หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการแข่งขันมวยไทย

สาขาวิชาชีพการกีฬา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SPT-QBUI-089A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการแข่งขันมวยไทย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ชี้ขาดมวยไทย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานเฉพาะทาง และเทคนิคในการปฏิบัติ มีกระบวนการคิดและปฏิบัติที่หลากหลาย สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคควบคู่กับการใช้คู่มือ สามารถที่จะควบคุมการปฏิบัติงานเพื่อหาข้อสรุปได้ ในด้านการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด ให้คำแนะนำผู้ชี้ขาดบนเวทีในการควบคุมการแข่งขันกีฬามวยไทยอย่างเข้มงวดถูกต้องตามกฎ กติกาและป้องกันไม่ให้นักมวยเกิดการบาดเจ็บเกินความจำเป็น ให้คำแนะนำแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ให้เกิดประสิทธิภาพ และได้ประสิทธิผลที่ดี  สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ตามรูปแบบวิชาชีพและเป็นผู้ที่มีสมรรถนะในการระบุรายละเอียดด้านปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด สามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด บริหารจัดการกับการปฏิบัติหน้าที่การเป็นผู้ตัดสินได้ ให้เกิดความยุติธรรมกับนักมวยทั้งสองฝ่าย และปฏิบัติตนเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของวิชาชีพ ยกระดับการทำหน้าที่ผู้ชี้ขาดสู่ความเป็นมืออาชีพ ควบคุมการแข่งขันการแข่งขันให้เกิดความปลอดภัย และเต็มไปด้วยความมีน้ำใจระหว่างนักมวยทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการสร้าภาพลักษณ์ ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย อีกทั้งทบทวนเนื้อหาในกติกาอย่างสม่ำเสมอจนเกิดความเข้าใจและจดจำได้อย่างแม่นยำ สามารถเป็นวิทยากรผู้ให้การฝึกอบรมแก่ผู้ชี้ขาด ทุกระดับ ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้ชี้ขาด ผู้ควบคุมการแข่งขัน ประเมินผู้ชี้ขาด ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ชี้ขาดมวยไทย และผู้ตัดสิน กีฬามวยไทยสมัครเล่น  กีฬามวยไทยอาชีพ กีฬามวยสากลสมัครเล่น กีฬามวยสากลอาชีพ และกีฬาที่แข่งขันกีฬามวยประยุกต์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พ.ร.บ. กีฬามวย  พ.ศ. 2542  ( ปรับปรุงแก้ไข  พ.ศ. 2564 )  รายละเอียดในภาคผนวก  B

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
X11.31

ประยุกต์องค์ความรู้ในการทำหน้าที่ของผู้ชี้ขาด

1.   ชี้แจงองค์ความรู้เกี่ยวกับกฏ กติกา การแข่งขัน 

X11.31.01 158964
X11.31

ประยุกต์องค์ความรู้ในการทำหน้าที่ของผู้ชี้ขาด

2. ตัดสินใจ แก้ปัญหาตามกฎ กติกา

X11.31.02 158965
X11.32

บริหารโครงสร้างการปฏิบัติหน้าที่และแก้ปัญหาการทำหน้าที่ของผู้ชี้ขาด

1. จัดโครงสร้างทีมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาดเป็นทีมอิสระ ปฏิบัติหน้าที่ในรายการแข่งขันที่รับผิดชอบ

X11.32.01 158966
X11.32

บริหารโครงสร้างการปฏิบัติหน้าที่และแก้ปัญหาการทำหน้าที่ของผู้ชี้ขาด

2. แก้ปัญหาที่จะเกิดระหว่างการทำหน้าที่ของผู้ชี้ขาด

X11.32.02 158967
X11.32

บริหารโครงสร้างการปฏิบัติหน้าที่และแก้ปัญหาการทำหน้าที่ของผู้ชี้ขาด

3. แก้ปัญหาที่จะเกิดจากนักมวยระหว่างการแข่งขัน

X11.32.03 158968
X11.33

วิเคราะห์การทำงานของผู้ชี้ขาด

1.วิเคราะห์ปฏิบัติการเคลื่อนของผู้ชี้ขาดบนเวที

X11.33.01 158969
X11.33

วิเคราะห์การทำงานของผู้ชี้ขาด

2. วิเคราะห์การปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดบนเวทีได้

X11.33.02 158970
X11.33

วิเคราะห์การทำงานของผู้ชี้ขาด

3. วิเคราะห์หน้าที่ตามอำนาจผู้ชี้ขาดบนเวทีได้

X11.33.03 158971
X11.33

วิเคราะห์การทำงานของผู้ชี้ขาด

4. วิเคราะห์เนื้อหาของกฎกติกาในประเด็นที่สำคัญ เนื้อหาของกฎกติกา แนะนำผู้อื่นได้

X11.33.04 158972
X11.34

ควบคุมและแนะนำผู้ชี้ขาดมวยไทย

1. แสดงออกถึงภาวะผู้นำ

X11.34.01 158973
X11.34

ควบคุมและแนะนำผู้ชี้ขาดมวยไทย

2. ควบคุมการทำหน้าที่ของผู้ชี้ขาด

X11.34.02 158974
X11.34

ควบคุมและแนะนำผู้ชี้ขาดมวยไทย

3. ให้คำแนะนำผู้ชี้ขาดมวยไทย

X11.34.03 158975
X11.35

ประเมินการทำงานของผู้ชี้ขาด

1. ประเมินการเคลื่อนที่

X11.35.01 158976
X11.35

ประเมินการทำงานของผู้ชี้ขาด

2. ประเมินการใช้คำสั่ง

X11.35.02 158977
X11.35

ประเมินการทำงานของผู้ชี้ขาด

3. ประเมินการใช้สัญญาณมือ

X11.35.03 158978
X11.35

ประเมินการทำงานของผู้ชี้ขาด

4. ประเมินการควบคุมการแข่งขันตามกติกา

X11.35.04 158979

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้เรื่องการแข่งขันมวยไทย  กติกามวยไทย และทักษะการเป็นผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาดกีฬามวย กีฬามวยอื่น ๆ ที่จัดการแข่งขันคล้ายการแข่งขันมวย  การทำหน้าที่ผู้ตัดสิน  ( ผู้ให้คะแนน )


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ผู้ชี้ขาดจะต้องพยายามรักษาตำแหน่ง "วี" กับนักมวยเสมอ ระยะห่างกับนักมวย ระหว่างการแข่งขัน



2.ผู้ชี้ขาดจะต้อง เคลื่อนที่อ้อมหลังนักมวย เคลื่อนที่ไม่อยู่ในมุมอับ เคลื่อนที่เข้ารับศีรษะนักมวยได้ทัน เคลื่อนที่เข้าป้องกันนักมวยไม่ให้ถูกคู่ต่อสู้ซ้ำเติม



3.ผู้ชี้ขาดจะต้องใช้คำสั่งผู้ชี้ขาดกับนักมวย การชก การหยุด การเตือน การตัดคะแนน การยกเลิกการแข่งขัน การชูมือผู้ชนะ ได้



4. ผู้ชี้ขาดปฏิบัติการนับนักมวยเมื่อ ถูกอาวุธคู่ต่อสู้จนล้มลง



5. ผู้ชี้ขาดจะต้องใช้เสียงออกคำสั่งให้ดัง ให้นักมวยทั้งสองคนได้ยินชัดเจน สามารถปฏิบัติตามได้



6. ผู้ชี้ขาดต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง หลังรวบรวมคะแนนจากผู้ตัดสินข้างเวที ที่จะตัดสินชูมือให้นักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชนะ หรือเสมอกันทั้งสองคน



7. ผู้ชี้ขาดสั่ง หยุด ให้คำเตือนนักมวยเมื่อ ออกอาวุธที่ผิดกติกาใส่คู่ต่อสู้



8. ผู้ชี้ขาดตัดคะแนนนักมวยเมื่อ ออกอาวุธที่ผิดกติกาใส่คู่ต่อสู้ โดยเฉพาะความไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา



9. ผู้ชี้ขาดต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะยกเลิกการแข่งขันหรือปรับให้นักมวยที่ออกอาวุธที่ผิดกติกาใส่คู่ต่อสู้จนได้รับบาดเจ็บ



10. ผู้ชี้ขาดต้องให้คำเตือนนักมวยเร่งให้ชกกัน ให้สนุกสนานถูกต้องตามกติกามวยไทย



11. ผู้ชี้ขาดปฏิบัติ การชูมือให้นักมวยผู้ชนะได้อย่างสง่างาม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. กติกามวยไทยและทักษะการเป็นผู้ชี้ขาด นำมาประยุกต์ใช้ในการเป็นผู้ชี้ขาด



2. ร่วมกันกับทีมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด วิเคราะห์ข้อมูลความรู้และทักษะ ให้คำเสนอแนะการเป็นผู้ชี้ขาดมวยไทยในทีมงานได้



3. ประเมินความพร้อมในการตัดสิน ด้านความรู้กฎ กติกา การสื่อสาร ทักษะการเคลื่อนไหวและการใช้สัญญาณมือของผู้ชี้ขาดเพื่อนร่วมงาน



4. สามารถการจัดการแข่งขันมวยไทยอาชีพ ในรูปแบบต่าง ๆ



5. สามารถจัดการแข่งขันมวยไทยในรูปแบบ อื่น ๆ ได้



6. สามารถปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการทำหน้าที่ของ ผู้ชี้ขาดมวยไทย และให้คำแนะนำผู้ชี้ขาดได้



7.ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ผู้ควบคุมการแข่งขันต่อความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย



8. บริหารจัดโครงสร้างการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดทีม



9. แก้ปัญหาที่จะเกิดระหว่างการทำหน้าที่ของผู้ชี้ขาด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. เอกสาร / หลักฐานการผ่านอบรมเชิงปฏิบัติการการเป็นผู้ชี้ขาดในกีฬามวยไทย



2. แฟ้มสะสมผลงาน และ / หรือ สมุดประจำตัวผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด



3. เอกสาร / หลักฐานที่เกี่ยวข้อง/ บันทึกการปฏิบัติงาน / บันทึกการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. เอกสารเกี่ยวข้องกับกีฬามวยไทย



3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้องการผ่านการฝึกอบรมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด จากการกีฬาแห่ง



ประเทศไทยจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานของรัฐให้การรับรอง 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง  การเข้าสู่คุณวุฒินี้ ผู้ประเมินต้องดำเนินการดังนี้



-         40 % แฟ้มผลงาน



-         20 % สอบสัมภาษณ์



-         30 % สอบข้อเขียน



-         10 % สอบปฏิบัติ



ผู้เข้าประเมินต้องทดสอบผ่านเกณฑ์ อย่างน้อย  70  % ของการประเมินทั้ง 4 ส่วน ผู้ประเมินต้องเคยปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดอย่างน้อย 15 ปี ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินจริง  อย่างน้อย  5  คู่   ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดจริง  อย่างน้อย  5  คู่ นอกจากนี้ยังต้องสามารถจัดการแข่งขันมวยไทยได้  วางแผนการจัดการแข่งขัน  การคัดเลือก ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด ทำหน้าที่ในการแข่งขัน สามารถประเมินการทำหน้าที่ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาดและให้คำแนะนำผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และสามารถจัดและควบคุมการแข่งขันได้



(ง) วิธีการประเมิน



1. ผลการทดสอบรวมทั้ง 4 ส่วนต้องผ่านไม่น้อยกว่า 70 %



2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้องการผ่านการฝึกอบรมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด จากการกีฬาแห่งประเทศไทยจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานของรัฐให้การรับรอง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้ชี้ขาด (Referee) เป็นผู้ทำหน้าที่ชี้ขาดบนเวทีและควบคุมการแข่งขันอย่างเข้มงวด  เพื่อให้นักมวยแข่งขันเป็นไปตามกฎ กติกาและป้องกันไม่ให้นักมวยเกิดการบาดเจ็บเกินความจำเป็น ตรวจสอบการสวมใส่อุปกรณ์ ควบคุมนักมวยไม่ให้กระทำผิดกติกา ซ้ำเติมคู่ต่อสู้  ผู้ชี้ขาดจำเป็นต้องนำกติกามาใช้บังคับกับการแข่งขันอย่างถูกต้องตามอาวุธแม่ไม้มวยไทย ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมต่อนักมวยทั้งสองฝ่าย เสริมสร้างการแข่งขันให้เกิดความสนุกสนาน ตื่นเต้น ปลอดภัย และเต็มไปด้วยความมีน้าใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ระหว่างนักมวยทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย



 (ก) คำแนะนำ



           สำหรับผู้ใช้มาตรฐานวิชาชีพ  ต้องเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญด้านการทำหน้าที่ผู้ชี้ขาด มีประสบการณ์ในการทำหน้าที่ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด  มาแล้วไม่น้อยกว่า  15  ปี  เคยทำหน้าที่วิทยากรให้การอบรมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด  เคยทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขันมาก่อน



          สำหรับผู้เข้ารับการประเมิน ต้องมีคุณสมบัติตามคุณวุฒิ  มีดรรชนีมวยที่เหมาะสมตามมาตรฐาน  ผ่านการประเมินด้านกติกามวยไทย  การปฏิบัติหน้าที่บนเวที  การใช้คำสั่ง  สัญญาณมือ  ระดับน้ำเสียง  การเตือน  การตัดคะแนน  การใช้ไหวพริบในการปฏิบัติหน้าที่ การตัดสินใจ  การกระตุ้นนักมวยให้ชกกันให้สนุกสนาน  เร้าใจ  เกณฑ์การผ่าน ต้องผ่านการประเมินของแฟ้มสะสมงาน การสอบข้อเขียน  การสอบปฏิบัติ และการสอบสัมภาษณ์ อย่างน้อยร้อยละ  70  % 



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. ผู้ควบคุมการแข่งขัน หมายถึง บุคคลที่รับผิดชอบ ควบคุมการแข่งขันให้เป็นไปตามกติกามวยไทย รวมไปถึงการจัดการแข่งขัน การเตรียมอุปกรณ์แข่งขัน การประกบคู่ การชั่งน้ำหนัก การจัดผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาดทำหน้าที่



2. ผู้ชี้ขาดจะพยายามรักษาตําแหน่ง "วี" เสมอ ภาพประกอบต่อไปนี้แสดงตำแหน่งที่จะมุ่งมั่นในระหว่างการแข่งขัน



 




  • ผู้ชี้ขาดควรอยู่ด้านมุมเปิด ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เมื่อนักมวยถนัดมือซ้ายกับนักมวยถนัดขวา

  • ระยะห่างของผู้ชี้ขาดให้เป็นไปตามระยะทางของนักมวย

  • ภาพประกอบด้านล่างแสดงให้เห็นนักมวย 2 คนที่อยู่ห่างกันเป็นระยะทางไกลผู้ตัดสินควรที่จะอยู่ในระยะห่าง

  • จากนักมวยในสถานการณ์เช่นนี้

  • ภาพประกอบด้านล่างแสดงให้เห็นนักมวย 2 คนในระยะปานกลางผู้ชี้ขาดควรปิดระยะทางเล็กน้อยระหว่างผู้ชี้ขาดกับนักมวย

  • ภาพประกอบด้านล่างแสดงให้เห็นนักมวย 2 คนในระยะใกล้ ๆ ผู้ชี้ขาดควรปิดระยะห่างระหว่างผู้ชี้ขาดกับนักมวย

  • ตำแหน่งที่กรรมการไม่ควรอยู่ใน:

  • ด้านหลังนักมวย

  • ในมุม

  • มุมอับด้านเชือก

  • ใกล้นักมวยหรือไกลมากเกินไป

  • อยู่ด้านเดียวของนักมวยทั้งสองคน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. แฟ้มผลงาน

  2. การสอบข้อเขียน

  3. ทดสอบภาคปฏิบัติ

  4. การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ