หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี เพื่อให้ได้การรับรองคุณภาพมาตรฐานระดับสากล

สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GEM-PWMM-050B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี เพื่อให้ได้การรับรองคุณภาพมาตรฐานระดับสากล

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1. อาชีพนักวิเคราะห์พลอยสี



2. อาชีพนักวิเคราะห์เพชร


1 7313 ช่างทำเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และโลหะมีค่า

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบอัญมณีในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ในหน่วยสมรรถนะนี้จะมุ่งเน้นบริหารจัดการห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี เพื่อให้ได้การรับรองคุณภาพมาตรฐานระดับสากล ให้เป็นไปตามหลักการขององค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization-ISO) ผู้ปฏิบัติงานต้องมีองค์ความรู้และทักษะบริหารจัดการเรื่องการรับรองคุณภาพมาตรฐานระดับสากล เช่น หลักการ วิธีการปฏิบัติ และการประเมิน เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50080701

จัดทำระบบมาตรฐานคุณภาพในระดับสากล

1. ระบุความต้องการของการได้รับรองตามมาตรฐานคุณภาพที่ต้องการขอใบรับรอง

50080701.01 171591
50080701

จัดทำระบบมาตรฐานคุณภาพในระดับสากล

2. วางแผนและจัดสรรทรัพยากร เพื่อจัดทำระบบ

50080701.02 171592
50080701

จัดทำระบบมาตรฐานคุณภาพในระดับสากล

3. จัดทำขั้นตอนการตรวจรับรองระบบ  ทดสอบและประเมินระบบ

50080701.03 171593
50080701

จัดทำระบบมาตรฐานคุณภาพในระดับสากล

4. กำหนดเกณฑ์การออกใบรายงานผลตามความสามารถของห้องปฏิบัติการ 

50080701.04 171594
50080702

ควบคุมตามการรับรองใบรายงานผล

1. ควบคุมและดูแลเอกสารตามมาตรฐานที่กำหนด

50080702.01 171595
50080702

ควบคุมตามการรับรองใบรายงานผล

2. ควบคุมและดูแลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนด 

50080702.02 171596
50080703

รักษาคุณภาพมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง

1. ตรวจสอบภายในและภายนอก

50080703.01 172014
50080703

รักษาคุณภาพมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง

2. ประเมินการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนด

50080703.02 172015

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถจัดทำระบบมาตรฐานคุณภาพในระดับสากล

2. สามารถควบคุมตามการรับรองใบรายงานผล

3. สามารถดำเนินการขอใบรับรองและรักษาคุณภาพต่อเนื่อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำระบบมาตรฐานคุณภาพในระดับสากล



2. ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมตามการรับรองใบรายงานผล



3. ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการขอใบรับรองและรักษาคุณภาพต่อเนื่อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. แสดงความรู้เกี่ยวกับการจัดทำระบบมาตรฐานคุณภาพในระดับสากล

2. แสดงความรู้เกี่ยวกับการควบคุมตามการรับรองใบรายงานผล



3. แสดงความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการขอใบรับรองและรักษาคุณภาพต่อเนื่อง



4. ใบบันทึกผลการสัมภาษณ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. อธิบายเกี่ยวกับการจัดทำระบบมาตรฐานคุณภาพในระดับสากล



2. อธิบายเกี่ยวกับการควบคุมตามการรับรองใบรายงานผล



3. อธิบายเกี่ยวกับการดำเนินการขอใบรับรองและรักษาคุณภาพต่อเนื่อง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อให้ได้การรับรองคุณภาพมาตรฐานระดับสากล ISO โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



 (ง) วิธีการประเมิน



1. การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี กระบวนการตรวจสอบอัญมณี และเทคนิคการตรวจสอบต่างๆ เพื่อให้ได้การรับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO หรือเทียบเท่า โดยผู้เข้ารับการประเมินต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน วางแผน ดำเนินการตามมาตรฐาน ควบคุม ดูแลระบบมาตรฐาน ประเมิน ปรับปรุงแก้ไข และรักษาระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization - ISO) คือ องค์กรอิสระจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2490 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนา อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ และขจัดข้อโต้แย้ง รวมถึงการกีดกัน ทางการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ ในด้านวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือการจัดระเบียบการค้าโลก ด้วยการสร้างมาตรฐานขึ้นมา



มาตรฐาน คือ ข้อตกลงที่จัดทำขึ้นเป็นเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลหรือข้อกำหนดทางเทคนิค (Technical Specifications) หรือวิธีการทำงานที่ถูกต้อง เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป แล้วร่วมกำหนดเป็นเกณฑ์ข้อบังคับขึ้นมา เพื่อที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า วัสดุผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือการบริการนั้นๆ จะบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ หรือเกิดจากข้อกำหนดด้านวิธีการหรือการทำงาน (Procedures manual หรือ Work Instruction)



มาตรฐานสากลที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการตรวสอบอัญมณี เช่น






    • มาตรฐาน ISO 9000 มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ

    • มาตรฐาน ISO 14000 มาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

    • มาตรฐาน ISO 17025 มาตรฐานการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฏิบัติการ

    • มาตรฐาน ISO 18000 มาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย





มาตรฐานสากลที่สามารถนำมาใช้ในการตรวจสอบวิเคราะห์อัญมณีในห้องปฏิบัติการตรวสอบอัญมณี เช่น




  • มาตรฐาน ISO 24016 มาตรฐานการประเมินคุณภาพเพชร (Grading polished diamonds)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน



1. การสัมภาษณ์



ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ