หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติหน้าที่การใช้องค์ประกอบวิทยาศาสตร์การกีฬาสำหรับกีฬามวยไทยขั้นกลาง
สาขาวิชาชีพการกีฬา
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | SPT-XLXQ-122A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติหน้าที่การใช้องค์ประกอบวิทยาศาสตร์การกีฬาสำหรับกีฬามวยไทยขั้นกลาง |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่การฝึกสมรรถภาพทางกายสำหรับกีฬามวยไทย ขั้นกลาง |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
อดีตนักมวยนักเรียนพลศึกษา ผู้ที่ต้องการเป็นครูมวยไทย เทรนเนอร์ ฟิตเนส |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
พ.ร.บ. กีฬามวย พ.ศ. 2542 ( ปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2564 ) รายละเอียดในภาคผนวก B |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
X42.21 วิเคราะห์ความจำเป็นทางสรีรวิทยาสำหรับกีฬามวยไทย |
1. วิเคราะห์กลไกการตอบสนองและการปรับตัวต่อการฝึกซ้อม |
X42.21.01 | 159361 |
X42.21 วิเคราะห์ความจำเป็นทางสรีรวิทยาสำหรับกีฬามวยไทย |
2. วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของระบบกล้ามเนื้อประสาท |
X42.21.02 | 159362 |
X42.21 วิเคราะห์ความจำเป็นทางสรีรวิทยาสำหรับกีฬามวยไทย |
3. วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนเลือด และการหายใจ |
X42.21.03 | 159363 |
X42.22 พัฒนาการฝึกสมรรถภาพทางกล้ามเนื้อและสมรรถภาพพลังงาน |
1. พัฒนาการฝึกเพื่อพลังของกล้ามเนื้อ |
X42.22.01 | 159364 |
X42.22 พัฒนาการฝึกสมรรถภาพทางกล้ามเนื้อและสมรรถภาพพลังงาน |
2. พัฒนาการฝึกเพื่อพัฒนาความเร็ว |
X42.22.02 | 159365 |
X42.22 พัฒนาการฝึกสมรรถภาพทางกล้ามเนื้อและสมรรถภาพพลังงาน |
3. พัฒนาการฝึกเพื่อพัฒนาความแคล่วคล่องว่องไว |
X42.22.03 | 159366 |
X42.22 พัฒนาการฝึกสมรรถภาพทางกล้ามเนื้อและสมรรถภาพพลังงาน |
4. พัฒนาการฝึกสมรรถภาพพลังงาน |
X42.22.04 | 159367 |
X42.23 สร้างแรงจูงใจและความมุ่งมั่นในการฝึกซ้อมและแข่งขัน |
1. สร้างแรงจูงใจในการฝึกซ้อมและแข่งขัน |
X42.23.01 | 159368 |
X42.23 สร้างแรงจูงใจและความมุ่งมั่นในการฝึกซ้อมและแข่งขัน |
2. สร้างทักษะทางด้านสมาธิในการฝึกซ้อมและแข่งขัน |
X42.23.02 | 159369 |
X42.23 สร้างแรงจูงใจและความมุ่งมั่นในการฝึกซ้อมและแข่งขัน |
3. จัดการความเครียดในการฝึกซ้อมและแข่งขัน |
X42.23.03 | 159370 |
X42.24 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อทดสอบและประเมินผลสมรรถภาพทางกาย |
1. ประยุกต์ใช้โปรแกรมเพื่อทดสอบและประเมินผลสมรรถภาพทางกายได้ |
X42.24.01 | 159371 |
X42.24 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อทดสอบและประเมินผลสมรรถภาพทางกาย |
2. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และเครื่องมือเพื่อทดสอบและประเมินผลสมรรถภาพทางกาย |
X42.24.02 | 159372 |
X42.25 พัฒนาโปรแกรมการฝึกสอนมวยไทย |
1. ออกแบบโปรแกรมการฝึกกล้ามเนื้อสำหรับมวยไทย |
X42.25.01 | 159373 |
X42.25 พัฒนาโปรแกรมการฝึกสอนมวยไทย |
2. ออกแบบโปรแกรมการฝึกความเร็วสำหรับมวยไทย |
X42.25.02 | 159374 |
X42.25 พัฒนาโปรแกรมการฝึกสอนมวยไทย |
3. ออกแบบโปรแกรมการฝึกความแคล่วคล่องว่องไวสำหรับมวยไทย |
X42.25.03 | 159375 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ความรู้เรื่องความเป็นมาของมวยไทย และกติกาการแข่งขัน และการฝึกซอมและการสอนมวยไทยเบื้องต้น |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ ปฏิบัติหน้าที่การวิเคราะห์ความจำเป็นทางสรีรวิทยาสำหรับกีฬามวยไทย 1. กลไกการตอบสนองและการปรับตัวต่อการฝึกซ้อม 2. การเปลี่ยนแปลงของระบบกล้ามเนื้อประสาท 3. การเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนเลือด และการหายใจ ปฏิบัติหน้าที่การฝึกสมรรถภาพทางกล้ามเนื้อและระบบพลังงาน 1. การฝึกเผื่อเสริมสร้างพลังงานหรือกำลังของกล้ามเนื้อ 2. การฝึกเพื่อเสริมสร้างความเร็ว 3. การฝึกเพื่อเสริมสร้างความแคล่วคล่องว่องไว ปฏิบัติหน้าที่การสร้างแรงจูงใจและความมุ่งมั่น 1. การช่วยเหลือนักกีฬาให้สามารถเรียนรู้ที่จะ เพิ่มพูนทักษะทางด้าน สมาธิการมีแรงกระตุ้น 2. ในการเล่นกีฬา การมีความมุ่งมั่น การมีแนวทางการคิดบวกกับตนเอง ไม่ท้อถอย 3. มีแนวทางในการ ลดความตึงเครียดก่อนการแข่งขัน 4. พัฒนา ความเชื่อมั่นในตนเอง ในทุกขณะ 5. มีวิธีการ ปรับสภาพทางจิตใจกับการได้รับอันตรายทางกายจากการเล่นกีฬา 6. การรู้จักจัดแบ่งเวลา และการดําเนินชีวิตภายใต้ความสมดุลทางจิตใจ 7. พัฒนาการเล่นอย่างเป็นทีม 8. พัฒนา กิจกรรมเตรียมพร้อมที่เป็นนิสัย ก่อนการแข่งขัน 9. มีการประเมินผลภายหลังการแข่งขัน และนําสู่การวิเคราะห์ 10. มีวิธีการควบคุมกําจัดความโกรธ ปฏิบัติหน้าที่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อทดสอบและประเมินผลสมรรถภาพทางกาย 1. ปฏิบัติหน้าที่การประยุกต์ใช้โปรแกรมเพื่อทดสอบและประเมินผลสมรรถภาพทางกายได้ 2. ปฏิบัติหน้าที่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และเครื่องมือเพื่อทดสอบและประเมินผลสมรรถภาพทางกาย ปฏิบัติหน้าที่การออกแบบโปรแกรมการฝึกสอนมวยไทย 1. การออกแบบโปรแกรมการฝึกเผื่อเสริมสร้างพลังงานหรือกำลังของกล้ามเนื้อสำหรับมวยไทย 2. การออกแบบโปรแกรมการฝึกเพื่อเสริมสร้างความเร็วสำหรับมวยไทย 3. การออกแบบโปรแกรมการฝึกเพื่อเสริมสร้างความแคล่วคล่องว่องไวสำหรับมวยไทย ปฏิบัติหน้าที่การปฐมพยาบาลและการบาดเจ็บทางกีฬา 1. กำหนดแผนการป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา และการปฐมพยาบาลการบาดเจ็บต่อศีรษะและสมอง 2. เตรียมการป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา และการปฐมพยาบาลการบาดเจ็บต่อศีรษะและสมอง 3. ปฐมพยาบาลการบาดเจ็บต่อศีรษะและสมอง 4. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่การบาดเจ็บต่อศีรษะและสมอง (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. กติกาการแข่งขันมวยไทย (รายละเอียดในภาคผนวก A ) 2. พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 (รายละเอียดในภาคผนวก B ) |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสาร / หลักฐานการผ่านอบรมเชิงปฏิบัติการการเป็นครูผู้สอนในกีฬามวยไทย 2. แฟ้มสะสมผลงาน และ / หรือ เอกสารประกอบ 3. เอกสาร / หลักฐานที่เกี่ยวข้อง/ บันทึกการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ผลการทดสอบความรู้ 2. ผลการทดสอบภาคปฏิบัติ 3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้องการผ่านการฝึกอบรมผู้ฝึกสอนจากการกีฬาแห่งประเทศไทยจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานของรัฐให้การรับรอง (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง การเข้าสู่คุณวุฒินี้ ผู้การเข้าสู่คุณวุฒินี้ผู้ประเมินต้องดำเนินการดังนี้ ส่งแฟ้มผลงาน สอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ สอบสัมภาษณ์ ผู้เข้าประเมินต้องทดสอบผ่านเกณฑ์ อย่างน้อย 70 % ของการประเมินทั้ง 4 ส่วน ผู้ประเมินต้องเคยปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนอย่างน้อย 5 ปี ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติการสอนจริง (ง) วิธีการประเมิน - แฟ้มผลงาน 15 % - สอบสัมภาษณ์ 20 % - สอบข้อเขียน 30 % - สอบปฏิบัติ 35 % |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ เป็นผู้ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักกีฬาด้วยวิธีการต่าง ๆ การสอนทักษะมวยไทย กติกาการแข่งขัน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา และการฝึกกีฬา ที่เกี่ยวข้องกับมวยไทยรวมถึงการให้ความรู้ในเทคนิควิธีการทักษะมวยไทยในการต่อสู้ การรักษาการบาดเจ็บ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ ความมีน้าใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ระหว่างนักมวยทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย คำแนะนำ สำหรับผู้ประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ต้องเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญด้านการทำหน้าที่การสอนมีประสบการณ์ มาแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปี เคยทำหน้าที่วิทยากรให้การอบรมการสอนระดับสูง สำหรับผู้เข้ารับการประเมิน ต้องมีคุณสมบัติตามคุณวุฒิ ตามคุณสมบัติที่กำหนด และต้องผ่านเกณฑ์การประเมินอย่างน้อย 70 % (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. กฎกติกา หมายถึง ข้อความที่ได้ทำความตกลงกันแล้ว หมายถึง กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่ บุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป กำหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น กติกาชกมวย กติกาฟุตบอล 2. การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการในการส่งสาร หรือ แลกเปลี่ยนข่าวสาร ความคิด ความรู้สึกระหว่างบุคคล เน้นความสัมพันธ์ของมนุษย์ ซึ่ง กระบวนการที่เกิดขึ้นนั้นเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน 3. ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ หมายถึง ผู้ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักกีฬาด้วยวิธีการต่าง ๆ การสอนทักษะมวยไทย กติกาการแข่งขัน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา และการฝึกกีฬา ที่เกี่ยวข้องกับมวยไทยรวมถึงการให้ความรู้ในเทคนิควิธีการทักษะมวยไทยในการต่อสู้ การรักษาการบาดเจ็บ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ ความมีน้าใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ระหว่างนักมวยทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
|