หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติหน้าที่ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ ระดับต้น

สาขาวิชาชีพการกีฬา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SPT-QBPJ-118A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติหน้าที่ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ ระดับต้น

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้มีความรู้และสามารถใช้ทักษะมวยไทยได้เป็นอย่างดี หลักการและบทบาทของการฝึกสอน วิเคราะห์ความจำเป็นทางสรีรวิทยาในกีฬามวยไทย สมรรถภาพกล้ามเนื้อและสมรรถภาพลังงาน หลักการฝึกพื้นฐาน กำหนดแบบฝึกสมรรถภาพทางกายขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวและแข่งขันได้ สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานในการปฏิบัติงานหน้าที่ครูมวยไทยปฏิบัติการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลตามรูปแบบวิชาชีพของผู้ที่มีสมรรถนะในการระบุรายละเอียดด้านการเตรียมตัวก่อน และระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ครูมวยไทยปฏิบัติการ นำขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่มาใช้ในการสอนและการฝึกเพื่อการแข่งขัน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและวัสดุ สารสนเทศที่ถูกต้องเหมาะสมในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน  จัดเก็บรักษาอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก  โภชนาการกีฬา การปฐมพยาบาล สร้างแรงจูงใจ มุ่งมั่น ตั้งเป้าหมาย และปฏิบัติตนเป็นอย่างที่ดีตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อดีตนักมวยนักเรียนพลศึกษา  ผู้ที่ต้องการเป็นครูมวยไทย เทรนเนอร์ ฟิตเนส 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พ.ร.บ. กีฬามวย  พ.ศ. 2542  ( ปรับปรุงแก้ไข  พ.ศ. 2564 )  รายละเอียดในภาคผนวก  B

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
X41.11

สอนความรู้ด้านประวัติกีฬามวยไทย

1.      1. สอนประวัติและความเป็นมาของมวยไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

X41.11.01 159309
X41.11

สอนความรู้ด้านประวัติกีฬามวยไทย

2. สอนและอธิบายถึงความหมายของมวยไทย

X41.11.02 159310
X41.12

สอนทักษะมวยไทย

1. สอนและอธิบายถึงการตั้งท่าหรือการจดมวย 

X41.12.01 159311
X41.12

สอนทักษะมวยไทย

2. สอนและอธิบายถึงรูปแบบการเคลื่อนไหวการรุก 

X41.12.02 159312
X41.12

สอนทักษะมวยไทย

3. สอนและอธิบายถึงรูปแบบการชก 

X41.12.03 159313
X41.12

สอนทักษะมวยไทย

4. สอนและอธิบายถึงทักษะการใช้เท้าเตะ 

X41.12.04 159314
X41.12

สอนทักษะมวยไทย

5. สอนและอธิบายถึงทักษะการใช้เท้าถีบ 

X41.12.05 159315
X41.12

สอนทักษะมวยไทย

6. สอนและอธิบายถึงทักษะการใช้เข่า

X41.12.06 159316
X41.12

สอนทักษะมวยไทย

7. สอนและอธิบายถึงทักษะการใช้ศอก

X41.12.07 159317
X41.12

สอนทักษะมวยไทย

8. สอนการร่ายรำไหว้ครูมวยไทย

X41.12.08 159318
X41.13

สอนกติกาการแข่งขันมวยไทย 

1. ให้ความรู้และอธิบายถึงกติกาการแข่งขันมวยไทยได้

X41.13.01 159319
X41.13

สอนกติกาการแข่งขันมวยไทย 

2. วิเคราะห์การใช้ทักษะกับกติกาการแข่งขันมวยไทยได้

X41.13.02 159320
X41.14

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครูมวยขั้นต้น

1. ให้ความรู้และอธิบายถึงพระราชบัญญัติกีฬามวย 2542 ได้

X41.14.01 159321
X41.14

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครูมวยขั้นต้น

2. ให้ความรู้และนำพระราชบัญญัติกีฬามวย 2542 มาใช้ได้

X41.14.02 159322

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้เรื่องความเป็นมาของมวยไทย และกติกาการแข่งขัน และการฝึกซอมและการสอนมวยไทยเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การตั้งท่าหรือการจดมวย



          การตั้งท่าในการต่อสู้เราเรียกว่า การตั้งท่าหรือการจด การยืนตั้งท่าแบบมวยไทยเป็นการยืนปักหลัก เพื่อจะเตรียมการใช้เท้าหน้าถีบหรือเตะ การจดมวยไทยนั้นเท้าหลังวางเกือบขวางกับแนวต้านทานหรือแนวที่คู่ชกจะทุ่มน้ำหนักเข้ามา และเยื้องเป็นมุมกับเท้าหน้า ซึ่งในมวยสากลเท้าหน้ากับเท้าหลังนั้น แนวชี้เกือบจะชี้ตรงไปด้านหน้า  



          1. การวางเท้า เท้าทั้งสองห่างกันพอสมควร คือ ประมาณหนึ่งช่วงไหล่ เท้าที่ไม่ถนัดวางไว้ด้านหน้าหันปลายเท้าชี้ตรงไปข้างหน้า ส่วนเท้าหลังให้วางเฉียงออกมาด้านข้าง เพราะจะต้องใช้เท้าหลังเป็นหลักและรับน้ำหนัก ส้นเท้าทั้งสองเปิดขึ้นเล็กน้อย เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนไหว ในการตั้งท่า   ของท่า สำหรับการใช้อาวุธหนักอาจจะตกอยู่ที่เท้าหน้า เท้าหลังหรือเท้าทั้งสองแล้วแต่โอกาส เช่น ถ้าใช้เท้าหลังเป็นอาวุธ น้ำหนักตัวจะอยู่เท้าหน้า ถ้าใช้เท้าหน้าเป็นอาวุธน้ำหนักตัวจะอยู่เท้าหลัง



          2. การวางมือ มือที่อยู่ข้างเดียวกันกับเท้าที่ไม่ถนัด คือ ข้างเดียวกันกับเท้าหน้า ให้ยกขึ้นสูงระดับหางคิ้ว และให้ลดหมัดลงมาทางด้านที่หันไปเล็กน้อย หมัดอยู่ห่างจากคิ้วไม่ควรเกินหนึ่งคืบ ส่วนตรงบริเวณข้อศอกที่ห่างจากชายโครงมากเกินไปจะเป็นการเปิดช่องทางให้คู่ต่อสู้โจมตีได้ง่ายควรวางให้พอดี ส่วนไหล่ควรยกขึ้นเล็กน้อย เพื่อเก็บคางไว้ในซอกไหล่เป็นการป้องกันอันตราย การใช้สายตามองให้มองผ่านมือไปให้อยู่ระดับสะดือของคู่ต่อสู้ เพื่อจะได้เห็นส่วนต่าง ๆ ของคู่ต่อสู้ได้ถนัด มือที่อยู่ด้านหลังกำหมัดหันฝ่ามือเข้าหาใบหน้า และอยู่ตรงบริเวณโหนกแก้มห่างจากโหนกแก้มเล็กน้อย ข้อศอกแนบกับชายโครงอย่ากางออก เพราะจะเป็นการเปิดเป้าหมายให้คู่ต่อสู้



          3. ลำตัวเหยียดตรง เข่าทั้งสองไม่งอ ไม่ก้มลำตัว และลำตัวไม่เกร็ง ปล่อยตามสบาย พยายามทำลำตัวให้เป็นเป้าหมายเล็ก หรือแคบตามแนวเดียวกับเท้า โดยการหันไหล่หน้าและไหล่หลังเกือบเป็นแนวเดียวกัน ทำให้คู่ต่อสู้มองเห็นเป้าหมายเล็กลง



2. ลักษณะการเคลื่อนไหว



          ลักษณะการเคลื่อนไหวเท้าของมวยไทย การเคลื่อนไหวของเท้านั้นมีความสำคัญต่อการชกมาก ลักษณะการเคลื่อนไหวของเท้า เช่น การรุก การถอย การเคลื่อนไหวจะรุกหรือจะถอยนั้นให้สังเกตที่เท้าของนักมวยว่าจะเคลื่อนที่ได้แค่ไหน จึงจะเหมาะสมกับตัวนักมวย การจะรุกโดยการสืบเท้าสำหรับจะใช้หมัดหรือใช้เท้าแค่ไหนจึงจะเหมาะต่อการใช้อาวุธ ลักษณะการเคลื่อนไหวของมวยไทยมีหลายลักษณะ ดังนี้



          1. การรุกเท้าธรรมดา คือ การใช้เท้าหลังช่วยส่งเท้าหน้า วิธีการคือ การที่ก้าวเท้าหน้าเคลื่อนที่ไปก่อนแล้วก้าวเท้าหลังตามเท้าหน้าไป โดยใช้แรงส่งจากเท้าหลัง ในการก้าวเท้ารุกต้องรักษาระยะการเคลื่อนไหวให้คงที่เช่นเดียวกับการตั้งท่า การรุกไปข้างหน้านี้จะใช้วิธีการสืบเท้า การยกเท้าอาจจะใช้การยกเข่าขึ้นก่อนวางเท้าแล้วจึงลากเท้าตามไป



          2. การถอยเท้าธรรมดา คือ การชักเท้าที่เป็นเท้าหลังถอยไป อาศัยแรงส่งของเท้าหน้า วิธีการ ให้ก้าวเท้าหลังไปก่อนแล้วลากเท้าหน้าถอยตามไป



          3. การรุกเท้าสลับ จากการตั้งท่าเมื่อเท้าซ้ายอยู่ข้างหน้าพร้อมด้วยมือซ้ายอยู่ข้างหน้า   เท้าขวาอยู่ข้างหลัง พร้อมด้วยมือขวาอยู่ข้างหลังเช่นกัน ให้ก้าวเท้าขวาโดยการยกเท้าขึ้นแล้วก้าว  เท้าขวาผ่านเท้าซ้ายไปข้างหน้า สำหรับมือในลักษณะก้าวเท้าขวานั้นพร้อมให้แหวกมือขวาขึ้นไปอยู่ด้านหน้าข้างบน และให้ลดมือซ้ายลงมาระดับโหนกแก้มให้ไปอยู่ในลักษณะการตั้งท่าแบบเท้าขวาอยู่ด้านหน้า ถ้าหากจะรุกแบบเท้าสลับอีกก็ให้ก้าวเท้าซ้ายไปอยู่ลักษณะเดิมพร้อมกับตำแหน่งของมือเช่นเดียวกับการตั้งท่าในท่าเดิม



          4. การถอยเท้าสลับ จากการตั้งท่าเมื่อเท้าซ้ายอยู่ข้างหลัง วิธีการ ให้ดึงเท้าซ้ายมาอยู่เป็นเท้าหลัง และให้เท้าขวาอยู่ด้านหน้า มือม้วนกลับอย่างท่ารุก คือ มือซ้ายม้วนลงล่าง มือขวาแตะจมูก (เช็ดเหงื่อที่จมูก) ขึ้นไปในลักษณะเสยผม



 3. การชกด้วยหมัดตรง



                    1.หมัดตรง คือ การชกหมัดออกไปตรง ๆ จากการตั้งท่า ปล่อยหมัดออกไปโดยการคว่ำหมัดลงให้เป็นแนวขนานกับพื้น อาศัยแรงส่งจากไหล่ สะโพก และเท้า การชกหมัดตรงแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การชกหมัดตรงหน้า และการชกหมัดตรงหลัง การชกหมัดตรงหน้าหรือเรียกกันว่าหมัดนำ คือ การชกออกไปหมัดตรงที่เป็นหมัดหน้า ชกออกไปตรง ๆ ใช้แรงส่งจากไหล่ สะโพกและเท้า ขณะที่หมัดออกไปให้บิดแขนให้หมัดอยู่ในลักษณะคว่ำหมัด แขนตึงและตรง เมื่อหมัดถูกเป้าหมายให้เกร็งหมัด หลังจากชกไปแล้วนำหมัดกลับที่เดิมให้เหมือนกับลักษณะการออกของหมัด คือออกหมัดไปแนวใดให้กลับแนวเดิม อย่าลดหมัดและแขนลง การชกอาจจะยืนอยู่กับที่ ชกไปยังเป้าหมายหรือเคลื่อนที่โดยการสืบเท้าเข้าชก เป้าหมายของการชกส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณหน้าของคู่ต่อสู้ หมัดตรงหลัง เป็นหมัดต่อเนื่องจากหมัดหน้าตรง ๆ ไปยังเป้าหมายอาจจะเป็นใบหน้าหรือลำตัว



                    2. การชกหมัดเสย



                    หมัดเสยหรือบางคนก็เรียกว่า หมัดสอยดาว วิธีการชก โดยอาศัยการบิดหมัดให้หงาย เอาทางด้านฝ่ามือเข้าหาตัวเองในลักษณะงอแขน หมัดที่ชกออกไปจะต้องอาศัยแรงส่งจากหัวไหล่ สะโพก และเท้า มีประโยชน์มากเมื่ออยู่ในระยะใกล้ หมัดที่ใช้ชกนั้นได้ทั้งสองหมัด จะเป็นหมัดนำหรือหมัดตามก็ได้ เป้าหมายของการชก คือ บริเวณปลายคาง เราจึงเรียกว่าหมัดสอยดาว ส่วนบริเวณอื่น เช่น บริเวณท้อง



                    3. การชกหมัดตวัด



                    หมัดตวัดหรือหมัดขว้างสั้นนี้จะใช้ได้ดีเมื่อคู่ต่อสู้ปิดป้องกำบังต่าง ๆ เช่น คู่ต่อสู้ยกมือป้องกันใบหน้าตรง ๆ ถ้าชกหมัดตรงก็จะถูกมือและแขนคู่ต่อสู้ที่ยกกันไว้ ดังนั้น ควรใช้หมัดตวัด (หมัดฮุค) เพราะหมัดนี้จะโค้งผ่านเลยแขนคู่ต่อสู้เข้าสู่ใบหน้าหรือปลายคางทางข้างซ้ายหรือข้างขวาได้ หมัดตวัดนี้บางครั้งอาจจะมีวิธีทางของหมัดไม่ขนานพื้น คืออาจจะเฉียงขึ้น หรือเฉียงลงสู่พื้นบ้างก็ได้ ตามแต่ความเหมาะสมของสถานการณ์และอาจจะกระทบเป้าหมายโดยคว่ำสันหมัด



                    4. การชกหมัดเหวี่ยง



                    หมัดเหวี่ยง คือ การชกโดยการใช้แรงเหวี่ยงจากไหล่ ลำตัว และเท้า ลักษณะของแขนที่เหวี่ยงขึ้นอยู่กับระยะของคู่ต่อสู้ ถ้าคู่ต่อสู้อยู่ใกล้ก็ต้องงอแขนให้มาก เมื่อคู่ต่อสู้อยู่ไกลก็งอแขนน้อย การเหวี่ยงในระยะใกล้จะต้องเหวี่ยง โดยการงอเขนและบิดสันหมัดเข้าถูกเป้าหมาย สำหรับการเหวี่ยงระยะไกลออกไปบางครั้งอาจจะเหวี่ยงสันหมัด หรือบางโอกาสจะใช้หลังหมัดก็ได้ การเหวี่ยงหมัดที่ดีควรเหวี่ยงให้ขนานกับพื้น ข้อควรคำนึงในการชกหมัดเหวี่ยง คือต้องใช้แรงส่งจากไหล่ ลำตัว สะโพกและเท้า เป้าหมายในการชก คือ ขากรรไกร กกหู ขมับ และท้ายทอย



                    5. หมัดโขก



                    หมัดโขกเป็นหมัดเหวี่ยงจากข้างบนลงมาข้างล่าง เป้าหมายบริเวณศีรษะ หรือบริเวณใบหน้า ถ้าคู่ต่อสู้แหงนหน้าขึ้น หมัดโขกเป็นหมัดที่รุนแรง นิยมใช้หมัดหลังหมัดตาม เพื่อให้วงการเหวี่ยง หรือรัศมีการเหวี่ยงยาวและกว้างขึ้น



                    หมัดโขก เป็นหมัดที่มีทิศทางจากบนลงล่าง แบ่งเป็นหมัดโขกวงกว้าง หรือโขกยาว และหมัดโขกวงแคบ หรือโขกสั้น ถ้าแบ่งตามทิศทางที่ลงสู่พื้นก็แบ่งเป็นโขกตรงลงสู่พื้น กับโขกเฉียงลงสู่พื้น หมัดนี้เป็นหมัดที่รุนแรงเพราะอาศัยแรงเหวี่ยงของไหล่และแขน บวกกับแรงดึงดูดของโลกผสมกับความแข็งแกร่งของสันหมัด เป้าหมายของหมัดโขก ศีรษะ ท้ายทอย หลัง ใบหน้า หู ขมับ ปลายคาง



                    6. หมัดเหวี่ยงกลับ



                    หมัดเหวี่ยงกลับหรือหมัดขว้างกลับ หรือครูมวยบางคนเรียกหมัดตวัดกลับ เป็นหมัดที่เหวี่ยงไปทิศทางใดทิศทางหนึ่งแล้วหยุดแล้วเหวี่ยงกลับทิศทางเดิม อาจจะเจตนาหรือไม่ก็ตาม เหวี่ยงครั้งแรกอาจจะไม่ถูกเป้าหมาย แต่พอเหวี่ยงกลับอาจจะถูกเป้าหมาย เพราะคู่ต่อสู้คิดว่าตนเองหลบหมัดเหวี่ยงครั้งแรกพ้นไปแล้ว ซึ่งหมัดนี้แม้ว่าจะไม่รุนแรงถึงกับสามารถทำให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บได้ แต่ก็มีผลทำให้เสียเหลี่ยมและเสียรูปมวยได้



          หมัดเหวี่ยงกลับมีทั้งหมัดเหวี่ยงกลับตัดสวนไปกับพื้นดิน หมัดเหวี่ยงกลับเฉียงลงและหมัดเหวี่ยงกลับเฉียงขึ้น รวมทั้งหมัดเหวี่ยงกลับโขกลง ซึ่งหมัดหมัดเหวี่ยงกลับนั้นอาจจะเหวี่ยงยาวหรือเหวี่ยงสั้นก็ได้



การไหว้ครูมวยไทย



          การไหว้ครูมวยไทยและการร่ายรำ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ



          1. ท่าพรหมนั่ง ประกอบด้วย



                    1.1 ท่าเทพพนม



                    1.2 ท่ากราบเบญจางคประดิษฐ์



                    1.3 ท่ากอบพระแม่ธรณี



                    1.4 ท่าถวายบังคม



                    1.5 ท่าปฐม



                    1.6 ท่าพรหม



                    1.7 ท่าสอดสร้อยมาลา



                    1.8 ท่าลับหอกโมกขศักดิ์



          2. ท่าพรหมยืน ประกอบด้วย



                    2.1 ท่าเทพนิมิต



                    2.2 ท่าย่างสามขุม



                    2.3 ท่าขุนแผนฟันม่าน



                    2.4 ท่าหงษ์เหิร



                    2.5 ท่ากวางเหลียวหลัง



                    2.6 ท่าพยัคฆ์ด้อมกวาง



                    2.7 ท่าตัดไม้ข่มนาม



                    2.8 ท่าย่างสุขเกษมหรือท่ากรายทวน 8 ทิศ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. กติกาการแข่งขันมวยไทย (รายละเอียดในภาคผนวก  A )



2. พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 (รายละเอียดในภาคผนวก  B )



3. การไหว้ครูมวยไทย (รายละเอียดในภาคผนวก  D )


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. เอกสาร / หลักฐานการผ่านอบรมเชิงปฏิบัติการการเป็นครูผู้สอนในกีฬามวยไทย



2. แฟ้มสะสมผลงาน และ / หรือ เอกสารประกอบ



3. เอกสาร / หลักฐานที่เกี่ยวข้อง/ บันทึกการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ผลการทดสอบความรู้ข้อเขียน



2. ผลการทดสอบภาคปฏิบัติ



3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้องการผ่านการฝึกอบรมผู้ฝึกสอนจากการกีฬาแห่งประเทศไทยจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานของรัฐให้การรับรอง 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง  การเข้าสู่คุณวุฒินี้ ผู้การเข้าสู่คุณวุฒินี้ผู้ประเมินต้องดำเนินการดังนี้



ส่งแฟ้มผลงาน



สอบข้อเขียน



สอบปฏิบัติ  



สอบสัมภาษณ์  



ผู้เข้าประเมินต้องทดสอบผ่านเกณฑ์ อย่างน้อย  70  % ของการประเมินทั้ง 4 ส่วน 



ผู้ประเมินต้องเคยปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนอย่างน้อย 5 ปี ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติการสอนจริง 



(ง) วิธีการประเมิน



-         แฟ้มผลงาน        



-         สอบสัมภาษณ์     



-         สอบข้อเขียน      



-         สอบปฏิบัติ        


15. ขอบเขต (Range Statement)

ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ เป็นผู้ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักกีฬาด้วยวิธีการต่าง ๆ การสอนทักษะมวยไทย กติกาการแข่งขัน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา และการฝึกกีฬา ที่เกี่ยวข้องกับมวยไทยรวมถึงการให้ความรู้ในเทคนิควิธีการทักษะมวยไทยในการต่อสู้ การรักษาการบาดเจ็บ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ ความมีน้าใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ระหว่างนักมวยทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย




  • คำแนะนำ    



           สำหรับผู้ประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ต้องเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญด้านการทำหน้าที่การสอนมีประสบการณ์ มาแล้วไม่น้อยกว่า  15  ปี  เคยทำหน้าที่วิทยากรให้การอบรมการสอนระดับสูง



          สำหรับผู้เข้ารับการประเมิน ต้องมีคุณสมบัติตามคุณวุฒิ  ตามคุณสมบัติที่กำหนด และต้องผ่านเกณฑ์การประเมินอย่างน้อย 70  % 



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. กฎกติกา หมายถึง ข้อความที่ได้ทำความตกลงกันแล้ว หมายถึง กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่



บุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป กำหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น กติกาชกมวย กติกาฟุตบอล



2. การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการในการส่งสาร หรือ แลกเปลี่ยนข่าวสาร ความคิด



ความรู้สึกระหว่างบุคคล เน้นความสัมพันธ์ของมนุษย์ ซึ่ง กระบวนการที่เกิดขึ้นนั้นเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน



                    3. ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขันและอาชีพ หมายถึง ผู้ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักกีฬาด้วยวิธีการต่าง ๆ การสอนทักษะมวยไทย กติกาการแข่งขัน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา และการฝึกกีฬา ที่เกี่ยวข้องกับมวยไทยรวมถึงการให้ความรู้ในเทคนิควิธีการทักษะมวยไทยในการต่อสู้ การรักษาการบาดเจ็บ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ ความมีน้าใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ระหว่างนักมวยทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย                   


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. แฟ้มผลงาน

  2. การสอบข้อเขียน

  3. ทดสอบภาคปฏิบัติ

  4. การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ