หน่วยสมรรถนะ
จัดการองค์ความรู้และถ่ายทอดหลักการสอน
สาขาวิชาชีพการกีฬา
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | SPT-SJTZ-128A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | จัดการองค์ความรู้และถ่ายทอดหลักการสอน |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ เป็นผู้ปฏิบัติตนตาม คุณธรรม จริยธรรมวิชาชีพครู ผู้สอนกีฬามวยไทย ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีตาม จริยธรรมสำหรับครูผู้สอนกีฬามวยไทย สืบสานอนุรักษ์ศิลปมวยไทย ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูสอนกีฬามวยไทย อนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของมวยไทย ได้แก่ การมอบตัวเป็นศิษย์ การไหว้ครูมวยไทยประจำปี การไหว้ครูร่ายรำมวยไทย การใช้ศิลปะไม้มวยไทย ความเคารพบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ผู้อาวุโส |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
อดีตนักมวยนักเรียนพลศึกษา ผู้ที่ต้องการเป็นครูมวยไทย เทรนเนอร์ ฟิตเนส |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
พ.ร.บ. กีฬามวย พ.ศ. 2542 ( ปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2564 ) รายละเอียดในภาคผนวก B |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
X44.11 ถ่ายทอดหลักการของครูสอนมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ |
1. แสดงออกถึงการมีความรู้ของครูที่ดีควรมีลักษณะที่พึงประสงค์ |
X44.11.01 | 159414 |
X44.11 ถ่ายทอดหลักการของครูสอนมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ |
2. แสดงออกถึงการมีความรู้บทบาทและหน้าที่ของครู
และผู้ฝึกสอนมวยไทย |
X44.11.02 | 159415 |
X44.11 ถ่ายทอดหลักการของครูสอนมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ |
3. แสดงออกถึงการมีความรู้คุณลักษณะของผู้ฝึกสอนมวยไทย |
X44.11.03 | 159416 |
X44.12 ถ่ายทอดตามขั้นตอนการสอนกีฬามวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ |
1. แสดงออกถึงการมีความรู้ขั้นตอนการสอน |
X44.12.01 | 159417 |
X44.12 ถ่ายทอดตามขั้นตอนการสอนกีฬามวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ |
2. แสดงออกถึงการมีความรู้หลักการฝึกกีฬามวยไทยเพื่อการแข่งขัน |
X44.12.02 | 159418 |
X44.13 วัดและประเมินผลการสอน
และการฝึกเพื่อการแข่งขันและอาชีพ |
1. แสดงออกถึงการมีความรู้ด้านการวัดและประเมินผลโปรแกรมการฝึกซ้อมของนักมวย |
X44.13.01 | 159419 |
X44.13 วัดและประเมินผลการสอน
และการฝึกเพื่อการแข่งขันและอาชีพ |
2. แสดงออกถึงการวัดและการประเมินผลของการแข่งขันของนักมวย |
X44.13.02 | 159420 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ความรู้เรื่องความเป็นมาของมวยไทย และกติกาการแข่งขัน และการฝึกซอมและการสอนมวยไทยเบื้องต้น |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ ครูที่ดีควรมีลักษณะที่จำเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านคุณลักษณะ 1.1 ต้องมีความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และพร้อมที่จะพัฒนาวิชาชีพของตนอยู่เสมอ 1.2 ประพฤติตนเป็นแบบอย่างแก่ผู้เรียนทั้งด้าน ศีลธรรม วัฒนธรรม กิจนิสัย สุขนิสัย และอุปนิสัย มีความเป็นประชาธิปไตย 1.3 ใฝ่หาความรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ 1.4 มีความเมตตาแก่ศิษย์ และเห็นคุณค่าของศิษย์ 1.5 มีสุขภาพสมบูรณ์ 1.6 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางวิชาการสามารถใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ 1.7 มีบทบาทในการพัฒนาชุมชน สามารถเป็นผู้นำชุมชนไ 1.8 ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ภาษา และการวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเอง 1.9 สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นครูแบบใหม่ในระบบสากลได้คือ การรู้ในวิทยาการด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น มีความหลากหลายเพื่อตอบสนองผู้เรียนเป็นหลักสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพและสร้างสรรค์ข้อมูลสะท้อนกลับสู่ ผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่องรวมทั้งเป็นครูที่เข้าหาผู้เรียนและชุมชนได้มากข 2. ด้านความรู้ของครู 2.1 ครูต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในวิชาที่สอนอย่างแท้จริงสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีในศาสตร์ความรู้มาสู่การปฏิบัติได้ ทั้งการปฏิบัติในระดับสากลและในระดับท้องถิ่ 2.2 มีความรู้ด้านการวิจัยวิทยาการคอมพิวเตอร์และภาษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ 2.3 มีความรู้เรื่องเทคนิคการสอนจิตวิทยาการวัดผลและประเมินผลและสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2.4 รู้ข้อมูลข่าวสารรอบตัวและเรื่องราวในท้องถิ่นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และฝึกผู้เรียนคิดวิเคราะห์วิจารณ์ได้ 3. ด้านการถ่ายทอดของครู 3.1 สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ เพื่อจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่น่าสนใจทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาวิชาที่เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้นั้นสู่การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการเรียนรู้ต่อไป 3.2 สามารถอบรมนิสัยให้ผู้เรียนมีศีลธรรมวัฒนธรรมกิจนิสัย สุขนิสัย และอุปนิสัยรวมทั้งรักในความเป็นประชาธิปไตย เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข 3.3 สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนใฝ่รู้ก้าวทันเทคโนโลยีตลอดจนสามารถใช้ภาษาสื่อสารกันได้เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ และสามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง 3.4 สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมองกว้างคิดไกลและมีวิจารณญาณที่จะวิเคราะห์และเลือกใช้ข่าวสารข้อมูลให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองได้ 3.5 พัฒนาผู้เรียนเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ของชุมชนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาชุมชน และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชุมชนได้
บทบาทและหน้าที่ของครู และผู้ฝึกสอนกีฬา 1. การเป็นครูผู้สอนที่ดี การที่จะเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาที่มีประสิทธิภาพจะต้องทำหน้าที่เป็นครูกีฬาที่ดีในทุก ๆ ความหมายของคำว่า “ครูที่ดี” ซึ่งหมายถึง ความเป็นผู้ที่มีความพร้อมในด้านความรู้ ความสามารถในการถ่ายถอดเทคนิค ทักษะในแต่ละขั้นตอนของการฝึกกีฬาชนิดหรือประเภทนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้องชัดเจน เข้าใจง่าย สามารถประยุกต์ใช้วิธีการฝึกได้ในทุกสถานการณ์ที่จะเอื้อให้เกิดประโยชน์และเป็นผลดีกับนักกีฬา 2. เป็นนักจิตวิทยาที่เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของนักกีฬา ผู้ฝึกสอนกีฬาทุกคนควรทำตัวเป็นนักจิตวิทยาที่ดี เพราะการทำหน้าที่ผู้ฝึกสอนกีฬาเป็นการทำงานที่ต้องสร้างความสนิทสนมเป็นกันเองกับนักกีฬาของตนและผู้ร่วมงาน ตลอดจนสร้างความมีชีวิตชีวา และความรู้สึกที่ดีให้เกิดขึ้นภายในทีมผู้ฝึกสอนกีฬาที่มีประสิทธิภาพจะมีความเข้าใจในนิสัยใจคอของนักกีฬาทุกคนเป็นการส่วนตัว ขณะเดียวกันสามารถปรับวิธีการสอนนักกีฬาให้เข้าใจกับบุคลิกภาพของตนเอง 3. เป็นนักสรีรวิทยาที่รอบรู้ ผู้ฝึกสอนกีฬาเป็นผู้กำหนดแผนการฝึกซ้อมให้กับนักกีฬา ซึ่งการฝึกซ้อมที่หนักและต่อเนื่องเป็นระบบเท่านั้น คือหนทางที่จะนำนักกีฬาไปสู้เป้าหมายที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคนิค ทักษะ หรือความแข็งแรง ความเร็ว ความอดทน การประสานงานของระบบประสาทกล้ามเนื้อและความอ่อนตัว อันเป็นองค์ประกอบหลักของสมรรถภาพทางกายที่สำคัญของนักกีฬา ผู้ฝึกสอนกีฬาทุกคนจะต้องเข้าใจหลักทฤษฎีการฝึกและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกายอันเป็นผลมาจากการฝึกและจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักวิธีการฝึกซ้อมที่ทันสมัยด้วย นอกจากนี้โปรแกรมและแผนการฝึกซ้อมทุกขั้นตอน ควรอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของผู้ฝึกสอนกีฬาอย่างใกล้ชิด เพื่อติดตามประเมินผลและพัฒนาความก้าวหน้าได้อย่างถูกต้อง 4. เป็นนักการทูตที่ดี ในการทำหน้าที่ควบคุมดูแลนักกีฬานั้น พ่อแม่ เจ้าหน้าที่ประจำทีม ผู้บริหารกีฬา ผู้ฝึกสอนกีฬา ตลอดจนสื่อมวลชนทุกแขนงจะต้องทำความเข้าใจและให้ความเป็นธรรมกับนักกีฬา การพูดหรือการเขียนสิ่งใดควรจะเป็นไปในทางสร้างสรรค์มากกว่าที่จะสร้างความกดดัน บีบคั้นให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ หมดกำลังใจ เพื่อจะช่วยกระตุ้นหรือเป็นแรงจูงใจทำให้นักกีฬาเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในสิ่งที่เขากระทำอยู่และมีกำลังใจที่จะกระทำต่อไปให้ดียิ่งขึ้น 5. ทำตัวเป็นนักสืบในบางโอกาส บางครั้งหรือบางเวลา ผู้ฝึกสอนกีฬาจำเป็นต้องทำหน้าที่สืบหาข้อมูลบางอย่างด้วยตนเอง เพื่อสืบหาสาเหตุที่มาของปัญหาและวิธีการแก้ไข เช่น บางครั้งจำเป็นต้องสืบหาเหตุผลว่าทำไมนักกีฬาจึงต้องทำการฝึกซ้อมล่าช้าหรือขาดการฝึกซ้อมบ่อยหรือเพราะเหตุใดนักกีฬาจึงตัดสินใจเลือกเล่นกีฬาประเภทนั้น เป็นต้น 6. ทำตัวเป็นนักแสดงให้เข้ากับบรรยากาศ ในบางครั้งผู้ฝึกสอนกีฬาที่ดีจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงบุคลิกหรือลักษณะนิสัยของตนเองชั่วคราว เพื่อให้เข้ากับเหตุการณ์หรือบรรยากาศในช่วงเวลานั้น ผู้ฝึกสอนกีฬาที่มีประสิทธิภาพควรที่จะมีไหวพริบปฏิภาณ รู้ว่าช่วงเวลาใดควรจะปรับเปลี่ยนนิสัยตนเองชั่วคราวอย่างไร เพื่อให้เกิดผลดีกับทีม และนักกีฬา 7. เป็นนักเผด็จการในบางเวลา ในบางโอกาสผู้ฝึกสอนกีฬาจำเป็นต้องทำตัวเหมือนนักเผด็จการแต่มีมนุษยธรรม เพราะอาจจะมีบางกรณีที่ผู้ฝึกสอนกีฬาจะต้องตัดสินใจลงไปโดยที่ไม่อาจรอปรึกษาใครได้ อย่างไรก็ตามการตัดสินใจในลักษณะดังกล่าวนี้ผู้ฝึกสอนกีฬาควรจะได้ไตร่ตรองโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2552) ได้กล่าวถึง ลักษณะและบทบาทของผู้ฝึกสอนที่ดี ไว้ดังนี้ 1. ผู้ฝึกสอนต้องตระหนักดีว่าการแพ้ชนะนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ ทั้งสภาพร่างกายและจิตใจของนักกีฬา รวมทั้งสภาพแวดล้อมภายนอก 2. มีความมานะพยายาม มีระเบียบวินัย และเสียสละทำงานเพื่อหมู่คณะ 3. มีความรู้ ความสามารถ และมีความคิดอย่างมีเหตุผลในการถ่ายทอดความรู้และฝึกสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของนักกีฬา 4. เคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของนักกีฬา ทั้งเลือกสรรอย่างมีเหตุผลมีหลักการและยึดมั่นในระเบียบข้อตกลงที่ร่วมกัน 5. ควรฝึกสอนให้พอเหมาะกับสภาพร่างกายและจิตใจของนักกีฬา อย่าพยายามและให้บทเรียนหรือแบบฝึกหัดมากเกินไป 6. พยายามให้กำลังใจ กระตุ้น หรือจูงใจให้นักกีฬาเกิดความรักในชื่อเสียงของหมู่คณะเพื่อนนักกีฬา เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบในการฝึก และมีจิตวิญญาณที่จะนำชัยชนะมาสู้หมู่คณะ 7. ผู้ฝึกสอนจะต้องฝึกให้นักกีฬาเกิดการเรียนรู้จนถึงขั้นชำนาญ 8. การฝึกจะต้องใช้วิธีการฝึกหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละบุคคลเพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย 9. การฝึก ควรเริ่มจากการสอนทฤษฎีแล้วจึงฝึกภาคสนาม โดยการบรรยาย สาธิต และลองปฏิบัติ ให้นักกีฬาเกิดความเข้าใจ 10. จัดทำสถิติการฝึก การเข้าร่วมการฝึก ความสำเร็จของนักกีฬาแต่ละคน เพื่อเป็นระเบียนสะสมช่วยเป็นแรงกระตุ้นให้นักกีฬาตื่นตัวอยู่เสมอในการที่จะพยายามทำดี ปรับปรุงความสามารถของตนเองให้ดีขึ้น 11. ผู้ฝึกสอนจะต้องพยายามหาวิธีการเพื่อช่วยให้นักกีฬามีความสามารถสูงสุดเท่าที่จะทำได้ 12. ควรสร้างเสริมสมรรถภาพและทดสอบความสามารถของนักกีฬาอยู่เสมอ เพื่อชี้ให้เห็นว่าความสามารถของนักกีฬาแต่ละคนเป็นอย่างไรบ้าง จะได้พัฒนาความสามารถให้คงอยู่ในเกณฑ์ดีเสมอไป 13. ผู้ฝึกสอนจะต้องเข้าใจ การฝึกนั้นจะต้องฝึกตลอดสม่ำเสมอ แต่ช่วงเวลาการฝึกอาจแตกต่างกันออกไป14. 14. ควรฝึกซ้อมให้มากกว่าสภาพความเป็นจริงในการแข่งขัน เมื่อถึงเวลาการแข่งขันจริงไม่ควรพูดอะไรมากเกินไป นอกจากให้คำแนะนำ 15. เมื่อนักกีฬาได้พัฒนาสมรรถภาพและความสามารถอย่างดีที่สุดแล้ว ผู้ฝึกสอนควรพยายามให้กำลังใจเพื่อส่งเสริมพลังใจให้เข้มแข็งพร้อมที่จะเข้าแข่งขัน 16. ในขณะทำการแข่งขัน อย่าสอนหรือตะโกนบอกนักกีฬามากเกินไป จะทำให้นักกีฬาเกิดความกังวลและสภาพจิตใจเสียไป 17. เมื่อนักกีฬาแพ้ ผู้ฝึกต้องพยายามอธิบายสามเหตุของการแพ้ให้นักกีฬาเพื่อหาทางแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องและปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้นักกีฬาเกิดความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น 18 .ไม่ใช้วาจาหยาบคายหรือดูหมิ่นความสามารถของนักกีฬา พยายามให้กำลังใจเมื่อแพ้และพยายามชมเชยเมื่อได้รับชัยชนะ 19. ผู้ฝึกสอนจะต้องมีลักษณะผู้นำ มีความริเริ่มวางโครงการแนะนำนักกีฬาให้มีระเบียบวินัย ตัดสินใจถูกต้อง ออกคำสั่งชัดเจน มีความเข้าใจนักกีฬาทุกด้าน 20. ผู้ฝึกสอนจะต้องซื่อสัตย์ จริงใจ และความยุติธรรมแก่นักกีฬาทุก ๆ ด้าน ถือว่านักกีฬาทุกคนมีความสำคัญเท่า ๆ กัน ประโยค สุทธิสง่า (2541) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะที่ดีของผู้ฝึกสอนควรประกอบด้วยองค์ประกอบ ดังนี้ 1. มีความรู้เกี่ยวกับสภาพร่างกายของมนุษย์ (Understanding of Human Body) ผู้ฝึกสอนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับกายวิภาคและสรีรวิทยา สรีรวิทยาการออกกำลังกาย วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวซึ่งเกี่ยวกับมนุษย์ การปฐมพยาบาล วิทยาศาสตร์การกีฬา ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและเพิ่มประสิทธิภาพของร่างกาย ผู้ฝึกสอนจะต้องรู้และจะต้องพยายามศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ ติดตามงานวิจัยใหม่ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถภาพของมนุษย์หรือมีการออกกำลังกายอะไรบ้างที่จะเป็นอันตรายกับร่างกายของนักกีฬา ความรู้ต่าง ๆ ผู้ฝึกสอนจะต้องรู้และเข้าใจ และสามารถนำไปปฏิบัติได้ดี การฝึกใดก็ตาม ความรู้ใดก็ตามที่ ผู้ฝึกสอนยังไม่ทราบและยังไม่แน่ใจในการนำไปใช้ อย่าได้นำไปฝึกนักกีฬาเป็นอันขาด อย่าเสี่ยงเพราะจะทำให้นักกีฬาได้รับอันตรายได้หรือทำให้ผลการฝึกไม่ดีเท่าที่ควร 2. ใฝ่หาวิธีการฝึกที่ทันสมัย (Methods of Training and Conditioning Athletes) ความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับ ผู้ฝึกสอนจะต้องเข้าใจเป็นอย่างดี สามารถนำมาใช้ฝึกนักกีฬา ทำให้นักกีฬามีทักษะดีขึ้นมีความสามารถดีขึ้น ความรู้นั้นจะต้องดีและทันสมัยอยู่เสมอ ถ้าความรู้ใดยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้งหรือเข้าใจที่ผิดของผู้ปกครอง นักกีฬาและคนอื่น ๆ ผู้ฝึกสอนจะต้องอธิบายให้เข้าใจ เช่น การใช้น้ำหนักช่วยในการฝึก ที่จริงแล้วมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้การยกน้ำหนัก ซึ่งจะทำให้นักกีฬาเกิดความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะเป็นนักกีฬาหญิงหรือนักกีฬาชาย ดังนั้นความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับนั้น ผู้ฝึกสอนจะต้องแน่ใจและอธิบายได้ และนำไปฝึกให้ได้ผลอย่างจริงจัง 3. ความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขท่าทาง (Ability to Analysis and Correct Form) ผู้ฝึกสอนนอกจากจะมีความรู้เกี่ยวกับการทำงานของร่างกาย ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ความรู้ในด้านการวิจัยและความรู้เกี่ยวข้องกับการฝึกสอนแล้ว ผู้ฝึกสอนจะต้องมีความสามารถที่จะวิเคราะห์ว่า นักกีฬาของเรามีความสามารถหรือทักษะของนักกีฬาดีขึ้นหรือไม่ จะสามารถแก้ไขปรับปรุงอย่างไรที่จะทำให้ความสามารถหรือทักษะของนักกีฬาดีขึ้น และจะต้องมีความสามารถทราบได้ว่าความสามารถของนักกีฬาของเราถึงจุดสูงสุดแล้วหรือยังจะมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้นักกีฬาของเรามีความสามารถสูงสุดได้ ผู้ฝึกสอนจะต้องมีคำแนะนำ พูดคุยชักจูงให้กำลังใจนักกีฬาให้ฝึกฝนในรูปแบบฝึกที่ถูกต้องและทำให้นักกีฬามีกำลังใจที่จะฝึกฝนตนเอง ภายใต้คำแนะนำต่าง ๆ จะต้องอยู่บนพื้นฐานหลักวิทยาศาสตร์ ความเป็นจริงตามหลักธรรมชาติของการเคลื่อนไหวที่ดีและถูกต้องเสมอ 4. การสื่อสาร (Communication) การสื่อสารที่ดี จะทำให้เกิดความเข้าใจกันอย่างดีและนำไปสู่การปฏิบัติที่ดี ดังนั้นผู้ฝึกสอนจะต้องใช้ความสามารถในการสื่อสารกับนักกีฬาให้ถูกต้องและเข้าใจตรงกัน ถ้านักกีฬาเข้าใจไม่ตรงกันอาจทำให้ผิดพลาดไปได้และอาจจะทำให้ความสามารถของนักกีฬาตกไปก็ได้ ในบางครั้งคำพูดบางคำอาจจะทำให้นักกีฬาคิดเป็นอย่างอื่นไปและเกิดความน้อยใจเสียใจหมดกำลังใจ ละเว้นการฝึกไปเลยก็ได้ ดังนั้นผู้ฝึกสอนที่ดี จะต้องมีทักษะในการสื่อสารที่ดีด้วย 5. การได้ประโยชน์สูงสุดจากบุคลากร (Ability to Use Personnel Effectively) ผู้ฝึกสอนที่ดีจะต้องใช้บุคลากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรนั้นรวมถึงผู้จัดการทีม ผู้ช่วยผู้จัดการทีม ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนนักกีฬา สื่อมวลชน ผู้มีอุปการคุณและแห่งชุมชนที่สามารถช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จ มีหลายๆครั้งที่ผู้เล่นจะถูกเปลี่ยนตำแหน่งการเล่นหรือเปลี่ยนระบบการเล่นเพื่อให้เหมาะสมกับความสามารถของทีมเราที่มีอยู่ และให้เหมาะสมกับคู่แข่งขัน เพื่อเป็นการแก้เกมในการเล่นให้นักกีฬาของเราได้เปรียบในการเล่นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ดังนั้นผู้ฝึกสอนจะต้องมีความสามารถที่จะใช้บุคลากรหรือฝึกนักกีฬาของเราที่มีอยู่ลงเล่นในการแข่งขันให้ได้เปรียบและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อทีมจะได้ประสบความสำเร็จ 6. การมองเห็นประโยชน์ในการแข่งขัน (Belief in Values of Competition) การกีฬาและการแข่งขันกีฬาทำให้นักกีฬาเกิดความพร้อมที่จะเป็นพลเมืองดีของชาติสืบไป โดยเฉพาะกีฬานักเรียน ผู้ฝึกสอนจะต้องอบรมให้นักกีฬามีจิตใจที่สะอาด ลงสนามแข่งขันด้วยความเชื่อมั่น มีระเบียบวินัย เล่นด้วยความจริงใจ เต็มใจ และยุติธรรม การเห็นแก่ตัว การเล่น ขี้โกงคู่ต่อสู้ และได้เปรียบด้วยการโกงก็ดี หรือผิดกติกา ผู้ฝึกสอนไม่ควรสอนให้นักกีฬาทำ ผู้ฝึกสอนจะต้องมีความเชื่อมั่นว่าการแข่งขันกีฬาและการเล่นกีฬานั้นมีคุณค่าในตัว ควรฝึกให้นักกีฬาเป็นสุภาพบุรุษและเป็นคนดีอย่าหวังการแพ้ชนะจนเกินไป จนทำให้ลืมคุณธรรมไป การแข่งขันการเล่นกีฬาก็ทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ ข้อผิดพลาดนี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้นักกีฬาและผู้ฝึกสอนจำไว้เป็นบทเรียน และพยายามแก้ไขข้อผิดพลาด เพื่อปรับปรุงในครั้งต่อไป 7. การมีบุคลิกภาพที่ดี (Good Personality) การเป็นผู้ฝึกสอนที่ดีนั้น การวางตัวท่าทางและบุคลิกของผู้ฝึกสอนมีความสำคัญมาก การเตรียมตัวของผู้ที่จะเป็นผู้ฝึกสอนจะต้องได้รับการฝึกอบรมศึกษาและเล่าเรียนการฝึกตัวเองทำให้บุคลิกภาพดีเป็นที่น่าเลื่อมใสของบุคคลที่ได้พบเห็น เช่น การแต่งตัวดี รู้จักกาลเทศะ มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่อ้วน กระฉับกระเฉง ทะมัดทะแมง มีอารมณ์มั่นคง ไม่โกรธง่าย และสุขุมเยือกเย็น 8.การทุ่มเทอดทนและการมีความคิดริเริ่ม (Dedication , Enthusiasm and Initiative) ผู้ฝึกสอนจะต้องเสียสละ ทุ่มเท ทั้งเวลา ทั้งกำลังกายและกำลังใจ เป็นผู้มีความอดทนและมีความคิดริเริ่มที่จะนำทีมไปสู่ชัยชนะได้ พยายามฝึกฝนลูกทีมให้เกิดทักษะ ให้เกิดการเรียนรู้มีความรักใคร่ในการเล่นและการต่อสู้ นอกจากนั้นจะต้องคิดวิธีการใหม่ๆ หาความรู้ใหม่ๆ ที่จะทำให้ลูกทีมมีความสนใจและไม่เบื่อในการฝึกซ้อม มีความสนุกและอยากจะฝึกฝนอยู่เสมอ 9. การไม่เห็นแก่ตัวเอง (Selfishness) ผู้ฝึกสอนที่ดีจะต้องยอมเสียสละแล้วซึ่งสิ่งที่พึงมีพึงได้เป็นของตัวเอง สละความเห็นแก่ตัว ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อทีมและส่วนรวม ผู้ฝึกสอนจะต้องทำงานหนัก ทำงานมากกว่าคนอื่น และจะต้องทำอยู่ตลอดเวลา ชื่อเสียงที่จะได้ก็จะต้องให้ทีม ผู้เล่นและผู้เกี่ยวข้อง ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ผู้ฝึกสอนจะปฏิเสธความรับผิดชอบคงยาก 10. การมีความรู้และเข้าใจด้านจิตวิทยา (Understanding of Psychological Reaction) ผู้ฝึกสอนจะต้องมีความเห็นอกเห็นใจนักกีฬาแต่ละคนว่ามีนิสัยใจคอเป็นอย่างไร สิ่งใดที่ชอบและไม่ชอบ จะต้องใช้วิธีการแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล การสอนก็จะต้องให้นักกีฬาเข้าใจและยอมรับ และเป็นที่เข้าใจอันดี นักกีฬาบางคนเข้าใจง่าย นักกีฬาบางคนเข้าใจยาก บางคนฝึกง่าย บางคนฝึกยาก ฉะนั้นการฝึกและการสอนจะต้องให้เป็นที่เข้าใจของนักกีฬา และเมื่อนักกีฬาพยายามทำแล้วจะต้องพยายามหาทางให้นักกีฬาทำให้ได้และเกิดความสำเร็จ ผู้ฝึกสอนจะต้องไม่เอาแต่ใจ พยายามทำให้นักกีฬาฝึกให้ได้ และมีความสนใจที่จะฝึกเพื่อจะได้ปรับปรุงทักษะต่าง ๆ ให้ดีขึ้น และในเมื่อลูกทีมมีความกลุ้มใจ กังวลใจ มีทุกข์ หรือมีปัญหา ผู้ฝึกสอนยินดีที่จะรับฟังและช่วยแก้ปัญหาให้ พยายามช่วยให้นักกีฬาผ่อนคลายความตึงเครียดให้จงได้ ถ้านักกีฬาตื่นเต้นก่อนการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนจะต้องมีวิธีกำจัดความตื่นเต้นที่มากเกินไปให้ลดลง ความตื่นเต้นที่พอดีมีประโยชน์เหมือนกัน เพราะจะทำให้ความสามารถดีขึ้น แต่ถ้านักกีฬาตื่นเต้นมาก ความสามารถของนักกีฬาจะลดลง ขณะที่แข่งขันไม่จำเป็นจะต้องสอนมาก แม้กระทั่งก่อนการแข่งขันก็ดีจะต้องไม่สอนมาก จะบอกหรือสอนแต่ประเด็นที่เน้นเป็นสำคัญเท่านั้น ผู้ฝึกสอนจะต้องเป็นผู้สร้างขวัญและกำลังใจให้กับลูกทีมเสมอ พยายามทำให้นักกีฬามีขวัญและกำลังใจที่ดีและมีความเชื่อมั่นในตนเอง 11. การมีความรับผิดชอบต่อผู้เล่นและชุมชน (Sense of Responsibility of Player and Public) ผู้ฝึกสอนที่ดีจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบต่อผู้เล่น เพื่อนร่วมทีมและสาธารณชน ชุมชน ดูแลเรื่องสุขภาพ ความสามารถ ดูแลทุกข์สุข และพัฒนาความสามารถของนักกีฬาให้สูงสุดเท่าที่จะทำได้ สร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับนักกีฬาในทีมต่อชุมชน สังคม และสาธารณชน สร้างความเป็นผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา สร้างความเป็นพลเมืองดี และรักความยุติธรรม ถ้าเป็นการแข่งขันระหว่างประเทศ ผู้ฝึกสอนจะต้องถือว่าตนเองเป็นผู้รับผิดชอบต่อชื่อเสียงของทีมและของประเทศชาติ ทีมจะต้องทำดีทุก ๆ อย่าง เช่น ความประพฤติ การปฏิบัติตัวของผู้ฝึกสอนและของลูกทีมการเข้าร่วมสังคม การแต่งกาย รวมทั้งมารยาทต่าง ๆ ด้วย จะต้องระลึกเสมอว่าเราทั้งหมดคือตัวแทนของประเทศ 12. การมีความรู้ที่ดีในเรื่องจิตวิทยา เวชศาสตร์การกีฬา วิทยาศาสตร์การกีฬา สรีรวิทยา การออกกำลังกายและวิทยาศาสตร์การคลื่อนไหว (Good Knowledge of Psychology,Sport Medicine , Sport Science, Physiology of Exercise and Kinesiology) ผู้ฝึกสอนที่ดีนั้นนอกจากจะมีความรู้ดีในด้านการกีฬาที่รับผิดชอบ ความสามารถดีในกีฬาที่ตนเป็นผู้ฝึกสอนแล้วผู้ฝึกสอนที่ดีจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านจิตวิทยา วิทยาศาสตร์การกีฬา กีฬาเวชศาสตร์ สรีรวิทยาการออกกำลังและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว วิชาความรู้ต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นจะช่วยให้ผู้ฝึกสอนกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ความรู้ทั้งหมด ที่เป็นพื้นฐานนั้น จะช่วยให้ใช้หลักวิชาในการฝึกนักกีฬา เช่น หลักในการฝึก หลักและวิธีการเคลื่อนไหวที่ได้เปรียบและถูกต้อง การใช้แรงให้เหมาะสม และอื่น ๆ ที่ผู้ฝึกสอนสามารถจะนำมาประยุกต์ใช้ในการฝึกเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 13. มีความเป็นผู้ชำนาญในกีฬานั้น ๆ คำว่า ความเป็นผู้ชำนาญในกีฬานั้น ๆ หมายถึงว่า รู้จักเกมกีฬานั้น ๆ เป็นอย่างดี รู้กติกาการแข่งขัน รอบรู้ในยุทธวิธีของกีฬานั้น ๆ เช่น รู้ว่ามีทีมใดบ้าง ฝีมือของคู่ต่อสู้ขนาดใด ผู้เล่นของเขามีใครบ้าง เล่นเป็นอย่างไร ฝีมือของทีมเราเป็นอย่างไร รอบรู้หมดในด้านเนื้อหาและวิธีการควบคู่กลยุทธวิธี เคล็ดการฝึกเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เป็นเคล็ดและหัวใจของการฝึก คว่ำหวอด คลุกคลี ในวงการกีฬานั้นอย่างเข้าอกเข้าใจและเห็นข้อที่จะฝึกทีมให้ไปสู่ความสำเร็จ นอกจากนั้นยังเป็นที่ยอมรับและนับถือของนักกีฬาและเพื่อนร่วมทีม 14. ผู้ฝึกสอนเองจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักกีฬา เช่น ตรงต่อเวลา มีระเบียบวินัย อดทน ยอมรับฟังความคิดเห็นของลูกทีมด้วยหลักประชาธิปไตย เมื่อลูกทีมมีความขัดแย้งกันจะต้องทำตัวเป็นกลางและแก้ปัญหาด้วยความยุติธรรมและให้เป็นที่เรียบร้อย 15. การใช้วาจาสุภาพ ผู้ฝึกสอนที่ดีไม่ควรใช้วาจาไม่สุภาพแก่ลูกทีมและเพื่อนร่วมทีม ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม ความสามารถของลูกทีม จะต้องให้กำลังใจและสนับสนุนให้ลูกทีมฝึกทักษะที่ดีให้ได้ 16. เป็นผู้ให้การอบรม ผู้ฝึกสอนจะต้องอบรมผู้เล่นของตนเป็นประจำหลังการฝึกหรือหลังจากการแข่งขันเมื่อได้รับชัยชนะหรือแพ้ก็ตามเมื่อแพ้ก็ไม่ดุว่าหรืออารมณ์เสีย ควรจะให้กำลังใจและหาข้อแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องต่อไป รู้ว่าสิ่งใดดี สิ่งใดควรแก้ไขในครั้งต่อไป 17. ฝึกให้หนักไว้ ในฐานะที่เป็นฝู้ฝึกสอนจะต้องฝึกให้หนักและพอเพียงต่อการแข่งขัน เพื่อให้ลูกทีมรู้คุณค่าของการฝึกที่หนักและต่อเนื่อง และฝึกอยู่ตลอดเวลา 18.ให้ความสำคัญแก่ทุกคนเท่ากัน ผู้ฝึกสอนที่ดีจะต้องให้ตัวสำรองหรือผู้ที่ยังไม่พร้อมจะเป็นตัวจริงในการแข่งขัน มีความเข้าใจว่าเขานั้นแหละคือตัวจริงและเป็นคนสำคัญในทีม ถ้าขาดเขาแล้วทีมก็ไม่สามารถก้าวไปสู่ชัยชนะได้ เพราะเขาเป็นส่วนหนึ่งของทีมและเป็นว่วนสำคัญเท่าๆกับตัวจริงนั่นแหละ และเขาจะได้ลงในโอกาสอันควรต่อไป 19.มีความจริงใจจริงจังในการทำงาน ผู้ฝึกสอนที่ดีจะต้องมีความจริงใจและซื่อสัตย์แก่ลูกทีมและตัวเอง ให้ความสำคัญแก่ทุก ๆ คนในทีมเสมอหน้ากันและด้วยความจริงใจ 20. ความนอบน้อมถ่อมตน ผู้ฝึกสอนที่ดีจะต้องไม่คุยโอ้อวดเมื่อได้รับชัยชนะและไม่แก้ตัวเมื่อทีมแพ้ มีความสนุกสนาน เรียบร้อย นอบน้อมถ่อมตน ไม่แสดงกิริยาที่ไม่ดีงามต่อสาธารณชน หลักการฝึกสอนกีฬามวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ 1. ในการฝึกหัดของนักกีฬาผู้ฝึกสอนจะเข้าใจธรรมชาติของการเรียนรู้ และหลักการขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ทักษะของนักกีฬา ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนที่มีความเชื่อมโยงกันกัน (Rainer Martens, 2004) คือ 1.1 ขั้นหาความรู้ (Cognitive Stage) ในขั้นหาความรู้ ผู้เรียนจะมีการแสดงทักษะที่ผิดพลาดอยู่เสมอๆ ความสามารถในการแสดงออกจะแปรผัน ผิดบ้างถูกบ้าง ผู้เรียนไม่ตระหนักถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและไม่รู้ว่าจะทำให้ดีขึ้นในครั้งต่อไปได้อย่างไร มีการลองผิดลองถูกตลอดเวลา ก่อนการแสดงทักษะแต่ละครั้งจะต้องคิดว่าจะทำอย่างไร ทำให้การเคลื่อนไหวช้าไม่มีประสิทธิภาพ 1.2 ขั้นการเชื่อมโยง (Associative Stage) เป็นการเชื่อมโยงระหว่างความรู้และการฝึกหัด ในขั้นนี้ผู้เรียนได้ฝึกหัดทักษะพื้นฐานมากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ความผิดพลาดซึ่งแต่ก่อนนั้นได้เกิดขึ้นอยู่เสมอๆได้ลดลงไป ผู้เรียนรู้ตัวว่าการแสดงทักษะของตนเองนั้นถูกหรือผิด สามารถที่จะแก้ไขและปรับปรุงให้ถูกต้องและดีขึ้นได้ เมื่อได้รับคำแนะนำที่เหมาะสม หรือจากการร้องผิดลองถูกของตนเอง ความสามารถที่แสดงออกมีความแปรผันน้อยลง มีความถูกต้องและคงเส้นคงวามากขึ้น 1.3 ขั้นอัตโนมัติ (Autonomous Stage) ภายหลังจากการฝึกหัดและมีประสบการณ์มากขึ้น ผู้เรียนจะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ คือ ขั้นอัตโนมัติ ในขั้นนี้การแสดงทักษะจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และอัตโนมัติผู้เรียนไม่ต้องนึกถึงท่าทางการเคลื่อนไหว แต่จะมีความตั้งใจต่อส่วนของทักษะที่สำคัญ และยากขึ้น นอกจากนี้ผู้เรียนจะมีความตั้งใจต่อกุศโลบายในการเล่น เพื่อที่ตนเองจะได้แสดงความสามารถสูงสุด จะเห็นว่าก่อนที่ผู้เรียนจะมีทักษะดีในกีฬาแต่ละประเภทนั้น จะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการเรียนรู้ทักษะมาตามลำดับ การเรียนรู้จะดำเนินไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้นผู้ฝึกสอนเป็นผู้มีอิทธิพลและบทบาทสำคัญในการนี้ 2. ผู้ฝึกสอนต้องออกแบบโปรแกรมการฝึกทักษะและสมรรถภาพของนักกีฬาให้มีความเหมาะสมกับช่วงของการแข่งขันจากการวางแผนการฝึกซ้อมรายปี (Annual Plan) มีการวางแผนการฝึกสอนล่วงหน้า ทั้งโปรแกรมการสอนรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน เพื่อเป็นทิศทางในการสอนตามวัตถุประสงค์ของการสอนในแต่ละครั้ง สามารถนำมาประเมินการสอนของตนเองได้ 3. ในการสอนแต่ละครั้งผู้ฝึกสอนต้องบอกวัตถุประสงค์ของการฝึก เพื่อที่จะให้นักกีฬามีความเข้าใจ อีกทั้งยังเป็นการสร้างแรงจูงใจในการฝึกให้นักกีฬาปฏิบัติอย่างเต็มที่ เนื่องจากนักกีฬาเข้าใจถึงผลลัพธ์ที่จะได้จากการฝึก 4. ในการฝึกสอนจะต้องมีการตรวจสอบความพร้อมของนักกีฬาในทุกๆด้าน นักกีฬาจะต้องมีความพร้อมของร่างกายนักกีฬา มื้ออาหารก่อนการฝึกซ้อม ชุด อุปกรณ์ป้องกันต่างๆ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ รวมทั้งการสร้างความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจจากการกระตุ้นให้นักกีฬาพร้อมในการฝึกซ้อมแต่ละครั้ง การยืดเหยียดและอบอุ่นร่างกายที่เพียงพอเพื่อลดโอกาสในการบาดเจ็บของนักกีฬา 5. ช่วงเวลาและความถี่ของการฝึก ช่วงเวลาและความถี่มีผลต่อการฝึกทักษะ เป็นที่ทราบและยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า การฝึกทักษะที่ใช้เวลาน้อย แต่บ่อยๆ จะให้ผลดีกว่าการฝึกที่ใช้เวลามากแต่น้อยครั้ง 6. ผู้ฝึกสอนต้องต้องคำนึงถึงการอัตราส่วนเวลาต่อการเรียนรู้ โดยในการสอนรายวันแต่ละครั้งผู้ฝึกสอนจะต้องออกแบบการฝึกที่จะทำให้นักกีฬาได้ลงปฏิบัติซ้ำ ๆทำให้เกิดเรียนรู้และมีทักษะโดยการทำซ้ำทักษะเดิมบ่อย จนมีความชำนาญ ใช้เวลาในการฝึกน้อยแต่ได้ปริมาณงานที่มากกว่า 7. ในการฝึกสอนทักษะที่มีความซับซ้อน ควรฝึกก่อนทักษะที่ง่าย เนื่องจากทักษะที่มีความซับซ้อนต้องใช้สมาธิ และการประสานสัมพันธ์ของระบบประสาท อีกทั้งในวันที่มีการฝึกทักษะร่วมกับการฝึกสมรรถภาพ ต้องมีการฝึกทักษะก่อนสมรรถภาพทางกายเสมอ 8. ผู้ฝึกสอนต้องวิเคราะห์ จัดลำดับดับความสำคัญและการเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ การใช้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว การถ่ายโยงการเรียนรู้ เช่น การเตะถีบตรง และการถีบกลับหลัง ควรฝึกทักษะใดก่อน-หลัง เป็นต้น 9. การสอนทักษะทุกครั้งผู้ฝึกสอนต้องบอกถึงภาพรวม และแยกย่อย (Whole-Part Technique) แต่ละส่วนเพื่อให้นักกีฬาเข้าใจมากขึ้น 10. การฝึกในสถานการณ์จริง การให้ผู้เรียนได้เล่นและแข่งขันในสนามจริง จะช่วยเสริมประสบการณ์ได้เป็นอย่างดี ทาให้ผู้เรียนได้รู้และเข้าใจต่อสภาพการณ์ที่มีอยู่ในสถานการณ์จริง การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแต่ละครั้ง จะเป็นบทเรียนให้กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี 11. ผู้ฝึกสอนควรมีการใช้เทคโนโลยี และสื่อการสอนใหม่ๆ เช่น กล้องวิดีโอ โทรทัศน์ ฯลฯ จะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจทักษะ รวมทั้งทราบข้อบกพร่องของตัวเองได้รวดเร็วขึ้น 12. ผู้ฝึกสอนต้องเชื่อมั่นในหลักของการเรียนรู้ว่า การเสริมแรงทางบวกจะทำให้นักกีฬาเรียนรู้ได้ดีขึ้น อยากเรียนมากขึ้น ดังนั้น การบอกว่าทำดีแล้ว ทำถูกแล้ว และคำชมอื่น ๆ เป็นทั้งข้อมูลป้อนกลับและการเสริมแรงทางบวกแก่นักกีฬา ผู้ฝึกสอนต้องพยายามหลีกเลี่ยงการตำหนิ การลงโทษ เพราะจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี 13. ผู้ฝึกสอนควรอยู่ในตำแหน่งที่เห็นนักกีฬาทุกคน สามารถสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนอย่างทั่วถึงและสามารถเข้าไปให้ข้อมูลย้อนกลับกับนักกีฬาในการฝึกซ้อมได้ 14. อุปกรณ์และสิ่งอานวยความสะดวกต่างๆ ที่ใช้ประกอบการฝึกควรอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ จะช่วยให้สามารถพัฒนาทักษะให้สูงขึ้นได้ เช่น การมีเป้าเตะอย่างเพียงพอสำหรับคู่ฝึกซ้อมทำให้นักกีฬาสามารถฝึกซ้อมได้ปริมาณที่มากขึ้น เป็นต้น 15. ควรมีการจัดลำดับขั้นตอนการฝึกจากง่ายไปยากเสมอ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทำได้ โดยอาจเพิ่มความยาก และความท้าทายขึ้นไปตามลำดับ 16. ผู้ฝึกสอนต้องคำนึงถึงหลักความเสมอภาค ผู้ฝึกสอนต้องให้โอกาสนักกีฬาทุกคนได้ฝึกอย่างทัดเทียมกัน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกว่าคนใดเก่ง คนใดอ่อน 17. ผู้ฝึกสอนต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยจะต้องวิเคราะห์ พัฒนาการ ความสามารถ ปริมาณในการฝึกต้องคำนึงถึงหลักสรีรวิทยา ความสามารถและความแตกต่างของผู้เรียน ในเรื่องของวัย เพศ อายุ ความสามารถพื้นฐานทางด้านทักษะ ความสามารถพื้นฐานทางด้านสมรรถภาพทางกายและข้อจำกัดของนักกีฬาแต่ละคน 18. การฝึกสอนแต่ละครั้งผู้ฝึกสอนควรออกแบบโปรแกรม และวิธีการสอนที่มีความท้าทาย แต่สำคัญนักกีฬาต้องเข้าถึงได้ ไม่ยากจนเกินไป ทำให้สร้างความพยามแก่นักกีฬาและถ้านักกีฬาทำได้จะเกิดความภูมิใจ และเป็นแรงเสริมทางบวกที่ดี 19. หลักของการฝึกกีฬา ผู้ฝึกสอนต้องคำนึงถึงหลักการฝึกกีฬามาประยุกต์ใช้ในการฝึกนักกีฬา ดังนี้ (เจริญ กระบวนรัตน์, สนธยา สีละมาด, นภพร ทัศนัยนา) 19.1 หลักของความพร้อม (Principles of Readiness) ในการฝึกทุกครั้งนักกีฬาควรต้องมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจซึ่งเป็นสิ่งที่ควบคู่กันไป การเรียนรู้ควรเกิดความสมัครใจซึ่งความพร้อมส่งผลทางตรงต่อผลการเรียนรู้ ดังนั้น ผู้ฝึกสอนจำเป็นต้องกระตุ้นให้นักกีฬามีความพร้อมและอยากฝึกก่อนทำการฝึกทุกครั้ง เช่น ใช้การพูดคุยเพื่อจูงใจ การใช้เกมนำในการฝึกซ้อม การอบอุ่นร่างกายให้พียงพอ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมควรมีความสอดคล้องกับความสามรถของนักกีฬา และมีความท้าทาย 19.2 หลักการใช้ความหนักมากกว่าปกติ (Principles of Overload) ในการฝึกและการพัฒนาสมรรถภาพทางกายให้นักกีฬามีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นนั้น ผู้ฝึกสอนจะต้องคำนึงถึงการฝึกที่มีการเพิ่มแรงเครียด หรือความหนักที่ระดับเหนือกว่าระดับพฤติกรรมปกติที่ปฏิบัติได้ ซึ่งสามารถเพิ่มปริมาณ (Volume) ความหนัก และ ความหนัก (Intensity) เช่น ในการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะต้องมีการทำงานต้านกับแรงต้านที่มากกว่าปกติกล้ามเนื้อสามารถได้รับความหนักมากกว่าปกติ การเพิ่มความอดทนของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อต้องทำงานในระยะเวลาที่ยาวมากกว่าปกติ การปรับปรุงความอ่อนตัวการเพิ่มมุมของการเคลื่อนไหวของข้อต่อต้องมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้มีความยาวมากกว่าปกติหรือค้างการยืดเหยียดไว้ในเวลาที่ยาวนานถึงจะก่อให้เกิดการพัฒนาตามมา เป็นต้น 19.3 หลักของความแตกต่างของบุคคล (Principle of individualization) การตอบสนองต่อการฝึกของนักกีฬาแต่ละคน ซึ่งเป็นผู้ที่มีอายุ เพศ รูปร่าง ประสบการณ์ ระดับสมรรถภาพทางร่างกายทักษะที่แตกต่างกันความสามารถในการออกกำลังกายย่อมแตกต่างกัน จึงควรคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละคนโดยผู้ฝึกสอนจะต้องกำหนดและออกแบบโปรแกรมการฝึกซ้อมที่เหมาะสม มีความท้าทายที่นักกีฬาสามารถเข้าถึงได้
19.4 หลักของของความเฉพาะเจาะจง (Principles of Specificity) กิจกรรมที่ดี ต้องเหมาะสม สอดคล้องกับเป้าหมายในการฝึก ดังนั้น ผู้ฝึกสอนต้องกำหนดวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายก่อน แล้วจัดกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายนั้น ผู้ฝึกสอนต้องศึกษาและแน่ใจได้ว่ากิจกรรมที่นำมาให้นักกีฬาฝึกเหล่านั้นมีความสอดคล้องกัน กิจกรรมบางอย่างอาจมีผลการเรียนรู้บางอย่าง แต่อาจมีผลเสียต่อการเรียนรู้อีกอย่างหนึ่ง เช่น ถ้าเราฝึกเตะเร็ว ๆ เราอาจจะได้ในเรื่องความเร็วของกล้ามเนื้อ แต่ความถูกต้องของทักษะ และการเคลื่อนไหวจะลดลง เป็นต้น 19.5 หลักของการปรับสภาพของร่างกาย (Principles of Adaptation) โดยธรรมชาติร่างกายสามารถปรับสภาพพัฒนาขึ้นถ้าการทำงานของร่างกายมีมากขึ้น เช่น ในการฝึกแรงต้าน นักกีฬายกน้ำหนักได้สูงสุด 10 กิโลกรัม ถ้าเพิ่มน้ำหนัก 12 กิโลกรัม ร่างกายจะพัฒนากล้ามเนื้อให้สามารถยกได้ 12 กิโลกรัม ในระยะต่อมา แต่ถ้าเรายกแค่ 10 กิโลกรัม โดยไม่เพิ่มน้ำหนัก เราก็จะยกได้แค่ 10 กิโลกรัม เพราะร่างจะไม่ปรับสภาพสภาพร่างกายเนื่องจากไม่มีภาระงานมากระตุ้น เป็นต้น 19.6 หลักของความก้าวหน้า (Principles of Progressivity) การเรียนและการฝึก ทำให้มีความรู้ ความชำนาญในทักษะเพิ่มขึ้นตามลำดับจนถึงขีดจำกัด (Threshold) แล้วจะหยุด ผู้ฝึกสอนจึงต้องหมั่นสังเกตพัฒนาการของนักกีฬา ว่ามีความก้าวหน้าในการฝึกหรือไม่ เพราะโดยปกติแล้วทุกคนจะมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อาจเป็นรูปตัว J ตัว S หากพบว่าพัฒนาการหยุดนิ่ง ผู้ฝึกสอนต้องพิจารณาหลักของการปรับตัวของร่างกาย (Adaptation) และหลักการฝึกเกิน (Overload Training) มาใช้เพื่อพัฒนาในระดับต่อไป 19.7 หลักการพัฒนาหลายด้าน (Principle of Multilateral Development) ไม่ว่าการฝึกซ้อมที่ดีจะต้องมีความเจาะจงกับการฝึกซ้อมกับชนิดกีฬาที่นักกีฬาเข้าร่วม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่านักกีฬาจะทำการฝึกซ้อมแต่เพียงการฝึกซ้อมที่ความเฉพาะเจาะจงเพียงอย่างเดียวในการซ้อมกีฬาควรทำการฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาร่างกายหลายด้านโดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมของร่างกายทั่ว ๆไป เช่น การฝึกซ้อมทักษะทางกลไกทั่ว ๆไป (General Motor Skill) และการพัฒนาสมรรถภาพทางกายโดยทั่วไป (General Fitness) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการที่จะทำให้นักกีฬาก้าวไปสู่การฝึกซ้อมด้านร่างกายและเทคนิคที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้นในวันข้างหน้า การฝึกซ้อมของนักกีฬาวัยเด็กและนักกีฬาหัดใหม่ควรให้ความสำคัญกับการฝึกซ้อมหลายด้านมากกว่าการฝึกซ้อมที่มีความเฉพาะเจาะจงแต่เมื่อนักกีฬามีพัฒนาการทางการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น มีความสามารถเพิ่มขึ้น การพัฒนาหลายด้านควรจะลดลงให้ความสำคัญกับการฝึกซ้อมที่มีความเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น ซึ่งการฝึกสอนเทควันโดในนักกีฬาวัยเด็ก ควรเน้นทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน (Fundamental Movement) ร่วมกับการฝึกทักษะพื้นฐานเทควันโด ร่วมกับการพัฒนาสมรรถภาพทางการที่เหมาะสมกับช่วงวัย เช่น ความอ่อนตัว ความแข็งแรงพื้นฐาน ความคล่องแคล่ววว่องไว เป็นต้น ดังนั้นผู้ฝึกสอนควรออกแบบโปรแกรมให้สอดรับกับหลักของการพัฒนาระยะยาว (Long-term Athlete Development) 19.8 หลักแห่งความตระหนักรู้ (Principle of Awareness) ในการฝึกซ้อมทุกครั้งผู้ฝึกสอนจะต้องอธิบายให้นักกีฬาเข้าใจอย่างสม่ำเสมอว่าโปรแกรมการฝึกซ้อมเกี่ยวข้องกับอะไร จุดมุ่งหมายของการฝึกซ้อมคืออะไร และจะบรรลุจุดมุ่งหมายได้อย่างไร โดยเฉพาะนักกีฬาวัยเยาว์ หรือผู้ที่ขาดประสบการณ์ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากเป้าหมายการฝึกซ้อมตามความคาดหวังของผู้ฝึกสอน นักกีฬาจะต้องทราบว่าปฏิบัติอย่างไรถึงจะเกิดผลและปฏิบัติอย่างไรจะทำให้ไม่เกิดผลตามเป้าหมายที่วางไว้กับตนเอง 19.9 หลักของความเป็นไปได้ (Principle of Feasibility) ในการวางแผนการใช้ความหนัก และปริมาณของการฝึกซ้อมต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ผู้ฝึกสอนควรจะต้องมีการทดสอบและประเมินเพื่อที่จะบอกถึงระดับความสามารถ และระดับพัฒนาการของนักกีฬา หลักของความเป็นไปได้เป็นเกณฑ์ที่จะพิจารณาหลักของการใช้ความหนักมากกว่าปกติ (Overload Principle) ไม่ควรมากเกินไปกว่าระดับความสามารถและพัฒนาการของนักกีฬา ซึ่งการออกแบบโปรแกรมการฝึกซ้อมพัฒนาทางด้านจิตวิทยาของนักกีฬา หรือการลดต่ำลงของความสมบูรณ์ทางกาย ซึ่งจะบอกถึงข้อดีและข้อเสียของโปรแกรมการฝึกซ้อม 19.10 หลักของการคืนสภาพของร่างกาย (Principles of Reversibility) ระดับสมรรถภาพของนักกีฬาจะลดต่ำลงถ้าได้รับความหนักมากกว่าปกติจากการฝึกซ้อมไม่ต่อเนื่อง ความจริงผลของการฝึกซ้อมจะมีการย้อนกลับภายในตัวเองถ้าการฝึกซ้อมไม่เป็นสิ่งที่ท้าทายหรือปรับขึ้นระดับสมรรถภาพก็จะคงที่ (Plateau) และถ้าหยุดการฝึกซ้อมสมรรถภาพก็จะลดต่ำลง ตามหลัก “การใช้และไม่ใช้”(Law of Use and Disuse) เป็นลำดับขั้น โดยผลของการฝึกซ้อมจะมีผลอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วจะลดลงหลังจาก 2-3 วัน ของการฝึกซ้อมซึ่งจะเป็นการลดทั้งกระบวนการเผาผลาญอาหารและความสามารถในการทำงานของร่างกาย ซึ่งจากการศึกษามีการแสดงเห็นว่าถ้ามีการฝึกซ้อมความแข็งแรงและการฝึกซ้อมหยุดลง ระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลงอย่างสัมพันธ์กับระยะเวลาในการฝึกซ้อม หลักของการคืนสภาพของร่างกายเป็นสิ่งที่ผู้ฝึกสอนต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากในการฝึกซ้อมหลังจากนักกีฬาพักไป สมรรถภาพของนักกีฬาจะลดลงควรมีการฝึกซ้อมในระดับเบาก่อนเพื่อให้ร่างกายปรับสภาพกลับมาปกติ 19.11 หลักของความหลากหลายในวิธีการฝึก (Principles of Variety) ในการฝึกซ้อมจะต้องมีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย การเรียนรู้ที่ดีจะต้องได้รับความเข้มข้นของสิ่งเร้า (Intensity of Stimulus) และความหลากหลายของสิ่งเร้า (Variety of Stimulus) ซึ่งในการออกแบบโปรแกรมการฝึกซ้อมในแต่ละวันอาจมีจุดเน้น หรือวัตถุประสงค์เดียวกัน แต่อาจมีกิจกรรมที่แตกต่างมาให้นักกีฬาฝึกซ้อม ทำให้นักกีฬาไม่เบื่อหน่าย เกิดแรงจูงใจในการฝึกซ้อม เช่น การฝึกพลังในการเตะเฉียง แทนการให้เตะเฉียงเป้าใหญ่ซ้ำ อาจมีการสลับกับการเตะกระสอบทราย หรือเพิ่มเติมด้วยการฝึกในรูปแบบการฝึกพลัยโอเมตริก เป็นต้น 19.12 หลักการฝึกมากเกินไป (Principles of Overtraining) การฝึกต่อเนื่องนาน ๆ อาจทำให้ร่างกายและจิตถึงจุดอิ่มตัว เพราะร่างกายและจิตใจของนักกีฬามีขีดจำกัดจากการฝึก การฝึกที่หนักเกินความสามารถมากและนานเกินไปอาจทำให้นักกีฬาเกิดความล้า เบื่อหน่าย (Burn out) ไม่อยากฝึก ผู้ฝึกสอนต้องสังเกตพฤติกรรมของนักกีฬา เช่น ไม่มีความกระตือรือร้น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด นอนไม่หลับ เก็บตัว สมรรถภาพทางกายลดลง เป็นต้น เมื่อพบสัญญาณดังกล่าว ต้องสงสัยไว้ก่อนว่านักกีฬาเกิดภาวะฝึกมากเกินไป ต้องพักผ่อน หยุดซ้อม หรือเปลี่ยนวิธีการฝึกกาย 19.13 หลักของการพักสภาพจิตใจ (Principle of Psychological Rest) ในการฝึกซ้อมและการแข่งขันในหลาย ๆ รายการของกีฬาเทควันโดอาจทำให้นักกีฬาเกิดความอ่อนเพลียที่เป็นผลมาจากความตึงเครียดของสภาพจิตใจ นักกีฬาควรจะได้พักสภาพจิตใจเพื่อที่จะกลับมาฝึกซ้อมเต็มประสิทธิภาพ ผู้ฝึกสอนควรจะออกแบบโปรแกรมให้นักกีฬาพักหรือมีกิจกรรมอื่น ๆที่นอกเหนือจากเทควันโด หรืออาจจะให้อิสระในการคิดและการตัดสินใจของนักกีฬาซึ่งจะเป็นผลดีต่อสภาพจิตใจของนักกีฬา อย่างไรก็ตามถ้าความเครียดของนักกีฬาไม่ได้รับกระบวนการสร้างขึ้นกลับคืนที่เพียงพอจะทำให้นักกีฬามีความสนุกกับกับการฝึกซ้อมและผลที่ได้มาจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. กติกาการแข่งขันมวยไทย (รายละเอียดในภาคผนวก A ) 2. พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 (รายละเอียดในภาคผนวก B ) |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสาร / หลักฐานการผ่านอบรมเชิงปฏิบัติการการเป็นครูผู้สอนในกีฬามวยไทย 2. แฟ้มสะสมผลงาน และ / หรือ เอกสารประกอบ 3. เอกสาร / หลักฐานที่เกี่ยวข้อง/ บันทึกการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ผลการทดสอบความรู้ 2. ผลการทดสอบภาคปฏิบัติ 3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้องการผ่านการฝึกอบรมผู้ฝึกสอนจากการกีฬาแห่งประเทศไทยจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานของรัฐให้การรับรอง (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง การเข้าสู่คุณวุฒินี้ ผู้การเข้าสู่คุณวุฒินี้ผู้ประเมินต้องดำเนินการดังนี้ ส่งแฟ้มผลงาน สอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ สอบสัมภาษณ์ ผู้เข้าประเมินต้องทดสอบผ่านเกณฑ์ อย่างน้อย 70 % ของการประเมินทั้ง 4 ส่วน ผู้ประเมินต้องเคยปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนอย่างน้อย 5 ปี ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติการสอนจริง (ง) วิธีการประเมิน - แฟ้มผลงาน - สอบสัมภาษณ์ - สอบข้อเขียน - สอบปฏิบัติ ผู้ประเมินต้องเคยปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนอย่างน้อย 5 ปี ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติการสอนจริง |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ เป็นผู้ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักกีฬาด้วยวิธีการต่าง ๆ การสอนทักษะมวยไทย กติกาการแข่งขัน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา และการฝึกกีฬา ที่เกี่ยวข้องกับมวยไทยรวมถึงการให้ความรู้ในเทคนิควิธีการทักษะมวยไทยในการต่อสู้ การรักษาการบาดเจ็บ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ ความมีน้าใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ระหว่างนักมวยทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย คำแนะนำ สำหรับผู้ประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ต้องเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญด้านการทำหน้าที่การสอนมีประสบการณ์ มาแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปี เคยทำหน้าที่วิทยากรให้การอบรมการสอนระดับสูง สำหรับผู้เข้ารับการประเมิน ต้องมีคุณสมบัติตามคุณวุฒิ ตามคุณสมบัติที่กำหนด และต้องผ่านเกณฑ์การประเมินอย่างน้อย 70 % (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. กฎกติกา หมายถึง ข้อความที่ได้ทำความตกลงกันแล้ว หมายถึง กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่ บุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป กำหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น กติกาชกมวย กติกาฟุตบอล 2. การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการในการส่งสาร หรือ แลกเปลี่ยนข่าวสาร ความคิด ความรู้สึกระหว่างบุคคล เน้นความสัมพันธ์ของมนุษย์ ซึ่ง กระบวนการที่เกิดขึ้นนั้นเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน 3. ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ หมายถึง ผู้ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักกีฬาด้วยวิธีการต่าง ๆ การสอนทักษะมวยไทย กติกาการแข่งขัน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา และการฝึกกีฬา ที่เกี่ยวข้องกับมวยไทยรวมถึงการให้ความรู้ในเทคนิควิธีการทักษะมวยไทยในการต่อสู้ การรักษาการบาดเจ็บ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ ความมีน้าใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ระหว่างนักมวยทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
|