอัญมณีต้นแบบ



4. อธิบายเกี่ยวกับวิธีเปรียบเทียบการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์ของเพชรกับชุดอัญมณีต้นแบบ



5. อธิบายเกี่ยวกับข้อจำกัดและข้อควรระวังในการจัดระดับคุณภาพสีเพชร



6. อธิบายเกี่ยวกับข้อจำกัดและข้อควรระวังในการจัดระดับการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์



         7. ใบบันทึกผลการทดสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการจัดระดับคุณภาพสี และระดับการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์ของเพชร โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



2. การสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ในเรื่องของการตรวจสอบจัดระดับคุณภาพสีเพชร ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ใช้ในการจัดระดับคุณภาพเพชร และการจัดระดับการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์ของเพชร สมรรถนะนี้การจัดระดับคุณภาพสีเพชร จะครอบคลุมถึงเพชรสีขาวใสไม่มีสี (Colorless diamond) และเจียระไนรูปกลมเหลี่ยมเกสร (Round brilliant cut) ซึ่งไม่ฝังอยู่ในตัวเรือน มีสีอยู่ในช่วงสีขาวใสไม่มีสีถึงสีเหลือง (สี D ถึง  Z ตามมาตรฐานสากล)



สมรรถนะนี้ มีรายละเอียด ขั้นตอน วิธีการจัดระดับคุณภาพสีและการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์ โดยใช้ข้อมูลและมาตรฐาน ISO 24016 Grading polished diamonds เป็นแนวทางในการกำหนดสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



สี และฟลูออเรสเซนซ์ เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการพิจารณาคุณภาพและราคาเพชร การจัดระดับคุณภาพสีเพชรตามมาตรฐานสากล จะใช้อัญมณีต้นแบบ (Master stones)  เพื่อเทียบระดับสี ซึ่งเป็นชุดอัญมณีต้นแบบที่ใช้เพื่อจัดระดับสีเพชร ชุดอัญมณีต้นแบบนี้ ประกอบด้วยตัวอย่างเพชรธรรมชาติหรือวัสดุอื่นๆ เช่น เพชรสังเคราะห์ (Synthetic diamond) มอยส์ซอไนต์สังเคราะห์ (Synthetic moissanite) คิวบิกเซอร์โคเนีย (Cubic zirconia) เป็นต้น มาจัดระดับสี โดยเรียงลำดับจากสีขาวใสไม่มีสีถึงสีเหลือง และกำหนดสีตามตัวอักษรพยัญชนะภาษาอังกฤษ D ถึง Z โดยสี D คือ เพชรสีขาวใสไม่มีสี (Colorless) จนถึงสี Z คือ สีเหลือง (Yellow) ทั้งนี้ชุดอัญมณีต้นแบบเพื่อเทียบระดับสี มีระดับสี D ถึง N (Tinted color)



ขณะที่ชุดอัญมณีต้นแบบเพื่อเทียบระดับการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์ จัดเรียงตามลำดับความเข้มของการเรืองแสง จำนวน 4 ลำดับ ดังนี้ ไม่เรืองแสง (None หรือ Non หรือ Nil) เรืองแสงเล็กน้อย (Faint หรือ Slight) เรืองแสงปานกลาง (Medium) และเรืองแสงชัดเจน (Strong)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน



1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



2. การสาธิตการปฏิบัติงาน



ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ