หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินมวยไทย

สาขาวิชาชีพการกีฬา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SPT-QSDI-097A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินมวยไทย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ตัดสินมวยไทย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานประจำขั้นพื้นฐาน สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานในการปฏิบัติผู้ตัดสินมวยไทยได้ตาม  พ.ร.บ.กีฬามวย  2542 เกณฑ์การให้คะแนนตามกติกา  และเป็นผู้ที่มีสมรรถนะในการระบุรายละเอียด ด้านปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินกีฬาระดับขั้นพื้นฐาน มีสมรรถภาพร่างกายเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสิน ปฏิบัติตนเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของวิชาชีพ และประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินมวยไทยคุณวุฒิระดับ 3 ( ผู้มีทักษะเฉพาะทาง ) ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด กีฬามวยไทยสมัครเล่น     กีฬามวยไทยอาชีพ   กีฬามวยสากลสมัครเล่น  กีฬามวยสากลอาชีพ   และกีฬาต่อสู้

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พ.ร.บ. กีฬามวย  พ.ศ. 2542  ( ปรับปรุงแก้ไข  พ.ศ. 2564 )

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
X21.11

ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการตัดสินได้

1. ใช้ใบให้คะแนนมวยไทยได้ถูกต้อง 

X21.11.01 159086
X21.11

ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการตัดสินได้

2. ปฏิบัติผู้ตัดสินให้คะแนนตามเกณฑ์ได้

X21.11.02 159087
X21.12

ตัดสินมวยไทยตามเกณฑ์การให้คะแนนมวยไทย

1. ปฏิบัติหน้าที่การให้คะแนนตามกติกาโดยอิสระ

X21.12.01 159088
X21.12

ตัดสินมวยไทยตามเกณฑ์การให้คะแนนมวยไทย

2. ไม่ลุกออกจากที่นั่งจนกว่าผู้ชี้ขาดตัดสินผลการแข่งขันแล้ว

X21.12.02 159089
X21.12

ตัดสินมวยไทยตามเกณฑ์การให้คะแนนมวยไทย

3. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ หรือให้สัมภาษณ์ถึงผลการแข่งที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วก็ตาม เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากประธานผู้ตัดสิน

X21.12.03 159090
X21.13

ตัดสินมวยไทยตามทักษะมวยไทย

1. ทักษะมวยไทยที่เข้าเป้าหมายและเป็นคะแนน 

X21.13.01 159091
X21.13

ตัดสินมวยไทยตามทักษะมวยไทย

2. ทักษะมวยไทยที่เข้าเป้าหมายและไม่เป็นคะแนน

X21.13.02 159092
X21.14

พัฒนาและปรับปรุงการทำหน้าที่การตัดสิน

1. ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่การให้คะแนน

X21.14.01 159093
X21.14

พัฒนาและปรับปรุงการทำหน้าที่การตัดสิน

2. ประเมินผลขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อการปรับปรุงการทำหน้าที่ครั้งต่อไป

X21.14.02 159094

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะการใช้แม่ไม้  ลูกไม้  มวยไทย  และทักษะการตัดสินมวยไทย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้กติกามวยไทย และเกณฑ์การให้คะแนนมวยไทย



2. ความรู้เกี่ยวกับแม่ไม้  ลูกไม้  มวยไทย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. หลักฐานผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ตัดสินมวยไทย



2. สมุดบันทึกประจำตัวผู้ตัดสิน



3. บัตรประจำตัวผู้ตัดสิน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ผลการทดสอบความรู้



2. หลักฐานผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ตัดสินมวยไทย  อย่างน้อย  3  วัน หรือ 18  ชั่วโมง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง  การเข้าสู่คุณวุฒินี้ ผู้ประเมินต้องดำเนินการดังนี้



ส่งแฟ้มผลงาน



สอบข้อเขียน



สอบปฏิบัติ  



สอบสัมภาษณ์  



ผู้เข้าประเมินต้องทดสอบผ่านเกณฑ์ อย่างน้อย  70  % ของการประเมินทั้ง 4 ส่วน ผู้ประเมินต้องเคยปฏิบัติหน้าที่ผู้คัดสินอย่างน้อย 5 ปี ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินวีดีโอ  อย่างน้อย  5  คู่   ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินจริงอย่างน้อย  5  คู่



(ง) วิธีการประเมิน



1. สอบข้อเขียนความรู้เรื่องประวัติมวยไทย   กติกามวยไทย   อำนาจหน้าที่ผู้ตัดสิน 



2.  สอบการให้คะแนนจากก วีดีโอ  จำนวน  5  คู่   สอบการให้คะแนนจากการชกจริง  5  คู่



3. เกียรติบัตรผ่านการอบรมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด  จากการกีฬาแห่งประเทศไทย  หรือหน่วยงานอื่น  สมาคมกีฬา   สถานศึกษา  ที่การกีฬาแห่งประเทศไทยให้การรับรอง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตสำหรับผู้รับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ  ประเมินการใช้เกณฑ์การให้คะแนน ประเมินจากการปฏิบัติหน้าที่จริง  ประเมินจากการดูวีดีโอ



 คำแนะนำ         



  สำหรับผู้ประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ต้องเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญด้านการทำหน้าที่ผู้ตัดสิน มีประสบการณ์ในการทำหน้าที่ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด  มาแล้วไม่น้อยกว่า 5  ปี  เคยทำหน้าที่วิทยากรให้การอบรมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด  เคยทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขันมาก่อน ผู้ที่ผ่านการอบรมเป็นผู้ประเมินผู้ชี้ขาด



สำหรับผู้เข้ารับการประเมิน ต้องมีคุณสมบัติตามคุณวุฒิ  มีดรรชนีมวลกายที่เหมาะสมตามมาตรฐาน  ผ่านการประเมินด้านกติกามวยไทย  เคยปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาดมวยไทย และต้องผ่านเกณฑ์การประเมินอย่างน้อย 70  % 



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. กฎกติกา หมายถึง ข้อความที่ได้ทำความตกลงกันแล้ว หมายถึง กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่บุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป กำหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น กติกาชกมวย กติกาฟุตบอล



2. การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการในการส่งสาร หรือ แลกเปลี่ยนข่าวสาร ความคิด ความรู้สึกระหว่างบุคคล เน้นความสัมพันธ์ของมนุษย์ ซึ่ง กระบวนการที่เกิดขึ้นนั้นเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน



3. ผู้ตัดสิน (Judges) หมายถึงผู้ทำหน้าที่ตัดสินและควบคุมการแข่งขันอย่างเข้มงวดถูกต้องยุติธรรมเพื่อให้การแข่งขันเป็นไปตามกฎ กติกาและจุดมุ่งหมายของการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ และได้ประสิทธิผลที่ดี การเป็นผู้ตัดสินมีส่วนผลักดันในการยกระดับมาตรฐานการเล่นแลการแข่งขันให้สูงขึ้น เนื่องการตัดสินทำให้นักมวยปฏิบัติตามกติกา เคารพต่อกติกาการแข่งขันเพื่อเป้าหมายของการแข่งขัน รวมถึงมีส่วนทำให้ผู้เล่นต้องทำความเข้าใจในกติกาการแข่งขันต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกติกาการแข่งขัน เพื่อทำให้เข้าใจและสามารถปฏิบัติตามกติกาการแข่งขันที่เป็นกรอบและขอบเขตของการประพฤติและปฏิบัติในขณะทำการแข่งขันได้อย่างถูกต้อง ผู้ตัดสินที่ดีต้องมีความสามารถในการตีความหมายเนื้อหาหรือข้อความในกติกาให้มีความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ทั่วถึงและต้องติดตามศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของกติกา อีกทั้งทบทวนเนื้อหาในกติกาอย่างสม่ำเสมอจนเกิดความเข้าใจและจดจำได้อย่างแม่นยำ การตัดสินที่ดีจะเกิดขึ้นได้นั้นผู้ตัดสินจำเป็นต้องนำกติกามาใช้บังคับกับการแข่งขันอย่างถูกต้องเหมาะสมดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมต่อผู้เล่นทั้งสองฝ่าย สามารถเสริมสร้างการเล่นให้เกิดความสนุกสนาน ตื่นเต้น ปลอดภัย และเต็มไปด้วยความมีน้ำใจระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับการกีฬา


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


  1. แฟ้มผลงาน




  2. การสอบข้อเขียน




  3. ทดสอบภาคปฏิบัติ




  4. การสัมภาษณ์





ยินดีต้อนรับ