หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการสอนมวยไทยเพื่อพัฒนาทักษะและสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ขั้นสูง

สาขาวิชาชีพการกีฬา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SPT-LTHE-111A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการสอนมวยไทยเพื่อพัฒนาทักษะและสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ขั้นสูง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ครูมวยไทยเพื่อสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้ความสามารถในการกำหนดแบบการสอนมวยไทยเพื่อสุขภาพขั้นสูง ปฏิบัติการสอนเทคนิค การใช้ศิลปะไม้มวยไทย และมิติมวยไทย พัฒนาสมรรถภาพทางกายด้วยการสอนมวยไทยขั้นสูง ประเมินและวิเคราะห์ผลแบบฝึกขั้นสูงในการปฏิบัติกิจกรรมมาปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติได้ และการป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา และการปฐมพยาบาลขั้นสูง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ครูมวยไทยเพื่อสุขภาพ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ครูมวยไทยอาชีพ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
X32.31

พัฒนาโปรแกรมการสอนมวยไทยเพื่อสุขภาพ

1. พัฒนาแผนและกำหนดโปรแกรมการสอนทักษะมวยไทยในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

X32.31.01 159260
X32.31

พัฒนาโปรแกรมการสอนมวยไทยเพื่อสุขภาพ

2. วางแผนและกำหนดโปรแกรมการสอนผสมผสานทักษะมวยไทยในการออกกำลังกายเพื่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ

X32.31.02 159261
X32.31

พัฒนาโปรแกรมการสอนมวยไทยเพื่อสุขภาพ

3. ประเมินโปรแกรมการสอนผสมผสานทักษะมวยไทยในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

X32.31.03 159262
X32.32

พัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ขั้นสูง

1. พัฒนาสมรรถภาพทางกายทางทักษะกลไกโดยใช้หลักการและวิธีการสอนทางการกีฬา

X32.32.01 159263
X32.32

พัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ขั้นสูง

2. พัฒนาสมรรถภาพทางกายโดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาขั้นสูง

X32.32.02 159264
X32.32

พัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ขั้นสูง

3. เตรียมการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายด้วยศิลปะไม้มวยไทย และมิติมวยไทย

X32.32.03 159265
X32.32

พัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ขั้นสูง

4. พัฒนาสมรรถภาพทางกายผสมผสานกับศิลปะไม้มวยไทย และมิติมวยไทย

X32.32.04 159266
X32.32

พัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ขั้นสูง

5. ทดสอบและประเมินการทดสอบสมรรถภาพทางทักษะกลไก และสมรรถภาพด้านจิตใจด้วยการใช้เทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา

X32.32.05 159267
X32.33

ปฐมพยาบาลและป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา ขั้นสูง

1. กำหนดแผนการป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา และการปฐมพยาบาลการบาดเจ็บต่ออวัยวะภายใน

X32.33.01 159268
X32.33

ปฐมพยาบาลและป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา ขั้นสูง

2. เตรียมการป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา และการปฐมพยาบาลการบาดเจ็บต่ออวัยวะภายใน

X32.33.02 159269
X32.33

ปฐมพยาบาลและป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา ขั้นสูง

3. ปฐมพยาบาลการบาดเจ็บต่ออวัยวะภายใน

X32.33.03 159270
X32.33

ปฐมพยาบาลและป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา ขั้นสูง

4. กู้ชีพขั้นพื้นฐาน (CPR)

X32.33.04 159271

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการเขียนแผนการสอน และการฝึกมวยไทยเพื่อสุขภาพขั้นสูง



2. มีทักษะในการสอนศิลปะไม้มวยไทย และมิติมวยไทย



3. มีทักษะในการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายด้วยทักษะ เทคนิคมวยไทยขั้นสูง



4. มีทักษะในการป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา และการปฐมพยาบาลขั้นสูง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวกับการสอนทักษะมวยไทยเพื่อสุขภาพขั้นสูง มีความรู้ด้านโภชนาการกีฬา และจิตวิทยาสำหรับการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬา



          2. ความรู้ในการกำหนดและเขียนแผนการสอนศิลปะไม้มวยไทย และมิติมวยไทย



          3. ความรู้ในการออกแบบการฝึกเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายด้วยทักษะ เทคนิคมวยไทยขั้นสูง



          4. ความรู้ในการป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา และการปฐมพยาบาลขั้นสูง



     (ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง  การเข้าสู่คุณวุฒินี้ ผู้ประเมินต้องสอบข้อเขียน  80 % การสัมภาษณ์ 20 % ผู้เข้าประเมินต้องทดสอบผ่านเกณฑ์ อย่างน้อย  75  % ของการประเมินทั้ง 2 ส่วน ผู้ประเมินต้องเคยปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนอย่างน้อย 5 ปี ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติการสอนจริง 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. สำเนาบัตรประชาชน/บัตรข้าราชการ/อื่น ๆ



          2. แฟ้มสะสมผลงาน



          3. ภาพถ่ายคุณวุฒิการศึกษา



4. หนังสือรับรองการตรวจสุขภาพจากแพทย์



5. เอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้อง



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ภาพถ่ายคุณวุฒิผ่านการอบรมทักษะมวยไทย



2. ผลการประเมินครูมวยไทย ระดับต่าง ๆ



3. เอกสาร/ หลักฐานที่เกี่ยวข้อง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่



กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง  การเข้าสู่คุณวุฒินี้ ผู้ผู้การเข้าสู่คุณวุฒินี้ผู้ประเมินต้องดำเนินการดังนี้



ส่งแฟ้มผลงาน



สอบข้อเขียน



สอบปฏิบัติ  



สอบสัมภาษณ์  



ผู้เข้าประเมินต้องทดสอบผ่านเกณฑ์ อย่างน้อย  70  % ของการประเมินทั้ง 4 ส่วน 



ผู้ประเมินต้องเคยปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนอย่างน้อย 5 ปี ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติการสอนจริง 



(ง) วิธีการประเมิน



-         แฟ้มผลงาน       30 %



-         สอบสัมภาษณ์    30 %



-         สอบข้อเขียน     30 %



-         สอบปฏิบัติ       10 %


15. ขอบเขต (Range Statement)

 ครูมวยไทยเพื่อสุขภาพ เป็นผู้นำการสอนการใช้ศิลปะไม้มวยไทย และมิติมวยไทย



เป็นกิจกรรมการออกกำลังกาย การให้ความรู้ คำปรึกษา วินิจฉัยการปฏิบัติ มีสมรรถนะปฏิบัติการนำองค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่มาใช้ในกิจกรรม การสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้




  • คำแนะนำ



ครูมวยไทยเพื่อสุขภาพ ควรมีการศึกษาค้นคว้าการใช้ทักษะมวยไทย ศิลปะไม้มวยไทย ที่



หลากหลาย มีหลักการ เทคนิค รูปแบบต่าง ๆ เป็นกิจกรรมในการปฏิบัติการออกกำลังกาย เพื่อบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



 ครูมวยไทยเพื่อสุขภาพ หมายถึง ผู้ให้ความรู้โดยการใช้ทักษะมวยไทยและการใช้ศิลปะไม้มวยไทย



และมิติมวยไทย เป็นกิจกรรมการออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง



           มวยไทย หมายถึง การต่อสู้ที่ใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นอาวุธ ได้แก่ หมัด เท้า เข่า ศอก



           ศิลปะไม้มวยไทย หมายถึง ท่าทางของการผสมผสานการใช้หมัด เท้า เข่า ศอก เพื่อการรุกหรือรับในการต่อสู้ด้วยไม้มวยไทย



          การวิเคราะห์ความต้องการ หมายถึง การวิเคราะห์ความประสงค์ของบุคคลที่มีต่อองค์ประกอบในด้านต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมหรือสนับสนุนการออกกำลังกายด้วยกีฬามวยไทย



          โปรแกรมการฝึก หมายถึง โปรแกรมการฝึกด้วยทักษะมวยไทยที่ครูมวยเพื่อสุขภาพใช้ในการฝึกเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกาย



          บุคคลพิเศษ หมายถึง บุคคลที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง ใครก็ตามที่ไม่สามารถปฏิบัติเหมือนคนปกติ และหรือชีวิตสังคมทั่วไปต้องทำเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งหรือไม่สามารถทำทั้งหมดได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องทางร่างกายหรือสมอง โดยเป็นมาแต่กำเนิดหรือไม่ก็ได้ ซึ่งได้รับการรับรองจากแพทย์ให้สามารถฝึกมวยไทยเพื่อสุขภาพ



          การเคลื่อนไหวเบื้องต้น หมายถึง การเคลื่อนไหวของร่างกายที่ประกอบด้วย การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ การเคลื่อนไหวแบบประกอบอุปกรณ์ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบโปรแกรมและการฝึกมวยไทยเพื่อสุขภาพ



          วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว หมายถึง องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ทางด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบโปรแกรมและการฝึกมวยไทยเพื่อสุขภาพ



          กายวิภาคศาสตร์ หมายถึง องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์แขนงหนึ่งว่าด้วยเรื่องโครงสร้างของร่างกายมนุษย์ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบโปรแกรมและการฝึกมวยไทยเพื่อสุขภาพ



          สรีรวิทยาการออกกำลังกาย หมายถึง องค์ความรู้ด้านศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆที่ตอบสนอง หรือปรับตัว ต่อการออกกำลังกายในสภาวะต่างๆที่นำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบโปรแกรมและการฝึกมวยไทยเพื่อสุขภาพ



          โภชนาการ หมายถึง องค์ความรู้ด้านศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ที่ให้ความรู้รายละเอียดเกี่ยวกับคุณค่าของอาหารแต่ละชนิด และรู้จักเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้อง ได้สัดส่วนทั้งในด้านปริมาตร และคุณภาพในแต่ละช่วงของออกกำลังกายที่นำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบโปรแกรมและการฝึกมวยไทยเพื่อสุขภาพ



          การประเมินโปรแกรมการฝึก หมายถึง กระบวนการในการวัด การตัดสินทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพของโปรแกรมการฝึกมวยไทยเพื่อสุขภาพ



          การประเมินการฝึกสมรรถภาพทางกาย หมายถึง กระบวนการวัดและประเมินผลระดับสมรรถภาพทางกายของผู้ฝึกก่อนและหลังจากได้รับโปรแกรมการฝึกมวยไทยเพื่อสุขภาพ ด้วยการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ โดยนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานในกลุ่มเดียวกัน



          การเตรียมการฝึก หมายถึง การจัดวางแผนการฝึก แนวการฝึก หรือโครงการฝึก อันประกอบด้วยการกำหนดจุดประสงค์ การจัดเนื้อหากิจกรรม ประสบการณ์ต่าง ๆ สื่อการสอนและการฝึก วิธีการฝึก กระบวนฝึก กลวิธีต่างๆ ตลอดจนวิธีการประเมินผล เพื่อให้ผู้ฝึกบรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้



          การฝึกเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกาย หมายถึง การฝึกที่ผสมผสานการฝึกด้วยทักษะมวยไทยและการฝึกเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายในรูปแบบต่างๆ เพื่อใช้ในการฝึกเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ



สมรรถภาพที่สัมพันธ์กับสุขภาพ หมายถึง สมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาสุขภาพและเพิ่มความสามารถในการทำงานของร่างกาย ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการลดปัจจัยเสี่ยง ในการเกิดโรคต่างๆ ได้ ได้แก่ 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบทางกาย ความอ่อนตัว ความอดทนของระบบหายใจและระบบไหลเวียนเลือด ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ



สมรรถภาพทางทักษะกลไก หมายถึง สมรรถภาพในการเคลื่อนไหวของร่างกายเฉพาะ ส่วนที่สามารถแสดงออกในรูปแบบหรือลักษณะต่างๆ ได้แก่ 6 องค์ประกอบ คือ ความคล่องแคล่วว่องไว ความเร็ว พลัง การประสานสัมพันธ์ของประสาทกับกล้ามเนื้อ ปฏิกิริยาตอบสนอง การทรงตัว


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขัน/อาชีพ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. แฟ้มผลงาน

  2. การสอบข้อเขียน

  3. ทดสอบภาคปฏิบัติ

  4. การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ