หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติหน้าที่ครูมวยไทยเพื่อสุขภาพ ขั้นสูง

สาขาวิชาชีพการกีฬา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SPT-VYXS-108A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติหน้าที่ครูมวยไทยเพื่อสุขภาพ ขั้นสูง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ครูมวยไทยเพื่อสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้มีความรู้และความสามารถใช้ศิลปะไม้มวยไทยได้ หลักการและบทบาทของการฝึกสอน การสอนความรู้ด้านศิลปะไม้มวยไทย และมิติมวยไทย การสอนทักษะการเคลื่อนไหวมวยไทยเพื่อสุขภาพขั้นสูง ปฏิบัติหน้าที่ครูมวยไทยเพื่อสุขภาพ การนำศิลปะไม้มวยไทยไปใช้ในการป้องกัน และสามารถวางแผนการสอนมวยไทยเพื่อสุขภาพขั้นสูง การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายด้วยมวยไทย การป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา และการปฐมพยาบาลได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขัน ครูมวยไทยเพื่อออกกำลังกาย ครูสอนมวยไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พ.ร.บ. กีฬามวย  พ.ศ. 2542  ( ปรับปรุงแก้ไข  พ.ศ. 2564 )  รายละเอียดในภาคผนวก  B

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
X31.31

สอนความรู้ทักษะการเคลื่อนไหวมวยไทยขั้นสูงเพื่อสุขภาพ

1. สอนความรู้ทักษะการเคลื่อนไหวกับการใช้ศิลปะไม้มวยไทย 

X31.31.01 159217
X31.31

สอนความรู้ทักษะการเคลื่อนไหวมวยไทยขั้นสูงเพื่อสุขภาพ

2. สอนความรู้ทักษะการเคลื่อนไหวผสมผสานกับศิลปะไม้มวยไทย 

X31.31.02 159218
X31.32

สอนความรู้ศิลปะไม้มวยไทยและมิติมวยไทย เพื่อสุขภาพ

1. สอนความรู้ศิลปะไม้มวยไทย และมิติมวยไทยการแสดงศิลปะแม่ไม้มวยไทย มวยไทยเพื่อการบำบัดรักษา

X31.32.01 159219
X31.32

สอนความรู้ศิลปะไม้มวยไทยและมิติมวยไทย เพื่อสุขภาพ

2. สอนความรู้ศิลปะไม้มวยไทยในการเคลื่อนที่รอบทิศทาง

X31.32.02 159220
X31.33

สอนความรู้การพัฒนาการสอนทักษะการป้องกันเพื่อสุขภาพ

1. สอนความรู้การนำศิลปะไม้มวยไทยไปใช้ในการป้องกัน

X31.33.01 159221
X31.33

สอนความรู้การพัฒนาการสอนทักษะการป้องกันเพื่อสุขภาพ

2. แนะนำเทคนิคการสอนศิลปะไม้มวยไทยในการป้องกัน

X31.33.02 159222

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้เรื่องความการสอน และทักษะแม่ไม้ ลูกไม้มวยไทย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการสอนศิลปะไม้มวยไทย สลับฟันปลา ปักษาแหวกรัง ชวาซัดหอก อิเหนาแทงกริซยอเขาพระสุเมรุ ตาเถรค้ำฟัก มอญยันหลัก  และมิติมวยไทย การแสดงศิลปะแม่ไม้มวยไทย มวยไทยเพื่อการบำบัดรักษา



      2. ลักษณะการเคลื่อนไหว ลักษณะการเคลื่อนไหวเท้าของมวยไทย การเคลื่อนไหวของเท้านั้นมีความสำคัญต่อการชกมาก ลักษณะการเคลื่อนไหวของเท้า การรุก การถอย การเคลื่อนไหวจะรุกหรือจะถอยนั้นให้สังเกตที่เท้าของนักมวยว่าจะเคลื่อนที่ได้แค่ไหน จึงจะเหมาะสมกับตัวนักมวย การจะรุกโดยการสืบเท้าสำหรับจะใช้หมัดหรือใช้เท้าแค่ไหนจึงจะเหมาะต่อการใช้อาวุธ ลักษณะการเคลื่อนไหวของมวยไทยมีหลายลักษณะ ดังนี้



      1. การรุกเท้าธรรมดา คือ การใช้เท้าหลังช่วยส่งเท้าหน้า วิธีการคือ การที่ก้าวเท้าหน้าเคลื่อนที่ไปก่อนแล้วก้าวเท้าหลังตามเท้าหน้าไป โดยใช้แรงส่งจากเท้าหลัง ในการก้าวเท้ารุกต้องรักษาระยะ



      2. การเคลื่อนไหวให้คงที่เช่นเดียวกับการตั้งท่า การรุกไปข้างหน้านี้จะใช้วิธีการสืบเท้า การยกเท้าอาจจะใช้การยกเข่าขึ้นก่อนวางเท้าแล้วจึงลากเท้าตามไป



      3. การถอยเท้าธรรมดา คือ การชักเท้าที่เป็นเท้าหลังถอยไป อาศัยแรงส่งของเท้าหน้า วิธีการ ให้ก้าวเท้าหลังไปรุกเท้าสลับ จากการตั้งท่าเมื่อเท้าซ้ายอยู่ข้างหน้าพร้อมด้วยมือซ้ายอยู่ข้างหน้า   เท้าขวาอยู่ข้างหลัง พร้อมด้วยมือขวาอยู่ข้างหลังเช่นกัน ให้ก้าวเท้าขวาโดยการยกเท้าขึ้นแล้วก้าว  เท้าขวาผ่านเท้าซ้ายไปข้างหน้า สำหรับมือในลักษณะก้าวเท้าขวานั้นพร้อมให้แหวกมือขวาขึ้นไปอยู่ด้านหน้าข้างบน และให้ลดมือซ้ายลงมาระดับโหนกแก้มให้ไปอยู่ในลักษณะการตั้งท่าแบบเท้าขวาอยู่ด้านหน้า ถ้าหากจะรุกแบบเท้าสลับอีกก็ให้ก้าวเท้าซ้ายไปอยู่ลักษณะเดิมพร้อมกับตำแหน่งของมือเช่นเดียวกับการตั้งท่าในท่าเดิม



     4. การถอยเท้าสลับ จากการตั้งท่าเมื่อเท้าซ้ายอยู่ข้างหลัง วิธีการ ให้ดึงเท้าซ้ายมาอยู่เป็นเท้าหลัง และให้เท้าขวาอยู่ด้านหน้า มือม้วนกลับอย่างท่ารุก คือ มือซ้ายม้วนลงล่าง มือขวาแตะจมูก (เช็ดเหงื่อที่จมูก) ขึ้นไปในลักษณะเสยผม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ในการสอนศิลปะไม้มวยไทย สลับฟันปลา ปักษาแหวกรัง ชวาซัดหอก อิเหนาแทงกริซยอเขาพระสุเมรุ ตาเถรค้ำฟัก มอญยันหลัก และมิติมวยไทย การแสดงศิลปะแม่ไม้มวยไทย มวยไทยเพื่อการบำบัดรักษา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. เอกสาร / หลักฐานการผ่านอบรมเชิงปฏิบัติการการเป็นครูผู้สอนในกีฬามวยไทย



2. แฟ้มสะสมผลงาน และ / หรือ เอกสารประกอบ



3. เอกสาร / หลักฐานที่เกี่ยวข้อง/ บันทึกการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ภาพถ่ายคุณวุฒิผ่านการอบรมมวยไทย



2. ผลการประเมินครูมวยไทย ระดับต่าง ๆ



3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง  การเข้าสู่คุณวุฒินี้ ผู้การเข้าสู่คุณวุฒินี้ ผู้ประเมินต้องดำเนินการดังนี้




  • ส่งแฟ้มผลงาน

  • สอบข้อเขียน

  • สอบปฏิบัติ  

  • สอบสัมภาษณ์  



ผู้เข้าประเมินต้องทดสอบผ่านเกณฑ์ อย่างน้อย  70  % ของการประเมินทั้ง 4 ส่วน  ผู้ประเมินต้องเคยปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนอย่างน้อย 5 ปี ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติการสอนจริง 



(ง) วิธีการประเมิน




  • แฟ้มผลงาน       30 %

  • สอบสัมภาษณ์    30 %

  • สอบข้อเขียน     30 %

  • สอบปฏิบัติ       10 %


15. ขอบเขต (Range Statement)

ครูมวยไทยเพื่อสุขภาพ เป็นผู้ปฏิบัติการหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ การสอนศิลปะไม้มวยไทย และมิติมวยไทย การถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา และการออกกำลังกายที่เกี่ยวข้องกับมวยไทย การให้ความรู้ในเทคนิควิธีการป้องกันและการรักษาการบาดเจ็บ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ ความมีน้าใจนักกีฬารู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย เข้าใจกระบวนการในการนำศิลปะไม้มวยไทย ไปใช้เป็นสื่อในการออกกำลังกาย เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย



(ก) คำแนะนำ    



          สำหรับผู้ประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ต้องเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญด้านการทำหน้าที่การสอนมีประสบการณ์ มาแล้วไม่น้อยกว่า  10  ปี  เคยทำหน้าที่วิทยากรให้การอบรมการสอนระดับสูง



          สำหรับผู้เข้ารับการประเมิน ต้องมีคุณสมบัติตามคุณวุฒิ  ตามคุณสมบัติที่กำหนด และต้องผ่านเกณฑ์การประเมินอย่างน้อย 70  % 



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. การสอน หมายถึง การนำทักษะในการถ่ายทอด หลักการ วิธีการ และกระบวนการในการสอนกีฬามวยไทย และจรรยาบรรณของการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬา



2. การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการในการส่งสาร หรือ แลกเปลี่ยนข่าวสาร ความคิดความรู้สึกระหว่างบุคคล เน้นความสัมพันธ์ของมนุษย์ ซึ่ง กระบวนการที่เกิดขึ้นนั้นเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน



3. ครูมวยไทยเพื่อสุขภาพ หมายถึง ผู้ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ การสอนทักษะมวยไทยที่เกี่ยวข้อง และการผสมผสานการใช้แม่ไม้ ลูกไม้มวยไทย รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา และการออกกำลังกายที่เกี่ยวข้องกับมวยไทยรวมถึงการให้ความรู้ในเทคนิควิธีการนำทักษะมวยไทยผสมผสานในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และการป้องกัน และรักษาการบาดเจ็บ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ ความมีน้าใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ในการนำทักษะมวยไทยเป็นสื่อในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. แฟ้มผลงาน

  2. การสอบข้อเขียน

  3. ทดสอบภาคปฏิบัติ

  4. การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ