หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สืบสานอนุรักษ์ศิลปะมวยไทย

สาขาวิชาชีพการกีฬา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SPT-QEGZ-130A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สืบสานอนุรักษ์ศิลปะมวยไทย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ เป็นผู้ปฏิบัติตนตาม คุณธรรม จริยธรรมวิชาชีพครู ผู้สอนกีฬามวยไทย ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีตาม จริยธรรมสำหรับครูผู้สอนกีฬามวยไทย สืบสานอนุรักษ์ศิลปมวยไทย ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูสอนกีฬามวยไทย อนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของมวยไทย ได้แก่ การมอบตัวเป็นศิษย์ การไหว้ครูมวยไทยประจำปี การไหว้ครูร่ายรำมวยไทย การใช้ศิลปะไม้มวยไทย ความเคารพบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ผู้อาวุโส

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อดีตนักมวยนักเรียนพลศึกษา  ผู้ที่ต้องการเป็นครูมวยไทย เทรนเนอร์ ฟิตเนส

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พ.ร.บ. กีฬามวย  พ.ศ. 2542  ( ปรับปรุงแก้ไข  พ.ศ. 2564 )  รายละเอียดในภาคผนวก  B

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
X44.31

ถ่ายทอด พิธีกรรมไหว้ครูมวยไทย ยกครู ขึ้นครู ครอบครู  และแสดงความกตัญญูโดยพิธีกรรมการไหว้ครูประจำปี

1. แสดงออกถึงการมีความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณีของมวยไทยในการการมอบตัวเป็นศิษย์ (การครอบครู)

X44.31.01 159427
X44.31

ถ่ายทอด พิธีกรรมไหว้ครูมวยไทย ยกครู ขึ้นครู ครอบครู  และแสดงความกตัญญูโดยพิธีกรรมการไหว้ครูประจำปี

2. แสดงออกถึงการมีความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณีของมวยไทย ในการไหว้ครูมวยไทยประจำปี

X44.31.02 159428
X44.32

ถ่ายทอดการแสดงร่ายรำไหว้ครูมวยไทยและการแสดงศิลปะมวยไทย

1. แสดงออกถึงการมีความรู้เกี่ยวกับการไหว้ครูร่ายรำมวยไทย การใช้ศิลปะมวยไทย

X44.32.01 159429
X44.32

ถ่ายทอดการแสดงร่ายรำไหว้ครูมวยไทยและการแสดงศิลปะมวยไทย

2. แสดงออกถึงการมีความรู้เกี่ยวกับการการแสดงศิลปะมวยไทย

X44.32.02 159430

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้เรื่องความเป็นมาของมวยไทย และกติกาการแข่งขัน และการฝึกซอมและการสอนมวยไทยเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

หลักการฝึกสอนกีฬามวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ



1. ในการฝึกหัดของนักกีฬาผู้ฝึกสอนจะเข้าใจธรรมชาติของการเรียนรู้ และหลักการขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ทักษะของนักกีฬา ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนที่มีความเชื่อมโยงกันกัน (Rainer Martens, 2004) คือ



1.1 ขั้นหาความรู้ (Cognitive Stage) ในขั้นหาความรู้ ผู้เรียนจะมีการแสดงทักษะที่ผิดพลาดอยู่เสมอๆ ความสามารถในการแสดงออกจะแปรผัน ผิดบ้างถูกบ้าง ผู้เรียนไม่ตระหนักถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและไม่รู้ว่าจะทำให้ดีขึ้นในครั้งต่อไปได้อย่างไร มีการลองผิดลองถูกตลอดเวลา ก่อนการแสดงทักษะแต่ละครั้งจะต้องคิดว่าจะทำอย่างไร ทำให้การเคลื่อนไหวช้าไม่มีประสิทธิภาพ



1.2 ขั้นการเชื่อมโยง (Associative Stage) เป็นการเชื่อมโยงระหว่างความรู้และการฝึกหัด ในขั้นนี้ผู้เรียนได้ฝึกหัดทักษะพื้นฐานมากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ความผิดพลาดซึ่งแต่ก่อนนั้นได้เกิดขึ้นอยู่เสมอๆได้ลดลงไป ผู้เรียนรู้ตัวว่าการแสดงทักษะของตนเองนั้นถูกหรือผิด สามารถที่จะแก้ไขและปรับปรุงให้ถูกต้องและดีขึ้นได้ เมื่อได้รับคำแนะนำที่เหมาะสม หรือจากการร้องผิดลองถูกของตนเอง ความสามารถที่แสดงออกมีความแปรผันน้อยลง มีความถูกต้องและคงเส้นคงวามากขึ้น



1.3 ขั้นอัตโนมัติ (Autonomous Stage) ภายหลังจากการฝึกหัดและมีประสบการณ์มากขึ้น ผู้เรียนจะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ คือ ขั้นอัตโนมัติ ในขั้นนี้การแสดงทักษะจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และอัตโนมัติผู้เรียนไม่ต้องนึกถึงท่าทางการเคลื่อนไหว แต่จะมีความตั้งใจต่อส่วนของทักษะที่สำคัญ และยากขึ้น นอกจากนี้ผู้เรียนจะมีความตั้งใจต่อกุศโลบายในการเล่น เพื่อที่ตนเองจะได้แสดงความสามารถสูงสุด



ความหมายของคุณธรรม



        คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดีและความถูกต้องซึ่งบุคคลควรยึดมั่นไว้เป็นหลักการในการปฏิบัติตนจนเป็นนิสัยความประพฤติดีงาม เพื่อประโยชน์แก่ตนและสังคม ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักศีลธรรมทางศาสนา ค่านิยมทางวัฒนธรรม ประเพณี หลักกฎหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพ  การรู้จักไตร่ตรองว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ และอาจกล่าวได้ว่าคุณธรรม คือ จริยธรรมที่นำมาปฏิบัติจนเป็นนิสัย เช่น การเป็นคนซื่อสัตย์ เสียสละ และ มีความรับผิดชอบ



ความหมายของจริยธรรม



       จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติที่เกิดจากคุณธรรม กฎเกณฑ์ที่เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ทำได้ในทางวินัยจนเกิดความเคยชินมีพลังใจ มีความตั้งใจแน่วแน่จึงต้องอาศัยปัญญา  และปัญญาอาจเกิดจากความศรัทธาเชื่อถือผู้อื่น ในทางพุทธศาสนาสอนว่า จริยธรรมคือการนำความรู้ ความจริงหรือกฎธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดีงาม



ICCE : International Council for Coaching Excellence ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุนและส่งเสริมการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาแบบมืออาชีพได้กล่าวถึงหลักจรรยาบรรณของการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาไว้ 7 หลัก ดังนี้ (International Council for Coaching Excellence, 2012)



          1. หลักด้านความสามารถ (Competence)



          ผู้ฝึกสอนจะต้องสอนนักกีฬาโดยมีหลักการสอน มีเทคนิคและวิธีการสอนที่มีความเหมาะสมต่อการพัฒนานักกีฬา รวมทั้งมั่นใจได้ว่าได้สอนอย่างสุดความสามารถ จะต้องหลีกเลี่ยงการใช้วิธีการสอนที่มีความเสี่ยง หรือเกิดอันตรายต่อนักกีฬา ผู้ฝึกสอนจะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อนำความรู้ เทคนิค ประสบการณ์มาใช้ในการพัฒนานักกีฬา ในการสอนและการแนะนำนักกีฬา จะต้องเล็งเห็นถึงความแตกต่างของความสามารถในแต่ละบุคคลโดยจะต้องมีการสอนที่เหมาะสมเพื่อพัฒนานักกีฬาให้มีศักยภาพสูงสุดในแต่ละบุคคล



          2. หลักด้านความน่าเชื่อถือ (Trustworthiness)



          ผู้ฝึกสอนจะต้องมีการสร้างแรงบัลดาลใจให้กับนักกีฬา สร้างความน่าเชื่อถือให้กับนักกีฬา ผู้ปกครอง และบุคคลภายในทีม โดยจะต้องเป็นผู้ที่รักษาคำพูดรวมทั้งเก็บข้อมูลของนักกีฬาเป็นความลับเพื่อสร้างความเชื่อใจให้กับนักกีฬา พร้อมกับเป็นที่ปรึกษาที่ดีและชี้นำแนวทางในการกีฬา รวมทั้งการดำเนินชีวิตให้กับนักกีฬา



          3. หลักด้านความเคารพ (Respect)



          ผู้ฝึกสอนต้องให้ความเคารพในสิทธิ ศักดิ์ศรีของผู้อื่น เคารพต่อตัวเอง เคาพรในกีฬา และเคารพต่อองค์กรวิชาชีพที่ทำงาน ซึ่งการเคารพในผู้อื่นแสดงถึงการให้เกียรติ ความนอบน้อม และความเสมอภาค ผู้ฝึกสอนต้องปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึง เพศ อายุ ความพิการ เชื้อชาติ ภาษา  ศาสนา รวมทั้งสถานะทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการเคารพการตัดสินของผู้อื่นในการทำงานร่วมกันซึ่งอาจเป็นเจ้าหน้าที่ในการแข่งขันหรือผู้ฝึกสอนฝ่ายตรงข้ามเพราะถือว่าแต่ละคนมีสิทธิและความต้องการจำเป็นที่มีความจำเป็นของตัวเองและแตกต่าง ผู้ฝึกสอนจะต้องเคารพ ปฏิบัติตามกฎและสัญญาที่สร้างขึ้น รวมถึงสัญญาที่กล่าวขึ้นด้วยวาจาก็ตาม ผู้ฝึกสอนจะต้องเคารพในความคิดเห็นของนักกีฬาทั้งในการฝึกซ้อมและการแข่งขัน เคารพความเป็นส่วนตัวของนักกีฬา หลีกเลี่ยงการล่วงละเมิดทางเพศต่อนักกีฬา



          4. หลักด้านความยุติธรรม (Fairness)



          ผู้ฝึกสอนจะต้องมีความเป็นธรรมกับนักกีฬาจะต้องสอนและคอยแนะนำนักกีฬาทุกคนอย่างมีความเท่าเทียมและเสมอภาพไม่แสดงพฤติกรรมถึงความลำเอียงโดยการให้โอกาสหรือดูแลนักกีฬาคนหนึ่งคนใดในทีมมากกว่า ในการแข่งขันต้องมีความเป็นธรรมกับฝ่ายตรงข้ามโดยต้องละเว้นจากการกระทำใดๆเพื่อให้ฝ่ายตนเองได้เปรียบนอกเหนือจากกฎและกติกา เช่น การใช้สารต้องห้าม การให้สินบน เป็นต้น โดยจะต้องแข่งขันอย่างมีน้ำใจนักกีฬา



          5. หลักด้านการดูแล (Caring)



          ผู้ฝึกสอนจะต้องไม่ให้ผลย้อนกลับในทางลบ (Negative Feedback) กับนักกีฬาที่มากเกินไป ผู้ฝึกสอนจะต้องดูแลความเป็นอยู่ของนักกีฬาให้มีความปลอดภัยที่สุด แต่ควรหลีกเลี่ยงการติดต่อที่ใกล้ชิดกับนักกีฬา ระมัดระวังในเรื่องชู้สาว ผู้ฝึกสอนต้องมีความแน่ใจว่าการฝึกซ้อมและการแข่งขันเป็นการตอบสนองความต้องการของนักกีฬา และมีความเหมาะสมกับ เพศ อายุและความสามารถในแต่ละคน โดยผู้ฝึกสอนจะต้องสร้างทัศนคติ การมีวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี และอธิบายถึงประโยชน์ของกีฬาให้นักกีฬาเห็นความสำคัญของกีฬา ผู้ฝึกสอนจะต้องสร้างบุคลิกที่มีความเป็นผู้ใหญ่ให้กับนักกีฬาให้มีความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมและการกระทำของตนเอง มีการตัดสินใจที่ดีในสถานการณ์ต่างๆของชีวิต สามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี



          6. หลักทางด้านความซื่อสัตย์ (Integrity)



          ผู้ฝึกสอนจะต้องมีความซื่อตรงและความซื่อสัตย์ทั้งคำพูดและการกระทำตลอดเวลา ผู้ฝึกสอนจะต้องไม่ติดสินบน ตลอดจนจะต้องสอนและส่งเสริมให้นักกีฬามีความประพฤติที่มีความซื่อสัตย์ทั้งทางวาจาและการปฏิบัติผู้ฝึกสอนจะต้องยึดถือคุณธรรมจริยธรรมที่สูงและประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัดสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักกีฬา ทีมงานและบุคคลในวิชาชีพเดียวกัน



          7. หลักทางด้านความรับผิดชอบ (Responsibility)



          ผู้ฝึกสอนจะต้องรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนเองเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน ผู้ฝึกสอนจะต้องให้โอกาสกับนักกีฬาในการพัฒนาทักษะ ความมั่นใจ และความภาคภูมิใจในตนเอง มีโปรแกรมการฝึกซ้อมที่ตอบสนองความต้องการของนักกีฬาอย่างแท้จริง ส่งเสริมคุณค่าของการเล่นกีฬา จิตวิญญาณในการแข่งขัน ความมีน้ำใจนักกีฬาในการเล่น ปลูกฝังให้นักกีฬา  รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย และให้ทราบถึงว่าการชนะเป็นแค่ส่วนหนึ่งของกีฬาแต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ การเล่นอย่างเต็มที่สุดความสามารถและความสนุกสนานในการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนจะต้องมีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาตนเองจะต้องพัฒนาเทคนิคในการสอนและโปรแกรมการฝึกซ้อมโดยมั่นใจว่าเป็นแผนการฝึกซ้อมที่ดี เหมาะสม และมีความสำคัญต่อนักกีฬา  ผู้ฝึกสอนจะต้องมีความรับผิดชอบเป็นแบบอย่างที่ดีในพฤติกรรมสุขภาพของตนเองให้นักกีฬาและทีมงานเห็นเพื่อเป็นแบบอย่าง แสดงพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และควรกระตุ้นให้นักกีฬาเห็นความสำคัญต่อการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเช่นกัน และสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากคือผู้ฝึกสอนต้องรับผิดชอบต่อการดูแลเรื่องการใช้สารกระตุ้น สารเสพติด การสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักกีฬาโดยจะต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างให้กับนักกีฬารวมทั้งให้ความรู้ ถึงผลกระทบต่างๆให้นักกีฬาทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ผู้ฝึกสอนต้องหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ทางเพศและกีดกันความพยายามการเริ่มต้นความสัมพันธ์ทางเพศกับนักกีฬา



คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูสอนกีฬามวยไทย



1. ผู้ฝึกสอนพึงระลึกอยู่เสมอว่าตนมีอิทธิพลมากในการปลูกฝังให้นักกีฬาเป็นคนดี มีน้ำใจมากกว่าการหวังผลชนะอย่างเดียว



   2. ผู้ฝึกสอนพึงปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ทุกคนที่เกี่ยวข้อง



   3. ผู้ฝึกสอนทำหน้าที่อย่างเข้มงวดในการป้องกันการใช้สารกระตุ้นในนักกีฬา



   4. ผู้ฝึกสอนต้องไม่ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ขณะทำหน้าที่



   5. ผู้ฝึกสอนจะทำหน้าที่ไปจนสิ้นสุดฤดูการแข่งขัน (จะไม่ละทิ้งหน้าที่)



   6. ผู้ฝึกสอนต้องรู้โปรแกรมการแข่งขันและวางแผนเป็นอย่างดี โดยไม่แสวงหาผลประโยชน์จากช่องว่างของกติกา



   7. ผู้ฝึกสอนต้องส่งเสริมความมีน้ำใจนักกีฬา โดยให้คนดูและผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) แสดงความมีน้ำใจนักกีฬา



   8. ผู้ฝึกสอนต้องเคารพกฎกติกา โดยไม่ส่งเสริมให้ผู้เล่นและผู้ดูต่อต้านผู้ตัดสินและผู้จัด



   9. ผู้ฝึกสอนต้องจัดให้มีการประชุมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อมีความเข้าใจตรงกัน ในกฎกติกาการแข่งขัน



10. การแสดงออกถึงการมีความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณีของมวยไทยในการการมอบตัวเป็นศิษย์ (การครอบครู)



11. การแสดงออกถึงการมีความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณีของมวยไทย ในการไหว้ครูมวยไทยประจำปี



12. การแสดงออกถึงการมีความรู้เกี่ยวกับการไหว้ครูร่ายรำมวยไทย การใช้ศิลปะไม้มวยไทย



13. การแสดงออกถึงการมีความรู้เกี่ยวกับการการแสดงศิลปะไม้มวยไทย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. กติกาการแข่งขันมวยไทย (รายละเอียดในภาคผนวก  A )



2. พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 (รายละเอียดในภาคผนวก  B )


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. เอกสาร / หลักฐานการผ่านอบรมเชิงปฏิบัติการการเป็นครูผู้สอนในกีฬามวยไทย



2. แฟ้มสะสมผลงาน และ / หรือ เอกสารประกอบ



3. เอกสาร / หลักฐานที่เกี่ยวข้อง/ บันทึกการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ผลการทดสอบความรู้



2. ผลการทดสอบภาคปฏิบัติ



3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้องการผ่านการฝึกอบรมผู้ฝึกสอนจากการกีฬาแห่งประเทศไทยจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานของรัฐให้การรับรอง 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง  การเข้าสู่คุณวุฒินี้ ผู้การเข้าสู่คุณวุฒินี้ผู้ประเมินต้องดำเนินการดังนี้



ส่งแฟ้มผลงาน



สอบข้อเขียน



สอบปฏิบัติ  



สอบสัมภาษณ์  



ผู้เข้าประเมินต้องทดสอบผ่านเกณฑ์ อย่างน้อย  70  % ของการประเมินทั้ง 4 ส่วน 



ผู้ประเมินต้องเคยปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนอย่างน้อย 5 ปี ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติการสอนจริง 



 (ง) วิธีการประเมิน



-         แฟ้มผลงาน        



-         สอบสัมภาษณ์     



-         สอบข้อเขียน      



-         สอบปฏิบัติ        



ผู้ประเมินต้องเคยปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนอย่างน้อย 5 ปี ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติการสอนจริง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ เป็นผู้ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักกีฬาด้วยวิธีการต่าง ๆ การสอนทักษะมวยไทย กติกาการแข่งขัน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา และการฝึกกีฬา ที่เกี่ยวข้องกับมวยไทยรวมถึงการให้ความรู้ในเทคนิควิธีการทักษะมวยไทยในการต่อสู้ การรักษาการบาดเจ็บ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ ความมีน้าใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ระหว่างนักมวยทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย



คำแนะนำ    



           สำหรับผู้ประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ต้องเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญด้านการทำหน้าที่การสอนมีประสบการณ์ มาแล้วไม่น้อยกว่า  15  ปี  เคยทำหน้าที่วิทยากรให้การอบรมการสอนระดับสูง



          สำหรับผู้เข้ารับการประเมิน ต้องมีคุณสมบัติตามคุณวุฒิ  ตามคุณสมบัติที่กำหนด และต้องผ่านเกณฑ์การประเมินอย่างน้อย 70  % 



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. กฎกติกา หมายถึง ข้อความที่ได้ทำความตกลงกันแล้ว หมายถึง กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่



บุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป กำหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น กติกาชกมวย กติกาฟุตบอล



2. การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการในการส่งสาร หรือ แลกเปลี่ยนข่าวสาร ความคิด



ความรู้สึกระหว่างบุคคล เน้นความสัมพันธ์ของมนุษย์ ซึ่ง กระบวนการที่เกิดขึ้นนั้นเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน



                    3. ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ หมายถึง ผู้ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักกีฬาด้วยวิธีการต่าง ๆ การสอนทักษะมวยไทย กติกาการแข่งขัน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา และการฝึกกีฬา ที่เกี่ยวข้องกับมวยไทยรวมถึงการให้ความรู้ในเทคนิควิธีการทักษะมวยไทยในการต่อสู้ การรักษาการบาดเจ็บ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ ความมีน้าใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ระหว่างนักมวยทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. แฟ้มผลงาน

  2. การสอบข้อเขียน

  3. ทดสอบภาคปฏิบัติ

  4. การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ