หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินมวยไทย
สาขาวิชาชีพการกีฬา
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | SPT-QSDI-097A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินมวยไทย |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ผู้ตัดสินมวยไทย |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานประจำขั้นพื้นฐาน สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานในการปฏิบัติผู้ตัดสินมวยไทยได้ตาม พ.ร.บ.กีฬามวย 2542 เกณฑ์การให้คะแนนตามกติกา และเป็นผู้ที่มีสมรรถนะในการระบุรายละเอียด ด้านปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินกีฬาระดับขั้นพื้นฐาน มีสมรรถภาพร่างกายเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสิน ปฏิบัติตนเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของวิชาชีพ และประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีตามจรรยาบรรณวิชาชีพ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินมวยไทยคุณวุฒิระดับ 3 ( ผู้มีทักษะเฉพาะทาง ) ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด กีฬามวยไทยสมัครเล่น กีฬามวยไทยอาชีพ กีฬามวยสากลสมัครเล่น กีฬามวยสากลอาชีพ และกีฬาต่อสู้ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
พ.ร.บ. กีฬามวย พ.ศ. 2542 ( ปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2564 ) |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
X21.11 ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการตัดสินได้ |
1.
ใช้ใบให้คะแนนมวยไทยได้ถูกต้อง |
X21.11.01 | 159086 |
2. ปฏิบัติผู้ตัดสินให้คะแนนตามเกณฑ์ได้ |
X21.11.02 | 159087 | |
X21.12 ตัดสินมวยไทยตามเกณฑ์การให้คะแนนมวยไทย |
1. ปฏิบัติหน้าที่การให้คะแนนตามกติกาโดยอิสระ |
X21.12.01 | 159088 |
2. ไม่ลุกออกจากที่นั่งจนกว่าผู้ชี้ขาดตัดสินผลการแข่งขันแล้ว |
X21.12.02 | 159089 | |
3. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ หรือให้สัมภาษณ์ถึงผลการแข่งที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วก็ตาม เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากประธานผู้ตัดสิน |
X21.12.03 | 159090 | |
X21.13 ตัดสินมวยไทยตามทักษะมวยไทย |
1. ทักษะมวยไทยที่เข้าเป้าหมายและเป็นคะแนน |
X21.13.01 | 159091 |
2. ทักษะมวยไทยที่เข้าเป้าหมายและไม่เป็นคะแนน |
X21.13.02 | 159092 | |
X21.14 พัฒนาและปรับปรุงการทำหน้าที่การตัดสิน |
1. ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่การให้คะแนน |
X21.14.01 | 159093 |
2. ประเมินผลขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อการปรับปรุงการทำหน้าที่ครั้งต่อไป |
X21.14.02 | 159094 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ ทักษะการใช้แม่ไม้ ลูกไม้ มวยไทย และทักษะการตัดสินมวยไทย (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้กติกามวยไทย และเกณฑ์การให้คะแนนมวยไทย 2. ความรู้เกี่ยวกับแม่ไม้ ลูกไม้ มวยไทย |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. หลักฐานผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ตัดสินมวยไทย 2. สมุดบันทึกประจำตัวผู้ตัดสิน 3. บัตรประจำตัวผู้ตัดสิน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ผลการทดสอบความรู้ 2. หลักฐานผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ตัดสินมวยไทย อย่างน้อย 3 วัน หรือ 18 ชั่วโมง (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง การเข้าสู่คุณวุฒินี้ ผู้ประเมินต้องดำเนินการดังนี้ ส่งแฟ้มผลงาน สอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ สอบสัมภาษณ์ ผู้เข้าประเมินต้องทดสอบผ่านเกณฑ์ อย่างน้อย 70 % ของการประเมินทั้ง 4 ส่วน ผู้ประเมินต้องเคยปฏิบัติหน้าที่ผู้คัดสินอย่างน้อย 5 ปี ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินวีดีโอ อย่างน้อย 5 คู่ ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินจริงอย่างน้อย 5 คู่ (ง) วิธีการประเมิน 1. สอบข้อเขียนความรู้เรื่องประวัติมวยไทย กติกามวยไทย อำนาจหน้าที่ผู้ตัดสิน 2. สอบการให้คะแนนจากก วีดีโอ จำนวน 5 คู่ สอบการให้คะแนนจากการชกจริง 5 คู่ 3. เกียรติบัตรผ่านการอบรมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด จากการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานอื่น สมาคมกีฬา สถานศึกษา ที่การกีฬาแห่งประเทศไทยให้การรับรอง |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตสำหรับผู้รับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ประเมินการใช้เกณฑ์การให้คะแนน ประเมินจากการปฏิบัติหน้าที่จริง ประเมินจากการดูวีดีโอ คำแนะนำ สำหรับผู้ประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ต้องเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญด้านการทำหน้าที่ผู้ตัดสิน มีประสบการณ์ในการทำหน้าที่ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เคยทำหน้าที่วิทยากรให้การอบรมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด เคยทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขันมาก่อน ผู้ที่ผ่านการอบรมเป็นผู้ประเมินผู้ชี้ขาด สำหรับผู้เข้ารับการประเมิน ต้องมีคุณสมบัติตามคุณวุฒิ มีดรรชนีมวลกายที่เหมาะสมตามมาตรฐาน ผ่านการประเมินด้านกติกามวยไทย เคยปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาดมวยไทย และต้องผ่านเกณฑ์การประเมินอย่างน้อย 70 % (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. กฎกติกา หมายถึง ข้อความที่ได้ทำความตกลงกันแล้ว หมายถึง กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่บุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป กำหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น กติกาชกมวย กติกาฟุตบอล 2. การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการในการส่งสาร หรือ แลกเปลี่ยนข่าวสาร ความคิด ความรู้สึกระหว่างบุคคล เน้นความสัมพันธ์ของมนุษย์ ซึ่ง กระบวนการที่เกิดขึ้นนั้นเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน 3. ผู้ตัดสิน (Judges) หมายถึงผู้ทำหน้าที่ตัดสินและควบคุมการแข่งขันอย่างเข้มงวดถูกต้องยุติธรรมเพื่อให้การแข่งขันเป็นไปตามกฎ กติกาและจุดมุ่งหมายของการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ และได้ประสิทธิผลที่ดี การเป็นผู้ตัดสินมีส่วนผลักดันในการยกระดับมาตรฐานการเล่นแลการแข่งขันให้สูงขึ้น เนื่องการตัดสินทำให้นักมวยปฏิบัติตามกติกา เคารพต่อกติกาการแข่งขันเพื่อเป้าหมายของการแข่งขัน รวมถึงมีส่วนทำให้ผู้เล่นต้องทำความเข้าใจในกติกาการแข่งขันต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกติกาการแข่งขัน เพื่อทำให้เข้าใจและสามารถปฏิบัติตามกติกาการแข่งขันที่เป็นกรอบและขอบเขตของการประพฤติและปฏิบัติในขณะทำการแข่งขันได้อย่างถูกต้อง ผู้ตัดสินที่ดีต้องมีความสามารถในการตีความหมายเนื้อหาหรือข้อความในกติกาให้มีความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ทั่วถึงและต้องติดตามศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของกติกา อีกทั้งทบทวนเนื้อหาในกติกาอย่างสม่ำเสมอจนเกิดความเข้าใจและจดจำได้อย่างแม่นยำ การตัดสินที่ดีจะเกิดขึ้นได้นั้นผู้ตัดสินจำเป็นต้องนำกติกามาใช้บังคับกับการแข่งขันอย่างถูกต้องเหมาะสมดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมต่อผู้เล่นทั้งสองฝ่าย สามารถเสริมสร้างการเล่นให้เกิดความสนุกสนาน ตื่นเต้น ปลอดภัย และเต็มไปด้วยความมีน้ำใจระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับการกีฬา |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
|