หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติการสอนมวยไทยเพื่อพัฒนาทักษะและสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ขั้นต้น
สาขาวิชาชีพการกีฬา
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | SPT-DMEX-109A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติการสอนมวยไทยเพื่อพัฒนาทักษะและสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ขั้นต้น |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ครูมวยไทยเพื่อสุขภาพ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
มีความรู้ความสามารถในการกำหนดวางแผนการสอนมวยไทยเพื่อสุขภาพขั้นต้น ปฏิบัติการสอนเทคนิค ทักษะมวยไทย พัฒนาสมรรถภาพทางกายด้วยทักษะมวยไทย ประเมินและพัฒนาแบบการสอนขั้นต้นในกิจกรรมมาปรับปรุงการปฏิบัติได้ และการป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา และการปฐมพยาบาลขั้นต้น |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ครูมวยไทยเพื่อสุขภาพ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ครูมวยไทยอาชีพ |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
X32.11 ปฏิบัติตามโปรแกรมการสอนมวยไทยเพื่อสุขภาพขั้นต้น |
1. วางแผนการสอนทักษะมวยไทยพื้นฐานในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ |
X32.11.01 | 159223 |
X32.11 ปฏิบัติตามโปรแกรมการสอนมวยไทยเพื่อสุขภาพขั้นต้น |
2. กำหนดโปรแกรมการสอนทักษะมวยไทยพื้นฐานในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ |
X32.11.02 | 159224 |
X32.11 ปฏิบัติตามโปรแกรมการสอนมวยไทยเพื่อสุขภาพขั้นต้น |
3. ประเมินการสอนทักษะมวยไทยพื้นฐานในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ |
X32.11.03 | 159225 |
X32.12 พัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ขั้นต้น |
1. พัฒนาสมรรถภาพทางกายโดยใช้หลักการและวิธีการสอนทางการกีฬา |
X32.12.01 | 159226 |
X32.12 พัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ขั้นต้น |
2. พัฒนาสมรรถภาพทางกายโดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาขั้นพื้นฐาน |
X32.12.02 | 159227 |
X32.12 พัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ขั้นต้น |
3. เตรียมการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายทักษะมวยไทยขั้นต้น |
X32.12.03 | 159228 |
X32.12 พัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ขั้นต้น |
4. พัฒนาสมรรถภาพทางกายด้วยทักษะมวยไทยทดสอบและประเมินการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่ สัมพันธ์กับสุขภาพ และสมรรถภาพด้านจิตใจด้วยการทดสอบภาคสนาม |
X32.12.04 | 159233 |
X32.13 ปฐมพยาบาลและป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา ขั้นต้น |
1. กำหนดแผนการป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา และ การปฐมพยาบาลการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อและกระดูก |
X32.13.01 | 159238 |
X32.13 ปฐมพยาบาลและป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา ขั้นต้น |
2. เตรียมการป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา และการปฐมพยาบาลการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อและกระดูก |
X32.13.02 | 159239 |
X32.13 ปฐมพยาบาลและป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา ขั้นต้น |
3. ปฐมพยาบาลการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อและกระดูก |
X32.13.03 | 159240 |
X32.13 ปฐมพยาบาลและป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา ขั้นต้น |
4. เคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่บาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อและกระดูก |
X32.13.04 | 159241 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. มีทักษะในการเขียนแผนการสอน และการสอนมวยไทยเพื่อสุขภาพขั้นต้น 2. มีทักษะในการปฏิบัติการสอนทักษะมวยไทยเบื้องต้น 3. มีทักษะในการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายด้วยทักษะ เทคนิคมวยไทยเบื้องต้น 4. มีทักษะในการป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา และการปฐมพยาบาลขั้นต้น (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้ด้านการเคลื่อนไหวเบื้องต้นกับการฝึกทักษะมวยไทยเพื่อสุขภาพเบื้องต้น ความรู้ทางด้านกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยาการออกกำลังกาย และโภชนาการพื้นฐาน 2. ความรู้ในการกำหนดและเขียนแผนการสอนทักษะมวยไทยเบื้องต้น 3. ความรู้ในการออกแบบการฝึกเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายด้วยทักษะ เทคนิคมวยไทยเบื้องต้น 4. ความรู้ในการป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬา และการปฐมพยาบาลขั้นต้น |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. สำเนาบัตรประชาชน/บัตรข้าราชการ/อื่น ๆ 2. แฟ้มสะสมผลงาน 3. ภาพถ่ายคุณวุฒิการศึกษา 4. หนังสือรับรองการตรวจสุขภาพจากแพทย์ 5. เอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ภาพถ่ายคุณวุฒิผ่านการอบรมทักษะมวยไทย 2. ผลการประเมินครูมวยไทย ระดับต่าง ๆ 3. เอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่ กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง การเข้าสู่คุณวุฒินี้ผู้ประเมินต้องดำเนินการดังนี้ ส่งแฟ้มผลงาน สอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ สอบสัมภาษณ์ ผู้เข้าประเมินต้องทดสอบผ่านเกณฑ์ อย่างน้อย 70 % ของการประเมินทั้ง 4 ส่วน ผู้ประเมินต้องเคยปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนอย่างน้อย 5 ปี ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติการสอนจริง ผู้เข้ารับการประเมิน ต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อย ขอบเขตความรู้และทักษะ ที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ให้ผู้รับการประเมินทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง (ง) วิธีการประเมิน - แฟ้มผลงาน 5 % - สอบสัมภาษณ์ 25 % - สอบข้อเขียน 30 % - สอบปฏิบัติ 40 % |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ครูมวยไทยเพื่อสุขภาพ เป็นผู้นำการใช้ทักษะมวยไทยพื้นฐานเป็นกิจกรรมการออกกำลังกาย การให้ความรู้ คำปรึกษา วินิจฉัยการปฏิบัติ มีสมรรถนะปฏิบัติการนำองค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่มาใช้ในกิจกรรม การสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้ดี
ครูมวยไทยเพื่อสุขภาพ ควรมีการศึกษาค้นคว้าการใช้ทักษะมวยไทยเบื้องต้น ที่ หลากหลาย มีหลักการ เทคนิค รูปแบบต่าง ๆ เป็นกิจกรรมในการปฏิบัติการออกกำลังกาย เพื่อบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
มวยไทย หมายถึง การต่อสู้ที่ใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นอาวุธ ได้แก่ หมัด เท้า เข่า ศอก ศิลปะไม้มวยไทย หมายถึง ท่าทางของการผสมผสานการใช้หมัด เท้า เข่า ศอก เพื่อการรุกหรือรับในการต่อสู้ด้วยไม้มวยไทย โปรแกรมการฝึก หมายถึง โปรแกรมการฝึกด้วยทักษะมวยไทยที่ครูมวยเพื่อสุขภาพใช้ในการฝึกเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกาย บุคคลพิเศษ หมายถึง บุคคลที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง ใครก็ตามที่ไม่สามารถปฏิบัติเหมือนคนปกติ และหรือชีวิตสังคมทั่วไปต้องทำเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งหรือไม่สามารถทำทั้งหมดได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องทางร่างกายหรือสมอง โดยเป็นมาแต่กาเนิดหรือไม่ก็ได้ ซึ่งได้รับการรับรองจากแพทย์ให้สามารถฝึกมวยไทยเพื่อสุขภาพ การเคลื่อนไหวเบื้องต้น หมายถึง การเคลื่อนไหวของร่างกายที่ประกอบด้วย การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ การเคลื่อนไหวแบบประกอบอุปกรณ์ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบโปรแกรมและการฝึกมวยไทยเพื่อสุขภาพ วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว หมายถึง องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ทางด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบโปรแกรมและการฝึกมวยไทยเพื่อสุขภาพ กายวิภาคศาสตร์ หมายถึง องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์แขนงหนึ่งว่าด้วยเรื่องโครงสร้างของร่างกายมนุษย์ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบโปรแกรมและการฝึกมวยไทยเพื่อสุขภาพ สรีรวิทยาการออกกำลังกาย หมายถึง องค์ความรู้ด้านศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆที่ตอบสนอง หรือปรับตัว ต่อการออกกำลังกายในสภาวะต่างๆที่นำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบโปรแกรมและการฝึกมวยไทยเพื่อสุขภาพ โภชนาการ หมายถึง องค์ความรู้ด้านศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ที่ให้ความรู้รายละเอียดเกี่ยวกับคุณค่าของอาหารแต่ละชนิด และรู้จักเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้อง ได้สัดส่วนทั้งในด้านปริมาตร และคุณภาพในแต่ละช่วงของออกกำลังกายที่นำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบโปรแกรมและการฝึกมวยไทยเพื่อสุขภาพ การประเมินโปรแกรมการฝึก หมายถึง กระบวนการในการวัด การตัดสินทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพของโปรแกรมการฝึกมวยไทยเพื่อสุขภาพ การประเมินการฝึกสมรรถภาพทางกาย หมายถึง กระบวนการวัดและประเมินผลระดับสมรรถภาพทางกายของผู้ฝึกก่อนและหลังจากได้รับโปรแกรมการฝึกมวยไทยเพื่อสุขภาพ ด้วยการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ โดยนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานในกลุ่มเดียวกัน การเตรียมการฝึก หมายถึง การจัดวางแผนการฝึก แนวการฝึก หรือโครงการฝึก อันประกอบด้วยการกำหนดจุดประสงค์ การจัดเนื้อหากิจกรรม ประสบการณ์ต่าง ๆ สื่อการสอนและการฝึก วิธีการฝึก กระบวนฝึก กลวิธีต่างๆ ตลอดจนวิธีการประเมินผล เพื่อให้ผู้ฝึกบรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้ การฝึกเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกาย หมายถึง การฝึกที่ผสมผสานการฝึกด้วยทักษะมวยไทยและการฝึกเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายในรูปแบบต่างๆ เพื่อใช้ในการฝึกเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ สมรรถภาพที่สัมพันธ์กับสุขภาพ หมายถึง สมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาสุขภาพและเพิ่มความสามารถในการทำงานของร่างกาย ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการลดปัจจัยเสี่ยง ในการเกิดโรคต่างๆ ได้ ได้แก่ 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบทางกาย ความอ่อนตัว ความอดทนของระบบหายใจและระบบไหลเวียนเลือด ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ สมรรถภาพทางทักษะกลไก หมายถึง สมรรถภาพในการเคลื่อนไหวของร่างกายเฉพาะ ส่วนที่สามารถแสดงออกในรูปแบบหรือลักษณะต่างๆ ได้แก่ 6 องค์ประกอบ คือ ความคล่องแคล่วว่องไว ความเร็ว พลัง การประสานสัมพันธ์ของประสาทกับกล้ามเนื้อ ปฏิกิริยาตอบสนอง การทรงตัว |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
ครูมวยไทยเพื่อการแข่งขัน/อาชีพ |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
|